Design
DES IDEE’S ARCHITECTS โฮม สตูดิโอสถาปนิก เปี่ยมความสุขสมถะกลางธรรมชาติ
สตูดิโอสถาปนิก ออกแบบกลางธรรมชาติร่มรื่น กับแนวคิดเป็นมิตรทั้งคนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
BENCHAKITTI RAIN FOREST OBSERVATORY แปลงโฉมสถาปัตยกรรมกลางสวนป่าสู่ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
โครงการออกแบบศาลา และหอสังเกตการณ์กลางสวนป่าภายใต้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ตั้งอยู่ใจกลาง สวนป่าเบญจกิติ แวดล้อมด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ และระบบนิเวศทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ผลงานการออกแบบของ HAS design and research โดยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WOW อัศจรรย์เมืองน่าอยู่ ซึ่งจะจัดขึ้น ณ สวนเบญจกิติ ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา จากข้อมูลของกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ มีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่า 9 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวขั้นต่ำที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) สวนป่าเบญจกิติ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงเป็นอีกพื้นที่สีเขียว ที่มอบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีแบบใหม่ให้คนกรุงเทพฯ ด้วยแรงบันดาลใจจากสวนป่า หอสังเกตการณ์แห่งนี้ จึงดูเหมือนถูกปกคลุมด้วยใบไม้จำนวนมาก ไม่เพียงเหมือนเกาะพื้นที่ชุ่มน้ำที่ลอยอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นเหมือนป่าฝนเขตร้อนล้ำค่าทางระบบนิเวศธรรมชาติ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันสำหรับสัตว์และพืช ช่วงกลางวัน หอสังเกตการณ์แห่งนี้เป็นเหมือนกิ้งก่าที่แฝงตัวในสวนสาธารณะ สมาร์ตบอร์ดเกือบ 100 แผ่นแผ่นทา 4 เฉดสีเขียวที่แตกต่างกัน โดยเลือกใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนเพื่อให้เกิดความสมดุลที่สมบูรณ์แบบกับสิ่งแวดล้อม ในตอนกลางคืน แถบไฟด้านหลังแผ่นสมาร์ตบอร์ดให้แสงสว่างในหลากหลายมิติ […]
KAOMAI TEA BARN ( เก๊าไม้ ที บาร์น ) จิบชาในบรรยากาศโรงบ่มยาสูบจากหลายทศวรรษก่อน
เก๊าไม้ ที บาร์น โรงชาในโครงการ Kaomai Estate 1955 หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ เก๊าไม้ลานนารีสอร์ท ตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่
จากความหลงใหลนาฬิกา แสดงผ่านเส้นสายของเวลา และงานสถาปัตยกรรมแบบส่วนตัว
บ้านโมเดิร์น ที่มีเส้นสายแสดงถึงแนวความคิดในการออกแบบ และตัวตนของเจ้าของบ้านเป็นรูปธรรมผ่านงานสถาปัตยกรรมได้อย่างครบถ้วน
“เมือง และจินตภาพ” ความสำคัญของการอ่านเมืองเพื่อการสร้างความเข้าใจ ใน The Image of the City โดย Kevin Lynch
เมืองเป็นส่วนผสมที่ซับซ้อนของหลายสิ่ง ผู้คน ถนน รถรา ต้นไม้ สวน ตึกรามบ้านช่อง และองค์ประกอบอีกนับไม่ถ้วน นำมาซึ่งข้อสังเกตที่หลายคนเห็นตรงกันว่า เมืองเมืองหนึ่งจะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและแตกต่างจากเมืองเมืองอื่น แต่ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบที่หลากหลายของเมืองนั้นก็อาจนำมาซึ่งความสลับซับซ้อนไปจนถึงสับสน หรือกระทั่งถูกมองว่าเป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในหลายๆ การถกเถียง หนังสือ The Image of the City ตีพิมพ์ในปี 1960 เป็นความพยายามหนึ่งของการทำความเข้าใจและอธิบายความสลับซับซ้อนของเมือง ที่ Kevin Lynch นักคิดนักเขียนด้านผังเมืองชาวอเมริกันได้นำเสนอหนึ่งในวิธีคิดเกี่ยวกับเมืองในช่วงศตวรรษที่ 20 ช่วงเวลาที่หลายทฤษฎีเกี่ยวกับชุมชนเมืองปะทะสังสรรค์กันมากในโลกตะวันตก คำอธิบายของ Lynch ในเวลานั้นนับเป็นแง่มุมใหม่ที่แพร่หลาย และหลายคนก็ได้ยึดใช้เป็นทฤษฎีในการทำความเข้าใจเมือง ที่ยังคงส่งอิทธิพลต่อแนวคิดการออกแบบชุมชนเมืองมาจนถึงเวลาปัจจุบัน บทความนี้จะนำทฤษฎีของ Lynch จากหนังสือ The Image of the City โดย Kevin Lynch มาอธิบายอีกครั้ง โดยจะมาดูว่าใจความสำคัญคืออะไร มีอะไรที่น่ารู้หรือปรับใช้ได้บ้าง และอะไรคือความสำคัญของการ “อ่านเมือง” ที่ผู้เขียนนำเสนอ แนวคิดเรื่องชุมชนเมืองในศตวรรษที่ 20 เพื่อจะทำความเข้าใจความสำคัญของแนวคิดของ Kevin […]
ADAM ร้านอาหารญี่ปุ่น ชื่อฝรั่ง จับความต่างมาเจอกันอย่างลงตัว
ADAM ร้านอาหารญี่ปุ่น สไตล์ฟิวชั่นที่เชียงใหม่ กับไอเดียไอส์แลนด์คิตเช่นรูปเกลียวคลื่น บอกความร่วมสมัยผ่านชื่อ และการออกแบบสไตล์โมเดิร์น
TARNBUCH INDUSTRY OFFICE โชว์ผลิตภัณฑ์ผ่านงาน ออกแบบออฟฟิศ ใหม่ของบริษัท
ออกแบบออฟฟิศ จากวัสดุที่ผลิตเองทั้งหมด โปรเจ็กต์การออกแบบครั้งนี้ เป็นพื้นที่ของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่มีมายาวนาน หลังจากนั้นบริษัทได้มีความคิดอยากเพิ่มบริษัทในเครือชื่อ Bara & Siam Metal เพื่อมุ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาโลหะโดยเฉพาะ จึงเป็นที่มาของการ ออกแบบออฟฟิศ ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ว่างภายในของสำนักงานเดิมให้กลายเป็นส่วนสำนักงานของบริษัทใหม่ และเป็นส่วนต้อนรับของบริษัท ธารบุตรอุตสาหกรรม จำกัด ในเวลาเดียวกัน การปรับปรุงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ออกแบบให้เป็นโถงโล่งเพดานสูงทะลุเชื่อมต่อกัน 2 ชั้น มีโจทย์สำคัญก็คือต้องออกแบบการกั้นพื้นที่ใหม่ให้ตรงกับความต้องการของบริษัท ได้แก่ ห้องทำงานสำหรับพนักงาน 12 – 20 คน ห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน ห้องผู้จัดการ และพื้นที่หน้าห้องประชุมบนชั้น 2 แนวคิดการออกแบบหลักอยู่ที่การออกแบบและวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ อาทิ ห้องทำงานเพดานสูงสำหรับพนักงานซึ่งมีพื้นที่มากที่สุดไว้ด้านใน วางตำแหน่งห้องประชุม ห้องเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารงาน และห้องผู้จัดการที่มีเพดานต่ำกว่าไว้ในปีกขวาและซ้ายตามลำดับ โถงโล่งตรงกลางเป็นส่วนต้อนรับที่โอ่โถง โดยมีผนังของห้องทำงานพนักงานเป็นฉากหลัง พร้อมผนังสูงของห้องพนักงานที่ทำจากพอลิคาร์บอเนตยังเป็นส่วนปิดกั้นที่สร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโถงหน้าห้องประชุมชั้นบนด้วย นอกจากนี้ ความสำคัญของที่นี่ยังอยู่ที่การเลือกใช้วัสดุ เน้นการแสดงพื้นผิวที่แท้จริงของวัสดุ นอกจากแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลือกมาใช้คู่กับงานโลหะแล้วแทบทั้งหมดเป็นวัสดุที่บริษัทผลิตเอง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นเมทัลชีท อะลูมิเนียม รวมถึงเหล็กฉีก เสมือนเป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับสถานที่ และนำเสนอศักยภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้แบ่งกั้นพื้นที่ตามการใช้งาน […]
