ส่องไอเท็มของ Nitori (นิโทริ) ร้านเฟอร์นิเจอร์ญี่ปุ่นจากฮอกไกโด แบรนด์ขวัญใจชาวอาทิตย์อุทัย

Nitori (นิโทริ) กำลังจะมาไทย ในเดือนมีนาคม แต่ไม่ใช่ปีนี้ เพราะปีหน้าเขามาแน่! ว่าแต่แบรนด์ NITORI ที่เขาว่าดีเด็ดฮิตสุดในญี่ปุ่นนั้นมีสไตล์เป็นอย่างไร?

“Strata Wall Panel” วัสดุตกแต่งผนังผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลผสมกากกาแฟ

Strata Wall Panel ผสมกากกาแฟเกิดจากการเล็งเห็นโอกาสและอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปริมาณ ‘ขยะ’ จำนวนมหาศาลนี้จากคาเฟ่ ร้านกาแฟมากมาย

“Enviro Board” วัสดุทดแทนไม้จากขยะกล่องนม

ทางเลือกวัสดุทดแทนไม้ ที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องนมจากการคัดกรอง ทำความสะอาด และป่นกล่องเครื่องดื่มเพื่อนำไปบีบอัดเป็น “Enviro Board”

ไอเดียจัดบ้าน เก็บของให้สวยเนี้ยบใน บ้านมินิมัล

ไอเดียจัดบ้าน เอาใจคนของเยอะใน บ้านมินิมัล แต่ไม่อยากให้บ้านรก กับ ไอเดียเก็บของ คีพลุคบ้าน มินิมัลให้คงบรรยากาศเรียบง่าย ลดสิ่งรบกวนสายตา

SOHO HOUSE BANGKOK ที่สุดของ คลับเฮาส์ สาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การทำงานในแวดวงครีเอทีฟปัจจุบันเป็นเรื่องการเปิดกว้าง การออกไปหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ หรือได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับผู้คน ถือเป็นเรื่องสำคัญในการทำงานด้านนี้ จะดีแค่ไหนหากมีสถานที่ที่ตอบโจทย์ สามารถสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างมีสีสัน ไว้คอยต้อนรับเหล่าครีเอทีฟได้มาพบปะเจอะเจอกันเพื่อต่อยอดแรงบันดาลใจ

W39 STUDIO ช่างภาพแฟชั่น รีโนเวตบ้านโมเดิร์นเป็นสตูดิโอถ่ายภาพ

คุยกับ ตวง-วรุณ เกียรติศิลป์ ช่างภาพแฟชั่น ถึง W39 studio สตูดิโอถ่ายภาพเปิดใหม่ ด้านหลังเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ที่ถูกออกแบบให้เหมาะกับการรูปได้ทุกมุมของบ้าน

ARUNN ร้านอาหารไทย ถ่ายรูปสวย รวยความอร่อย

เห็นร้านมินิมัลแบบนี้ เราก็นึกว่าคาเฟ่! แต่ที่จริงแล้ว ARUNN คือ ร้านอาหาร ทว่า Tastespace.co เขาออกแบบมาให้ถ่ายรูปสวยเหมือนอยู่ในคาเฟ่ เพื่อให้คนแวะมานั่งจิบกาแฟก็ได้ แต่ที่อยากแนะนำคือ ต้องลองสั่งอาหารของที่นี่มารับประทาน เพราะทุกเมนูต้องบอกว่าอร่อยจริง ๆ เดี๋ยวจะหาว่าไม่บอก!

DOMAE DENTAL HOME CLINIC คลินิกทำฟัน ในบ้าน ที่เชื่อมโยงกับชุมชนอย่างกลมกลืน

คลินิกทำฟัน ในบ้านญี่ปุ่นชั้นเดียว เมื่อครอบครัวโดมาเอะตั้งใจสร้างบ้านหลังใหม่ในจังหวัดอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น

HUAMARK 09 ออกแบบออฟฟิศ บ้าน และสตูดิโอทำงานศิลปะไว้ด้วยกันในที่เดียว

คุณอินทนนท์ จันทร์ทิพย์ ผู้เป็นทั้งเจ้าของและสถาปนิกแห่ง INchan Atelier ได้ซื้อบ้านเก่าย่านหัวหมาก

DES IDEE’S ARCHITECTS โฮม สตูดิโอสถาปนิก เปี่ยมความสุขสมถะกลางธรรมชาติ

สตูดิโอสถาปนิก ออกแบบกลางธรรมชาติร่มรื่น กับแนวคิดเป็นมิตรทั้งคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

BENCHAKITTI RAIN FOREST OBSERVATORY แปลงโฉมสถาปัตยกรรมกลางสวนป่าสู่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ

โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช  ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ […]

KAOMAI TEA BARN ( เก๊าไม้ ที บาร์น ) จิบชาในบรรยากาศโรงบ่มยาสูบจากหลายทศวรรษก่อน

เก๊าไม้ ที บาร์น โรงชาในโครงการ Kaomai Estate 1955 หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ เก๊าไม้ลานนารีสอร์ท ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่

จากความหลงใหลนาฬิกา แสดงผ่านเส้นสายของเวลา และงานสถาปัตยกรรมแบบส่วนตัว

บ้านโมเดิร์น ที่มีเส้นสายแสดงถึงแนวความคิดในการออกแบบ และตัวตนของเจ้าของบ้านเป็นรูปธรรมผ่านงานสถาปัตยกรรมได้อย่างครบถ้วน

