Design
ท่องกรุงเก่าเคล้าดีไซน์ เที่ยวอยุธยาแบบไม่ได้ไปแค่วัดเก่าและกินกุ้งเผาตัวโต
กุ้งเผาก็ต้องกิน วัดเก่าก็ต้องไป สถาปัตยกรรมใหม่ก็ห้ามพลาด ความต้องการหลากหลายของชาวก๊วนจะถูกตอบโจทย์ในทริปนี้! นี่คือไกด์ ที่เที่ยวอยุธยา ที่คุณจะได้แวะเติมบุญไหว้พระ สลับกับเติมใจด้วยงานออกแบบสวย ๆ พ่วงด้วยร้านเด็ดที่บอกเลยว่า ไม่ได้ทานเหมือนมาไม่ถึง จะมีที่ไหนบ้างนั้น ลองกดไปดูต่อได้เลย
BAAN POMPHET ร้านกุ้งเผาและโรงแรมริมเกาะเมืองกรุงเก่า ที่ละเอียดลออตั้งแต่การเลือกขนาดก้อนอิฐ
onion ผู้ออกแบบร้านกุ้งเผาและโรงแรมบ้านป้อมเพชร เล่าถึงเหตุผลว่าทำไม สถาปัตยกรรมแห่งที่สองของพวกเขาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงละเอียดลออเป็นพิเศษ
Loqa แบรนด์วัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษวัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์
วัสดุเหล่านี้อาจดูเหมือนวัสดุก่อสร้างโดยทั่วไป แต่แท้จริงแล้วนี่คือวัสดุที่ตั้งใจสร้างการหมุนเวียนของเศษเหลือวัสดุ เพื่อเกิดเป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์และวัสดุก่อสร้างแนว Circular Design ในนาม loqa Loqa เป็นแบรนด์ไทยที่ก่อตั้งโดย คุณนนท์-นรฤทธิ์ วิสิฐนรภัทร และ คุณมาย-มนัสลิล มนุญพร ด้วยความหวังในการเริ่มต้น “ทำ” ในสิ่งที่ทำได้ เพื่อความยั่งยืนของโลกอย่างเป็นรูปธรรม วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ คือสิ่งที่ทั้งสองให้ความสนใจ และด้วยพื้นฐานธุรกิจทางบ้านของคุณนนท์ที่เป็นผู้ผลิตอิฐทนไฟ การเริ่มต้นกับวัสดุประเภทอิฐจึงไม่ใช่สิ่งที่ยากเกินกำลัง Loqa เริ่มต้นจากการทดลองใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งหลากหลาย เช่น เซรามิก แก้วจากขวดเก่า หรือวัสดุอื่นๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ หรือขยะทางการเกษตร ณ ปัจจุบัน Loqa แบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ กลุ่มประเภท Surface เช่น วัสดุก่อผนัง ปูพื้น และอิฐช่องลม และกลุ่มประเภทงาน Casted หรือการหล่อขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน เช่น แจกัน ประติมากรรม เชิงเทียง และกระถาง จุดเด่นของ Loqa […]
FILO ร้านอาหารสไตล์เมมฟิส บรรยากาศพาย้อนยุค 90
FILO ร้านอาหารในเมือง Torreón ประเทศเม็กซิโก โดดเด่นด้วยการตกแต่งสไตล์เมมฟิส มีแรงบันดาลใจความสดใสมาจากยุค 90’s ผลงานการออกแบบร้านอาหาร สไตล์เมมฟิส เป็นการจับมือกันของ 2 สตูดิโอออกแบบ Andrés Mier y Terán และ Regina Galvanduque (MYT+GLVDK) กับการออกแบบร้านอาหารตะวันออกกลางในบรรยากาศย้อนยุค ผสมผสานเส้นสายเรขาคณิตและกราฟิกสีสันสดใส หรือที่รู้จักกันในชื่อ Memphis Style เนื่องจากเจ้าของร้านเป็นสตรีชาวเม็กซิโกเชื้อสายเลบานอน เธอจึงอยากให้ที่นี่ช่วยเล่าเรื่องราวที่สะท้อนรากวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันออกกลาง ด้วยการนำเฉดสีในอาหารโดยเฉพาะขนมฟีโล ขนมทานเล่นสไตล์ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อร้าน มาใช้เป็นธีมสีในการออกแบบตกแต่ง โดยขนมชนิดนี้มีส่วนผสมหลายอย่าง อาทิ น้ำมันมะกอก ถั่วพิสตาชิโอ น้ำกุหลาบของดามัสกัส มะเดื่อ ซูแมค พริกไทย และเครื่องเทศต่าง ๆ บรรยากาศของร้านจึงเต็มไปด้วยเฉดสีที่หลากหลาย ภายในพื้นที่ 210 ตารางเมตร มีอิทธิพลงานออกแบบมาจากสไตล์เมมฟิส (Memphis Style) อีกหนึ่งแนวทางการออกแบบที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุค 90’s โดยสไตล์เมมฟิสนี้ มีความโดดเด่นด้วยการผสมผสานรูปทรงเรขาคณิต และการใช้สีสันสดใสที่ตัดกัน ฉีกกฎการออกแบบด้วยการให้ความสำคัญกับรูปทรง ผลงานของงานดีไซน์สไตล์เมมฟิสส่วนใหญ่ […]
