- Page 20 of 243

Breathing House รีโนเวต ทาวน์โฮม เก่าให้โปร่งหายใจได้

ทาวน์โฮม เก่าที่ตกแต่งสไตล์โคโลเนียลในเมืองเซินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สู่การรีโนเวตใหม่ให้เป็นบ้านที่มีสภาพแวดล้อมผ่อนคลายเหมาะกับการพักผ่อนมากขึ้น ด้วยการเปิดรับธรรมชาติทั้งแสงและลมให้เข้ามาสู่ภายในบ้าน ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยถึงสามเจเนอเรชั่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

OIKOS Cafe & Restaurant คาเฟ่สไตล์ Japandi อบอุ่นแบบญี่ปุ่น ธรรมชาติกลิ่นอายแบบสแกนดิเนเวียน

OIKOS Cafe & Restaurant หมุดหมายพักผ่อนใกล้ชายทะเลบางขุนเทียน ลงตัวแบบสไตล์ Japandi OIKOS มาจากภาษากรีก แปลว่า Social Gathering เป็นพื้นที่ของครอบครัว การรวมกลุ่มสังสรรค์ ตามแนวคิดของร้านที่ต้องการให้เป็นพื้นที่หลากหลาย ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่คาเฟ่ ร้านอาหาร และสวนภายนอกร้าน เพื่อให้การมาเยี่ยมเยือนที่นี่รู้สึกเหมือนได้มาพักร้อน และพักผ่อนในวันหยุด

ออกแบบระดับที่นั่งในคาเฟ่ สูงเท่าไหร่? จึงเหมาะสม

ออกแบบคาเฟ่ อย่าลืม! เช็คระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ในคาเฟ่ ระดับไหนเหมาะสม นั่งแล้วสบาย อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการเลือกเฟอร์นิเจอร์อย่าง โต๊ะ และเก้าอี้ สำหรับใช้เป็นที่นั่งในคาเฟ่ นอกจากจะเน้นดีไซน์ที่สวยงาม คำนึงถึงพฤติกรรมของลูกค้า และเข้ากับธีมการออกแบบตกแต่งแล้ว ในขั้นตอน ออกแบบคาเฟ่ อย่าลืมเช็คระดับความสูงของเฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นให้สอดคล้องกัน เช่น สตูลบาร์ที่มีหลายความสูง ควรเลือกให้เหมาะกับความสูงของเคาน์เตอร์บาร์ หรือเก้าอี้สำหรับใช้ภายนอกที่มักมีความสูงมากกว่าเก้าอี้ที่ใช้ภายใน 3-5 เซนติเมตร จึงต้องเลือกให้พอดีกับความสูงของโต๊ะ เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้สะดวก ดังจะเห็นได้จากภาพแสดงระยะความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ 4 ตัวอย่าง ที่เรานำมาฝากกันนี้ ระยะความสูงของเก้าอี้และโต๊ะรับประทานอาหาร หากคาเฟ่มีเสิร์ฟอาหารจานหลักด้วย ก็ควรใช้โต๊ะที่มีความสูงตามมาตรฐานโต๊ะรับประทานอาหารทั่วไป เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานรับประทานอาหารได้สะดวก ระยะความสูงของสตูลบาร์กับเคาน์เตอร์ สำหรับคาเฟ่ที่มีเคาน์เตอร์ล้อมรอบส่วนครัว เคาน์เตอร์ไม่ควรมีความสูงมากจนเกินไป เพื่อให้ลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบาริสต้าหรือเชฟได้ ระยะความสูงของสตูลบาร์กับบาร์ มักเป็นความสูงของเคาน์เตอร์แบบสองระดับ ให้ผู้ใช้งานสังเกตการณ์การทำงานของบาริสต้าได้ ควรเลือกความสูงของเก้าอี้สตูลให้สอดคล้องกับความสูงของเคาน์เตอร์ และมีที่พักขาเพื่อให้ผู้ใช้งานนั่งได้สบาย เรียบเรียง : Phattararaphonภาพประกอบ : คณาธิป สามารถตามไปอ่านไอเดียดี ๆ เพิ่มเติมได้จากในเล่ม 100 BEST DESIGN CAFES 100 คาเฟ่ที่ได้รับการรวบรวมโดยกองบรรณาธิการ room […]

