Design
ปรับ พื้นที่ใต้บันได ให้เป็นมากกว่า ที่เก็บของ
พื้นที่ใต้บันได บ้านส่วนใหญ่มักเป็นพื้นที่สำหรับเก็บของ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สุมของเลยก็ว่าได้ ทุกครั้งที่มีข้าวของเข้าบ้านแต่ไม่มีที่วาง…
วัสดุธรรมชาติ ออกแบบ จากเศษเหลือ สู่ผลลัพธ์ในความเป็นไปได้ใหม่ของความยั่งยืน !
การสร้างสรรค์วัสดุผ่านเศษเหลือจากธรรมชาติก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยสร้างให้ “แนวคิดวัสดุหมุนเวียน” หรือ “Circular Economy
วัสดุ กระดาษ จากเศษเหลือ อุตสาหกรรมเกษตร
วัสดุ กระดาษ BCG ! เปลี่ยนวงจรมลพิษจากการ “เผา” สู่งานออกแบบใหม่จากเศษเหลือทิ้งทางอุตสาหกรรมเกษตร การเวียนใช้เศษเหลือทางอุตสาหกรรมเกษตร
พลาสติก ดีไซน์ ใหม่จากการ รีไซเคิล
พลาสติกนี้คือผู้ร้ายเสมอไป เพราะในปัจจุบันนั้นได้มีการคิดแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวในหลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการลดความต้องการ การใช้ซ้ำ รีไซเคิล จนนำไปสู่งานออกแบบที่สร้างสรรค์ต่างๆ เป็นการหาหนทางใหม่ๆในการใช้วัสดุสุดทนที่ยากจะย่อยสลายนี้ทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้กับพลาสติกไ้ด้อีกทางหนึ่งด้วย
ไม้แปรรูป ผสานหลากวัสดุ เพิ่มมิติความเป็นไปได้ใน งานออกแบบ
ไม้เป็นวัสดุที่หาง่าย ใกล้ตัว สามารถใช้หมุนเวียน ยั่งยืนในระยะยาวเพราะปลูกทดแทนได้ room ได้รวบรวมสารพัด ไม้แปรรูป และวัสดุอื่น ๆ เมื่อนำมาผสานรวมกันแล้วได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เป็นวัสดุตกแต่งปิดผิว ใช้ในงานออกแบบ ช่วยสร้างมิติ และยังยกระดับงานฝีมือหัตถกรรม เช่นงานสานที่ตอบโจทย์งานได้หลากหลายรูปแบบ
ไอเดีย รีโนเวททาวน์โฮม และตึกแถว สร้างสภาวะน่าสบาย และคุณภาพชีวิตที่ดี
หลาย ๆ คนอาจไม่ชอบใจนักกับปัญหาบ้านแคบ มีช่องระบายลม และแสงน้อย ทำให้อุดอู้ ร้อน อยู่แล้วไม่สบาย จึงขอนำเสนอแนวคิดการ รีโนเวททาวน์โฮม และตึกแถว เพื่อให้บ้านน่าอยู่ช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ทันสมัยให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยไอเดีย รีโนเวททาวน์โฮม มีหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เหมือนอยู่ในบ้านเดี่ยว วิธีการเพิ่มปริมาณแสงธรรมชาติ และการหมุนเวียนอากาศ เพิ่มพื้นที่แนวตั้ง สร้างสรรค์เปลือกอาคารให้แตกต่างทันสมัย ฯลฯ ถึงแม้เราจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องอยู่ในบ้านขนาดจำกัด แต่ใช่ว่าจะถูกจำกัดความสุข ลองมาดูแนวทางการออกแบบเพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดด้านพื้นที่ เสกบรรยากาศบ้านใหม่ให้ดีกว่าเก่ากันเถอะ เปลี่ยนเปลือกอาคารให้ร่วมสมัย เนื่องจากตัวบ้านทาวน์เฮ้าส์มักจะเป็นอาคารที่มีหน้าตา และผังอาคารเหมือนกันหมด นอกเหนือไปจากการปรังปรุงพื้นที่ภายในแล้ว การปรับเปลี่ยนเปลือกอาคารใหม่ก็ช่วยสะท้อนตัวตนของเจ้าของบ้าน ทั้งยังมีประโยชน์ด้านการเปิดรับลมและกรองแสงธรรมชาติ ทั้งนี้ควรเลือกใช้วัสดุให้มีความกลมกลืนไปกับบริบทท้องถิ่น ตอบโจทย์การใช้งานก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ บริเวณระเบียงอาคารเดิม ได้รับการออกแบบเปลือกอาคารใหม่มีลักษณะเป็นบานเฟี้ยม ที่สามารถเปิด-ปิด ได้ ไม่ว่าจะเปิดมุมมองสู่ภายนอก หรือเปิดเพื่อกรองแสงและเพิ่มความปลอดภัยออกแบบ : Jeff Weng จาก 2BOOKS design (www.2booksdesign.com.tw)ภาพ : Millspace & Workparpress ผนังคอนกรีตหน้าบ้าน ซ่อนทางเข้าไว้เบื้องหลัง ไอเดียจากบ้านทาวน์เฮ้าส์ 2 […]
