- Page 9 of 37

บ้านตากอากาศสไตล์โมเดิร์นนิสม์ในแบบ PDM ทั้งเรียบง่าย กะทัดรัด กับวิวแม่น้ำสุดร่มรื่น

หากใครที่ชื่นชอบสถาปัตยกรรมในแบบโมเดิร์นนิสม์ที่มีจังหวะพื้นผิววัสดุและแสงธรรมชาติอันสวยงาม ที่นี่คือบ้านตากอากาศขนาดกำลังดี จัดวางด้วยเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวสุดสร้างสรรค์จาก PDM BRAND รับรองว่าบ้านหลังนี้ คือที่สุดของบ้านในดวงใจอีกหลังหนึ่งอย่างแน่นอน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: POAR  เพราะนี่คือ บ้านตากอากาศ ของคุณดิว-ดุลยพล ศรีจันทร์ ผู้ก่อตั้งและ Creative Director PDM Brand สำหรับวันว่างที่อยากปลีกจากเมืองกรุงฯ เพื่อใช้เวลาพิเศษกับครอบครัว และเพื่อนฝูง ที่นี่จึงเป็นเหมือนพื้นที่พิเศษของครอบครัวและเพื่อนฝูงในวันสุดสัปดาห์ ท่ามกลางธรรมชาติชานเมืองในพื้นที่นครชัยศรีกับวิวแม่น้ำกว้างไกลสุดสายตาและทุ่งนาที่รายล้อม เมื่อเลี้ยวออกทางหลวงชนบทในพื้นที่ลำพญา-นครชัยศรี ลัดเลาะเข้ามาจนถึงริมแม่น้ำนครชัยศรี เราจึงได้พบกับบ้านหลังนี้ตั้งเด่นอยู่ในพื้นที่สุดซอยที่จัดสรรค์แบ่งแปลงไว้อย่างลงตัว บ้านหลังนี้เป็น “บ้านตากอากาศ” ที่เจ้าของตั้งใจไว้สำหรับให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งมิตรสหายได้แวะมาใช้เวลาร่วมกัน การเลือกทำเลที่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพฯอย่างนครชัยศรีจึงเป็นที่ๆทุกๆคนจะแวะมาที่นี่ได้อย่างไม่ยากเย็น และแน่นอนว่าการออกแบบบ้านหลังนี้ก็ทำขึ้นเพื่อรองรับช่วงเวลาพิเศษนั้นเช่นกัน การออกแบบบ้านหลังนี้มีจุดประสงค์ในการเป็น “บ้านตากอากาศ” เป็นสำคัญ เริ่มต้นจากการออกแบบให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่สามารถดูแลรักษาได้ง่าย จึงทำให้แต่ละพื้นที่นั้นถูกคิดคำนวญมาเป็นอย่างดีให้ลงตัวและไม่ใหญ่โตจนเกินไป โดยแบ่งพื้นที่สังสรรค์ออกเป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่ชั้นล่างบริเวณใต้ถุนบ้าน และพื้นที่รับแขกนั่งเล่นขนาดใหญ่ที่ชั้นบนซึ่งต่อเนื่องกับชานชมวิวของบ้านหลังนี้ บานเปิดของบ้านหลังนี้มีความพิเศษที่สามาถเปิดออกได้จนสุดบานตั้งแต่พื้นจรดเพดาน มีการเลือกใช้วัสดุ Texiline ที่มีความโปร่งแสง สามารถกันแดดฝนได้ แต่ก็ยังสามารถมองทะลุผ่านจากภายในและยอมให้ลมไหลผ่านได้ในระดับที่ไม่อึดอัด ในยามที่เจ้าของบ้านต้องการรับลมและชมวิวก็สามาถเปิดบ้านออกรับธรรมชาติได้แทบจะในทันที การเลือกออกแบบให้บ้านหลังนี้เป็นบ้าน “ใต้ถุนสูง” นั้น นอกจากจะเป็นความจำเป็นจากการที่พื้นที่นครชัยศรีเป็นพื้นที่รับน้ำของกรุงเทพฯซึ่งมีระดับน้ำในฤดูน้ำหลากที่ค่อนข้างสูงแล้ว การเลือกให้พื้นที่ส่วนตัวอยู่บนชั้นสองยังทำให้พื้นที่เหล่านั้น พ้นไปจากมุมมองสายตาของเพื่อนบ้าน ซึ่งเมื่อต้องการการเปิดโล่งเพื่อรับทิวทัศน์เช่นนี้แล้ว การเปลี่ยนมุมมองไปอยู่ที่ชั้นบนจึงเป็นทางออกที่น่าสนใจ โครงสร้างของบ้านหลังนี้เป็น “คอนกรีตหล่อในที่” ในเกรด […]

