Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

MACROCARE OFFICE พื้นที่น้อยแต่แทรกไว้ด้วยสีเขียวทุกอณู

MacroCare ออฟฟิศทรงสี่เหลี่ยมคางหมูที่เรียบง่ายทันสมัย ที่มีพื้นที่สีเขียวซึ่งสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ภายนอก แม้จะสร้างอยู่บนพื้นที่จำกัดก็ตาม

NANA COFFEE ROASTERS BANGNA ตัดขาดความวุ่นวายของถนนบางนา เพื่อมาโฟกัสรสชาติกาแฟ กลางสวนสีเขียว

บ้านหลังใหม่ของ NANA Coffee Roasters ที่ซ่อนตัวอย่างสงบเบื้องหลังกำแพงสีขาว ราวกับกำลังตัดขาดตัวเองจากความวุ่นวายของถนนบางนา-ตราดด้านนอก เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ทุกคนได้ตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ ท่ามกลางอ้อมกอดของสวนสีเขียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: IDIN Architects ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: TROP : terrains + open space NANA Coffee Roasters Bangna สาขาใหม่ แห่งนี้ เกิดจากความตั้งใจของคุณกุ้ง-วรงค์ ชลานุชพงศ์ และคุณกุ้ง- กานดา โทจำปา ที่ต้องการให้ที่นี่รวมทุกเรื่องราวของกาแฟมาไว้ในที่เดียวกัน เช่นเดียวกับจุดประสงค์ที่อยากให้ทุกคนมาตั้งใจดื่มด่ำกับกาแฟ พร้อมการสร้างบรรยากาศที่ผูกร้อยเรื่องราวกว่าจะมาเป็นกาแฟตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อพาทุกคนเข้าสู่โลกของกาแฟอย่างแท้จริง การออกแบบคาเฟ่สาขานี้ มาจากไอเดียที่อยากสร้างบรรยากาศของการดื่มกาแฟมากกว่าการมาเพื่อถ่ายรูป กลายเป็นโจทย์ให้คุณเป้-จีรเวช หงสกุล จาก IDIN Architects กับคุณป๊อก-อรรถพร คบคงสันติ จาก TROP : terrains + open space นำความต้องการดังกล่าวมาตีความว่าจะทำอย่างไรให้บรรยากาศการดื่มกาแฟได้รับการเติมเต็มผ่านการสร้างสรรค์ทั้งสถาปัตยกรรมและแลนด์สเคป โดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและสลายเส้นแบ่งระหว่างงานทั้งสองให้หลอมรวม เปลี่ยนพื้นที่ร้านอาหารเก่าสู่คาเฟ่ของคอกาแฟ จากร้านซีฟู้ด “อบอวน มหาชัย […]