“เมือง และจินตภาพ” ความสำคัญของการอ่านเมืองเพื่อการสร้างความเข้าใจ ใน The Image of the City โดย Kevin Lynch

เมืองเป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนของหลายสิ่ง ผู้คน ถนน รถรา ต้นไม้ สวน ตึกรามบ้านช่อง และองค์ประกอบอีกนับไม่ถ้วน นำมาซึ่งข้อสังเกตที่หลายคนเห็นตรงกันว่า เมืองเมืองหนึ่งจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและแตกต่างจากเมืองเมืองอื่น แต่ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบที่หลากหลายของเมืองนั้นก็อาจนำมาซึ่งความสลับซับซ้อนไปจนถึงสับสน หรือกระทั่งถูกมองว่าเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในหลายๆ การถกเถียง หนังสือ The Image of the City ตีพิมพ์ในปี 1960 เป็นความพยายามหนึ่งของการทำความเข้าใจและอธิบายความสลับซับซ้อนของเมือง ที่ Kevin Lynch นักคิดนักเขียนด้านผังเมืองชาวอเมริกันได้นำเสนอหนึ่งในวิธีคิดเกี่ยวกับเมืองในช่วงศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาที่หลายทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนเมืองปะทะสังสรรค์กันมากในโลกตะวันตก คำอธิบายของ Lynch ในเวลานั้นนับเป็นแง่มุมใหม่ที่แพร่หลาย และหลายคนก็ได้ยึดใช้เป็นทฤษฎีในการทำความเข้าใจเมือง ที่ยังคงส่งอิทธิพลต่อแนวคิดการออกแบบชุมชนเมืองมาจนถึงเวลาปัจจุบัน บทความนี้จะนำทฤษฎีของ Lynch จากหนังสือ The Image of the City โดย Kevin Lynch มาอธิบายอีกครั้ง โดยจะมาดูว่าใจความสำคัญคืออะไร มีอะไรที่น่ารู้หรือปรับใช้ได้บ้าง และอะไรคือความสำคัญของการ “อ่านเมือง” ที่ผู้เขียนนำเสนอ แนวคิดเรื่องชุมชนเมืองในศตวรรษที่ 20 เพื่อจะทำความเข้าใจความสำคัญของแนวคิดของ Kevin […]

ADAM ร้านอาหารญี่ปุ่น ชื่อฝรั่ง จับความต่างมาเจอกันอย่างลงตัว

ADAM ร้านอาหารญี่ปุ่น สไตล์ฟิวชั่นที่เชียงใหม่ กับไอเดียไอส์แลนด์คิตเช่นรูปเกลียวคลื่น บอกความร่วมสมัยผ่านชื่อ และการออกแบบสไตล์โมเดิร์น

TARNBUCH INDUSTRY OFFICE โชว์ผลิตภัณฑ์ผ่านงาน ออกแบบออฟฟิศ ใหม่ของบริษัท

ออกแบบออฟฟิศ จากวัสดุที่ผลิตเองทั้งหมด โปรเจ็กต์การออกแบบครั้งนี้ เป็นพื้นที่ของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่มีมายาวนาน หลังจากนั้นบริษัทได้มีความคิดอยากเพิ่มบริษัทในเครือชื่อ Bara & Siam Metal เพื่อมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาโลหะโดยเฉพาะ จึงเป็นที่มาของการ ออกแบบออฟฟิศ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ว่างภายในของสำนักงานเดิมให้กลายเป็นส่วนสำนักงานของบริษัทใหม่ และเป็นส่วนต้อนรับของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด ในเวลาเดียวกัน การปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ออกแบบให้เป็นโถงโล่งเพดานสูงทะลุเชื่อมต่อกัน 2 ชั้น มีโจทย์สำคัญก็คือต้องออกแบบการกั้นพื้นที่ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท ได้แก่ ห้องทำงานสำหรับพนักงาน 12 – 20 คน ห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน ห้องผู้จัดการ และพื้นที่หน้าห้องประชุมบนชั้น 2 แนวคิดการออกแบบหลักอยู่ที่การออกแบบและวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องทำงานเพดานสูงสำหรับพนักงานซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดไว้ด้านใน วางตำแหน่งห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน และห้องผู้จัดการที่มีเพดานต่ำกว่าไว้ในปีกขวาและซ้ายตามลำดับ โถงโล่งตรงกลางเป็นส่วนต้อนรับที่โอ่โถง โดยมีผนังของห้องทำงานพนักงานเป็นฉากหลัง พร้อมผนังสูงของห้องพนักงานที่ทำจากพอลิคาร์บอเนตยังเป็นส่วนปิดกั้นที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโถงหน้าห้องประชุมชั้นบนด้วย นอกจากนี้ ความสำคัญของที่นี่ยังอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ เน้นการแสดงพื้นผิวที่แท้จริงของวัสดุ นอกจากแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลือกมาใช้คู่กับงานโลหะแล้วแทบทั้งหมดเป็นวัสดุที่บริษัทผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเมทัลชีท อะลูมิเนียม รวมถึงเหล็กฉีก เสมือนเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่ และนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้แบ่งกั้นพื้นที่ตามการใช้งาน […]

THE MEMORY CAFE คาเฟ่อุบลราชธานี ดื่มกาแฟชมวิวน่าจดจำริมโขง

ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]

GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]