3X3 RETREAT บ้านเล็ก เท่าแมวดิ้น! แต่อยู่สบายกลางป่าใหญ่

ใครจะเชื่อว่าพื้นที่ 3×3 เมตร จะสามารถสร้างบ้านหนึ่งหลังได้ Estudio Diagonal สถาปนิกจากประเทศชิลี ได้ออกแบบบ้านน้อยกลางสวนป่าสำหรับอยู่อาศัยในพื้นที่น้อย แต่สัมผัสธรรมชาติได้ชนิดที่เรียกได้ว่า “อย่างเยอะ” 3×3 Retreat เป็นบ้านพักกึ่งตากอากาศที่แบ่งเป็นพื้นที่นอกชาน และพื้นที่ภายในบ้านขนาดสองชั้น ชั้นล่างใช้พื้นที่ชานบ้านแทนพื้นที่รับแขก ทุกคนที่มาที่บ้านจะได้รับบรรยากาศธรรมชาติเต็มตา ณ ห้องรับแขกเอ๊าต์ดอร์แห่งนี้ ถัดเข้ามาภายในเป็นพื้นที่สำหรับครัว และStorage เมื่อปีนบันไดลิงขึ้นสู่ชั้นบน ในส่วนนี้จะเป็นเหมือนกับพื้นที่ส่วนตัวที่มีทั้งห้องนอน และห้องน้ำ เรียกได้ว่าครบทุกองค์ประกอบที่บ้านควรจะต้องมีเลยทีเดียว ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการทำบ้าน “เล็กแบบพอดีอยู่” ที่ใครจะนำไปใช้กับบ้านสวนของตัวเองก็ไม่ขัด แต่พออายุมากแล้ว อาจจะปีนขึ้นไปนอนยากสักหน่อย อันนี้ก็คงต้องปรับไปตามสังขารกันอีกที ออกแบบ : Estudio Diagonalภาพ : Nicolás Saiehเรียบเรียง : Wuthikorn Sut

Permanent Camping II บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งสร้างจากเหล็กรีไซเคิล