บ้านเดี่ยว สไตล์ ตึกแถว ในประเทศ เวียดนาม เปิดรับบริบทภูมิอากาศ และเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวผ่านการใช้พื้นที่ในแนวตั้ง
โจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือการเติมพื้นที่โล่ง และแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของอาคารในรูปแบบตึกแถวที่มักมีปัญหาในด้านความทึบตัน โดยบ้านหน้าแคบเช่นนี้ โดยกฎหมายแล้วจะไม่มีหน้าต่างในด้านข้าง จึงทำให้ต้องมีการออกแบบช่องเปิดในหน้าบ้านและหลังบ้านแทน การเลือกใช้สีขาว ถูกใช้เพื่อให้แสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง สามารถสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกัน ระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป แม้บ้านหลังนี้จะมีสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายในนั้น มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้งได้ โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architects ภาพ: Hiroyuki Oki เรียบเรียง: Wuthikorn Sut #roomHouses#roomBooks#บ้านเวียดนาม
เบื้องหลังดีไซน์เพื่อคุณภาพชีวิตกับ Antoine Besseyre des Horts แม่ทัพทีมออกแบบแห่ง LIXIL
อาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคสมัย ที่นักออกแบบต้องพบกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน Antoine Besseyre des Horts ในฐานะแม่ทัพทีมดีไซน์ของ LIXIL Group ภูมิภาคเอเชีย ชวน room พูดคุยถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัย ท่ามกลางบริบทสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการขยายบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ ที่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกดีไซน์นับจากนี้เป็นต้นไป อันทวน เบแซร์ เดส์ออรส์ ( Antoine Besseyre des Horts ) ลีดเดอร์ (VP) ประจำลิกซิล โกลบอล ดีไซน์ (LIXIL Global Design) ภูมิภาคเอเชีย หัวเรือใหญ่ของทีมดีไซน์ 3 แบรนด์หลักในเครือ LIXIL อย่าง American Standard, GROHE และ INAX แบรนด์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ และสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ และห้องครัว หลังจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มายาวนานกว่าสองทศวรรษ เขาร่วมกับทีมนักออกแบบสร้าง ‘ไบเบิ้ล’ หรือคู่มือที่ช่วยวางรากฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ […]
รีโนเวทคอนโด สูงโปร่งให้อบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นโปรด
รีโนเวทคอนโด แบบดูเพล็กซ์ลอฟต์ขนาด 1 ห้องนอน ที่ตกแต่งพร้อมอยู่แบบ Fully Furnished พร้อมตกแต่งและจัดระเบียบพื้นที่เดิมให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณหนุ่ม – รังสรรค์ นราธัศจรรย์ ดีไซน์ไดเร็กเตอร์ และเจ้าของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ niiq ผังเดิมของห้องชั้น 1 ประกอบด้วยห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน และระเบียง ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องเพดานที่สูงโปร่งถึง 3.60 เมตร ในขณะที่ชั้นลอยเป็นห้องนอน ซึ่งมีระยะความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน 1.50 เมตร คุณหนุ่มตัดสินใจ รีโนเวทคอนโด รื้อเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินเดิมออกทั้งหมด ยกเว้นตู้เก็บของ และชุดครัว รวมถึงย้ายเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดออกไป แล้วทุบประตูบานเลื่อนกระจกที่กั้นระหว่างห้องครัวกับห้องนั่งเล่นออก