ลิลิตบางลำพู โรงแรมรีโนเวตอาคารเก่าด้วยดีไซน์เรียบง่าย

ลิลิตบางลำพู โรงแรมเล็ก ๆ สไตล์โมเดิร์นกลิ่นอายไทยย่านบางลำพู ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารเก่าผสานบรรยากาศชุมชนในเกาะรัตนโกสินทร์เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ พร้อมต้อนรับแขกผู้เข้าพักทั้งชาวต่างชาติและคนไทย ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงความเป็นไทยด้วยการเติมแต่งองค์ประกอบสีสันตามโซนต่าง ๆ ได้อย่างลงตัว

ณ ตะนาว 1969 เปิดประสบการณ์เมืองเก่า โรงแรมหน้าแคบ ย่านเกาะรัตนโกสินทร์

ณ ตะนาว 1969 พื้นที่ที่เป็นมากกว่าบ้านพร้อมเปิดต้อนรับทุกคนให้มาสัมผัสประสบการณ์ในพื้นที่พิเศษจากผืนดินมรดกตั้งแต่รุ่นทวด ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าวังเก่าใกล้ซุ้มประตูแพร่งสรรพศาสตร์ ให้กลายมาเป็น Hometel (บ้าน + โรงแรม) สำหรับรอต้อนรับแขกผู้เข้าพักคนสำคัญ

PINN’N PAN HOUSE บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์น

บ้านฟาร์ม ดีไซน์โมเดิร์นกลางแปลงเกษตร และฟาร์มสุกร อีกหนึ่งตัวอย่างพื้นที่ใช้ชีวิต ที่ผสานกับพื้นที่ธุรกิจอย่างลงตัว พร้อมบรรยากาศการอยู่อาศัยที่โปร่งสบายท่ามกลางธรรมชาติเรียบง่าย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Forx Design Studio บ้านฟาร์ม หลังนี้ได้แรงบันดาลใจจากคู่สามี-ภรรยาเจ้าของบ้าน ที่ท่านหนึ่งทำงานด้านวิศวกรรมอากาศยาน และอีกท่านเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น การออกแบบบ้านหลังนี้เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ ที่ต้องการให้ 10% ของที่ดินเป็นที่พักอาศัย 40% เป็นพื้นที่ของฟาร์มสุกร และ 50% ที่เหลือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตัวบ้าน 2 ชั้นหลังคาจั่ว ดีไซน์เฉียบเรียบตั้งอยู่อย่างโดดเด่นกลางที่ดินผืนใหญ่ ขนาบข้างด้วยทุ่งนา และสระน้ำ ผังที่ดินผืนนี้ถูกจัดสรรออกเป็น 7 ส่วน ประกอบด้วยโรงเตรียมอาหารสำหรับสุกร โรงเรือนเลี้ยงสุกร โรงเพาะชำพันธุ์ไม้ สนามหญ้า ต้วบ้าน สระน้ำ ทุ่งนา และแปลงเพาะปลูก พื้นที่ใช้สอยภายในออกแบบให้ตอบโจทย์สมาชิกครอบครัว 6 คน โดยชั้นล่างประกอบด้วยที่จอดรถ 4 คัน พื้นที่ส่วนกลาง ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารภายใต้บรรยากาศโปร่งโล่งของสเปซดับเบิ้ลวอลุ่ม ต่อเนื่องกับส่วนครัว และโซนห้องแม่บ้าน ส่วนอีกด้านคือพื้นที่ส่วนตัวของคุณพ่อ-คุณแม่ ซึ่งทั้ง 2 ห้องนอนเชื่อมต่อกับสวนคอร์ตส่วนตัว พื้นที่ใช้ชีวิตชั้นล่างมาพร้อมวิวนาข้าว […]

