SECAD OFFICE แบ่งพื้นที่ทำงานให้ยืดหยุ่นราวกับบับเบิ้ล

SECAD OFFICE ออฟฟิศที่ออกแบบให้มีลักษณะเป็น ยูนิตเหมือนฟองอากาศที่ลอยอยู่ในสเปซกว้าง สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เต็มไปด้วยความยืดหยุ่น

INKA ชิลไปกับร้านอาหารสไตล์บีชคลับกลางกรุงเทพฯ

INKA – อิงคฺ ร้านอาหารซึ่งมีชื่อแปลว่า แสงสว่าง กับมุมมองที่เห็นวิวตึกสูงของกรุงเทพฯ ได้จากชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้า Central Embassy เสิร์ฟอาหารไทยที่รังสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความทันสมัย ภายใต้บรรยากาศสุดชิลเหมือนอยู่ในรีสอร์ตริมทะเล Inka มาพร้อมความพิเศษกับรูปแบบร้านอาหารที่เรียกว่า Progressive Thai Restaurant เชิญชวนทุกคนให้มาลิ้มรสอาหารไทยอร่อย ๆ ที่รังสรรค์โดยเชฟมืออาชีพมากประสบการณ์ กับแนวคิดเพื่อยกระดับคุณค่าอาหารไทย ด้วยการนำอาหารพื้นถิ่นมาทำให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยใช้เทคนิคการปรุงอาหารแบบฝรั่งมาผสมผสาน จัดเสิร์ฟให้คนเมืองได้สัมผัสประสบการณ์รสชาติอาหารไทยในรูปลักษณ์และดีไซน์ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติกลมกล่อมและจัดจ้านอยู่เช่นเดิม จากคอนเซ็ปต์หลักของเมนูอาหาร ได้ส่งต่อมาถึงธีมการออกแบบตกแต่งร้าน ที่เน้นให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นพื้นถิ่น รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Ethnic Vibe ในบรรยากาศสบาย ๆ ผสมสไตล์รัสติก เสมือนกำลังพักผ่อนอยู่ภายในรีสอร์ต หรือ Beach Club ริมทะเล อบอุ่นอ่อนโยนด้วยของตกแต่งแฮนด์เมดหลากหลายรูปแบบ เช่น งานไม้ งานปั้น และงานจักสาน ซึ่งมีรูปทรงสวยงาม ไม่ต่างจากงานศิลปะจัดวางก็ว่าได้ ภายในแบ่งที่นั่งหลากหลายโซนให้เลือก เช่น มุมที่นั่งแบบซุ้มโค้ง ที่ให้ความรู้สึกกึ่งเป็นส่วนตัว กับบรรยากาศน่ารัก ๆ สไตล์กรีซ […]

Black Chapel วิหารสีดำตัวแทน Serpentine Pavilion 2022

ทุก ๆ ฤดูร้อนตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา พื้นที่เล็ก ๆ ในมุมหนึ่งของสวน Kensington Gardens ใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมีโอกาสได้ต้อนรับ Serpentine Pavilion สถาปัตยกรรมชั่วคราว เพื่อการพบปะและปะทะสังสรรค์ทางความคิด ในรูปแบบ และแนวความคิดที่ไม่ซ้ำเคยกัน และแน่นอนว่าในแต่ละปี สถาปนิกดาวรุ่งจากทั่วโลกจะได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบ และส่งสารผ่านสิ่งปลูกสร้าง ที่จะตั้งอยู่ในสวนยาวไปจนถึงช่วงสิ้นปี สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เองที่ Serpentine Pavilion ได้เปิดพื้นที่ของผลงานชิ้นใหม่ในนาม “Black Chapel” ที่เรียกความสนใจจากผู้มาพักผ่อนหย่อนใจในสวน และผู้ตั้งใจมาเยี่ยมชมจากทั่วโลก โครงสร้างทรงกระบอกสีดำทะมึนอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารอ้างอิงจากรูปแบบโครงสร้างที่พบในหลายวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเตาเผารูปทรงคล้ายขวดในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมของเมือง Stoke-on-Trent ประเทศอังกฤษอันเป็นเอกลักษณ์ เตาเผาถ่านหินรูปทรงรังผึ้งที่พบได้ในทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซุ้มวิหารทรงโดมขนาดเล็ก หรือ Tempietto ในโบสถ์ San Pietro ของเมือง Montorio กรุงโรม ประเทศอิตาลี บ้านดินโบราณของกลุ่มชาติพันธ์ Musgum ในประเทศแคเมอรูน รวมถึงอาคารฝังศพ Kasabi Tombs แหล่งมรดกโลกของเมือง Kampala ประเทศอูกันดา […]