บ้านตากอากาศ กึ่งแคมปิ้งกลางทุ่งหญ้า ให้โมเมนต์การพักผ่อนที่ใกล้ชิดและเป็นมิตรกับธรรมชาติในประเทศออสเตรเลีย บ้านตากอากาศ ท่ามกลางทุ่งหญ้าเขียวขจี แถมยังมองเห็นมหาสมุทรแปซิฟิกได้แห่งนี้ ตั้งอยู่ใน Berry หมู่บ้านเล็ก ๆ ในประเทศออสเตรเลีย โดดเด่นด้วยหน้าตาของอาคารที่มีลักษณะเป็นหอคอยสีทองแดงสองหลังต่างขนาดกันสองฝั่ง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่จำเป็นสำหรับการพักอาศัย อาทิ เตียงนอน ดาดฟ้า เตาผิง และห้องน้ำ ความน่าสนใจของที่นี่ คือโครงสร้างของเปลือกอาคารทำมาจากเหล็กรีไซเคิล ซึ่งเคยเป็นทุ่นลอยน้ำที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว ภายในกรุไม้เนื้อแข็ง และทำช่องเปิดแบบบานเกล็ดเต็มผืนผนังด้านหนึ่ง โดยมีรอกแบบแมนนวลสามตัว คอยทำหน้าที่ยกและลดระดับผนังด้านข้างของอาคารขึ้นลง เพื่อสร้างส่วนยื่นสำหรับช่วยป้องกันแสงแดดในฤดูร้อน มีพื้นที่ใช้สอย 3×3 เมตร ชั้นล่างมีสิ่งอำนวยความสะดวกพรั่งพร้อม ทั้งพื้นที่ปรุงอาหาร จัดเก็บสิ่งของ และเตาผิง ขณะที่เตียงนอนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้บันไดบนชั้นลอย ส่วนห้องน้ำถูกแยกส่วนให้อยู่ที่อาคารหลังเล็ก เชื่อมต่อกันด้วยดาดฟ้าที่ขึ้นได้จากบันไดด้านข้างอาคาร สำหรับอาคารหลังเล็กได้ออกแบบให้มีถังเก็บน้ำฝน แถมมีถังเก็บสิ่งปฏิกูลสำหรับใช้ทำปุ๋ยหมัก เป็นการออกแบบที่นอบน้อม โดยพยายามลดผลกระทบที่อาจมีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ส่วนพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของเตาผิง เตาประกอบอาหาร หรือไฟฟ้าที่ให้ส่องแสงยามค่ำคืน ก็มาจากแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งอยู่บนหลังคา ที่นี่จึงเปรียบเสมือนสถานที่หลบภัยทางจิตวิญญาณ ให้เจ้าของบ้านได้ปลีกวิเวก เพื่อมาสัมผัสกับการพักผ่อน เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มองเห็นทัศนียภาพของชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียได้แบบพานอรามาจากภูเขาสู่ท้องทะเล ออกแบบ : Casey Brown […]

Dog and Human House สถาปัตยกรรมเพื่อความสุขของคนและน้องหมา

Dog and Human House โครงการออกแบบที่มีจุดเริ่มจากความรักที่เจ้าของมีต่อน้องหมา จนเกิดเป็นสถาปัตยกรรมที่ตั้งใจกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ให้ปรับเปลี่ยนเพื่อเรียนรู้มุมมอง และความรู้สึกของสุนัขด้วยความเต็มใจ การันตีถึงความใส่ใจในกระบวนความคิดการออกแบบตลอดจนการเลือกวัสดุของโครงการนี้ด้วยรางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2022 ประเภทบ้านพักอาศัย โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำหรับงานออกแบบบ้านส่วนใหญ่ จุดเริ่มต้นมักจะเกิดขึ้นเพื่อสร้างให้คนอยู่อาศัยเป็นหลัก แต่สำหรับโครงการออกแบบ Dog and Human House นั้นกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่ต่างออกไป โดยหากย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2018 ที่ทาง คุณนรวีร์ วัยนิพิฐพงษ์ คุณหมอด้านกระดูกและข้อ ต้องการจะหาพื้นที่สีเขียวสำหรับให้สุนัขที่รักวิ่งเล่นได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากสุนัขที่เขาเลี้ยงนั้นเป็นน้องหมาพันธุ์ใหญ่ และมีหลายตัว ทำให้จำเป็นต้องมีพื้นที่กว้างขวาง ให้น้อง ๆ ได้วิ่งแบบเต็มฝีเท้า ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและความสุขของสุนัข คุณนรวีร์วางใจให้ คุณเอกภาพ ดวงแก้ว สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง EKAR Architect รับหน้าที่ออกแบบโครงการ รวมถึงร่วมกันมองหาความเป็นไปได้อื่นๆ ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับน้องหมา จากจุดเริ่มต้นที่จะออกแบบเพียงสนามวิ่งเล่น จึงขยับขยายกลายเป็น ‘บ้าน’ ของคุณหมอและพื้นที่ของ DOX House ที่บริการสระว่ายน้ำ รับทำความสะอาดและโรงแรมสุนัขในเวลาต่อมา เพื่อแบ่งปันความสุขให้กับคนที่รักสุนัขเหมือนกัน โดยยังมี ‘น้องหมา’ เป็นหัวใจหลักของการออกแบบเช่นเดิม […]

