© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
สิ่งทอ ที่ผลิตจากเส้นใยและไหม แต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและใช้ทุกวันอีกอย่างที่อาจจะมองข้ามไปนั่นคือ “เฟอร์นิเจอร์” จนสิ่งทอกลายมาเป็นอุตสาหกรรม
วัสดุแก้ว สามารถนำมาตกแต่งบ้านได้ในสไตล์ที่หลากหลาย ที่พัฒนาจากนวัตกรรมวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุธรรมชาติที่ผ่านกรรมวิธีที่นำเป็นเทรนด์แต่งบ้าน
room ขอแนะนำเหล่า วัสดุขยะ น่าสนใจที่ล้วนแล้วแต่เป็นทางออกของการใช้เศษเหลือจากจัดงานอีเว้นต์แทบทั้งสิ้นไม่ว่า กากกาแฟ เศษอาหาร ขวดพลาสติก
ตาม room ไปเยือน TAIWAN DESIGN WEEK ครั้งแรก เข้าใจความเป็นไต้หวันในทศวรรษนี้ผ่านแง่มุมดีไซน์ เยี่ยมชุมชนนักสร้างสรรค์ พร้อมร่วมพิธีมอบรางวัลด้านการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย Taiwan Design Week ครั้งแรกจัดขึ้นที่ Songshan Cultural and Creative Park กลางกรุงไทเป มาในธีม Elastic Bridging นำเสนอแนวโน้มงานออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่ล้วนบอกเล่าเรื่องราวการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และการร่วมมือระหว่างไต้หวัน และสากลได้อย่างยืดหยุ่น และมีสมดุล เพื่อนำไปสู่การก้าวข้ามกรอบจำกัด เปิดความเป็นไปได้ใหม่ และสร้างแพลตฟอร์มรองรับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในแวดวงสร้างสรรค์ เนื่องจากไต้หวันเป็นเกาะ จึงมีลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศเฉพาะ รวมถึงมีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน แต่เมื่อมองจากภาพรวมงานออกแบบยุคนี้จะพบว่า นักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ต่างปรับตัวอย่างยืดหยุ่น และพยายามเชื่อมโยงภูมิปัญญาเข้ากับงานออกแบบหลากหลายสาขา เพื่อมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมในภาพรวม โดยยังคงสอดแทรกเอกลักษณ์ทางความคิด หรือวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ Theme Exhibition นิทรรศการภายใต้ธีมหลักของงาน Elastic Bridging จัดแสดงผลงานการออกแบบของนักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ 54 ทีม รังสรรค์ขึ้นโดย curator ไฟแรงอย่าง […]
โปรดักซ์ สีจากธรรมชาติ จากดอกไม้ ต้นไม้ จนไปถึงวัสดุเศษเหลือในร้านอาหาร คาเฟ่ผ่านกรรมวิธีสกัดมาเป็นสีที่นำมาใช้แทนสีโปสเตอร์จากอุตสาหกรรม
เจ้าของบ้านตั้งใจสร้าง บ้านสีขาว ใหม่เพื่อสร้างครอบครัวและอยู่อาศัยในอนาคต Anonym ผู้ออกแบบบ้านหลังนี้จึงให้ผู้อยู่อาศัยเป็นหัวใจหลักสำคัญ
9 ปีแล้ว กับ PHTAA living design และในโอกาสที่พวกเขาได้จัดนิทรรศการแสดงผลงานของตัวเอง กับ Re-appropriate ขบถ-สร้างสรรค์ นิทรรศการบอกเล่าแนวคิดสุดขบถ แต่ลงตัวอย่างเหลือเชื่อตามสไตล์ PHTAA แต่เบื้องหลังผลงานเหล่านั้นพวกเขาออกแบบขึ้นมาได้อะไร ผ่านวิถีทางการดีไซน์อย่างไรบ้าง นี่คือ ตัวอย่าง 9 แนวคิดการใช้วัสดุจาก 9 โครงการสร้างชื่อของพวกเขา ภาพ: PHTAA living designเรียบเรียง: Wuthikorn Sut อ่านเนื้อหาอื่นๆของ PHTAA living design ได้ที่ DESIGNER DIRECTORY: https://www.baanlaesuan.com/directory/phtaa