เพื่อเปิดสเปซให้โปร่งโล่งเชื่อมต่อห้องครัวกับห้องนั่งเล่นเข้าหากัน นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนตำแหน่งของโซฟาใหม่ จากเดิมที่เคยจัดวางหันหลังชิดผนังฝั่งประตูทางเข้าก็ขยับมาไว้กลางห้อง แล้วหมุนองศาให้ด้านหน้าหันออกสู่ผนังกระจกทางทิศตะวันตก เพื่อให้สายตารับกับวิวเมืองได้อย่างชัดเจน พร้อมกับจัดวางชั้นวางของทรงเตี้ยชิดด้านหลังพนักพิงของโซฟา เพื่อแบ่งสเปซระหว่างมุมนั่งเล่นกับครัวให้เป็นสัดส่วน โดยชั้นวางนี้ยังเป็นที่จัดเก็บหนังสืออย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในตัวอีกด้วย ถัดเข้าไปยังพื้นที่ใต้ชั้นลอย มีการติดตั้งผ้าม่านแทนผนังทึบ เพื่อปิดซ่อนมุมเก็บของใต้บันไดให้ดูเรียบร้อยสะอาดตา รื้อตู้เสื้อผ้าแบบบิลท์อินเดิมออก แล้วแทนที่ด้วยราวแขวนผ้าแบบตั้งพื้น เช่นเดียวกับตำแหน่งของชั้นวางโทรทัศน์เดิมที่อยู่บริเวณเชิงบันไดก็ถูกรื้อออก แล้วแทนที่ด้วยอาร์มแชร์และโต๊ะข้าง สำหรับใช้เป็นมุมพักผ่อนนั่งอ่านหนังสือ เสริมด้วยการวางตำแหน่งลำโพงตั้งพื้นเข้ามุมเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค้า ขนาบด้วยชั้นวางของอเนกประสงค์เป็นทั้งที่วางของและที่จัดเก็บเสื้อผ้า นอกจากที่นี่จะเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว คุณหนุ่มยังใช้มุมนั่งเล่นเป็นที่ทำงานของเขาในบางครั้ง […]
The Brewing Project x Benxblues ลายเส้นเอกลักษณ์ที่สะท้อน รส และ เรื่อง
The Brewing Project จึงเริ่มต้นสร้างสรรค์ฉลากที่ถ่ายทอดเรื่องราวและสื่อสารถึงรสชาติผ่านลายเส้นภาพประกอบ โดยยึดไอเดียความเป็นไทย และแนวคิดที่ว่าฉลากของบรรจุภัณฑ์นั้นสำคัญไม่ต่างจากตัวผลิตภัณฑ์เลย
ASAI Bangkok Sathorn เพื่อนบ้านใหม่ย่าน สาทร ที่พาคุณไปสัมผัสประสบการณ์แบบท้องถิ่นใจกลางเมือง
ย่านสาทรเป็นโลเคชั่นที่มีความหลากหลายและมีชีวิตชีวามากที่สุดอีกย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ เพราะมีทั้งโซนที่พักอาศัย ร้านอาหาร สำนักงาน สปา สถานศึกษา ศาสนสถาน ฟู้ดสตรีทต่าง ๆ ที่แสดงถึงวิถีชีวิตผู้คนบอกท้องถนน ซึ่งเป็นความตั้งใจของ ASAI Bangkok Sathorn ที่ต้องการผสานความหลากหลายนี้ เข้ากับตัวโรงแรมเพื่อให้กลมกลืนไปกับบริบทของชุมชน โดยตีความการใช้ชีวิตของคนเมืองแบบใหม่ สู่การพักผ่อนในอีกหนึ่งแง่มุมที่น่าสนใจ
เหนื่อยมากไหม? มาฮีลใจด้วย เสียงธรรมชาติ จากทั่วโลกกันดีกว่า
เสียงธรรมชาติ ต้อนรับวันต้นไม้แห่งชาติ ที่ตรงกับวันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ของทุกปี ซึ่งในปี พ.ศ.2566 นี้ตรงกับวันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน
บ้านเยื้องทะเลสาบที่หลบเหลี่ยม รับวิว ธรรมชาติอย่างเป็นส่วนตัว
คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]
PINWHEEL HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปห้าเหลี่ยมสีขาว ตากอากาศรับวิวทะเลสาบอิตาลี
“บ้านดอกไม้ไฟ” บ้านโมเดิร์น ทรงห้าเหลี่ยมสีขาวโพลน ตั้งเด่นบนเนินเขาเล็ก ๆ ใช้ตากอากาศและพักผ่อนชมธรรมชาตินิ่งสงบกลางป่าโอ๊ก บ้านโมเดิร์น สีขาวโพลนที่เห็นนี้ตั้งเด่นอยู่บนเนินเขาใกล้กับทะเลสาบมาจิโยเร (Maggiore) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศอิตาลี และอยู่ทางใต้ของเทือกเขาแอลป์พรมแดนติดกับสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ที่นี่ยังล้อมรอบไปด้วยป่าต้นโอ๊กเก่าแก่ สีเขียวของป่าช่วยขับเน้นให้ความเรียบง่ายของบ้านตากอากาศสีขาวนี้ ยิ่งดูสวยงามราวกับมีใครนำประติมากรรมมาจัดวาง โครงสร้างของบ้านพักตากอากาศชั้นเดียว สถาปนิกจาก JM Architecture เลือกใช้ระบบแบบสำเร็จรูป ตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหล่อในที่ โดยตำแหน่งของบ้านถูกวางตามข้อจำกัดของที่ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินลาดเอียงเล็กน้อย บวกกับความต้องการให้หน้าบ้านหันออกสู่วิวของทะเลสาบ ตัวบ้านด้านหนึ่งจึงต้องยกขึ้นเล็กน้อยตามความชันของเนินดิน ส่วนหน้าบ้านจะเห็นว่ามีลักษณะลาดต่ำลงมาเล็กน้อย โครงสร้างของบ้านใช้วัสดุหลักเป็นไม้ที่ได้รับการประกอบขึ้นในไซต์ โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ส่วนหน้าอาคารเป็นการผสมผสานระหว่างแผงคอนกรีตสีขาวกับบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมคอมโพสิตซึ่งมีขนาดต่างกัน โดยมีช่องเปิด หรือกรอบหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่อยู่ตรงพื้นที่แต่ละด้าน และออกแบบให้มีช่องแสงขนาดเล็กสำหรับห้องนอน และห้องน้ำ กำหนดตำแหน่งห้องนั่งเล่นให้อยู่ตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคาร มีหน้าต่างบานเลื่อนทรงสี่เหลี่ยมหันออกไปหาวิวหุบเขา และทะเลสาบ อีกด้านยังได้ออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน เพื่อเปิดออกสู่พื้นที่นั่งเล่นซึ่งเป็นลานกลางแจ้งที่โรยพื้นด้วยกรวดสีขาว ตัวอาคารเน้นดีไซน์ให้มีขอบโค้งมนต่อเนื่องกันจนครบทุกด้าน โดยมีการสลับครีบแนวตั้งฉาก ที่มองเผิน ๆ คล้ายดอกไม้ไฟ หรือตะไลยักษ์กำลังหมุนคว้าง เนื่องจากตัวบ้านอยู่ติดกับถนนชนบทสายเล็ก ๆ จึงได้ทำที่จอดรถเล็ก ๆ สำหรับจอดรถได้ 1 คัน ภายในของบ้านแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 2 ชั้น […]
BAUMAN LOFT รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ ฟังก์ชันครบด้วยพื้นที่สามระดับ
โปรเจ็กต์ปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นที่พักอาศัย ที่น่าสนใจด้วยแนวคิดการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยทางแนวตั้งพร้อมกับการ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ แห่งนี้ตั้งอยู่ในอาคารเก่าในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ที่นี่เคยเป็นโรงงานคัดแยกใบชา ซึ่งกำลังได้รับการปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นย่านที่พักอาศัยเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอาคารสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างอิฐตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1917 และถือได้ว่าเป็นกลุ่มอาคารอุตสาหกรรม ที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งจากยุคนั้น ในการปรับเปลี่ยนอาคารเก่าแก่ซึ่งเคยมีประโยชน์ใช้สอยอื่นให้กลายเป็นอพาร์ตเมนต์ จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับฟังก์ชันที่จำเป็นทั้งหมดในการใช้ชีวิตรวมไว้ในห้องสี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัดนี้ เนื่องจากห้องขนาด 53 ตารางเมตร นี้ มีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน 4.30 เมตร การใช้พื้นที่แนวตั้งให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทีมสถาปนิกจึงออกแบบโซนพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ บริเวณโถงทางเข้า พื้นที่นั่งเล่น และครัว อยู่ระดับเดียวกับพื้นอาคาร และยกระดับโซนห้องนอนให้สูงขึ้นระดับขอบหน้าต่าง ส่วนระดับบนสุดมีบันไดขึ้นไปสู่พื้นที่แต่งตัว และห้องอาบน้ำ ซึ่งนอกจากจะแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจนแล้ว ยังเป็นการจัดสรรลำดับการเข้าถึงและความเป็นส่วนตัวอีกด้วย ในแง่ของการตกแต่ง ผู้ออกแบบเลือกใช้สีขาวเพื่อสร้างความปลอดโปร่งให้กับสเปซในภาพรวม