BAUTISTA HOUSE บ้านริมทะเลแคริบเบียน สวรรค์ของคนรักสายลมแสงแดด

Bautista House บ้านริมทะเล ในประเทศเม็กซิโก ได้รับการออกแบบโดยมีจุดเด่นอยู่ที่การให้ความสำคัญกับการประหยัดพลังงานและระบบนิเวศ พร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อเปิดประสบการณ์การพักผ่อน ให้สามารถสัมผัสกับความบริสุทธิ์และความสวยงามของธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ โปรเจ็กต์ บ้านริมทะเล สำหรับใช้ตากอากาศหลังนี้ สร้างขึ้นบนพื้นที่เล็ก ๆ ของชายหาด Riviera Maya เน้นใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมเป็นตัวช่วยในการพักอาศัย เด่นด้วยสถาปัตยกรรมคอนกรีตหล่อ โดยใช้เทคนิคการยกโครงสร้างของบ้านให้ลอยสูงขึ้นจากพื้นด้วยเสารูปกากบาท เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อพื้นที่และสิ่งแวดล้อม แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 3 ชั้น เชื่อมแต่ละพื้นที่ด้วยบันไดเวียนคอนกรีตขนาดใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนจุดนำสายตาของบ้าน ล้อมรอบด้วยระเบียงไม้ขนาดใหญ่ โดยมีสระว่ายน้ำ และห้องรับประทานอาหารที่เปิดมุมมองให้ได้สัมผัสกับวิวป่าชายหาดและทะเลแคริบเบียน แปลนของอาคารอยู่ในลักษณะรูปตัวแอล (L) ขยายพื้นที่ชั้นล่างให้แผ่ออกไปในรูปแบบของเฉลียงขนาดใหญ่ เพื่อปกป้องตัวบ้านจากแสงแดด พร้อมการเปิดผนังทุกชั้นเพื่อการระบายอากาศที่ดีผ่านประตูไม้บานเฟี้ยมที่พับเข้าหากันได้ (มีเฉพาะห้องนอนเท่านั้นที่มีระบบปรับอากาศ) และสำหรับในบางช่วงที่เกิดพายุเฮอริเคน บานเฟี้ยมที่ว่าเหล่านี้ยังช่วยปกป้องบ้านได้จากแรงลม เปลี่ยนบ้านที่เปิดโล่งเป็นกล่องปิดที่แข็งแรง เป็นบ้านพักตากอากาศที่แข็งแรงพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติได้อย่างดี และไม่ว่าจะอยู่มุมไหนทุกพื้นก็สามารถเสพวิว รับแสง และสัมผัสกับสายลมแห่งท้องทะเลที่พัดเย็นได้ทุกช่วงเวลา ออกแบบ : PRODUCTORA (http://productora-df.com.mx/en/) ภาพ : Onnis Luque เรียบเรียง : Phattaraphon