บ้านมินิมัล ในบรรยากาศแสงสลัว ที่มีพื้นที่ร่วมให้ครอบครัว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Path บ้านขนาดสองชั้นสำหรับสมาชิกครอบครัว 3 คน พ่อ แม่ ลูกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สมุทรปราการหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยบ้าน และอาคารอื่น ๆ โดยรอบ จึงทำให้การออกแบบจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่ต้องเปิดรับบริบท แสง และลมให้เข้าสู่ตัวบ้านได้สะดวกด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งที่ความโปร่ง โล่ง มักมาพร้อมกับแสงที่สว่างสดใส แต่แสงที่เจิดจ้าเกินไปก็อาจทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้ยาก โดยเฉพาะกับประเทศไทย ประเทศที่แดดช่างร้อนแรง สภาวะน่าสบายของบ้านหลังนี้ จึงเป็นการเปิดรับแสงธรรมชาติแต่พอดี ในเงาสลัวที่อบอุ่น และผ่อนคลาย ผสานพื้นที่พิเศษของครอบครัว การออกแบบฟาซาดทางทิศเหนือที่สูงจากพื้นจรดเพดานชั้นสองในพื้นที่แบบ Double Volume นั้น จึงทำหน้าที่ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติและลมให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ภายในได้สะดวก อีกทั้งระแนงไม้ที่ยึดติดไว้กับบานเปิดที่มีบานกระจกนั้น ยังช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดรับลมธรรมชาติ หรือใช้การปรับอากาศ แต่ระแนงไม้เหล่านี้ ก็ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และกรองแสงภายนอกให้พอดีกับบรรยากาศผ่อนคลายภายในไปพร้อมกัน พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโถงสูงแบบ Double Volume ที่รวมพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้สมาชิกครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ทั้งยังเป็นการปรับใช้พื้นที่ของบ้านที่ไม่มากนักให้เกิดเป็นพื้นที่ซ้อนทับที่ลงตัวระหว่างห้องนั่งเล่น ส่วนรับประทานอาหาร และพื้นที่ห้องครัว เช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนตัวที่ชั้นบนก็ยังสามารถเปิดเชื่อมถึงกันเป็นพื้นที่เดียวได้อีกด้วย การเลือกใช้วัสดุหลักอย่าง ไม้ และองค์ประกอบสีขาว ตัดกับคอนกรีตเปลือยผิวที่โครงสร้างบันได ยังช่วยให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาสู่ภายในดูสว่างไสวโปร่งสบายตา นอกจากนี้พื้นผิวของวัสดุไม้ และคอนกรีตเปลือยยังสร้างความรู้สึกที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ รับกันดีกับแสงและเงาที่ส่องผ่านเข้ามาจากภายนอก […]

TAMNI HOSTEL เมื่อตำหนิ คือ เสน่ห์

“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]

ความรื่นรมย์ในบ้านตึกกลางเมืองที่ออกแบบไว้อย่างแยบยล

บ้านหลังนี้เป็นบ้านในที่ดินหน้าแคบเพียง 8 เมตร ตั้งอยู่ในย่านสาทรลึกเข้าไปในพื้นที่ที่ค่อนข้างเงียบสงบ แต่ด้วยลักษณะที่ดิน และความต้องการพื้นที่ใช้สอย การออกแบบให้บ้านหลังนี้มีลักษณะแบบตึกสูง 4 ชั้น จึงเป็นคำตอบ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan Atelier ด้วยฝีมือการออกแบบของ INchan Atelier บ้านหลังนี้ จึงไม่ใช่เพียงบ้านตึกหน้าแคบธรรมดา แต่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยสุนทรียะ และความรื่นรมย์ ผ่านการผสานธรรมชาติ และการสร้างองค์ประกอบของความเป็นบ้านให้สอดประสานไปในทุกพื้นที่อย่างลงตัว บ้านที่หายใจได้ เพราะการออกแบบบ้านที่มีลักษณะแคบลึกยาวเข้าไปถึงด้านในของที่ดินนั้น มักประสบกับการที่ลักษณะของผังการใช้งานจะมีช่องเปิดที่ด้านหน้า และด้านหลัง แต่สำหรับบ้านหลังนี้นั้น มีการคิดคำนึงถึงการสร้างช่องเปิดที่สอดคล้องไปกับการใช้งาน จากชั้นล่างที่เป็นส่วนต้อนรับ และพื้นที่ส่วนกลางของตัวบ้าน ผู้ออกแบบได้เลือกใช้พื้นที่หลังบ้านเป็นโต๊ะกลางที่สามารถใช้รับแขก และเป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้ พื้นที่ส่วนนี้มีการเปิดพื้นที่โดยรอบเป็นสวนขนาดเล็กที่ริมบ้าน ได้ทั้งความสงบ และความร่มรื่น ประกอบกับการออกแบบพื้นที่ให้มีลักษณะเป็น Double Volume จึงทำให้พื้นที่ชั้นล่าง และชั้นลอยที่เป็นพื้นที่นั่งเล่นของบ้านหลังนี้มีความเชื่อมโยง และยังคงไว้ซึ่งปฏิสัมพันธ์ต่อกัน คำว่า “หายใจได้” นั้น ไม่ได้หมายถึงเพียงแต่การเปิดรับลมธรรมชาติเพียงเท่านั้น แต่จังหวะของมวลที่ว่าง ภายในบ้านจะช่วยลดความอึดอัดของการเป็นบ้านแบบอาคารหลายชั้นลง สร้างความรู้สึกสบายอย่างที่บ้านควรจะเป็นได้มากขึ้น นอกจากนี้ในชั้น 3 และ 4 ของบ้านหลังนี้ ที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องนอนนั้น […]