โดยผิวสัมผัสที่แตกต่างกันของวัสดุต่าง ๆ เช่น กำแพงอิฐเปลือยผิว ฝ้าเพดานกรุแผ่นโลหะลอน พื้นไม้ทำสี ช่วยให้เฉดสีขาวมีความหลากหลายน่าสนใจ เติมความโดดเด่นด้วยโทนสีน้ำเงินของเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อมโยงกับสีฟ้าน้ำทะเลของโซนห้องน้ำ นอกจากนี้เส้นสายกราฟิกสีดำของบานประตูกระจกกั้นห้องนอน ราวบันได รวมถึงโคมไฟตกแต่งก็ช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ ในส่วนของโต๊ะรับประทานอาหารหรือเคาน์เตอร์บาร์ขนาดย่อมสั่งทำพิเศษให้เคลื่อนย้ายได้ จึงสามารถปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังมีฉากรับภาพแบบม้วนเก็บได้สำหรับการชมภาพยนตร์อีกด้วย อพาร์ตเมนต์ห้องนี้จึงดูเรียบง่าย โปร่งโล่ง แต่ก็มีฟังก์ชันครบครันตามที่ผู้ออกแบบที่ตั้งใจ – ออกแบบ: Nefa Architectsวิศวกรรม: Sergei Kurepinภาพ: Ilya Ivanov เรื่อง: psuw ___________________________________________________________________________________________ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น
AIMANDA อิ่มเอมในรสอาหารใต้ เคล้ากลิ่นอายอันดามัน
เอมอันดา AimAnda l Southern Thai Cuisine ร้านอาหารอบอุ่น เสิร์ฟรสชาติจัดจ้านจากแดนใต้ เด่นด้วยงานดีไซน์สไตล์ไทยโมเดิร์น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio เอมอันดา ร้านอาหารใต้ระดับพรีเมียมเปิดใหม่ย่านถนนพระยาสัจจา-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งโดดเด่นอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโกปี๊ฮับสาขา 2 ร้านติ่มซำซึ่งมีต้นตำรับมาจากหาดใหญ่ จากทำเลดังกล่าวผสานกับความต้องการของคุณณิชา จารุกิตต์ธนา ผู้เป็นเจ้าของ ร้านอาหารใต้แห่งนี้จึงมีกลิ่นอายที่เชื่อมโยงกันไปกับร้านติ่มซำ ได้รับการออกแบบโดย Does studio ทีมสถาปนิกผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของโกปี๊ฮับมาแล้วทั้ง 2 สาขา สำหรับการออกแบบร้านอาหารครั้งนี้ พวกเขาได้ร่วมกันคิดงานดีไซน์ของร้าน ผ่านชื่อ “เอมอันดา” อันสื่อความหมายถึงความอิ่มเอมที่ทุกคนจะได้รับผ่านมื้ออาหารแสนอร่อย และทะเลอันดามัน แหล่งอาหารรวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของผู้คน ก่อนนำมาสู่การออกแบบร้านผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายสไตล์ไทยโมเดิร์น โดยดีไซน์ขึ้นมาจากคอนเซ็ปต์ของอาหาร เพื่อสื่อถึงอาหารไทยพื้นถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการยกระดับให้มีความพรีเมียม จนมาลงตัวกับอาคารสีขาวโดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่ว ผสานกับเส้นโค้งที่หมายถึงเกลียวคลื่น ช่วยให้เกิดมุมมองที่ดูสมู้ธลื่นไหล โดยเป็นเส้นโค้งที่ออกแบบให้ยาวต่อเนื่องมาจากหลังคาทรงจั่ว ยาวเรื่อยไปจนรับกับพื้นที่ลานจอดรถ สิ่งที่ท้าทายครั้งนี้ คือตำแหน่งศาลพระพรหมที่ตั้งอยู่ด้านหน้า กลายเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ศาลพระพรหม และอาคารร้านอาหารเป็นเรื่องราวเดียวกัน สถาปนิกจึงเลือกผลักอาคารร้านอาหารเข้าไปด้านใน แล้วใช้แลนด์สเคปมาคั่นกลางให้มุมมองของสวนทำหน้าที่เปรียบเสมือนแบ็กกราวน์ให้แก่ศาลพระพรหม ออกแบบทางเข้าให้ลูกค้าสามารถเดินมาได้ทั้งจากพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งต้องเดินผ่านพื้นที่แลนด์สเคปเข้ามา หรือจะเดินมาจากลานจอดรถด้านข้างของร้านโกปี๊ฮับก็ได้ โดยได้ออกแบบให้มีไฮไลต์ หรือลูกเล่นด้วยการทำช่องทางเดินวางตัวเป็นแนวยาวอยู่หลังศาลพระพรหม […]
CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!
