HACKING COFFEE FLAGSHIP เมื่อสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรล้ำสมัย

Hacking Coffee Flagship คาเฟ่ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเจ้าของเคยเป็นโปรแกรมเมอรืมาก่อน จึงนำมาตีแผ่ในรูปแบบของคาเฟ่

K+BUILD สร้างลุคทันสมัยด้วยฟาซาดจากระบบเลขฐานสอง

K+ BUILD บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech)ของ KASIKORN Business-Technology Group ที่นำเสนอความทันสมัยผ่านอาคารโมเดิร์น ฟาซาดจากเลขฐานสอง

PAYAA HOTEL โรงแรมพัทยา กับคอนเซ็ปต์ “ทัพพระยา” หรูหราในคืนพักแรม

Payaa hotel โรงแรมเล็ก ๆ แต่เล่นใหญ่ ในเรื่องคอนเซ็ปต์และงานดีไซน์ ด้วยการนำเกร็ดประวัติศาสตร์เมืองพัทยา สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ และค่อนข้างเป็นนามธรรมมาคลี่คลาย แล้วสื่อสารผ่านงานออกแบบตกแต่งอย่างสวยงาม พร้อมจัดเสิร์ฟประสบการณ์การพักผ่อนในรูปแบบและบรรยากาศไม่เหมือนใคร เพื่อให้ทุกคนที่มาที่ Payaa hotel ได้รับความประทับใจกลับไปแบบเต็มเปี่ยม ที่นี่ได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติศาสตร์ของเมืองพัทยา ซึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาตาก(สิน)ได้ถอยทัพมาทางตะวันออก ระหว่างทางไปเมืองจันทบุรีได้มีการพักทัพ ณ สถานที่เมืองชายทะเลเล็ก ๆ ที่ไม่มีใครรู้จัก เพื่อค้างแรมและพักทัพ รวบรวมไพร่พล จนในที่สุดก็สามารถกู้เอกราชกลับคืนมาได้ โดยบริเวณที่กองทัพได้พักค้างแรมนี้ ชาวบ้านพากันเรียกขานว่า “ทัพพระยา” แล้วต่อมาเพี้ยนเสียงเป็น “พัทยา” จากที่มาดังกล่าว นั่นจึงเป็นไอเดียให้เจ้าของและสถาปนิกนำมาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลัก ทุกพื้นที่แทรกรายละเอียดที่บอกเล่าถึงการเดินทาง และการพักแรม มีกลิ่นอายสื่อถึงความเป็นเอเชียนที่เข้าใจง่าย จากพื้นที่ด้านหน้าที่เรียบง่าย เมื่อเข้ามาด้านในกลับพบบรรยากาศชวนตื่นเต้น ต้อนรับด้วยพื้นที่ล็อบบี้โรงแรมซึ่งเป็นเสมือนที่รวมพล โดดเด่นด้วยภาพกราฟิกหลังเคาน์เตอร์ต้อนรับ ถือเป็น Key Visual สำคัญที่ช่วยสื่อเรื่องราวการพักทัพ-พักแรมตามคอนเซ็ปต์ โดยภาพวาดนี้มีทั้งภาพคน ช้าง เต็นท์ที่พัก และภาพวิวทิวทัศน์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงภูมิประเทศในแผนที่ นับเป็นสิ่งสำคัญมากของการศึกในสมัยก่อน ใช้เทคนิคเดียวกันกับที่ใช้วาดธนบัตร ผสมเทคนิคภาพพิมพ์หินกับสีฝุ่น และศิลปะแบบคอนราจ โดยเอกลักษณ์ของรูปภาพมีทั้งความเป็นตะวันตกและตะวันออก […]

GATHER GROUND CAFE คาเฟ่พัทยา ชูรสชาติกาแฟไทย ในบรรยากาศคลาสสิก

Gather Ground Cafe คาเฟ่พัทยา คาเฟ่เล็ก ๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในชั้นล่างของโรงแรม Payaa hotel เปิดต้อนรับลูกค้าทั้งภายในโรงแรมและภายนอกให้ได้มาสัมผัสชาติกาแฟไทย ท่ามกลางบรรยากาศหรูหราเหมือนคาเฟ่ต่างประเทศ อีกหนึ่ง คาเฟ่พัทยา Gather Ground Cafe บอกเลยว่า บรรยากาศไม่ธรรมดา และคอกาแฟทั้งหลายห้ามพลาด! ต้องมาลองสักครั้งให้ได้ เพราะที่นี่พร้อมเสิร์ฟเมนูกาแฟไทยคุณภาพที่นำมาเบลน คั่ว และบดที่นี่เองเพื่อให้ได้รสชาติมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมกับบรรยากาศดีแบบมีรสนิยม การตกแต่งให้ความรู้สึกหรูหราและเข้มขรึม ด้วยดีเทลของงานทองเหลือง ซึ่งเป็นบรรยากาศที่ต่อเนื่องมาจากห้องอาหารชาญ ผสมผสานกับงานไม้สีเข้มและงานหวาย เน้นกาแฟไทยคุณภาพดีเป็นหลัก ซึ่งคัดสรรมาจากไร่ทางภาคเหนือ ทั้งจากปางขอน จังหวัดน่าน ดอยช้าง ดอยแม่เจดีย์ จังหวัดเชียงราย แล้วนำมาคั่วโดยใช้เครื่อง The San Franciscan Roaster เครื่องคั่วกาแฟแฮนด์เมดจากอเมริกา ใช้ระบบแบบแมนนวลที่ต้องอาศัยความสามารถของผู้คั่วเป็นพิเศษ โดยลูกค้าสามารถมองเห็นเครื่องคั่วรูปทรงคลาสสิกนี้ ได้จากห้องกรุกระจกที่อยู่ใกล้ ๆ หากวันไหนมาแล้วโชคดีก็จะได้เห็นการคั่วกาแฟแบบสด ๆ ให้ชมด้วย มีเมนูเด่นอยากนำเสนอคือ Modern Espresso ซึ่งทางคาเฟ่ใช้วิธีการชงที่แตกต่าง เพื่อให้ได้รสชาตินุ่มนวล ดื่มง่าย ด้วยการบดกาแฟให้หยาบกว่าปกติเล็กน้อย […]

ADIUVAT COFFEE ROASTER QUINHON ยกบรรยากาศบ้านเวียดนามดั้งเดิม มาไว้ใน คาเฟ่ตึกแถว

คาเฟ่ตึกแถว อบอุ่นเหมือนนั่งจิบกาแฟสบาย ๆ ในบ้านไม้ ชวนให้นึกย้อนรำลึกถึงวันวานที่มีทั้งความเรียบง่ายและเงียบสงบ คาเฟ่ตึกแถว แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตึกแถวริมถนนสายเก่าแก่ของเมืองกวีเญิน (Quy Nhơn) ประเทศเวียดนาม มาพร้อมแนวคิดที่เอาชนะปัญหาพื้นที่แคบและปิดทึบให้มีความรู้สึกปลอดโปร่งผ่านช่องแสงที่ปรับใหม่ รวมถึงการเลือกใช้วัสดุซึ่งนิยมใช้ในการสร้างบ้านเวียดนามแบบดั้งเดิมมาผสมผสาน ด้านหน้าสะดุดตาด้วยป้ายชื่อร้านทำจากแผ่นเหล็กฉลุลายตัวอักษรขนาดใหญ่ ผนังและประตูเปลี่ยนมากรุกระจกใสขนาดใหญ่สูงจรดเพดาน เพื่อให้แสงส่องเข้ามาด้านในได้เต็มที่ ภายในจัดเรียงลำดับการใช้งานตามฟังก์ชั่นที่ต่อเนื่อง มีเคาน์เตอร์บาร์ขนาดใหญ่ซึ่งเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญโดยก่อขึ้นจากซีเมนต์ และพื้นเป็นกรวดล้างดูแลรักษาง่าย ผนังร้านกรุแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ลวดลายขรุขระสีเทา ตัดกับผนังไม้เก่าในโซนที่นั่งด้านใน เป็นการใช้วัสดุเพื่อแบ่งโซนให้แตกต่างได้อย่างเป็นสัดส่วน ห้องในสุดใช้เป็นห้องคั่วเมล็ดกาแฟที่กั้นด้วยกระจก ทำให้มองเห็นขั้นตอนการคั่วเมล็ดกาแฟสดๆ ได้ชัดเจน รับกับผนังที่ทำผิวขรุขระเหมือนผนังถ้ำ ตกแต่งต้นไม้และออกแบบแสงสว่าง ช่วยขับเน้นบรรยากาศให้สวยสะดุดตา เป็นอีกมุมไฮไลต์ของคาเฟ่นี้ก็ว่าได้ ขึ้นชั้นบนด้วยบันไดไม้ จำลองบรรยากาศเหมือนบ้านไม้สองชั้น พื้นปูด้วยไม้ หรือแม้แต่ฝ้าเพดานก็ยังออกแบบให้เหมือนบ้านไม้มุงหลังคาสังกะสี เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหลัก มีการเจาะพื้นเดิมออกเพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ ให้แสงที่ผ่านเข้ามาจากผนังกระจกหน้าร้านชั้นสองนี้ สามารถส่องเข้ามายังพื้นที่ด้านในร้านได้ทั่วถึง ลดปัญหาอับทึบของตึกแถวได้อย่างดี ที่นี่จึงเป็นโปรเจ็กต์ที่รวบรวมเทคนิคการก่อสร้างบ้านดั้งเดิมในท้องถิ่นมาหลอมรวมไว้ ให้กลับมาสู่การออกแบบยุคปัจจุบัน เพื่อพาทุกคนคืนสู่ความเรียบง่าย แต่สวยงามถูกใจคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันเริ่มหาชมบรรยากาศบ้านไม้ท้องถิ่นแบบนี้ได้ยากแล้ว ออกแบบ-ตกแต่ง : A+H architectออกแบบเเสงสว่าง : Ori Lightingก่อสร้าง : Ori Contructionภาพ : Quang […]