เปลี่ยนโฉม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร สู่ลุคโมเดิร์นขาวคลีน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร โฉมใหม่ ที่เปลี่ยนคราบขนบอาคารราชการยุคเก่าทิ้งไป สู่สถาปัตยกรรมลุคโมเดิร์นเรียบง่ายทันสมัย ดึงดูดใจให้ผู้คนทั่วไปทุกระดับชั้น สามารถเข้ามาหาความรู้มากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supermachine Studio อาคาร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เปิดใช้ทำการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งการรวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ และสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อสร้างความรู้ใหม่ทางด้านมานุษยวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ความรู้ท้องถิ่นของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นที่ปรึกษาและให้การอุปถัมภ์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากประวัติอาคารตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพตัวอาคารที่ค่อนข้างเก่า อีกทั้งยังมีความเป็นทางการ ตามแบบประเพณีนิยมการออกแบบอาคารราชการทั่วไป ที่มักมีรายละเอียดเด่น ๆ อย่างหลังคาทรงจั่ว บันไดทางขึ้นที่สูงชัน เสาโรมันขนาดใหญ่ พื้นทรายล้าง หลังคาแบบยื่นยาว รวมถึง Drop-off ขนาดใหญ่ และฯลฯ มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ของนายแพทย์ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ท่านต้องการเปลี่ยนบรรยากาศและภาพลักษณ์ของศูนย์มานุษยวิทยาฯ ใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยมอบให้สถาปนิก Supermachine Studio เป็นผู้ออกแบบ […]
CAMIN CUISINE & CAFE ชิมรสอาหารใต้โอบบรรยากาศอบอุ่นในสวนกุหลาบที่ ขมิ้น สาขาอารีย์
ขมิ้น Camin Cuisine & Cafe สาขาอารีย์ คาเฟ่และร้านอาหารใต้ต้นตำรับฝีมือแม่สาขาที่ 6 ที่ขอยกความอร่อยมายังย่านซอยอารีย์-พหลโยธิน ด้วยคอนเซ็ปต์ที่เน้นความรู้สึกอบอุ่น และมีสีสันที่มากกว่าสาขาอื่น ท่ามกลางสวนกุหลาบแสนหวานที่กำลังผลิบานต้อนรับลมหนาว Camin Cuisine & Cafe สาขาอารีย์ เกิดจากการรีโนเวตอาคารคาเฟ่เก่าที่เลิกกิจการไปแล้ว โดยที่ด้านบนยังมีร้าน Boutique Salon เปิดกิจการอยู่ แต่เนื่องจากแต่ละอาคารเดิมมีการแยกสัดส่วนกัน ทีมสถาปนิกจาก Charrette Studio ผู้ทำหน้าที่รีโนเวตจึงพยายามเชื่อมร้อยการใช้งานทั้งโซนร้านอาหารและคาเฟ่ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน ในลักษณะแปลนรูปตัวยู (U) โอบล้อมรอบสวนกุหลาบสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ปลูกอยู่ในกระบะปูนรูปทรงฟรีฟอร์มหลากสี ตามคอนเซ็ปต์ “โอบอ้อมอารีย์” ซึ่งมีที่มาจากบริบทที่ตั้งอย่างย่านซอยอารีย์ บรรยากาศของร้านขมิ้นสาขานี้ ผู้ออกแบบเล่าว่า ที่นี่ค่อนข้างแตกต่างจากสาขาอื่น เพราะเน้นบรรยากาศให้มีความน่ารัก อบอุ่น และมีความทันสมัยมากขึ้น ทั้งยังคงเก็บรายละเอียดเดิมของอาคารและต้นไม้เดิมในพื้นที่เอาไว้ นับเป็นงานรีโนเวตที่ให้ความสำคัญกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งมีส่วนผสมของโครงสร้างเก่าและใหม่ที่ลงตัว จากลานจอดรถเมื่อเดินเข้ามายังพื้นที่ร้าน จะพบกับพื้นที่คอร์ตสวนกุหลาบในกระบะปูนขอบสูงสีพาสเทล ที่ออกแบบมาให้สามารถนั่งพักได้ ตรงกลางกระบะเลือกปลูกต้นมะขามเทศด่าง มีเอกลักษณ์ด้วยยอดใบสีขาวแต้มชมพูดูละมุน เข้ากับสีของดอกกุหลาบให้ฟีลเหมือนสวนต่างประเทศผสมกับพรรณไม้ไทย พื้นที่ภายในโซนร้านอาหารมีกลิ่นบรรยากาศโทนสีเหลืองทองอบอุ่น ซึ่งเป็นธีมมาจากสีทองของฟ้อนต์ซึ่งเป็นโลโก้ร้าน สถาปนิกเลือกใช้วัสดุหลากหลายมาช่วยในการออกแบบ มีไฮไลท์เด่น ๆ อย่าง ผนังกรุแผ่นหินโปร่งแสง […]
NOMAD CAFE รีโนเวตตึกร้างเป็นคาเฟ่คาเร็กเตอร์สุดคราฟต์
NOMAD Cafe โปรเจ็กต์ รีโนเวตตึกร้าง สู่คาเฟ่เรียบง่ายใช้วัสดุน้อย เด่นด้วยโครงสร้างแบบ Modular System พร้อมสำหรับการรื้อถอนเมื่อหมดสัญญาเช่า แล้วนำไปใช้งานต่อได้เมื่อย้ายไปตั้งที่อื่น เดิมที่นี่เคยเป็นตึกร้างที่ทรุดโทรม ตั้งอยู่ริมถนน Nguyen Ai Quoc เมือง Bien Hoa จังหวัด Dong Nai ประเทศเวียดนาม แต่ด้วยทำเลที่เหมาะสมกลางย่านชุมชน เจ้าของจึงสนใจเช่าตึกนี้ โดยทำสัญญาเป็นเวลา 5 ปี ก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์ รีโนเวตตึกร้าง แบบเปลี่ยนโฉม ซึ่งมีข้อแม้ว่าต้องเลือกใช้วัสดุที่พร้อมสำหรับการรื้อถอน ดังนั้นความน่าสนใจของโปรเจ็กต์นี้ จึงอยู่ที่รูปแบบการก่อสร้างและวัสดุที่เลือกใช้ โดยสถาปนิกยังคงเก็บโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเก่าที่มีอยู่ ก่อนจะเพิ่มความแข็งแรงด้วยโครงสร้างเหล็กระบบ Modular System หรือ “ระบบการก่อสร้างแบบโมดูลสำเร็จรูป” เช่น โมดูลแผ่นเหล็กเจาะรู และโมดูลระบบประตูกระจกหมุน เมื่อสัญญาเช่าตึกนี้สิ้นสุดลงก็สามารถนำวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้นั้น นำกลับมาใช้ใหม่สำหรับโครงการการออกแบบร้านที่ใหม่ได้ โดยสถาปนิกพยายามใช้วัสดุให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างการผสมผสานวัสดุต่างชนิดกันระหว่างเหล็ก กระจก และวัสดุปูพื้น-ผนังทำมือ แบ่งฟังก์ชั่นออกเป็นชั้นล่างและชั้นบน ชั้นล่างเป็นพื้นที่เปิดโล่งไม่มีผนัง เชื่อมภายในและภายนอกด้วยประตูกระจกกรอบเหล็กที่สามารถเปิดออกได้กว้าง เปิดออกสู่สวนเล็ก ๆ […]
CURV POT HANGER ยกกระถางต้นไม้ แขวนไว้กับผนัง
labrador ชวน Garden Atlas ลุกมาเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ให้กับห้องเดิมๆ และต้นไม้แสนรัก ด้วยกระถางต้นไม้รักษ์โลก CURV pot hanger
SOCIALPACK LIFESTYLE VENUE โคเวิร์กกิ้งที่มีนั่งทำงานให้เลือกถึง 8 รูปแบบ
โคเวิร์กกิ้งสเปซ SocialPack Lifestyle Venue อาคารสีขาวเรียบเท่ที่มีทั้งคาเฟ่ เวิร์กกิ้งสเปซ สำนักงานให้เช่า และห้องสัมมนา
NIAGACHIC HOME OFFICE เมื่อบ้านทำหน้าที่เป็นสตูถ่ายเสื้อผ้า
NIAGACHIC HOME OFFICE โฮมออฟฟิศที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้น 2 ของตึกแถว 2 คูหาให้เป็นที่ทำงานและกึ่งพักผ่อน
WORKSPACE โคเวิร์กกิ้งสเปซที่มีห้องสมุดพร้อมเลือกใช้วัสดุ
WORKSPACE คือพื้นที่โคเวิร์กกิ้งสเปซในบุญถาวร ที่ลูกค้าและนักออกแบบสามารถเข้าถึงคลังตัวอย่างวัสดุได้ง่ายพื่อสนับสนุนให้งานออกแบบสมบูรณ์ที่สุด
COMMON GROUND โคเวิร์กกิ้งสเปซฉบับมืออาชีพในบรรยากาศเรียบเท่ ร่วมสมัย