ต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!
SAI SAI CAFE คาเฟ่กลางมหาวิทยาลัย ที่พรางตัวไปกับธรรมชาติ
ใสใส วัยเรียนชอบ ก็ แน่นอนเพราะคาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่กลางคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง นั่นเอง และคาเฟ่แห่งนี้ก็ใสสมชื่อ เพราะทั่วทั้งร้านมีการตกแต่งด้วยกระจกเงา ทำให้ผนังภายนอกสะท้อนภาพของธรรมชาติ และแมกไม้ที่สวยงามดั่งคาเฟ่นั้นพรางตัวหายไป ความน่าสนใจคือคาเฟ่แห่งนี้ เดิมเป็นพื้นที่กลุ่มบ้านพักบุคลากรของสถาบันฯ ที่ก่อสร้างมาพร้อมกับ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อมาเมื่อคณะฯ มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องขยับขยายพื้นที่ มายังบริเวณนี้ กลุ่มบ้านพักจึงค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยอาคารเรียนต่างๆ จนหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงสองหลัง พื้นที่โดยรอบบ้านพักทั้งสองหลังนี้มีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างที่ถูกปกคลุมด้วยร่มไม้ขนาดใหญ่ อยู่ท่ามกลางกลุ่มอาคารเรียนที่มีนักศึกษาใช้งานจำนวนมาก เพื่อความปลอดภัยและการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมออกแบบจึงมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นพื้นสาธารณะ แห่งใหม่ของนักศึกษา ไปเสียเลย เพื่อช่วยสร้างให้เกิดพื้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยเชิญชวนให้เอกชนที่สนใจประมูลอาคารหลังนี้เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ร่วมเสนอแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก ในการพัฒนาพื้นที่ จำเป็นต้องเปลี่ยนการรับรู้ของผู้ใช้จากพื้นที่ที่ถูกมองว่าเป็นด้านหลัง ของคณะฯ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เอื้อให้ผู้คนเข้าไปใช้งาน จากอาคารเดิมที่ถูกออกแบบมาสำหรับพักอาศัยจึงต้องการการแบ่งพื้นที่ระหว่างภายในกับภายนอกที่ชัดเจน ทำให้เกิดพื้นที่ข้างหน้ากับพื้นที่ข้างหลังของอาคารที่แยกขาด เป็นอุปสรรคสำคัญในการเชื่องโยงพื้นที่รอบๆ เข้าด้วยกัน การออกแบบอาคารร้านกาแฟใสใสจึงเป็นเพียงการหาวิธีทำให้อาคารเลือนหายไปในหมู่ต้นไม้ และเปิดเผยพื้นที่ร่มรื่นด้านหลังอาคารออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นำไปสู่การถอดผนังอาคารออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางมุมมองจากถนนหลักไปยังพื้นที่ว่างหลังอาคาร เปลี่ยนหลังคาเป็นวัสดุโปร่งใสให้แสงที่ส่องทะลุยอดไม้ตกกระทบพื้นเกิดเป็นภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ใช้การลวงตาด้วยกระจกสะท้อนเงาต้นไม้กับระนาบที่จำเป็นต้องปิดทึบ คงเหลือไว้แต่เส้นสายของโครงสร้างเพื่อระลึกถึงรูปลักษณ์เดิมที่เคยเป็นบ้านพักเจ้าหน้าที่ การจัดพื้นที่ใช้งานโดยจำกัดพื้นที่ที่จำเป็นต้องปิดล้อมให้มีขนาดเล็กที่สุดชั้นล่าง ซึ่งจะเป็นร้านค้า พื้นที่นั่ง พื้นที่เอนกประสงค์ที่รองรับความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย โดยมีชั้นบนเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงงานศิลปะด้วยเช่นกัน ออกแบบ: Studio of Architecture and […]