© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
ออกแบบบ้านแคบให้น่าอยู่ บนที่ดินแค่ 37 ตารางวา หรือ 17X8 เมตร ในย่านลาซาล หลังนี้ ได้รับการออกแบบโดยสตูดิโอ VILAA ที่มาพร้อมโจทย์ด้านฟังก์ชันและการสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ในพื้นที่จำกัด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: STUDIO VILAA ตัวบ้านมีรูปทรงโมเดิร์นเรียบง่ายทรงกล่องสีขาว 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร กับวางตำแหน่งพื้นที่อยู่อาศัยตามฟังก์ชัน โดยชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่พับลิคเชื่อมต่อกันระหว่างห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหารและครัวในลักษณะโอเพ่นแปลน สามารถรองรับกลุ่มเพื่อน ๆ นักดนตรีที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่ แต่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว จึงออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตขนาดเล็กตรงกลางบ้าน โดยอยู่ตรงตำแหน่งหลังแนวรั้วที่สร้างจากอิฐลอนวัสดุธรรมดาแบบบ้านสมัยก่อน เพื่อสร้างความรู้สึกแตกต่างจากฟอร์มของบ้านสีขาวที่เรียบคลีน การออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตเป็นอีกวิธีหนึ่งทีช่วยเพิ่มความโปร่งให้บ้านแล้ว แถมยังช่วยให้พื้นที่ภายในได้รับแสงจากมุมที่เป็นส่วนตัว โดยที่หน้าต่างและช่องเปิดของบ้านออกแบบให้หันเข้าหาคอร์ตพอดี มีไม้ยืนต้นคอยสร้างร่มเงาและลดความร้อนจากแสงแดดในทิศตะวันตกที่กระทบกับบ้านในช่วงบ่าย แถมยังช่วยเสริมความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอน ตัวบ้านดูแปลกตาตัดขอบชั้นบนด้วยแนวโค้งขนาดใหญ่ ทำให้บ้านมีความนุ่มนวล ไม่เป็นรูปทรงกล่องแข็งกระด้างเกินไป แถมยังเสริมมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของวัน เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในจะพบว่าได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือส่วนพื้นที่นั่งเล่น และส่วนรับประทานอาหารกับครัวที่จัดแบบโอเพ่นแปลน โดยไม่มีผนังกั้นระหว่างพื้นที่ดังกล่าว การใช้พื้นที่แบบนี้ช่วยให้บ้านดูโล่งและใช้งานได้หลากหลาย ในส่วนของครัวมีเพียงแพนทรี่เล็ก ๆ และโต๊ะรับประทานอาหารที่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนพื้นที่ด้านข้างบ้านได้ขยับผนังไปชนขอบ Setback เพื่อให้ได้พื้นที่ที่เยอะขึ้น […]
HAKO บ้านสำเร็จรูป สไตล์มินิมัล ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่น การดูแลรักษาน้อย และการเลือกใช้วัสดุคุณภาพที่พร้อมอยู่ยาว
SOL Dental Clinic คลินิกที่ทำให้การรักษาทันตกรรมไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป หากมีคลินิกที่พร้อมไปด้วยสภาพแวดล้อมที่คลายความกังวลเพราะด้านหลังของที่นี่ คือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการรักษา อันเป็นแนวคิดการออกแบบหลักของ PHTAA living Design ด้วยการหันหน้าห้องตรวจฟันเข้าสู่พื้นที่สีเขียว เรียกว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ให้ธรรมชาติช่วยออกแบบก็ว่าได้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ที่นี่คือคลินิกทันตกรรมที่ช่วยสร้างบรรยากาศให้คนไข้มารักษาแล้วรู้สึกสบายใจ ลบภาพจำคลินิกแบบเก่าที่อาจจะมีลักษณะทึบตัน และมีช่องเปิดรับแสงสว่างน้อย ประกอบกับเป็นสถานพยาบาลที่ต้องเน้นความสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญ ผู้ออกแบบจึงได้ตีความใหม่ว่าความสะอาดในที่นี้ว่า ไม่จำเป็นต้องสื่อสารโดยใช้เพียงสีขาวเท่านั้น แต่สามารถออกแบบไปพร้อมกับนำเสนอโทนสีต่าง ๆ ได้ โดยเลือกใช้โทนสีที่เป็นเอิร์ธโทนที่ประกอบไปด้วยสีเขียว และสีฟ้า แล้วใส่ต้นไม้และกลิ่นหอมเพื่อช่วยสร้างองค์ประกอบโดยรวมให้เกิดสภาวะที่สบาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญใหม่ ๆ ที่ผู้ออกแบบต้องการนำเสนอผ่านคลินิกทันตกรรมในยุคนี้ สี หรือมูดแอนด์โทนเป็นหนึ่งองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่สามารถเปลี่ยนบรรยากาศได้ การมีบรรยากาศที่ดี สามารถเบี่ยงเบนความเจ็บป่วยของคนไข้ให้คลายความกังวลลงไปได้ ทันทีที่เจอกับสวน หรือพื้นที่สีเขียวที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย โดยการออกแบบคลินิกแห่งนี้ เมื่อเข้ามาภายในเราจึงสามารถมองเห็นพื้นที่สำหรับนั่งคอย ใช้พักผ่อนก่อนเข้าไปสู่โซนห้องตรวจ การวางลำดับให้คนไข้ได้เห็นสภาพแวดล้อมที่ดีเช่นนี้ เสมือนเป็นการได้หย่อนใจ พร้อมกับมองเห็นสเปซใหม่ ๆ เช่น รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมจากภายนอกที่โดดเด่นแปลกตา ด้วยรูปทรงฟรีฟอร์มที่มีหน้าตาต่างจากคลินิกแบบเดิม ทำให้ช่วยคลายความกังวลของคนไข้ได้อย่างดี อย่างไรก็ตาม ด้วยที่นี่ก็ยังคงมาตรฐานการออกแบบให้สอดคล้องกับทางการแพทย์ จึงต้องออกแบบอาคารให้เกิดพื้นที่ที่เป็นซอกหลืบให้น้อยที่สุด เพื่อความสะอาด ไม่เก็บฝุ่น โดยเส้นโค้งที่เกิดขึ้นในมุมต่าง […]
เมื่อวัสดุอย่างผนัง บันได และพื้น คือผิวสัมผัสที่ผู้ใช้งานมีโอกาสเข้าถึงอยู่ตลอดเวลา พื้นไม้ SPC จึงเข้ามาเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
EKAR Architects สำนักงานออกแบบที่ทำงานแบบสั่งตัด หรือ Custom ร้อยเรียงเรื่องราวและการใช้ชีวิตในแต่ละหลังตามคนใช้งานอย่างแท้จริง
Dream House Thai Massage and spa ใช้แนวคิดการสร้างความเป็นส่วนตัวผ่านกำแพงอิฐ ออกแบบโดยใช้อิฐดินเผาสีส้มเป็นวัสดุหลัก
Halfway – Brunch & Roastery คือการโคจรมาเจอกันระหว่าง Unfinished Coffee Roaster คาเฟ่ย่านลาดพร้าว กับ PEPE’ Bangkok ร้านอาหารสไตล์ Casual Dining ย่านสุขุมวิท จนกลายเป็นคาเฟ่บรันซ์ ที่ใช้แนวคิด Borderless Cuisine ในการออกแบบและสร้างสรรค์เมนู ที่เกิดจากการรวมตัวกันของสองทีมงาน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A คาเฟ่นี้ตั้งอยู่ใต้ถุนหอพักหญิงธรรมศาสตร์ อาคารเก่าสไตล์ Brutalist ในซอยงามดูพลี ตรงข้ามกับสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถูกทิ้งร้างมานานกว่า 30 ปี แต่ด้วยโครงสร้างที่ยังแข็งแรงและมีคุณค่า พื้นที่ทั้งหมดของหอพักฯ จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี Halfway Brunch & Roastery เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู ตัวร้านอยู่ติดกับฟุตบาท มีจุดสังเกตง่าย ๆ ด้วยโครงสร้างนั่งร้านเหล็กสีส้มตัดกับสีเขียวของต้นไม้ในซอยดูร่มรื่น ความโดดเด่นที่เหมือนไซต์ที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้ คือเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบ […]
คาเฟ่ที่ออกแบบสวนล้อมคอร์ต ให้ทุกคนได้มาใช้เวลาร่วมกัน ในพื้นที่สีเขียวDESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supar Studio คาเฟ่ในสวน แห่งใหม่ในรังสิต ออกแบบโดย Supar Studio ดีไซน์อาคาร ให้เป็นเหมือนการปั้นภาชนะดิน ให้เกิดเป็นรูปทรงโค้ง โอบรับพื้นที่ที่ตัวอาคารตั้งอยู่ ให้เส้นสายอาคารโค้งต่อเนื่องกันทั้งภายนอก และภายใน ทำให้ได้ทรงอาคาร ที่กลมกลืนไปกับบริบทรอบข้าง ให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบรู้สึกว่าอาคารหลังนี้เป็นส่วนหนึ่ง ไม่แปลกแยก และเป็นมิตรสำหรับการเข้ามาใช้งาน พื้นที่สวน ออกแบบเป็นเนินหญ้ายกสูง สลับกับพื้นเรียบ เป็นพื้นที่ที่สถาปนิกพัฒนาการออกแบบมาจากร้านในสาขาอื่น ๆ ที่เปิดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทำเป็นสวนตกแต่ง แล้วมีลูกค้าเข้าไปเดินใช้งานจริง ๆ สำหรับสาขานี้จึงออกแบบให้สวนเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรม ให้ลูกค้าเข้ามาเดินเล่น หรือพาลูก ๆ มาวิ่งเล่นบนเนินหญ้าได้ เป็นสวนที่ใช้งานได้ เป็นเหมือนพื้นที่สีเขียวส่วนกลางสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม และยังได้มาดื่มกาแฟ และยังมีร้านอาหารตั้งอยู่ที่อาคารด้านข้าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พักผ่อนครบรูปแบบในพื้นที่เดียว จากภายในร้าน เปิดโปร่งด้วยกระจกใส เมื่อมองออกไป จะเห็นสวนที่อยู่ตรงกลาง สถาปนิกออกแบบสวนให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ระหว่างตัวร้าน กับสถานที่ตั้งด้านนอก มีช่องเปิด ที่มองออกไปเห็นอาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ด้านนอก และจากอาคารภายนอกมองเข้ามาก็เห็นสวน และร้านคาเฟ่ ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นเรื่องเดียวกัน […]
"Aluminum Grotto and Public Ground" เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยคำนึงถึงทั้งรูปลักษณ์ทางสามมิติ ศักยภาพวัสดุ และความลื่นไหลของการใช้งาน
PAAK TAII DESIGN WEEK 2024 เทศกาลสร้างสรรค์ พื้นที่ปล่อยของสุดครีเอทของคนใต้ ที่ควรค่าแก่การมาชม! ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงสุดสัปดาห์ (วันนี้ – 25 สิงหาคม 2567) room ขอแนะนำเทศกาลที่สร้างสรรค์ที่สุดในเวลานี้แห่งเมืองปักษ์ใต้ ที่จะมาปลุกเสน่ห์น่ห์ของเมืองเก่าสงขลาให้มีชีวิตชีวาด้วยความครีเอทีฟในงาน PAKK TAII DESIGN WEEK 2024 กับแนวคิด “The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก” จัดแสดงในหลายเมือง ทั้งย่านตัวเมืองเก่าสงขลา หาดสมิหลา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ และยังขยายไปยัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี เกิดเป็นส่วนผสมอันลงตัวระหว่างของดั้งเดิมกับไอเดียใหม่ ๆ ของทั้งคนในพื้นที่ร่วมกับกลุ่มดีไซเนอร์จากที่ต่าง ๆ จนออกมาเป็นเทศกาลสุดเจ๋ง รวบรวมทั้งนิทรรศการงานออกแบบ ศิลปะจัดวาง กิจกรรมเวิร์กชอป และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าของดีแบบชาวใต้เป็นอย่างไร room จึงขอรวบรวมจุดไฮไลต์ สำคัญ ๆ ในพื้นที่จัดแสดงย่านเก่าของเมืองสงขลาที่น่าสนใจมาให้ชม นอกจากจะเป็นงานออกแบบที่สวยน่าชมแล้ว […]
lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]
คาเฟ่ระยอง ย่านมาบตาพุด มีแรงบันดาลใจมาจากเจ้าของผู้หลงใหลในดนตรี Alternative Rock ผสมกับความคลั่งไคล้ในเรื่องราวของกาแฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SA-ARD architecture & construction Odeum Cafe เริ่มต้นมาจากความหลงใหลในกาแฟและเสียงดนตรี จึงนำชื่อ “Odeum” ซึ่งหมายถึง “โรงแสดงดนตรี” มาใช้ตั้งชื่อคาเฟ่ระยองแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบร้านโดย SA-ARD architecture & construction ที่ตีความภาษาดนตรีสู่ภาษางานออกแบบ จนกลายเป็นอาคารโมเดิร์นลอยโดดเด่นจากบริบท ใช้บันไดที่นำพาผู้คนจกระดับถนนไปสู่ทางเข้าอาคารด้านบน สร้างภาพจำให้แก่งานออกแบบในแนวทางที่เรียกว่า Modern Retro มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกอาคาร หรือฟาซาด ที่มีไอเดียมาจาก Piano Keyboard Diagram เพิ่มความเชื้อเชิญในการเข้าถึงภายในอาคาร สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารจากแผ่นเมทัลชีทผิวด้าน สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสง และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้ยังทำการเพิ่มช่องแสงด้านหน้าอาคาร เพื่อให้เกิดการเชื่มต่อของพื้นที่ทางสายตาระหว่างนอกกับในอาคาร การวางผังใช้งานเป็นไปตามแนวยาวของอาคาร แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน Café และ Back of house ออกจากกันด้วยห้องน้ำที่กั้นอยู่ตรงกลาง และเชื่อมต่อกับหลังอาคารและห้องพักพนักงาน โดยจัดให้ห้องน้ำสามารถเข้าถึงได้จากภายในคาเฟ่ โดยตรง โดยไม่ทำลายบรรยากาศภายในร้าน การตกแต่งภายในของ […]