PUSAYAPURI HOTEL จากประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ต่อยอดสู่โรงแรมใหม่สุพรรณบุรี

เพราะประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง นั่นจึงมีความหมายอย่างยิ่งกับผู้คนในท้องถิ่นอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนนำมาสู่โปรเจ็กต์การออกแบบ ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL เพื่อให้เป็นมากกว่าแค่ที่พัก แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง เพื่อช่วยเชื่อมโยงไปสู่ประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองที่มีอายุยาวนานกว่าสองพันปี สู่ที่มาของการออกแบบโรงแรม ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL ผู้รับหน้าที่ออกแบบอย่าง EKAR Architects นำโดยคุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว ทีมสถาปนิกได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ก่อนนำมาซึ่งแนวคิดและเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ ที่สร้างสรรค์จนเกิดเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอันมีเอกลักษณ์น่าจดจำแห่งนี้ ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือ จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์การออกแบบ คุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและกระบวนการทำงานของทีมสถาปนิกให้ฟังว่า “การออกแบบครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเมือง และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ซึ่งอำเภออู่ทองเคยเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน แต่คล้าย ๆ เป็นเมืองเก่าที่ถูกมองข้ามไป เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหลงลืม คนในท้องถิ่นจึงช่วยกันเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จะเห็นว่ามีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักจากหน้าผาหิน แลนด์มาร์กใหม่ของสุพรรณฯ มีซากเจดีย์ลำดับต่าง ๆ ที่เราไปตระเวนดู พอไปถึงแต่ละที่ ก็จะเห็นว่าบางที่ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นสนามหญ้าเฉย ๆ พอดูดี ๆ ถึงจะเห็นกองอิฐที่เหลืออยู่ไม่มาก […]

บ้านคอนกรีตเปลือย ที่สร้างจังหวะสอดประสานองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมให้รับกับบรรยากาศกึ่งเอาต์ดอร์อย่างลงตัว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: D KWA Architect บ้านคอนกรีตเปลือย หลังนี้ เป็น โฮม+ออฟฟิศ นั่นคือการมีพื้นที่สำนักงานอยู่ด้านหน้าบ้าน และตัวบ้านจริงจะซ่อนตัวอยู่หลังสำนักงานนั้นอีกที จึงทำให้บ้านหลังนี้มีบรรยากาศที่เงียบสงบ และมีความเป็นส่วนตัวที่สอดประสานกับองค์ประกอบกึ่งเอาต์ดอร์ภายในบริเวณบ้านได้อย่างน่าสนใจ #สำนักงานหน้าบ้านสะดวกธุรกิจสบายใจความเป็นส่วนตัวพื้นที่ด้านหน้าถูกออกแบบให้เป็นอาคารโกดัง และพื้นที่สำนักงานสำหรับผู้ที่มาติดต่อธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งข้อดีของการวางตัวอาคารเช่นนี้คือความสะดวกในการเข้าถึง และสำนักงานนี้ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนพื้นที่ Buffer ที่จะช่วยซ่อนความเป็นส่วนตัวของตัวบ้านเอาไว้ที่ด้านหลังอีกด้วย ซึ่งผลพลอยได้จึงทำให้การออกแบบพื้นที่ต่างๆภายในบ้าน สามารถมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ที่โปร่ง โล่ง ได้มากขึ้นนั่นเอง #บ้านคอนกรีตเปลือยผสานความโมเดิร์นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างสัจจะวัสดุ ความดิบ และความเนี๊ยบ ที่จัดวางองค์ประกอบร่วมกันเอาไว้อย่างน่าสนใจ ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้งานนั้นจะเป็นผนังฉาบเรียบขาว และไม้สีอ่อนที่ดูเรียบร้อย น่าสัมผัส แต่ในมุมที่ใกล้กับธรรมชาติหรือพื้นที่ภายนอกนั้น จะเริ่มใช้องค์ประกอบที่ปล่อยเปลือยผิววัสดุ หยาบกร้าน แต่งดงาม คล้ายเป็นการสร้างบทสนทนาที่เชื่อมโยงความเป็นสถาปัตยกรรมให้ค่อยๆเปลี่ยนไปสู่วัสดุตามธรรมชาติที่มีเสน่ห์ในร่องรอย และกาลเวลา #การเชื่อมโยงพื้นที่ด้วยระนาบ และมุมมองจากโถงทางเข้านั้น เราจะรู้สึกถึงการเป็นห้องระนาบที่วางตัวจากหน้าบ้านสู่หลังบ้าน ก่อนจะมีการเปลี่ยนถ่ายระดับที่ส่วนทานอาหาร ในส่วนนี้ ระนาบของห้องนั่งเล่นที่วางตัวขวางกับแกนทางเข้าจะทำหน้าที่เชื่อมโยงเข้ามาเป็นอีกพื้นที่ที่มีมวลพื้นที่สร้างให้เกิดความรู้สึกที่หยุดนิ่ง เพดาน Double Volumn ในห้องนั่งเล่นนั้น ทำงานร่วมกับระนาบของทางเข้าที่แตกต่างกันทั้งวัสดุ และ Volume ของพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อเราเดินเข้ามาถึงพื้นที่ภายใน ความรู้สึกของการ “พักผ่อน” จะเป็นสิ่งแรกที่เรานึกถึง แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเราเอนตัวลงนั่งบนโซฟา ชายคา และระนาบแนวนอนที่ต่อเนื่องไปทั้งอาคารจะสร้างความรู้สึกเชื่อมโยงออกไปสู่สระว่ายน้ำ […]