COMMON GROUND โคเวิร์กกิ้งสเปซฉบับมืออาชีพในบรรยากาศเรียบเท่ ร่วมสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงความรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเองเหมือนทำงานที่บ้าน
XEITO OFFICE ใช้ “ม่าน” บริหารพื้นที่การใช้งาน
Xeito พื้นที่สำนักงานได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ โดยมีสเปซวงกลมกลางพื้นที่พร้อมม่านที่เป็นหัวใจในการปรับสเปซ
THAN / LAB บาร์ลับคอนเซ็ปต์สนุก ชวนนึกถึงห้องหลบภัยใต้ดิน
Than / lab โปรเจ็กต์รีโนเวตตึกธนาคารเก่าขนาด 3 ชั้น ใกล้ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สู่ร้านอาหารและบาร์ลับบรรยากาศเหมือนห้องหลบภัยชั้นใต้ดิน ที่สลับอารมณ์ผ่านบรรยากาศ 3 สไตล์แบบไม่ซ้ำ Charrette Studio ได้ใส่ไอเดียสนุกๆ ลงไปใน Than / lab คอมมูนิตี้ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารและบาร์บรรยากาศแปลกใหม่ สำหรับให้ผู้คนได้เข้ามาหลบลี้หนีความวุ่นวายอยู่ภายใน เสมือนที่หลบภัยลับที่ซ่อนตัวอยู่กลางเมือง ตัดขาดจากภายนอก โชว์ความดิบผ่านร่องรอยการทุบรื้อ หลังจากได้รับโจทย์ สถาปนิกได้ใส่ไอเดียจากซีรีส์เรื่องโปรดของสถาปนิกอย่าง Money Heist เริ่มตั้งแต่เมื่อเดินจากริมถนนเข้ามาถึงพื้นที่ด้านหน้า ซึ่งจะยังคงเห็นบานโรลลิ่งชัตเตอร์เดิม แล้วเปลี่ยนผนังด้านหน้าให้ปิดทึบ ชวนสงสัยว่าภายในคืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไร ขณะที่คนด้านในก็จะรู้สึกถึงการตัดขาดจากภายนอก โซนชั้น 1 เปิดเป็นร้านอาหารตกแต่งด้วยใต้ธีม Underground จัดเสิร์ฟเมนูประเภทสเต็ก อาหารตะวันตกรับประทานง่าย และอาหารประเภทเทปันยากิ ออกแบบให้มีบาร์ทำอาหารขนาดยาว บรรยากาศให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในห้องหลบภัยลับชั้นใต้ดิน รอบ ๆ เป็นผนังผิวขรุขระไร้การปรุงแต่ง เสมือนห้องที่ผ่านการบุกทลาย โชว์ความดิบและร่องรอยที่เกิดจากการทุบรื้อสเปซออกไปบางส่วน ตกแต่งไลท์ติ้งให้บรรยากาศดูสลัวราง แสงไฟที่สาดไปกระทบกับผนังจะช่วยขับเน้นเท็กซ์เจอร์ให้เห็นมิติสูงต่ำที่เกิดจากรอยปูนปุปะ ด้านหลังมี Smoking Area เป็นพื้นที่เปิดโล่งเดียวที่ยอมให้แสงสาดเข้ามา ช่วยให้พื้นที่ภายในชั้น […]
IM EN VILLE “อิ่มในเมือง” บิสโทร คาเฟ่ บรรยากาศคลาสสิก บนถนนเฟื่องนคร
“อิ่มในเมือง” ปลุกชีวิตตึกเก่าย่านถนนเฟื่องนครอายุกว่า 150 ปี สู่ร้านอาหารและคาเฟ่บรรยากาศคลาสสิกสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ให้ทั้งความอิ่มเอมไปกับรสชาติอาหาร และสัมผัสวิววิจิตรสวยงามของวัดราชบพิธฯ อาคารที่ตั้งของร้าน “อิ่มในเมือง” ช่วงหนึ่งเคยใช้เป็นโรงพิมพ์ลมูลจิตต์ ก่อนถูกทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรีโนเวตใหม่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ กลายเป็น IM En Ville (อิ่ม-ออง-วิล) บิสโทร คาเฟ่ ชื่อฝรั่งเศสสุดเก๋ ซึ่งแปลว่า “ฉันอยู่ตรงนี้” เหมือนฉันอยู่ในเมือง และยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า “อิ่ม” ในภาษาไทย สื่อได้ถึงความอิ่มอร่อย อิ่มสุข อิ่มใจ อิ่มบรรยากาศ ภายในคาเฟ่บรรยากาศสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร รับกับวิววัดราชบพิธฯ ที่สวยงามได้อย่างพอดิบพอดี คาเฟ่ในย่านเก่าเล่ายุคการพิมพ์เฟื่องฟู จากเรื่องราวของอาคารที่สร้างขึ้นในช่วงหลังการสร้างถนนเฟื่องนครไม่นาน (เฟื่องนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือราวปี พ.