APOS THE HQ นั่งทำงานในพิพิธภัณฑ์เสื้อยืดและร้านค้า 9 ร้าน

Apostrophys Group ออฟฟิศที่ออกแบบเป็นพื้นที่เชิงทดลองสร้างสรรค์ ด้วยการแบ่งโซนต่างๆ ด้วยการใช้สีแทนผนัง ทำให้พื้นที่ภายในเชื่อมต่อกันได้หมด

BAAN TAI TUN ตากอากาศในทุกวันหยุดผ่านพื้นที่ใต้ถุนบ้าน

บ้านใต้ถุน ที่เข้ากับการเป็นบ้านตากอากาศในช่วงวันหยุด เพื่อใช้เวลาในการพักผ่อนและสัมผัสธรรมชาติให้มากที่สุดผ่านพื้นที่ใต้ถุนบ้าน

BLUE BOTTLE COFFEE ป๊อปอัพคาเฟ่แนวคิดใหม่เสิร์ฟกาแฟผ่านตู้ล็อกเกอร์

Blue Bottle Coffee สาขาชิบุยะ มีแนวคิดน่าสนใจตอบโจทย์ยุคโควิด กับการเสิร์ฟกาแฟผ่านช่องรับแก้วที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ เพื่อลดการสัมผัส โปรเจ็กนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก James Freeman ผู้ก่อตั้ง Blue Bottle Coffee ซึ่งต้องการเปลี่ยนการให้บริการลูกค้าแบบตัวต่อตัว ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคระบาด มาเป็นการสร้างป๊อปอัพคาเฟ่ที่ลดการสัมผัสและเผชิญหน้ากับพนักงานโดยตรง โดยส่งต่อแนวคิดนี้ให้กับ Schemata Architects ช่วยพัฒนางานดีไซน์ แล้วเลือกทำเลที่ถือเป็นแลนด์มาร์คของย่านชิบุยะอย่าง Shibuya Scramble Square 3F Event Space เป็นที่ตั้งของคาเฟ่ การออกแบบคาเฟ่ครั้งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพรังผึ้ง โดยเปลี่ยนจากการวางเคาน์เตอร์ไว้ด้านหน้าเพื่อต้อนรับผู้คน มาใช้วิธีการบริการในรูปแบบใหม่ที่ปลอดภัยและมีกิมมิกน่าสนใจ ผ่านช่องรับแก้วกาแฟที่ดีไซน์คล้ายตู้ล็อกเกอร์ ออกแบบโดยใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก และสร้างกลไกที่เรืองแสงได้ ตอบสนองต่อการเปิดและปิดประตู ผิวบานเปิดทำจากแผ่นอะคริลิกแบบขุ่นช่วยให้แสงดูนุ่มนวล นอกจากการสั่งเครื่องดื่มผ่านเครื่องรับออร์เดอร์แบบหน้าจอสัมผัสด้านหน้า ที่อาจต้องรอสักครู่ ก่อนออร์เดอร์จะถูกจัดเสิร์ฟผ่านช่องล็อกเกอร์แต่ละบานแล้ว ลูกค้ายังสามารถสั่งเครื่องดื่มได้ผ่านแอปพลิเคชั่นในมือถือ ช่วยให้สามารถซื้อกาแฟอร่อย ๆ ได้แบบไม่ต้องรอ มาถึงก็หยิบเครื่องดื่มได้เลย โดยดูหมายเลขบนล็อกเกอร์ ซึ่ง James Freeman เชื่อว่าการทำคาเฟ่ด้วยรูปแบบแนวคิดนี้ จะได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ ผ่านการบริหารจัดการที่ง่ายขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง […]

HARVKIND คาเฟ่ในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์แนวคิดยั่งยืน