SAWO RONTGEN คาเฟ่โปร่งแสงบนสนามหญ้าหน้าบ้าน

SAWO RONTGEN สาขาล่าสุดของ Sawo Coffee & Roastery แบรนด์คาเฟ่ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย สาขาใหม่นี้ตั้งอยู่บนสนามหน้าบ้านหลังกะทัดรัดในย่านพักอาศัยบนถนน Rontgen ซึ่งชื่อถนนแห่งนี้ได้กลายเป็นที่มาของแนวคิดหลักในการออกแบบ Röntgen หมายถึงการเอ๊กซเรย์ (X-ray) ตามชื่อของศาสตราจารย์เรินต์เกนผู้ค้นพบรังสีเอ๊กซ์ จากชื่อถนนที่ตั้งนำมาสู่แนวคิดการออกแบบคาเฟ่ขนาดเล็กด้านหน้าบ้าน ให้มีรูปลักษณ์โปร่งแสงไม่ต่างจากการเอ๊กซเรย์ หลังจากทีมออกแบบได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุโปร่งแสงรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ตอบโจทย์แนวคิดการออกแบบในที่สุด บล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด จึงถูกใช้เป็นวัสดุหลัก โครงสร้างผนังบล็อกแก้วบนสนามด้านหน้าบ้านดูคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ที่ช่วยกำหนดขอบเขต และสร้างเส้นแบ่งให้ส่วนคาเฟ่โดยเฉพาะ ส่วนกระจกกัดกรดมีผิวสัมผัสซาตินเป็นเหมือนผิวภายนอกของคาเฟ่ที่ห่อหุ้มองค์ประกอบต่าง ๆ ของบ้านเดิมไว้ ทำให้เกิดเลเยอร์ใหม่ดูน่าสนใจบนเปลือกอาคารเก่า โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไรมาก วัสดุบล็อกแก้ว และกระจกกัดกรด สร้างความขัดแย้งอย่างลงตัวกับทั้งโครงสร้างอาคาร และธรรมชาติรอบข้าง นำไปสู่รูปลักษณ์ความโปร่งแสงสลับโปร่งใสในหลากหลายรูปแบบอย่างที่ทีมออกแบบตั้งใจ ส่วนโครงสร้างหลักใช้เหล็ก H-beam ชุบกัลวาไนซ์ ปล่อยเปลือยเปล่าโชว์ผิวสัมผัส เมื่ออยู่เบื้องหลังผิวโปร่งแสงของบล็อกแก้วและกระจก จึงเปรียบได้กับภาพเอ๊กซเรย์ที่ปรากฎเลเยอร์ของผิวหนัง และโครงกระดูก เมื่อเข้ามาภายในคาเฟ่จะพบเคาน์เตอร์กาแฟสีขาวเฉียบเรียบ ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของ Sawo Coffee คอยบริการเสิร์ฟกาแฟก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาโซนที่นั่งด้านใน เซอร์ไพร้ส์กับที่นั่งเอ๊าต์ดอร์วงกลมที่ซ่อนอยู่ในกล่องบล็อกแก้ว รูปทรงวงกลมนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากโลโก้ของแบรนด์ ซึ่งรูปทรงที่โดดเด่น และสมมาตรนี้ทำให้เกิดบรรยากาศที่สงบ สร้างบทสนทนาเรียบง่ายระหว่างผู้ใช้งานกับสถาปัตยกรรม ส่วนด้านข้างมีบันไดเหล็กที่นขึ้นำไปสู่ห้องชั้นบนที่มีที่นั่งแบบอินดอร์ […]

BUDDHA-BAR ด้วยแรงบันดาลใจงานออกแบบจากสังสารวัฏในทัศนะพุทธปรัชญา

ที่นี่คือ Buddha-Bar New York ร้านอาหารที่เลื่อมใสในคติพุทธปรัชญา และหยิบยกเอาแนวคิดคำว่า “การเกิดใหม่” มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลักของบร้าน ดังจะเห็นได้ชัดจาก ณ กึ่งกลางของร้านที่มีประติมากรรมอีกชิ้นที่เกิดจากไม้ยืนต้นตาย รวมทั้งบรรดาผนัง และท็อปโต๊ะก็เลือกใช้ไม้ที่มีอายุกว่า 800-4,000 ปี มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อถึงวัฏจักรที่เวียนว่ายเกิดสู่สังสารวัฏที่แตกต่างไปในแต่ละชาติ “อานนท์เอ๋ย จงพึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป หาใช่รูปแทนทั้งปวง” พระตถาคตได้กล่าวไว้ก่อนปรินิพพาน และร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้จัดวางประติมากรรมรูปพระตถาคตเอาไว้อย่างแม่นเหมาะ ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นจากกระจก 1,000 แผ่น เรียงต่อกันเป็นรูปร่างขึ้น โดยมีเครื่องฉายภาพอยู่ภายในที่จะสร้างภาพสามมิติประกอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งประติมากรรมนี้สื่อถึงภาชนะที่ว่างเปล่าคล้ายกายหยาบที่เรากำลังห่มคลุมอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีแก่นสารแห่งชีวิตอยู่ภายในนั่นเอง และจุดเด่นอีกส่วนที่สำคัญ ก็คือโคมไฟระย้าโลหะรูปทรงโมเดิร์นที่สื่อถึงบรรยากาศแบบเอเชี่ยนออกแบบโดย Kateryna Sokolova ห่มคลุมพื้นที่คล้ายดอกไม้บานสื่อถึงการตื่นรับความคิดใหม่ ๆ สู่จิตตน ก็เป็นอีกหนึ่งงานออกแบบที่น่าสนใจซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นได้ในประเทศไทย แต่ด้วยการตีความทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ร้านอาหารแห่งนี้ก็กล่าวถึงวัฏจักรแห่งชีวิตแฝงไว้ตามวัสดุและรูปแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ เพราะสุดท้ายแล้วพุทธที่แท้ล้วนคือคำสอนดังที่พระตถาคตได้กล่าวเอาไว้จนหมดสิ้นนั่นเอง ออกแบบ : YOD design lab ภาพ : Andriy Bezuglovเรื่อง : Wuthikorn Sut