KATINAT-BINH PHU เปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลเป็นคาเฟ่อบอุ่นสีโกโก้

รีโนเวตตึกเก่า ซึ่งเคยเป็นโรงเรียนอนุบาลอยู่บริเวณหัวมุมสี่แยกของถนนสายเก่าแก่ Rue Catinat กลางนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้กลายเป็นคาเฟ่คอนเซ็ปต์เหนือกาลเวลา มีเส้นโค้งและสีโกโก้เพิ่มความอบอุ่นให้ทุกอณู ก่อนจะได้รับการปลุกชีพผ่านการ รีโนเวตตึกเก่า ให้เป็นคาเฟ่อีกสาขาหนึ่งของแบรนด์กาแฟ Katinat ซึ่งมีสาขากว่า 50 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม เจ้าของและทีมสถาปนิกมีความตั้งใจอยากจะอนุรักษ์อาคารดั้งเดิม พร้อมกับมอบประสบการณ์การดื่มกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นดูทันสมัย หลอมรวมความงามของยุคใหม่กับยุคเก่าให้เป็นหนึ่งเดียว สำหรับ DNA ของคาเฟ่เกือบทุกสาขาของ Katinat นั้น เรียกว่าทุก ๆ แห่ง ล้วนตั้งใจสื่อสารความเป็นจิตวิญญาณ หรือบริบทแวดล้อมที่มีความโดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น เพื่อชูเรื่องราวและเอกลักษณ์ซึ่งหาซ้ำไม่ได้จากที่ไหน เช่นเดียวกับที่นี่ที่สร้างความเซอร์ไพรส์ให้แก่ผู้คนในย่าน กับการเปลี่ยนโรงเรียนอนุบาลที่มีสระว่ายน้ำอยู่ข้างใน โดยผู้ออกแบบยังคงรูปลักษณ์ของตัวอาคารเดิมที่ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรงไว้เพื่อเชื่อมโยงกับอดีต ภายใต้การมอบประสบการณ์ใหม่ เลือกดีไซน์เคาน์เตอร์โค้ง บันไดโค้ง และหุ้มผิวด้วยสังกะสี เพื่อสะท้อนภาพความแข็งแรงของโครงสร้าง พื้นเป็นหินขัด เสาคอนกรีตเผยให้เห็นร่องรอยของพื้นผิวแบบหยาบ นำแสงเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคารด้วยผนังบล็อกแก้วที่สูงขึ้นไปถึงชั้นสอง ตรงกลางมีมุมไฮไลต์คือ บันไดคอนกรีตทรงกลมโค้งมน มีชั้นลอยแบบโค้งมองลงมาเห็นวิวความคึกคักของบรรยากาศชั้นล่าง เคาน์เตอร์บาร์มีรูปทรงแบบฟรีฟอร์มหุ้มหน้าเคาน์เตอร์ด้วยแผ่นสเตนเลส ล้อมกรอบถ้วยแถบอะลูมิเนียมสีบรอนซ์ เช่นเดียวกับแถบตกแต่งผนัง สเตชั่นที่นั่งทำจากคอนกรีตทรงโค้งออร์แกนิกช่วยลดความแข็งกระด้างของโครงสร้างอาคารทั้งหมด โต๊ะเป็นทรงกลมทำจากหินขัด เบาะที่นั่งและพนักพิงบุหนังเทียมสีน้ำตาลโกโก้ เพื่อสื่อถึงสีของกาแฟลาเต้และมอคค่าที่ดูอบอุ่น ตัดกับสีเทาของวัสดุสมัยใหม่อย่างเหล่าคอนกรีต กระจก และบล็อกแก้ว […]