HOUSE BETWEEN THE WALL บ้านระหว่างกำแพงในสไตล์มินิมอล

บ้านมินิมอล ของคู่รักนักออกแบบที่หลงรักในความเรียบน้อยและเน้นบ้านอยู่อาศัยที่ให้ความเป็นส่วนตัว จึงออกมาเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างกำแพงสองผืนที่ช่วยตัดออกจากความวุ่นวายของเมือง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A House Between the Wall นั้นไม่ได้เป็นเพียงชื่อบ้าน แต่ยังเป็นแนวความคิดในการออกแบบบ้านที่เลือกให้ ‘กำแพง’ เป็นมากกว่าผนังขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวออกจากโลกที่วุ่นวายด้วยการสร้างสเปซขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้สเปซดังกล่าวกลายเป็น ‘บ้านระหว่างกำแพง’ ภายใต้รูปทรงทางสถาปัตยกรรมในลุค บ้านมินิมอล และตรงไปตรงมา แต่ทว่าก็ซุกซ่อนรายละเอียดของการออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างใส่ใจ ที่นี่สถาปนิกสร้างความน่าสนใจให้ในแต่พื้นที่ ด้วยการเลือกใช้วัสดุและเฟอร์เจอร์ เช่น พื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารและครัว ผนังเคาน์เตอร์กรุด้วยไม้อัด HMR นำมาเคลือบ PU แล้วนำมากรุเป็นตารางหมากรุก หรือเคาน์เตอร์สเตนเลสสั่งทำพิเศษ นอกจากนั้นยังตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ในสไตล์ยุค Mid Century ที่ทั้งคู่สะสมไว้ บ้านระหว่างกำแพงหลังนี้ออกแบบโดย คุณธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร และ คุณกนกกาญจน์ เฮงอุดมทรัพย์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง ANATOMY ARCHITECTURE + ATELIER ซึ่งนอกจากออกแบบแล้ว ทั้งคู่ยังเป็นเจ้าของบ้านอีกด้วย […]

บ้านริมน้ำ สไตล์นอร์ดิก Norwegian Bathhouse

บ้านริมน้ำ กับเรืออีกหนึ่งลำ ผลงานการออกแบบที่ประยุกต์จากวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Norwegian Bathhouse หรือบ้านริมน้ำขนาดเล็กของนอร์เวย์ ที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุ และกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยขึ้น โครงสร้างหลักของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กวางบนหินแกรนิตแบบดั้งเดิม ใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จวางตัวเปิดรับวิวทะเล โดยที่จากบนบกจะเข้ามุมที่บดบังสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างพอดิบพอดี ในส่วนหลังคานั้นเลือกใช้เมทัลชีตเพื่อน้ำหนักที่เบาและก่อสร้างได้ง่าย ทำสีกันสนิมในโทนสีดั้งเดิมเข้ากันได้ดีกับบริบทโดยรอบ ภายในจัดวางห้องแบบ Studio Type เรียบง่าย เรียกได้ว่าห้องเดียว “ครบทุกสิ่ง” ทั้งครัวขนาดเล็ก พื้นที่นั่งเล่น และเตาผิงสำหรับประกอบอาหารได้ในตัว ในวันแสนสบาย บ้านหลังนี้สามารถเปิดบานหน้าริมทะเลออกได้จนหมดสามารถหย่อนใจรับแดดได้อย่างเต็มตา สำหรับใครที่อยากทำบ้านตากอากาศเรียบง่ายเป็นของตัวเอง บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ลองจินตนาการถึงบ้านน้อยหลังนี้มาตั้งติดเจ้าพระยาของเรา น่าจะดูดีเลยทีเดียว ออกแบบ Handegård Arkitekturภาพ Carlos Rollan เรื่อง Wuthikorn Sut

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมัล กะทัดรัด ในสัดส่วนที่พอเหมาะ

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมอล ที่ออกแบบในสัดส่วนที่พอเหมาะพอดีสำหรับสองคน พร้อมแก้ปัญหาที่ดินหน้าแคบด้วยการผสานการปิดทึบสลับกับช่องเปิด

WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ

บ้านชั้นเดียว ที่สะท้อนเงาอยู่บนผิวน้ำ พร้อมภาพวิวของต้นไม้สีเขียวที่เติบโตอยู่รายล้อมนี้ คือบ้านที่ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ คุณบิ๊ก-สุจินดา ตุ้ยเขียว สถาปนิกแห่งใจบ้านสตูดิโอ และคุณบี๊ท-โสภิดา จิตรจำนอง ฟรีแลนซ์อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ ทั้งคู่ค่อย ๆ ช่วยกันเติมแต่งภาพบ้านในฝันหลังแรกทีละนิด ๆ แต่มากด้วยแพสชั่นให้สำเร็จเป็นจริง สำหรับการใช้ชีวิตที่แสนเรียบง่าย แต่เพียบด้วยความสุข “ทุกอย่างค่อนข้างกะทันหัน มีเวลาแค่ประมาณสามเดือนครึ่งให้ออกแบบและก่อสร้าง ก่อนที่เราจะย้ายมาอยู่ที่นี่” เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ บอกกับเรา ก่อนที่จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสตูดิโอเล็ก ๆ ในเมืองเชียงใหม่ คุณบี๊ทเล่าว่า หลังจากอพาร์ตเมนต์เก่าที่เคยอาศัยอยู่หมดสัญญา และขายตึกต่อให้เจ้าของใหม่รีโนเวตเป็นคอนโดมิเนียม เธอและคุณบิ๊กได้ตัดสินใจมาเช่าที่ดินริมน้ำแปลงข้าง ๆ Sher Maker สตูดิโอออกแบบของพี่ตุ่ย รุ่นพี่จากสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง หลังจากแอบมองที่ดินแปลงนี้จากร้านกาแฟ Asama Cafe ฝั่งตรงข้ามมานาน “ตอนแรกก็ลังเล หลายคนก็ไม่เห็นด้วย ถามว่าทำไมไม่ซื้อบ้านไปเลย แต่ด้วยความกะทันหันแบบนี้ เราก็ไม่อยากกดดันตัวเองทำสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะกับเรา บวกกับแอบมองที่ดินตรงนี้มานาน พอรู้ว่าปล่อยเช่า และพอเราลองคำนวณเรื่องงบประมาณดูแล้วว่า คุ้มกว่าการเช่าบ้านและรีโนเวตใหม่ก็ตัดสินใจเลย” ด้วยความชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเงื่อนไขของงบประมาณ ทำให้บ้านหลังนี้เป็นเสมือนสนามที่ให้ทั้งคู่ได้ทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ […]

อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม

ออกแบบโดย Bangkok Tokyo Architecture (http://www.btarchitecture.jp) บ้านทาวน์โฮมในย่านฝั่งธนฯ หลังนี้ ถูกส่งต่อมาในครอบครัวจนมาถึงมือของศิลปินท่านหนึ่ง ที่ต้องการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานของตนเอง การออกแบบจึงเด่นชัดในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเจ้าของบ้าน สร้างสภาวะแห่งแรงบันดาลใจจากบรรยากาศอิงธรรมชาติ สร้างความสุขสงบภายในบ้าน แม้จะอยู่ในเขตเมืองที่หนาแน่น แต่กลับสามารถออกแบบพื้นที่ภายในได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ Bangkok Tokyo Architecture รับหน้าที่ในการปรับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบเลือกทำเป็นอย่างแรก นั่นคือการทุบเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีพื้นที่ต่อเติมข้างบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อเสริมการใช้งานให้ครบถ้วน พื้นที่ภายในแบบ ONE ROOM SPACE เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านมีอิสระในการใช้งานและปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต เพื่อให้ตอบรับกับอาชีพนักวาดภาพ และการสร้างผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการทำงานก็ดี รวมไปถึงการแสดงงานในอนาคตด้วยเช่นกัน จากประตูใหญ่ เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ประตูเหล็กทึบและผนังจะช่วยปิดกั้นความวุ่นวายจากภายนอก โดยทางเข้าบ้านนั้นถูกจัดเป็นส่วนหย่อมในแบบกำลังดีที่คำนึงถึงการดูแลง่าย แต่ก็ยังสร้างความร่มรื่นได้ในวันสบาย ๆ ที่สามารถเปิดประตูรับลมและแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะทำงานตัวใหญ่ กึ่งกลางเป็นชั้นวางผลงานที่สามารถเครื่องย้ายได้ มีเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่จัดวางไปในพื้นที่ Circulation ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเดินไปสู่ครัวด้านหลัง และห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของเจ้าของบ้านแต่อย่างใด พื้นที่ทั้งสองชั้น แม้จะอยู่คนละระดับกัน แต่ก็ยังรู้สึกเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน จากการที่ผู้ออกแบบเลือกเจาะพื้นชั้นสองให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงชั้นล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ และแสงธรรมชาติที่ส่องสว่างทั่วถึงทั้งบ้าน รวมทั้งช่วยเปิดมุมมองทางสายตาให้เห็นกันและกันได้ในทุก […]