สู่บทใหม่ของศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดย Design 103 International Limited

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเปลี่ยนของสถาปัตยกรรมเพื่อการประชุมและแสดงสินค้าของประเทศไทย และในปีนี้หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุงมาอย่างยาวนาน ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กำลังจะกลับมาใหม่พร้อมกับหลายสิ่งที่ทั้งต่อยอด และสืบสานเอาไว้ วันนี้ room ได้รับเกียรติจาก คุณนพดล ตันพิวัฒน์ CEO บริษัท Design 103 International Limited ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ โฉมใหม่แห่งนี้มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดและสิ่งที่แฝงอยู่ในงานออกแบบในครั้งนี้ จากอดีต ก้าวล้ำสู่อนาคต “ถ้าให้ย้อนกลับไปถึงศูนย์ฯเดิม ก็ต้องกลับไปเมื่อตอนสร้างเสร็จราวๆ ปี 2534 ตอนนั้นเริ่มใช้สำหรับเป็นที่จัดการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46  ธีมของสถาปัตยกรรมจะเป็นการนำแนวคิดของเรือนไทย 4 ภาคมานำเสนอสถาปัตยกรรมไทย ส่วนในครั้งนี้เมื่อต่อยอดจากโจทย์เดิมที่เคยถูกใช้มา ในการออกแบบนั้นเราก็จะมี Core ของการทำงานอยู่ 3 เรื่อง นั่นคือ Inspiration, Integration และ Innovation ในการทำงานเพื่อให้ครอบคลุมต่อการใช้งานในอนาคตต่อไป” “ถ้าถามว่าภาพของศูนย์ที่ดูเรียบง่ายขึ้นนี้มีที่มาอย่างไร อาจต้องย้อนกลับไปมองเรื่องอัตลักษณ์ที่เราตีโจทย์เรื่องของสถาปัตยกรรมไทยทั้งในดีไซน์เดิม และดีไซน์ใหม่นี้ การ Approach นั้นมีได้หลายวิธี อย่างศูนย์เดิมเรา Approach เรื่องของเรือนไทย 4 ภาค […]

STALLIONS “TANYA” มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบรนด์ไทยที่ไปไกลถึงมิลาน

น้ำมันแพงไป! ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าคือทางออก!! STALLIONS แบรนด์ไทย จึงร่วมกับ DOTS ออกแบบมอเตอร์ไซค์ที่จะเข้ามาเป็นอวัยวะใหม่ของคนเมือง TANYA by DOTS X STALLIONS EV MOTORCYCLE คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่เตรียมจะวางจำหน่ายเร็ว ๆ นี้อย่างแน่นอน หลายคนคงคุ้นเคยกับ STALLIONS แบรนด์มอเตอร์ไซค์ลุคเรโทรสุดเท่กันมาบ้าง และนี่ก็คืออีกหนึ่งก้าวถัดไปของแบรนด์ STALLIONS ก็ว่าได้ TANYA คือมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบที่ออกแบบสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม DOTS EV สามารถทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมทั้งระยะการขับขี่ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง อยู่ที่ 150 กิโลเมตร เรียกว่าชาร์จครั้งเดียวขับไปพัทยาได้เลยทีเดียว และด้วยแพลตฟอร์ม DOTS EV จึงทำให้ในอนาคตหลังจากวางจำหน่าย การปรับเปลี่ยนต่าง ๆ เพื่อปรับลุค หรือการใช้งานของตัวมอเตอร์ไซค์จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะแพสชั่นคือสิ่งที่ทำให้คนตัดสินใจเลือกพาหนะในการขับขี่ที่เด่นชัดที่สุด ยิ่งสำหรับกรุงเทพฯ แล้ว มอเตอร์ไซค์เปรียบได้กับพาหนะที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งอวัยวะของเจ้าของเสียด้วยซ้ำ และแน่นอนว่าการออกแบบรูปลักษณ์ของ TANYA จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของคนเมือง สื่อถึงความโฉบเฉี่ยวล้ำสมัยอย่างเด่นชัด แต่คงไว้ซึ่งเส้นสายที่สื่อออกมาจากฟังก์ชัน ไม่ใช่เพียงการประดับตกแต่ง […]