KOSHISH HOUSE สถาปัตยกรรมยั่งยืน เล่าการใช้งานใหม่ให้วัสดุมีหน้าที่ไม่จำกัด

สร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้กระเบื้องดินเผากว่า 14,858 ชิ้น ให้กลายเป็นส่วนประกอบหนึ่งของบ้านกึ่งสตูดิโอออกแบบดีไซน์โมเดิร์น

WH CAFE รุ่งอรุณแห่งวังหิ่งห้อย ในบรรยากาศของร้านอาหารกลางสวนทรอปิคัล

WH cafe วังหิ่งห้อย ในพาร์ทบรรยากาศยามเช้า ต้อนรับวันใหม่ด้วยอาหารแบบ All Day Breakfast ทั้งอิ่มท้องและสดชื่นกลางสวนสไตล์ทรอปิคัล หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ วังหิ่งห้อย (Wanghinghoi) บาร์และร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่สร้างสรรค์ประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และแสง ผ่านแนวคิดธาตุทั้ง 4 ท่ามกลางบรรยากาศสลัวรางดูลึกลับในยามค่ำคืน โดยครั้งนี้วังหิ่งห้อยขอเพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อจัดเสิร์ฟอาหารสไตล์ All Day Breakfast เปิดบริการในช่วงเวลากลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขตร้อน โดยใช้ชื่อว่า WH Cafe ย่อมาจาก Wang Hinghoi นั่นเอง WH cafe วังหิ่งห้ จากความพลุกพล่านของย่านอาร์ซีเอ พระราม 9 ที่นี่จะพาทุกคนหลบเข้ามาสู่บรรยากาศของสวนป่ากลางเมือง เริ่มต้นตั้งแต่สองข้างทางเดินด้านนอกที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนสีเขียว ก่อนบังคับให้เดินผ่านกำแพงดินสูงตระหง่านราว 5 เมตร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโครงการ เดินตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบกับประตูเหล็กสีขาวขนาดใหญ่เพื่อผลักเข้าสู่พื้นที่ของ WH Cafe ซึ่งเคยเป็นอีกส่วนหนึ่งของวังหิ่งห้อย โดยได้รับการออกแบบต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสว่างปลอดโปร่ง สเปซกับบรรยากาศได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนสวนหลังบ้าน ภายใต้แนวคิด Into […]

HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์บ้านไม้ใต้ถุนสูงในสวนส้มโอเมืองเว้

โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง ในสวนส้มโอเก่า เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางมาพักผ่อน และซึมซับวิถีชนบทที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติของเมืองเว้ เมืองท่องเที่ยวสำคัญของเวียดนาม HACHI HOMESTAY & SPA โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง Hachi homestay & spa โฮมสเตย์ บ้านไม้ใต้ถุนสูง แห่งนี้ สร้างขึ้นเพราะเจ้าของอยากจะเชื่อมโยงคนจากภายนอกเข้าสู่ความเป็นท้องถิ่น โดยใช้พื้นที่ของสวนส้มโอเก่าที่ยังคงมีต้นส้มโอขนาดใหญ่ให้เห็น เป็นที่ตั้งของอาคารที่พักรูปตัวยู (U) ซึ่งมีสระว่ายน้ำอยู่ตรงกลาง เปิดมุมมองให้เห็นสวนรอบ ๆ ผ่านพื้นที่พักผ่อนใต้ถุนสูง สะท้อนภูมิปัญญาการสร้างบ้านของชาวอุษาคเนย์ แผนผังรูปตัวยู (U) ช่วยให้กิจกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นรอบพื้นที่สระว่ายน้ำตรงกลางของบ้านพัก พื้นที่ใต้ถุนชั้นล่างเป็นเสมือนพื้นที่ส่วนกลางจัดให้แขกสามารถพักผ่อนและสัมผัสได้ถึงสภาพแวดล้อมและความร่มรื่นของสวนส้มโอ ขณะที่ห้องพักแต่ละไทป์จะอยู่บนชั้นสองของบ้านทั้งหมด ซึ่งมีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเปลือยโชว์พื้นผิวและใช้ไม้ในส่วนอื่น ๆ อาทิ ประตู หน้าต่าง ราวระเบียงกันตก บันได และเฟอร์นิเจอร์ แต่ละห้องได้รับการออกแบบให้แยกออกจากกันเพื่อความเป็นส่วนตัว อีกทั้งยังทำให้เกิดช่องว่างที่ช่วยเชื่อมโยงวิวสวนและเกิดการระบายอากาศได้รอบอาคาร มีการตกแต่งห้องพักตามธีม ผ่านการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยสร้างบรรยากาศแบบไม่ซ้ำ โดยเน้นโชว์พื้นผิวที่เป็นธรรมชาติให้เห็น อาทิ คอนกรีตเปลือย อิฐ หิน และไม้ หลังคาลาดเอียงขนาด 500 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้ครอบคลุมตัวอาคารรูปตัวยู […]

IN MY ELEMENT CAFE รวมองค์ประกอบความสุขในคาเฟ่ปูนดิบเท่

In My Element Cafe คาเฟ่คอนกรีตเปลือยรูปทรงเรขาคณิตสไตล์ Brutalist ดิบเท่ไร้การปรุงแต่ง กลางย่านราชพฤกษ์ แปลกตาด้วยรูปทรงคล้ายโดม หรือปล่องควันอย่างโรงงานอุตสาหกรรม เล่นสนุกกับประสบการณ์และจินตนาการของผู้พบเห็นแบบไม่ตีกรอบ คล้ายกับกำลังมาชมงานศิลปะ ความดิบปนเท่ของคอนกรีตเปลือยและรูปทรงเรขาคณิต ภายใต้การตกแต่งที่เน้นสีโมโนโทนเรียบนิ่ง เป็นเสน่ห์ที่คุณดารัตน์ โรจนภักดี เจ้าของคาเฟ่ In my Element Cafe ชื่นชอบและยังช่วยสะท้อนตัวตนของเธอได้อย่างดี โดยในความหมายของชื่อ In My Element ที่เธอคิดขึ้นนั้นคือการนำพาองค์ประกอบที่ใช่และถูกใจมาใส่ไว้ที่เดียว หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า Element ยังหมายถึงธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นสถาปัตยกรรมที่ไร้การปรุงแต่ง หรือสัจวัสดุจึงเป็นอีกนิยามของธรรมชาติ เพื่อให้คอนเซ็ปต์มีความชัด เราจึงได้เห็นไอเดียการดึงแสงธรรมชาติจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ออกแบบให้ความสำคัญ ผ่านการออกแบบผนังเป็นช่องแสงทั้งสี่เหลี่ยมและครึ่งวงกลม มีมุมไฮไลต์คือสวนหย่อมขนาดเล็ก โดดเด่นด้วยต้นแก้วเจ้าจอม ที่ตัดแต่งทรงพุ่มกลมสวยงาม มีใบสีเขียวอ่อนช่วยลดความดิบกระด้างของอาคารคอนกรีต หลังคาด้านบนซึ่งเป็นส่วนของปล่องอาคารที่สูงขึ้นไปนั้น ออกแบบให้มีช่องแสงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่สามารถมองเห็นท้องฟ้าและนำแสงแดดลอดผ่านลงมาถึงเรือนยอดของต้นไม้ได้อย่างพอดี โดยแสงแดดนี้จะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลาและฤดูกาล เรียกว่าในแต่ละวันความงามของมุมนี้แทบจะไม่ซ้ำกันเลย จึงเป็นมุมที่ทุกคนมักมาถ่ายรูป โคนต้นปลูกประดับไม้พุ่มขนาดเล็ก และจัดวางประติมากรรมก้อนหิน พื้นโรยหินกรวดและปูแผ่นคอนกรีต เช่นเดียวกับพื้นสวนเอ๊าต์ดอร์ด้านนอก นอกจากนี้ สถาปนิกยังสร้างสรรค์ลวดลายธรรมชาติให้ปรากฏลงบนพื้นผิวต่าง […]