Harvkind คาเฟ่ย่านพระราม 2 ที่ควบรวมโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ไว้ในหนึ่งเดียว ซึ่งมาพร้อมแนวคิดรักษ์โลกและสุขภาพ คอมมูนิตี้สเปซเล็ก ๆ สำหรับสายรักษ์โลก รักสัตว์ รักสุขภาพ และคนรักการแต่งบ้าน Harvkind เป็นทั้งคาเฟ่ และ Flagship Store ของ Harvbrand แบรนด์เฟอร์นิเจอร์น้องใหม่ที่แตกไลน์ธุรกิจมาจากแบรนด์หลักอย่าง Inhome Furniture ซึ่งเกิดจากการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ปาร์ติเกิลบอร์ด (particleboard) มานานกว่า 39 ปี (since 1983) จนถึงปัจจุบัน ด้วยรูปแบบทางการตลาดและพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป ผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างคุณเชียร์-ชนน วระพงษ์สิทธิกุล ที่เข้ามาช่วยดูแลธุรกิจของครอบครัว จึงเกิดแนวคิดตั้งแบรนด์ลูกอย่าง HARV ขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าคนรุ่นใหม่ ด้วยการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่ายทันสมัย ผลิตในรูปแบบที่เรียกว่า Micro Lot เพราะสามารถควบคุมคุณภาพเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังช่วยลดปัญหาการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตและจัดเก็บ ผสมผสานเข้ากับแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่คุณเชียร์สนใจ ด้วยการพยายามให้เหลือเศษวัสดุน้อยที่สุด รวมถึงการนำเศษวัสดุมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ แบบ Upcycle ซึ่งเป็นอีกแนวทางการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน “ส่วนตัวผมสนใจเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว จึงพยายามทำให้ […]

TACHIKAWA ANNEX HOUSE บ้านไม้หลังใหญ่ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่อยู่อาศัย โกดังเก็บสินค้า และสตูดิโอถ่ายภาพ

บ้านไม้ หลังใหญ่ ตอบโจทย์ธุรกิจเสื้อผ้าของเจ้าของบ้าน ตั้งอยู่ใน Tachikawa City เมืองในเขตโตเกียวตะวันตก ของประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการดีไซน์พื้นที่กว้างขวางสำหรับใช้เป็นโกดังและสตูดิโอถ่ายภาพ บ้านไม้ หลังคาทรงจั่งขนาดใหญ่นี้ มีโครงสร้างที่ถือเป็นเอกลักษณ์อย่าง การออกแบบให้มีเสาสองต้นขนาดใหญ่ที่โผล่ทะลุขึ้นมาถึงชั้นสอง เพื่อทำหน้าที่รองรับคานไม้ในลักษณะรูปตัววีเชื่อมต่อกับแปหลังคา ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและลวดลายดูสวยงาม ผนังและเพดานกรุด้วยแผ่นไม้อัด ส่วนพื้นกรุกระเบื้องปูพื้นพอร์ซเลนดีดำเข้ม พื้นที่ใช้สอยเป็นแบบโอเพ่นแปลนดูโล่งกว้าง และเนื่องจากทิศหน้าบ้านหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ได้รับแสงแดดโดยตรง ดังนั้น เพื่อให้บ้านชั้นสองได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอและลดการใช้พลังงาน สถาปนิกจึงแก้ปัญหานี้ ด้วยการใช้วัสดุโปร่งแสงอย่าง แผ่นพอลิคาร์บอเนตแบบสองชั้นซึ่งมีโครงสร้างกลวง (Polycarbonate with thick void layer) มากรุที่ผนังบ้านด้านหน้า จนกลายเปลือกอาคารที่เด่นกว่าใคร ซึ่งมาพร้อมคุณสมบัติที่น่าสนใจ อาทิ ช่วยกรองแสง ช่วยถ่ายเทความร้อนต่ำ และเป็นฉนวนกันความร้อน จึงช่วยประหยัดพลังงานได้ดีกว่าการกรุผนังด้วยกระจกที่มีความหนาเท่ากัน โดยเจ้าของสามารถเปิดประตูออกมารับลมและชมวิวด้านนอกที่เห็นรางรถไฟพลาดผ่าน ได้ผ่านทางเดินบนระเบียงขนาดยาว หลังคาทำจาก Galvanized color steel sheet ทนทานต่อสภาพอากาศและการกัดก่อนทุกรูปแบบ ทั้งยังสะท้อนความร้อนได้ดี จึงไม่ดูดซับความร้อน ช่วยให้บ้านเย็นสบายในหน้าร้อน ชั้นล่างใช้เป็นโกดังเก็บสินค้าและสตูดิโอถ่ายภาพ สำหรับใช้งานในฐานะที่เจ้าของบ้านทำธุรกิจเสื้อผ้า แต่เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่ต่ำกว่าพื้นระดับปกติประมาณ 1 เมตร จึงต้องทำบันไดเล็ก […]