NAYA CAFE AYUTTHAYA คาเฟ่อิฐรับวิวทุ่งนา พาให้เห็นวิถีชุมชนชนบท

นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่อิฐที่อยากชวนคุณมาชื่นชมฤดูกาลผ่านผืนนา บอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอาคารกึ่งสาธารณะกลางชุมชนชนบท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: BodinChapa Architects นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya ตั้งอยู่ในตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดดเด่นด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแปลกตาก่อสร้างจากอิฐสีส้มรับกับวิวทุ่งนาสีเขียว ซึ่งตอนนี้ต้นข้าวกำลังแตกกอหลังจากผ่านช่วงเวลาปักดำมาไม่นาน โดยเป็นผืนนามรดกของครอบครัวเจ้าของโครงการที่ยังคงหมุนเวียนทำนาปลูกข้าวกันทุกปี หลังจากคุณดรีม-พัชชาดา พึ่งกุศล เจ้าของ เปิดร้านเบเกอรี่ออนไลน์ของตนเองมาสักพักก็ถึงคราวต้องขยับขยายธุรกิจด้วยการมองหาทำเลเพื่อเปิดร้านแบบจริงจัง ก่อนมาลงตัวกับทำเลที่มีศักยภาพตอบโจทย์ทั้งธุรกิจ และสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ การออกแบบคาเฟ่ได้รับการถ่ายทอดโดยทีมออกแบบจาก BodinChapa Architects ผ่านสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตากลางผืนนา ใช้อิฐแดงมาเป็นพระเอกเพื่อบอกเล่าความเป็นอยุธยา ภายใต้รูปทรงอาคารวงรีที่ตีความมาจากรูปทรงของเมล็ดข้าว อันสื่อความหมายถึงผลผลิตจากท้องนา และเป็นตัวแทนเพื่อให้เข้ากับชื่อ ตำบลข้าวเม่า ตามพิกัดที่ตั้งของคาเฟ่ จากถนนหลักด้านหน้าเข้าสู่ตัวคาเฟ่ ได้ออกแบบทางเดินไม้กั้นขอบทางเดินด้วยอิฐ เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอารมณ์เข้าสู่คาเฟ่ โดยระหว่างทางจะได้มองเห็นวิวและต้นไม้ซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อนจะพบกับพื้นคอนกรีตรูปวงรี เสิร์ฟให้เห็นบริบทต่าง ๆ ด้วยทางเดินที่เชื่อมถึงกันได้รอบอาคาร การสร้างรูปทรงอาคารให้เข้ากับร้านกาแฟกลางนาข้าว ส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ในตำบลข้าวเม่า สถาปนิกจึงมองว่าน่าจะใช้รูปทรงของเมล็ดข้าว หรือข้าวเม่ามาขยายต่อจนกลายเป็นรูปทรงอาคาร […]