ศ.2407 เป็นถนนที่สร้างตามแบบตะวันตก เป็นถนนสายเริ่มแรกของกรุงเทพฯ นอกจากถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง) โดยสันนิษฐานว่าอาคารนี้ น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2410 หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือมาเรื่อย ๆ ก่อนจะมาถึงกิจการโรงพิมพ์ที่กินเวลายาวนานกว่ากิจการอื่น ซึ่งตรงกับยุคที่การพิมพ์เฟื่องฟู โดยเฉพาะถนนเฟื่องนครที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ […]
แก่นและแกนของความเป็นไทยในความคิดของ จูน เซคิโน
ร่วมพูดคุยหัวข้อ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน สื่อด้วยผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ผลงานศิลปะ Ni’ และ Shin ซึ่งเกิดจากการประกอบกันของไม้ขนาดเล็กเป็นโครงสร้างอย่างประณีต แต่เมื่อมองในองศาที่ต่าง แสงตกกระทบที่เปลี่ยนก็จะได้ภาพที่ต่างออกไป นั่นคือ คำตอบที่ชัดเจนที่สุดของ “ความเป็นไทย” ในมุมมองของคุณจูน เซคิโน ผู้ก่อตั้ง Junsekino A+D สถาปนิกผู้ดึงคนรอบข้างที่เร่งรีบให้เดินช้าลง และพินิจกับความคิดให้มากขึ้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นสถาปนิก บ้านในไทยมีกระแสนิยมอย่างไร ช่วงนั้นประมาณ 20 ปีก่อน กระแสบ้านสไตล์โอเรียนทัลและทรอปิคัลจะพูดถึงกันบ่อย สมัยนั้นบ้านจัดสรรโครงการต่างๆ จะทำกันมาเป็นรูปแบบซ้ำๆ ตามความคุ้นเคย แต่ยังไม่ได้ปรากฏเป็นรูปแบบที่ชัดเจน จนคนเริ่มอยากมีบ้านเดี่ยวของตัวเอง ความต้องการก็ชัดเจนขึ้น จึงจ้างสถาปนิกเพื่อช่วยนำทาง และจัดการความต้องการบ้านในแบบของเขาให้เป็นจริงขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแกนหลัก 3 ส่วน คือ การใช้วัสดุ รูปแบบงานสถาปัตยกรรม และความต้องการของลูกค้า ความนิยมในการสร้างบ้านปัจจุบันเป็นอย่างไร จากลูกค้าที่เข้ามา ปัจจุบันคนต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น ชอบความไม่เหมือนใคร ถ้าเปรียบเป็นอาหารก็ไม่ใช่ภัตตาคารหรู แต่คือ Chef Table […]
มุมมอง “ไทยนิยม” ของสถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น ผศ. พิรัส พัชรเศวต
“สถาปนิกแห่งป่าฝนร้อนชื้น” คำจำกัดความที่บ่งบอกแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต ผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบ EAST architects ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิรัส พัชรเศวต อาจารย์และอดีตหัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผลงานเด่นชัดในสถาปัตยกรรมสไตล์ทรอปิคัลโมเดิร์น ที่มีแก่นความคิดในการอยู่ร่วมกับดินฟ้าอากาศอย่างเข้าใจธรรมชาติ การออกแบบบ้านในอดีตและปัจจุบัน มีความต่างหรือเหมือนกันอย่างไร ในเชิงความเป็นมนุษย์ คนที่อยากสร้างบ้านมีความต้องการคล้ายๆกัน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ เป็นบ้านที่อยู่สบาย ความสบายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนชอบ โดยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เราอยู่ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลหลักอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้าน ซึ่งประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อนชื้น บ้านจึงได้รับการออกแบบให้อยู่สบาย ไม่ร้อน