room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum

room Guide Ep.25 สำรวจพิพิธภัณฑ์ที่สุดของคลังดีไซน์ The Vitra Design Museum

CPS Coffee คาเฟ่ที่มีเพียงสามสีตามการคั่วกาแฟ

CPS Coffee จำลองโพรงกระต่ายไว้กลางกรุง ให้คุณได้กระโดดลงไปชิมกาแฟที่ตั้งใจทำทุกขั้นตอน โดยภายในร้านใช้เพียงสามโทนสีตามการคั่วเมล็ดกาแฟ

BOTANIST ACTIVITY SPACE & CAFE ชื่นชมพรรณไม้หายาก ในคาเฟ่กลางสวนพฤกษศาสตร์

Botanist Activity Space & Cafe คาเฟ่มีนบุรี ในรูปแบบของกล่องกระจกท่ามกลางสวน 4 รูปแบบ ทั้ง Desert Garden, Jurassic Garden, Bromeliads Garden และ Tropical Garden

Module collection จาก DEESAWAT โต๊ะก็ดี เก้าอี้ก็ได้ กระถางต้นไม้ก็ยังได้อีก!

Module collection โปรเจ็คต์ที่เกิดจากความร่วมมือของ DEESAWAT x SCG x Jacob Jensen Design|KMUTT ที่พยายามพลิกมุมมองเพื่อสร้าง “ความยั่งยืน” ในงานออกแบบ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แม้ปัจจุบันได้มีผู้ประกอบการหลายรายนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเศษเหลือทิ้งหรือลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ทำอยู่นั้น อาจเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต และหากไม่มีการออกแบบที่ครบวงจรเพื่อลดปัญหาดังกล่าว เราก็คงต้องปัญหานั้นอย่างไม่มีวันจบสิ้น MODULE collection ออกแบบภายใต้การคำนึงถึงการออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ Lifecycle แรกของตัวสินค้า และยังมีการออกแบบฟังก์ชั่นให้ Lifecycle ที่ 2 อีกด้วย ในส่วนของที่นั่งไม้สัก เป็นไม้ที่มีการใช้งานได้คงทนทั้งภายนอกภายใน จึงมีการออกแบบให้เรียบง่าย และมีกระบวนการไสไม้ให้น้อยที่สุด เผื่อว่าอนาคตสามารถนำไม้ดังกล่าวไปใช้เป็นวัสดุใหม่ในการทำผลิตภัณท์ต่างๆ และส่วนของซีเมนต์จาก SCG นั้น ผลิตด้วยกระบวนการ 3D printing เพื่อลดการทำแม่พิมพ์ในการขึ้นชิ้นงาน และยังมีการออกแบบเซาะร่องในตัวชิ้นงาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นสนาม หรือรั้วต้นไม้ได้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานแล้วหรือมีการแตกหักเสียหาย DEESAWAT เลือกร่วมงานกับ SCG โดยมีเป้าหมายในการทดลองนำปูนซีเมนต์กลับมารีไซเคิล ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะมีต้นทุนในการขนย้ายสูง และต้องใช้เครื่องจักรที่ใหญ่มากในการบดย่อยสลาย ดังนั้นถ้าเจ้าของสินค้าสามารถนำชิ้นงานซีเมนต์ไปใช้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง […]