จะดีแค่ไหนถ้าการ ออกแบบบ้าน สักหลัง สามารถทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกของการได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม วันนี้ room Design Tips ขอนำความรู้เรื่อง “ทิศทางแดด-ลม” และ “รูปทรง” ของบ้าน ที่มีศักยภาพในการเปิดรับแสง-ลมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการออกแบบบ้านที่จะมีผลต่อการวางผังการใช้งานว่าจะทำอย่างไรให้บ้านมีสภาวะน่าสบาย เหมาะกับการอยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถใช้เวลาและใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างมีความสุข วางผังบ้านให้ถูกทิศแดดและลม ทิศเหนือ เป็นทิศที่ร่มเย็นที่สุดตลอดวัน เหมาะกับเป็นพื้นที่พักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่ได้รับแสงในตอนเช้า ไม่สะสมความร้อนช่วงบ่าย ทำให้ตอนกลางคืนเย็นสบาย เหมาะจะทำเป็นห้องนอน ทิศตะวันตก-ใต้ เป็นทิศที่ได้รับปริมาณแสงแดดมากตลอดทั้งวัน แต่มีลมพัดผ่าน จึงเหมาะเป็นห้องครัว ห้องน้ำ หรือส่วนบริการอื่น ๆ ที่ต้องการแสงแดด และการระบายอากาศที่ดี ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ค่อนข้างร้อนตลอดวัน จึงควรจัดสรรเป็นพื้นที่ที่ต้องการแดดและลม เช่น ทางเดินระเบียง เพื่อกันไม่ให้พื้นที่ใช้งานภายในบ้านได้รับความร้อนโดยตรง ทิศทางลมแต่ละฤดู ฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ลมพัดมาทางทิศใต้ช่วยคลายร้อน ฤดูฝน เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ลมพัดจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เดือนธันวาคม […]
GalileOasis Boutique Hotel เก็บโครงสร้างเก่ามาเล่าใหม่ กับบูทีคโฮเทลในพื้นที่ของคนรักศิลปะ ภายในโครงการ GalileOasis สถานที่ที่เป็นเสมือนโอเอซิส เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ และเป็นชุมชนแห่งการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ ซ่อนตัวอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ย่านบรรทัดทองของชุมชนบ้านครัว ชุมชนเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ย้อนไปที่ตั้งของโครงการ GalileOasis นี้ เคยเป็นเวิ้งตึกแถวจำนวน 20 คูหา อายุ 50 ปี ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยจริงมาก่อน ก่อนหมดสัญญาเช่า และมีสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก กระทั่งอาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง อาจารย์สอนด้านการละคร และครอบครัว ได้เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์กลุ่มคณะละครสองแปด เข้ามาเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้สเปซแหล่งรวมคนรักงานศิลปะ และพื้นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่นี่จึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยยังคงโครงสร้างและสภาพเดิมของตึกแถวไว้บางส่วนเพื่อบอกที่มาที่ไปของสถานที่ ภายใต้บทบาทใหม่ เปลี่ยนที่นี่ให้เป็นโอเอซิสล้อมรอบด้วยต้นไม้ และความเคลื่อนไหวอันมีสีสันไปกับงานศิลปะ วัฒนธรรม และไลฟต์สไตล์สุดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งพื้นที่คาเฟ่ โรงละคร ร้านแผ่นเสียง ร้านอาหารอิตาลี ร้านฟิชแอนด์ชิปส์ ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนลืมความวุ่นวายภายนอก ชักชวนทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนให้ได้มาใช้พื้นที่พักผ่อนร่วมกันอย่างเป็นมิตร ขณะที่ชั้นบน 2 และ3 ของตึกแถวทั้งสองฝั่ง ได้รับการแบ่งพื้นที่เพื่อเปิดเป็นบูทีคโฮเทลจำนวน 19 ห้อง […]
room ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับสองพี่น้อง คุณปิ๊ง ฐิติภา และคุณแชมป์ สุกฤษฐิ์ ครอบครัวศรหิรัญ ทายาทอาคารชัยพัฒนสินรุ่นปัจจุบัน ที่มาบอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในชื่อใหม่ The Corner House มีที่มาที่ไปอย่างไรในบทความนี้กันได้เลย
สยามเซ็นเตอร์ จับมือ ป๊อบ มาร์ท เปิดตัวป๊อบอัพสโตร์เต็มรูปแบบแห่งแรกในไทย ณ สยามเซ็นเตอร์ ส่งมอบประสบการณ์สุดพิเศษที่ไม่เหมือนใคร! 7 ธ.ค.66 –29 ก.พ.67 ชั้น G สยามเซ็นเตอร์ เท่านั้น พร้อม EXCLUSIVE LIMITED COLLECTION คอลเลกชั่นสุดลิมิเต็ด วางจำหน่ายที่แรก เฉพาะที่นี่เท่านั้น กับ MOLLY x MIKA NINAGWA NIGHTTIMES SUMMER BUTTERFLY FIGURE และ PUCKY INK FLOWER FIGURE สยามเซ็นเตอร์ เมืองแห่งไอเดียที่ล้ำเทรนด์ ร่วมกับ บริษัท ป๊อป มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข เปิด “The First POP MART POP UP in THAILAND […]
ป่าทำมา รีสอร์ท แบบวิลล่าริมแม่น้ำน่าน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตีความให้ความร่วมสมัย ในพื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเป็นป่าของชุมชน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IF (Integrated Field) เริ่มจากแนวคิดตั้งต้นในการฟื้นคืนป่าให้พื้นที่ริมน้ำ โดยมีอาจารย์จุลพร นันทพานิช แห่งป่าเหนือสตูดิโอ สถาปนิกผู้ทำงานออกแบบที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ ช่วยเข้ามาปรับสภาพที่ดินในส่วนที่ติดกับริมแม่น้ำ ทั้งการปลูกต้นไม้ทุกชนิดใหม่จากต้นกล้า ไม่ใช้วิธีล้อมต้นใหญ่มาปลูก เพื่อปล่อยให้ธรรมชาติร่วมทำงาน รอเวลาให้ต้นไม้ค่อยๆ เติบโต ให้ป่าฟื้นฟูตัวเองนานนับปี จากนั้น IF (Integrated Field) จึงเข้ามาออกแบบอาคาร รีสอร์ท ไปพร้อมกับการสร้างป่าแห่งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น วางอาคารเปิดรับวิวแบบพานอรามา ทีมสถาปนิกจาก IF (Integrated Field) เข้ามาคิดผังการวางอาคารในพื้นที่ริมน้ำที่ถูกปรับเป็นป่า โดยวางอาคารหลัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อาคารส่วนต้อนรับ มีห้องอาหาร “ป่ากำกิ๋น” เป็นภาษาเหนือแปลว่าป่าของกิน ทรงอาคารมีที่มาจากรูปทรงของหินที่พบได้บริเวณริมแม่น้ำ รายละเอียดแทบทุกจุดของโครงการ เกิดจากการลงพื้นที่ชุมชนของทีมออกแบบ นำไปสู่การต่อยอดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นงานร่วมสมัยที่น่าสนใจ ซ่อนอยู่ในดีไซน์ของตัวอาคาร ทรงหลังคา เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงวัสดุ เรียกได้ว่าทุกองค์ประกอบมารวมตัวกันก่อตัวเป็น “ป่าทำมา” ที่ถูกทำขึ้นมาอย่างตั้งใจ และพอดี […]