และสั่งสมจนเป็นภูมิปัญญาไทย ส่วนรูปแบบอาคารที่มาห่อหุ้มนั้น เป็นไปตามคติความเชื่อ และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ในส่วนรูปแบบบ้านที่นิยมในแต่ละสมัย เราต้องแยกกันเป็นสองส่วน คือ รสนิยม หรือ Taste เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเช่นนั้นในทุกยุคสมัย ส่วนความนิยมส่วนรวมน่าจะตรงกับความหมายของ -ism (อิส’ซึม) เช่น Modernism Minimalism คือ นิยมกันแพร่หลาย ซึ่งเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงความนิยมสากลอย่างรวดเร็ว ก็จะถูกคลี่คลายกลายเป็นรสนิยมส่วนบุคคล รูปแบบบ้านจึงมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายแนวคิดที่เพิ่มขึ้นมา เช่น เรื่องพลังงาน […]
บ้านไทยพื้นถิ่น ภาพสะท้อนวิถีชีวิตผ่านลายเส้นของ ศ.เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์
ภาพลายเส้นและภาพสีน้ำบ้านไทยพื้นถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดวิถีชีวิตผู้คนในชุมชนต่างๆ ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์ สถาปนิกและนักวิชาการที่จดบันทึกด้วยการวาดภาพในสมุดคู่ใจยามลงภาคสนาม เป็นส่วนหนึ่งในผลงานวิจัยด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่ท่านทุ่มเทศึกษามาตลอด 40 ปี ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ แรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ และคนรุ่นใหม่มากมาย กระทั่งได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) ประจำปี 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นปีแรกที่มีสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และ บ้านและสวน ขอแสดงความยินดีมา ณ โอกาสนี้ การมีรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น) เกิดขึ้นเป็นปีแรก อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง อาจารย์ดีใจกับลูกศิษย์มาก เพราะมีลูกศิษย์นักศึกษาหลายคนที่ให้ความสนใจในสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ตั้งแต่อาจารย์ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านมาหลายสิบปี ในช่วงปีแรกต้องลุยเดี่ยว แต่ในภายหลังมีลูกศิษย์ตามไปช่วยวิจัยด้วยทุกปี และเปลี่ยนรุ่นไปทุกปี เพราะฉะนั้นงานวิจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะไม่ประสบผลสำเร็จเลย หากขาดลูกศิษย์ที่ลงแรงไปช่วยวิจัยด้วยกัน แสดงให้เห็นว่ามีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่ให้ความสนใจในสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เพียงแต่เรายังไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร ทั้งที่จริงแล้วสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในต่างประเทศนั้นค่อนข้างเป็นที่รู้จัก การได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติในปีนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าบ้านเราเริ่มให้ความสำคัญกับสาขานี้มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจรุ่นถัดไปมีพื้นที่ยืนอย่างเต็มตัว จึงนับเป็นเรื่องที่น่าดีใจ และยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นสาขาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นมีแนวโน้มจะพัฒนาต่อไปให้ดีขึ้น นิยามของคำว่า “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น” […]