THE MEMORY CAFE คาเฟ่อุบลราชธานี ดื่มกาแฟชมวิวน่าจดจำริมโขง
ความทรงจำ : The Memory Cafe คาเฟ่อุบล ที่ตั้งใจให้งานสถาปัตยกรรมเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ พร้อมกับวิวพานอรามาของโขงเจียม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction คาเเฟ่อุบล แห่งนี้ มีจุดตั้งต้นมาจากแนวคิดการรีแบรนด์ดิ้ง Memory Café จากร้านกาแฟที่ผู้คนมาเพียงซื้อกาแฟ แล้วออกไปเสพวิวแลนด์สเคปที่รังสรรค์โดยธรรมชาติ ให้ร้านกลายเป็นส่วนหนึ่งของบริบทริมแม่น้ำโขงอย่างกลมกลืน และเป็นจุดหมายใหม่ของการมาเยือนอุบลฯ ออกแบบโดยสถาปนิกจาก SA-ARD architecture & construction ด้วยทำเลและบริบทที่มีศักยภาพสูง อย่างพื้นที่หน้ากว้างของร้านที่เปิดรับวิวพานอรามาริมโขงสวยตราตรึงใจ ประกอบกับทางเจ้าของคาเฟ่ชื่นชอบการถ่ายภาพด้วยกล้องฟิล์ม ทุกองค์ประกอบจึงถูกจัดวางอย่างมีที่มา นำมาต่อยอดเป็นแนวความคิดในการออกแบบตัวอาคารใหค่อย ๆ สร้างประสบการณ์การเข้าถึงให้กับลูกค้า หากมองจากหน้าร้านภายนอกจะเห็นฟาซาดแนวเฉียง ระหว่างช่องว่างกรุด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตสีขาวขุ่น จงใจไม่เปิดวิวในคราวเดียว เพราะตั้งใจจะเก็บวิวไว้เป็นเซอร์ไพรส์ในสเปซซีนสุดท้าย มีประตูทางเข้าถูกวางตำแหน่งอยู่ตรงกลางของผนัง ทำหน้าที่เสมือนเป็นวิวไฟน์เดอร์ของกล้อง และหากมองตรงไปจะพบกับเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่ และวิวของโขงเจียมที่อยู่ด้านหลัง ประหนึ่งเหมือนเรากำลังกดชัตเตอร์ แล้วจะได้ภาพวิวพานอรามา โดยมีสถาปัตยกรรมเป็นกรอบของภาพ เส้นสายจากฟาดซาดเส้นเฉียงได้ถูกดึงต่อมาเป็นฝ้าภายในคาเฟ่ โดยความเฉียงที่เกิดขึ้นนี้ จะเป็นองศาที่เกิดจาก Mirror เช่นเดียวกับหลักการการสะท้อน เวลาถ่ายรูปจากกล้อง เพื่อให้เส้นสายทั้งภายในและภายนอกเกิดความเชื่อมต่อ อีกทั้งยังออกแบบให้ระดับของฝ้ามีความสูงลดหลั่นกัน จากระดับพื้นถึงฝ้าราว […]
GRAPH PHUKET ชุบชีวิตตึกเก่าเป็นคาเฟ่ เพื่อส่งต่อรสชาติกาแฟจากเหนือสู่แดนใต้
ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ริมถนนพังงาที่มุ่งหน้าสู่สี่แยกธนาคารชาร์เตอร์ด ปรากฏคาเฟ่ชื่อ GRAPH Phuket สาขาน้องใหม่ล่าสุดของ GRAPH แบรนด์คาเฟ่ชื่อดังจากเชียงใหม่ ที่เจ้าของแบรนด์อย่าง คุณฆฤพร สาตราภัย ขอขยายสาขามุ่งหน้าลงใต้ สู่ร้าน GRAPH Phuket เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่นักดื่มกาแฟ พร้อมการนำตัวเองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเมือง ภายในตึกแถวสไตล์ชิโน-ยูโรเปียนอายุกว่าร้อยปี จากแนวทางของ GRAPH หลาย ๆ สาขา จะพบว่ามักตั้งอยู่ในเมืองเก่าที่มีคาแร็คเตอร์ชัดเจน ทั้งวัฒนธรรมและการเป็นเมืองท่องเที่ยว สำหรับที่ภูเก็ตก็เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ภูเก็ตถูกเลือกให้เป็นทำเลใหม่ของการขยายสาขาเป็น GRAPH Phuket ครั้งนี้ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีเรื่องราวให้พูดถึงไม่แพ้สาขาอื่น เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ยังเก็บรายละเอียดของสถาปัตยกรรมชิโน-ยูโรเปียนไว้ให้คงเสน่ห์และกลิ่นอายดั้งเดิม ร่วมกับแนวทางการรีโนเวตที่กลมกลืนกับอาคารหลังอื่น ๆ ในย่านโอล์ดทาวน์ของภูเก็ต คุณฆฤพร สาตราภัย