AKHA AMA COFFEE สาขาพระสิงห์ คาเฟ่อิฐในมิติที่นุ่มนวลไปกับเส้นโค้ง

Akha Ama Coffee สาขาพระสิงห์ กับการเปลี่ยนตึกแถวสองคูหาให้กลายเป็นคาเฟ่สาขาใหม่ ที่จะพาทุกคนไปสัมผัสสุนทรียแห่งรสชาติกาแฟไทย ภายในคาเฟ่บรรยากาศอบอุ่นด้วยงานอิฐ และโอบรับด้วยเส้นโค้ง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 AKHA AMA COFFEE สาขาพระสิงห์ แห่งนี้ มีแนวคิดการสร้างสรรค์พื้นที่ให้เป็นส่วนหนึ่งของเมือง เพื่อให้ผู้คนในย่าน หรือนักท่องเที่ยวสามารถมาใช้เวลานั่งพักบริเวณด้านหน้าของคาเฟ่ได้ ไม่ต่างจากบรรยากาศคาเฟ่เมืองนอก เนื่องจากที่นี่มีทำเลอยู่ริมถนนซึ่งพุ่งตรงไปยังวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเมืองเชียงใหม่ จากจุดประสงค์ดังกล่าวทีมสถาปนิกจาก 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 จึงต้องออกแบบพื้นที่ด้านหน้าของคาเฟ่ให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการนั่งพักผ่อน ต้อนรับทุกคนด้วยสีสันที่อบอุ่นของอิฐ วัสดุธรรมชาติช่วยสะท้อนถึงความเป็นท้องถิ่น มีความเรียบง่าย ตรงไปตรงมา ไร้การปรุงแต่ง เช่นเดียวกับกาแฟอาข่า อ่ามา ที่มีแหล่งปลูกมาจากธรรมชาติ และเกิดจากความใส่ใจของพี่น้องชาวอาข่าเกษตรกรท้องถิ่น “อิฐ” ถือเป็นพระเอกในการออกแบบครั้งนี้ก็ว่าได้ ส่วนหนึ่งมาจากความชอบของเจ้าของ และเพื่อบ่งบอกคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ สถาปนิกจึงนำอิฐมาสร้างสรรค์แพตเทิร์นที่น่าสนใจในหลาย ๆ มุม นอกเหนือจากการก่อโชว์แนวธรรมดา เริ่มตั้งแต่ผนังด้านหน้าทั้งซ้าย-ขวา ซึ่งโดดเด่นด้วยการทำแพตเทิร์นให้แผ่นอิฐยื่นออกมาแบบแรนดอม เพื่อให้เกิดภาพกราฟิกบนผนัง มีเส้นทางการเข้าถึงคาเฟ่แบ่งเป็นสองฝั่ง มีกระบะต้นไม้อยู่ตรงกลาง ด้านขวาเมื่อหันหน้าเข้าคาเฟ่มีทางขึ้นแบบขั้นบันได ส่วนฝั่งซ้ายเป็นทางลาดชัน ฝั่งที่เป็นขั้นบันไดเหมาะกับคนที่มาซื้อกาแฟแล้วไป ส่วนคนที่อยากสัมผัสสเปซก็ให้เดินอ้อมมาทางแลมป์ซึ่งมีที่นั่ง เหมาะมาใช้เวลาชิล ๆ จิบกาแฟ พร้อมชมวิวเมืองตอนเช้า เนื่องจากหน้าอาคารหันไปทางทิศเหนือ […]

Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

MACROCARE OFFICE พื้นที่น้อยแต่แทรกไว้ด้วยสีเขียวทุกอณู

MacroCare ออฟฟิศทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่เรียบง่ายทันสมัย ที่มีพื้นที่สีเขียวซึ่งสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ภายนอก แม้จะสร้างอยู่บนพื้นที่จำกัดก็ตาม