SHIBUI HOUSE อพาร์ตเม้นต์สเปซยืดหยุ่น ผสานความงามแบบอินเดีย-ญี่ปุ่น

Shibui House อพาร์ตเม้นต์ 3 ห้องนอน ขนาด 173 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนชั้น 15 ของตึกระฟ้าชานเมืองมุมไบในประเทศอินเดีย บรรยากาศภายในบ้านได้รับออกแบบให้ผสมผสานระหว่างบริบทท้องถิ่นของอินเดียกับแนวคิดเชิงสุนทรียภาพ ที่เรียบง่าย ละเอียดอ่อนแบบญี่ปุ่น การวางผังพื้นผ่านกระบวนการคิดที่ซับซ้อน เพื่อให้ได้พื้นที่ที่ดูเรียบง่ายแต่มีชั้นเชิงในการใช้งาน การจัดวางพื้นที่ใช้สอยทำให้เส้นแบ่งระหว่างภายนอก และภายในอาคารไม่ชัดเจน นอกจากนี้ ยังเน้นการใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อสื่อถึงความไม่สมบูรณ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ บรรยากาศภายในเปี่ยมเสน่ห์ด้วยความหลากหลายของวัสดุที่ให้ความรู้สึกถึงธรรมชาติอย่างกระเบื้องดินเผา หินขัด หินธรรมชาติ คอนกรีตเปลือย หวายสาน ผ้าลินิน รวมถึงการประดับประดาด้วยโคมไฟที่เจ้าของบ้านทำขึ้นเอง ภายใต้บรรยากาศที่ดูละมุนตาด้วยเส้นสายโค้งมน เฟอร์นิเจอร์แบบมิกซ์แอนด์แมทช์ และความเขียวขจีของต้นไม้นานาพรรณ เจ้าของบ้านคือคู่รักหนุ่มสาว ที่ชอบเล่นโยคะ ทำงานศิลปะ และกิจกรรมกลางแจ้ง ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบบ้านที่จะเติบโตและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของลูกค้า ผู้ออกแบบจึงทำงานอย่างใกล้ชิดกับพวกเขาเพื่อสร้างพื้นที่กิจกรรม ในสเปซเปิดโล่งในแทบทุกมุมบ้าน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ก็ถือเป็นหัวใจสำคัญ ด้วยเหตุนี้ จึงใช้การวางผังแบบเปิดโล่ง พร้อมกับออกแบบให้มีประตูบานเลื่อนที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Shoji หรือประตูกั้นห้องแบบญี่ปุ่นทั่วทั้งบ้าน เพื่อให้ทั้งคู่รู้สึกเชื่อมโยงกันไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ส่วนไหนของบ้านก็ตาม บ้านนี้ได้รับการออกแบบในช่วงล็อกดาวน์ปี 2020 ดังนั้นการจัดสรรพื้นที่ภายในจึงคำนึงถึง ‘ความปกติใหม่’ ดังนั้นจึงมีการวางเส้นทางสัญจรตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงเคาน์เตอร์วางสิ่งของที่แยกต่างหาก และนำไปสู่ห้องน้ำสำหรับทำความสะอาดร่างกายก่อนเข้าสู่พื้นที่อื่นภายในบ้าน พื้นที่ห้องนั่งเล่นแบ่งกั้นขอบเขตจากส่วนรับประทานอาหารด้วยการยกระดับพื้น ส่วนครัวก็แยกจากพื้นที่รับประทานอาหารด้วยเคาน์เตอร์บาร์และประตู-หน้าต่างบานเลื่อนไม้สัก นอกจากนี้ ระเบียงที่เชื่อมต่อกับครัว […]