บ้านเดี่ยวท่ามกลางขุนเขาของคู่รักที่ฝันจะมีบ้านวัยเกษียณ

บ้านวัยเกษียณ ของคู่รักที่ฝันอยากมีบ้านกลางป่า โดยเน้นเป็นอาคารที่ช่วยประหยัดพลังงาน ใช้วัสดุที่เป็นมิตร หาได้ในพื้นที่ และเข้ากับสภาพแวดล้อม

STUDIO PLP ออฟฟิศโมเดิร์นมินิมัล โปร่งด้วยฟาซาดกระจกบานเกล็ด

STUDIO PLP ออฟฟิศโมเดิร์นมินิมัล ที่โปร่งโล่งด้วยฟาซาดกระจกบานเกล็ดที่ช่วยดึงแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายใน แก้ปัญหาเรื่องกฎหมายอาคาร

JUSTCO SAMYAN MITRTOWN ออกแบบสเปซให้สามารถทำงานร่วมกันได้มากที่สุด

JUSTCO SAMYAN MITRTOWN มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างเครือข่ายและชุมชนใหม่ๆ นำมาสู่พื้นที่สำหรับการประชุม ระดมความคิด

INFINITUDE ด้วยวัฏจักรอันไม่มีที่สิ้นสุด

PIPATCHARA แบรนด์แฟชั่นไทยในเวทีโลกที่บอกเลยว่าไม่ธรรมดา โดย คุณเพชร-ภิพัชรา แก้วจินดา และ คุณทับทิม-จิตริณี แก้วจินดา ด้วยแนวคิดการใช้แรงขับเคลื่อนของโลกแฟชั่นเพื่อสร้างการมีส่วนรวมย้อนกลับไปช่วยเหลือชุมชน จนเกิดเป็นคอลเลคชั่น Infinitude ที่ไม่เพียงเลือกช่างฝีมือไทยในการผลิตเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกใช้วัสดุหลักของคอลเลคชั่นเป็น “พลาสติกกำพร้า” อีกด้วย Fashion for Community หรืองานออกแบบที่สร้างการมีส่วนร่วมกลับคืนสู่สังคม คือแนวทางการทำงานของ PIPATCHARA ตลอดมา เมื่อมาถึงคอลเลคชั่น Infinitude นี้ จึงเริ่มมองหามิติของความยั่งยืนที่หลากหลายออกไป ความไม่มีที่สิ้นสุดในความหมายของ Infinitude นั้นสามารถแปลออกมาได้ทั้งมิติของการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยเลือกทำงานกับครูที่แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้กับเหล่าครู ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆโดยคำนึงถึงการทำงานกับคนในชุมชน ตลอดจนวัตถุดิบที่เหลือใช้ก็มาจากการรวมรวบขยะพลาสติกที่ไม่สามารถนำกลับเข้าระบบได้ หรือที่เรียกว่า ‘พลาสติกกำพร้า’ มาใช้เป็นวัสดุหลัก จึงเป็นที่มาของคำว่า Infinitude เราต้องการต่อยอดความเป็นไปได้เหล่านี้ให้ต่อเนื่องไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากตัวชิ้นงานเองแล้ว ก็หวังว่าคอลเลคชั่นนี้จะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆของ Circular Economy ที่จับต้องได้เช่นกัน พลาสติกกำพร้า เหมือนไร้ค่า แต่สร้างสรรค์ได้ด้วยงานออกแบบ พลาสติกที่เลือกใช้ในคอลเลคชั่นนี้ทั้งหมดคือ ‘พลาสติกกำพร้า’ ซึ่งเป็นขยะที่ไม่มีมูลค่าในตลาด ไม่ถูกนำไปใช้ซ้ำ รีไซเคิลก็ให้กลับมาเป็นตัวมันเองก็ไม่ได้ เราใช้พลาสติกที่มาจาก Post-Consumer Waste ซึ่งคือพลาสติกที่ผ่านการใช้มาจากในครัวเรือนมาแล้ว […]