NANA COFFEE ROASTERS BANGNA ตัดขาดความวุ่นวายของถนนบางนา เพื่อมาโฟกัสรสชาติกาแฟ กลางสวนสีเขียว

บ้านหลังใหม่ของ NANA Coffee Roasters ที่ซ่อนตัวอย่างสงบเบื้องหลังกำแพงสีขาว ราวกับกำลังตัดขาดตัวเองจากความวุ่นวายของถนนบางนา-ตราดด้านนอก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ทุกคนได้ตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ ท่ามกลางอ้อมกอดของสวนสีเขียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: IDIN Architects ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: TROP : terrains + open space NANA Coffee Roasters Bangna สาขาใหม่ แห่งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคุณกุ้ง-วรงค์ ชลานุชพงศ์ และคุณกุ้ง- กานดา โทจำปา ที่ต้องการให้ที่นี่รวมทุกเรื่องราวของกาแฟมาไว้ในที่เดียวกัน เช่นเดียวกับจุดประสงค์ที่อยากให้ทุกคนมาตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ พร้อมการสร้างบรรยากาศที่ผูกร้อยเรื่องราวกว่าจะมาเป็นกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อพาทุกคนเข้าสู่โลกของกาแฟอย่างแท้จริง การออกแบบคาเฟ่สาขานี้ มาจากไอเดียที่อยากสร้างบรรยากาศของการดื่มกาแฟมากกว่าการมาเพื่อถ่ายรูป กลายเป็นโจทย์ให้คุณเป้-จีรเวช หงสกุล จาก IDIN Architects กับคุณป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ จาก TROP : terrains + open space นำความต้องการดังกล่าวมาตีความว่าจะทำอย่างไรให้บรรยากาศการดื่มกาแฟได้รับการเติมเต็มผ่านการสร้างสรรค์ทั้งสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคป โดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสลายเส้นแบ่งระหว่างงานทั้งสองให้หลอมรวม เปลี่ยนพื้นที่ร้านอาหารเก่าสู่คาเฟ่ของคอกาแฟ จากร้านซีฟู้ด “อบอวน มหาชัย […]

SAWO RONTGEN คาเฟ่โปร่งแสงบนสนามหญ้าหน้าบ้าน

SAWO RONTGEN สาขาล่าสุดของ Sawo Coffee & Roastery แบรนด์คาเฟ่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาใหม่นี้ตั้งอยู่บนสนามหน้าบ้านหลังกะทัดรัดในย่านพักอาศัยบนถนน Rontgen ซึ่งชื่อถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของแนวคิดหลักในการออกแบบ Röntgen หมายถึงการเอ๊กซเรย์ (X-ray) ตามชื่อของศาสตราจารย์เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ จากชื่อถนนที่ตั้งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กด้านหน้าบ้าน ให้มีรูปลักษณ์โปร่งแสงไม่ต่างจากการเอ๊กซเรย์ หลังจากทีมออกแบบได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุโปร่งแสงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์แนวคิดการออกแบบในที่สุด บล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด จึงถูกใช้เป็นวัสดุหลัก โครงสร้างผนังบล็อกแก้วบนสนามด้านหน้าบ้านดูคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ที่ช่วยกำหนดขอบเขต และสร้างเส้นแบ่งให้ส่วนคาเฟ่โดยเฉพาะ ส่วนกระจกกัดกรดมีผิวสัมผัสซาตินเป็นเหมือนผิวภายนอกของคาเฟ่ที่ห่อหุ้มองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเดิมไว้ ทำให้เกิดเลเยอร์ใหม่ดูน่าสนใจบนเปลือกอาคารเก่า โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก วัสดุบล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด สร้างความขัดแย้งอย่างลงตัวกับทั้งโครงสร้างอาคาร และธรรมชาติรอบข้าง นำไปสู่รูปลักษณ์ความโปร่งแสงสลับโปร่งใสในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ทีมออกแบบตั้งใจ ส่วนโครงสร้างหลักใช้เหล็ก H-beam ชุบกัลวาไนซ์ ปล่อยเปลือยเปล่าโชว์ผิวสัมผัส เมื่ออยู่เบื้องหลังผิวโปร่งแสงของบล็อกแก้วและกระจก จึงเปรียบได้กับภาพเอ๊กซเรย์ที่ปรากฎเลเยอร์ของผิวหนัง และโครงกระดูก เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่จะพบเคาน์เตอร์กาแฟสีขาวเฉียบเรียบ ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของ Sawo Coffee คอยบริการเสิร์ฟกาแฟก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาโซนที่นั่งด้านใน เซอร์ไพร้ส์กับที่นั่งเอ๊าต์ดอร์วงกลมที่ซ่อนอยู่ในกล่องบล็อกแก้ว รูปทรงวงกลมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของแบรนด์ ซึ่งรูปทรงที่โดดเด่น และสมมาตรนี้ทำให้เกิดบรรยากาศที่สงบ สร้างบทสนทนาเรียบง่ายระหว่างผู้ใช้งานกับสถาปัตยกรรม ส่วนด้านข้างมีบันไดเหล็กที่นขึ้นำไปสู่ห้องชั้นบนที่มีที่นั่งแบบอินดอร์ […]