ENVELOPE HOUSE บ้านโมเดิร์น ของครอบครัวใหญ่ ที่เผื่อพื้นที่ให้ต้นไม้ได้เติบโตและสายลมพัดผ่าน

บ้านโมเดิร์น ของครอบครัวขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ กับการเนรมิตพื้นที่ให้เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ พร้อมการมอบนิยามใหม่ให้การสร้างบ้านในเขตร้อนชื้น ช่วยให้บ้านมีเอกลักษณ์ไปพร้อมกับการอยู่อาศัยที่ดี เพราะ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าทุกตารางนิ้วบนเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีคุณค่าและราคาสูง การสร้างบ้านสักหนึ่งหลังจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันและการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด บ้านโมเดิร์น หลังนี้ ก็เช่นกัน กับการรวบรวมสมาชิกของครอบครัวไว้ถึง 3 ครอบครัว และหลายเจเนอเรชั่น บ้างหลังนี้จึงต้องตอบสนองคนทุกช่วงวัย โดยไม่ละทิ้งสเปซที่เป็นส่วนตัว ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เพิ่มเติมคือพื้นที่สีเขียว ที่ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนก็สัมผัสได้ถึงธรรมชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนโหยหา และเชื่อว่าจะช่วยเยียวยาใจทุกครั้งเมื่อกลับถึงบ้าน เอกลักษณ์ของบ้านหลังนี้ เด่นด้วยบ้านรูปทรงกล่องโมเดิร์นดีไซน์เรียบง่าย ออกแบบโดยสถาปนิกจาก Asolidplan สะดุดตาเป็พิเศษกับช่องเปิดสี่เหลี่ยมหลากหลายขนาดที่กระจายอยู่ทั่วอาคาร จนเปรียบเสมือนเป็นลวดลายให้แก่เปลือกอาคาร หรือฟาซาดไปในตัว ทำหน้าที่ช่วยนำแสงและลมให้พัดผ่านเข้ามาสู่พื้นที่พักอาศัยด้านใน ทำให้บ้านเย็นตลอดเวลา แม้หน้าบ้านจะหันไปทางทิศตะวันตกก็ตาม เมื่อเข้ามาภายในบ้าน มุมมองของสวนสีเขียวด้านนอกยังตามเข้ามาสู่พื้นที่ส่วนกลางของบ้านเกือบทุกอณู เพื่อให้เกิดความรู้สึกสดชื่นท่ามกลางบรรยากาศสวนสีเขียวในร่ม ปลูกต้นไม้อยู่ใต้บันไดของคอร์ตกลางบ้าน ให้แทงยอดสูงชะลูดขึ้นไปจนถึงชั้นสอง คล้ายยกธรรมชาติมาไว้ใกล้ตัว เสริมด้วยบ่อน้ำเล็ก ๆ ที่มีแผ่นทางเดิน สำหรับเดินเชื่อมต่อไปยังมุมนั่งเล่น และมุมนั่งเล่นเล็ก ๆ ริมหน้าต่าง รับรู้ถึงความผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่ สวนพักอาศัยชั้นสอง เป็นชั้นพักผ่อนของผู้สูงอายุของครอบครัว ส่วนชั้นสามเป็นส่วนพักอาศัยของครอบครัวรุ่นใหม่ โดยระหว่างขึ้นบันไดยังจะสัมผัสได้ถึงความเขียวชอุ่มของยอดไม้ แถมมีที่นั่งเล็ก […]