เจ้าของแบรนด์ GRAPH เล่าว่า เดิมที่นี่เป็นตึกร้างและทรุดโทรมมานาน กระทั่งได้ตัดสินใจเช่าและรีโนเวตใหม่ โดยให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก สิ่งต่อเติมใดที่ไม่ตรงกับยุคของอาคาร และวัสดุที่ชำรุดจะถูกรื้อออกเกือบหมด เช่น หลังคาสังกะสี ฝ้า โครงสร้างไม้ และบันไดผุพัง ก่อนเสริมด้วยโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรง อย่างพื้นชั้น 2 ที่นำไม้เนื้อแข็งมาปูลงไปใหม่ ตงและคานไม้ก็เปลี่ยนใหม่เช่นกัน […]
VE/LA AT MEDIUMS ชอปปิงอุปกรณ์ศิลปะ แวะจิบกาแฟใน คาเฟ่เอกมัย ถูกใจสายอาร์ต
คาเฟ่เอกมัย VE/LA AT MEDIUMS ซ่อนตัวอยู่ที่ Mediums ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนและทำงานศิลปะย่านเอกมัย กับคอนเซ็ปต์ออกแบบธรรมชาติ
ANONYMOUS COFFEE คาเฟ่พระราม 9 ดีไซน์โปร่งแสง กับนามที่กลืนหายไปกับบริบท
ANONYMOUS COFFEE คาเฟ่พระราม 9 เด่นด่วยตัวอาคารสไตล์โมเดิร์น กลาสเฮ้าส์ โชว์ความโปร่ง (ใส) สะท้อนแสงเงา ราวกับหลบหายไปในบริบท
PLAYWORKS SHOP&CAFE ช็อปขายของที่ระลึกและคาเฟ่เชียงใหม่ แรงบันดาลใจจากร้านชำสไตล์ญี่ปุ่น
คาเฟ่เชียงใหม่ PLAYWORKS SHOP&CAFE ช็อปขายของที่ระลึกและคาเฟ่ในโครงการ Think Park ได้แรงบันดาลใจการตกแต่งมาจากร้านชำสไตล์ญี่ปุ่น
HEY! BEANSTRO เอาใจชาวออฟฟิศ คาเฟ่ย่านวิภาวดี กลางวันนั่งชิล กลางคืนชนแก้ว
หลายคนคงเคยได้ลิ้มลองกาแฟคุณภาพของแบรนด์ Hey! Coffee คาเฟ่ย่านวิภาวดี มาบ้างแล้ว วันนี้ room จึงอยากพาไปพบกับภาพลักษณ์ใหม่ของ HEY! Beanstro ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นคาเฟ่เท่านั้น แต่ยังเพิ่มบาร์ที่เสิร์ฟความหลากหลายให้แก่ลูกค้าที่มีความต้องการหลากสไตล์
Basel Pavilion พาวิเลียน แนวคิดยั่งยืนแบบโมดูลาร์ จากวัสดุหมุนเวียน
Basel Pavilion พาวิเลียน อเนกประสงค์ ทำหน้าที่เป็นทั้งศาลาพักคอย ชานชาลา เวที พื้นที่จัดนิทรรศการ และนี่คือสถาปัตยกรรมเพื่อสาธารณะที่ตั้งใจเชื่อมโยงผู้คนกับเมืองเข้าด้วยกัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชานเมืองที่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมเก่าของ ของ Dreispitz ทางตอนใต้ของ บาเซิล สวิตเซอร์แลนด์
Rammed Earth Panel วัสดุปิดผิว ดินอัด ดัดโค้งได้
วัสดุปิดผิว ดินอัดแบบแผ่นดัดโค้งได้ติดตั้งได้ทุกพื้นที่แม้แต่ภายนอก นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนผนังดินอัดหนาหนักให้บางเบา
Unburnt Circular Brick อิฐสีพาสเทล จากวัสดุเหลือทิ้ง
อิฐสีพาสเทล กระเบื้องและอิฐจากเศษเซรามิกของอุตสาหกรรมต่าง ๆ กว่า 80 – 90% ที่ผ่านการขึ้นรูปทางพันธะเคมี (Non-toxic Chemical)
POB Coffee & Living Space คาเฟ่สุทธิสาร จุดนัด “พบ” ของคนรักกาแฟ ในคาเฟ่อบอุ่นละมุนด้วยเส้นโค้ง
คาเฟ่สุทธิสาร จากบ้านไม้หลังเดิม บรรยากาศร่มรื่น ปรับเปลี่ยนใหม่ให้กลายเป็น คาเฟ่สุทธิสาร พื้นที่นัดพบของคนรักกาแฟ โดยใช้ชื่อว่า
Binh Thuan House บ้านเหล็ก น้อยแต่มาก ตอบโจทย์ชีวิตครอบครัวเล็กในชนบทเวียดนาม
บ้านน้อยหลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต จังหวัดบิ่ญถ่วน ทางตอนใต้ของเวียดนาม ปลูกสร้างจากโครงสร้างเหล็กที่พอดีสำหรับครอบครัวเล็ก 4 คน ด้วยหลักการของการใช้โครงสร้างอาคารร่วมกับโครงเฟอร์นิเจอร์ และการออกแบบในระบบพิกัดที่เอื้อต่อการเติบโตของครอบครัวในอนาคต