BUDDHA-BAR ด้วยแรงบันดาลใจงานออกแบบจากสังสารวัฏในทัศนะพุทธปรัชญา

ที่นี่คือ Buddha-Bar New York ร้านอาหารที่เลื่อมใสในคติพุทธปรัชญา และหยิบยกเอาแนวคิดคำว่า “การเกิดใหม่” มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลักของบร้าน ดังจะเห็นได้ชัดจาก ณ กึ่งกลางของร้านที่มีประติมากรรมอีกชิ้นที่เกิดจากไม้ยืนต้นตาย รวมทั้งบรรดาผนัง และท็อปโต๊ะก็เลือกใช้ไม้ที่มีอายุกว่า 800-4,000 ปี มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อถึงวัฏจักรที่เวียนว่ายเกิดสู่สังสารวัฏที่แตกต่างไปในแต่ละชาติ “อานนท์เอ๋ย จงพึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป หาใช่รูปแทนทั้งปวง” พระตถาคตได้กล่าวไว้ก่อนปรินิพพาน และร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้จัดวางประติมากรรมรูปพระตถาคตเอาไว้อย่างแม่นเหมาะ ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นจากกระจก 1,000 แผ่น เรียงต่อกันเป็นรูปร่างขึ้น โดยมีเครื่องฉายภาพอยู่ภายในที่จะสร้างภาพสามมิติประกอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งประติมากรรมนี้สื่อถึงภาชนะที่ว่างเปล่าคล้ายกายหยาบที่เรากำลังห่มคลุมอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีแก่นสารแห่งชีวิตอยู่ภายในนั่นเอง และจุดเด่นอีกส่วนที่สำคัญ ก็คือโคมไฟระย้าโลหะรูปทรงโมเดิร์นที่สื่อถึงบรรยากาศแบบเอเชี่ยนออกแบบโดย Kateryna Sokolova ห่มคลุมพื้นที่คล้ายดอกไม้บานสื่อถึงการตื่นรับความคิดใหม่ ๆ สู่จิตตน ก็เป็นอีกหนึ่งงานออกแบบที่น่าสนใจซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นได้ในประเทศไทย แต่ด้วยการตีความทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ร้านอาหารแห่งนี้ก็กล่าวถึงวัฏจักรแห่งชีวิตแฝงไว้ตามวัสดุและรูปแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ เพราะสุดท้ายแล้วพุทธที่แท้ล้วนคือคำสอนดังที่พระตถาคตได้กล่าวเอาไว้จนหมดสิ้นนั่นเอง ออกแบบ : YOD design lab ภาพ : Andriy Bezuglovเรื่อง : Wuthikorn Sut

สู่บทใหม่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย Design 103 International Limited

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเพื่อการประชุมและแสดงสินค้าของประเทศไทย และในปีนี้หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุงมาอย่างยาวนาน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำลังจะกลับมาใหม่พร้อมกับหลายสิ่งที่ทั้งต่อยอด และสืบสานเอาไว้ วันนี้ room ได้รับเกียรติจาก คุณนพดล ตันพิวัฒน์ CEO บริษัท Design 103 International Limited ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่แห่งนี้มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดและสิ่งที่แฝงอยู่ในงานออกแบบในครั้งนี้ จากอดีต ก้าวล้ำสู่อนาคต “ถ้าให้ย้อนกลับไปถึงศูนย์ฯเดิม ก็ต้องกลับไปเมื่อตอนสร้างเสร็จราวๆ ปี 2534 ตอนนั้นเริ่มใช้สำหรับเป็นที่จัดการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46  ธีมของสถาปัตยกรรมจะเป็นการนำแนวคิดของเรือนไทย 4 ภาคมานำเสนอสถาปัตยกรรมไทย ส่วนในครั้งนี้เมื่อต่อยอดจากโจทย์เดิมที่เคยถูกใช้มา ในการออกแบบนั้นเราก็จะมี Core ของการทำงานอยู่ 3 เรื่อง นั่นคือ Inspiration, Integration และ Innovation ในการทำงานเพื่อให้ครอบคลุมต่อการใช้งานในอนาคตต่อไป” “ถ้าถามว่าภาพของศูนย์ที่ดูเรียบง่ายขึ้นนี้มีที่มาอย่างไร อาจต้องย้อนกลับไปมองเรื่องอัตลักษณ์ที่เราตีโจทย์เรื่องของสถาปัตยกรรมไทยทั้งในดีไซน์เดิม และดีไซน์ใหม่นี้ การ Approach นั้นมีได้หลายวิธี อย่างศูนย์เดิมเรา Approach เรื่องของเรือนไทย 4 ภาค […]

STALLIONS “TANYA” มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์ไทยที่ไปไกลถึงมิลาน

น้ำมันแพงไป! ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคือทางออก!! STALLIONS แบรนด์ไทย จึงร่วมกับ DOTS ออกแบบมอเตอร์ไซค์ที่จะเข้ามาเป็นอวัยวะใหม่ของคนเมือง TANYA by DOTS X STALLIONS EV MOTORCYCLE คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เตรียมจะวางจำหน่ายเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน หลายคนคงคุ้นเคยกับ STALLIONS แบรนด์มอเตอร์ไซค์ลุคเรโทรสุดเท่กันมาบ้าง และนี่ก็คืออีกหนึ่งก้าวถัดไปของแบรนด์ STALLIONS ก็ว่าได้ TANYA คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่ออกแบบสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม DOTS EV สามารถทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งระยะการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อยู่ที่ 150 กิโลเมตร เรียกว่าชาร์จครั้งเดียวขับไปพัทยาได้เลยทีเดียว และด้วยแพลตฟอร์ม DOTS EV จึงทำให้ในอนาคตหลังจากวางจำหน่าย การปรับเปลี่ยนต่าง ๆ เพื่อปรับลุค หรือการใช้งานของตัวมอเตอร์ไซค์จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะแพสชั่นคือสิ่งที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกพาหนะในการขับขี่ที่เด่นชัดที่สุด ยิ่งสำหรับกรุงเทพฯ แล้ว มอเตอร์ไซค์เปรียบได้กับพาหนะที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของเจ้าของเสียด้วยซ้ำ และแน่นอนว่าการออกแบบรูปลักษณ์ของ TANYA จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของคนเมือง สื่อถึงความโฉบเฉี่ยวล้ำสมัยอย่างเด่นชัด แต่คงไว้ซึ่งเส้นสายที่สื่อออกมาจากฟังก์ชัน ไม่ใช่เพียงการประดับตกแต่ง […]

JINYU CAFE AND EATERY เปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่กลิ่นอายจีน

Jinyù cafe and eatery คาเฟ่เชียงราย ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์ขนาด 1 คูหา ให้อบอวลไปด้วยกลิ่นอายจีนทั้งการตกแต่งภายในและสวนด้านข้าง

BAANLUMPHUN บ้านโมเดิร์นที่ตีความใหม่จากสถาปัตยกรรมนอร์ดิก

“บ้านลำพูน” บ้านพักอาศัย 2 ชั้น ขนาด 260 ตร.ม. ที่ได้รับการออกแบบด้วยกลิ่นอายแบบ บ้านนอร์ดิก และสร้างบนที่ดินเปล่าผืนหนึ่งในจังหวัดลำพูน