JINYU CAFE AND EATERY เปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่กลิ่นอายจีน

Jinyù cafe and eatery คาเฟ่เชียงราย ที่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์ขนาด 1 คูหา ให้อบอวลไปด้วยกลิ่นอายจีนทั้งการตกแต่งภายในและสวนด้านข้าง

BAANLUMPHUN บ้านโมเดิร์นที่ตีความใหม่จากสถาปัตยกรรมนอร์ดิก

“บ้านลำพูน” บ้านพักอาศัย 2 ชั้น ขนาด 260 ตร.ม. ที่ได้รับการออกแบบด้วยกลิ่นอายแบบ บ้านนอร์ดิก และสร้างบนที่ดินเปล่าผืนหนึ่งในจังหวัดลำพูน

ALEMBIC REAL ESTATE นั่งทำงานในที่ออฟฟิศเน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับพนักงาน

สำนักงานของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Alembic Real Estate ในสถาปัตยกรรมเก่าแก่อายุกว่าครึ่งศตวรรษ ที่เน้นสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับพนักงาน

OTW.CNX คาเฟ่มินิมัลเปิดใหม่ย่านแม่ริม

OtW.cnx คาเฟ่แม่ริม กับคอนเซ็ปต์นำถนนในแผนที่มาตีความใหม่ เหมาะกับที่ตั้งบนถนนสายท่องเที่ยว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio คาเฟ่สวยเปิดใหม่ ที่ไม่อยากให้คุณพลาด หรือขับรถเลยผ่านไป กับ OtW.cnx คาเฟ่สวยสไตล์มินิมัล ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนทางกลับจากแม่ริมก่อนเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ OtW.cnx ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงแรม Nakronping Boutique ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการรีโนเวต โดยขอจัดเสิร์ฟคาเฟ่นี้ ก่อนที่โรงแรมจะรีโนเวตเสร็จสมบูรณ์ โดยเจ้าของมีจุดประสงค์ให้บริการทั้งแขกของโรงแรม ผู้คนทั่วไป และนักเดินทางได้แวะมาพักผ่อน ด้านหน้ามีรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ คือ กำแพงโปร่งลายตาราง ตีเป็นเส้นกริดจากเหล็กสีดำ ตกแต่งด้วยแผ่นไม้ เสมือนการมาร์กจุดเป็นพ้อยท์แบบแรนดอม เปรียบเทียบเหมือนการปักหมุดในแผนที่บนเส้นทางการท่องเที่ยว สมกับพิกัดของที่ตั้ง และชื่อของคาเฟ่ ซึ่งย่อมาจาก “On the Way” จากพิกัดของที่ตั้งดังกล่าว pommballstudio ได้ตีความจนออกมาเป็นงานออกแบบอย่างน่าสนใจ “ไอเดียของที่นี่ เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยว เราจึงเลือกใช้ธีมนี้มาเป็นโจทย์ของการออกแบบ โดยเฉพาะภาพถนน หรือทางแยกตัดกันในแผนที่ ที่ถูกนำมาเป็นไอเดียของแพตเทิร์นต่าง ๆ แปลงเป็นเส้นกริด ปรากฏอยู่ในหลาย ๆ ส่วน เช่น ฟาซาดที่เป็นเส้นกริดจากกระบื้อง และการตกแต่งไฟแอลอีดีเป็นเส้นสีขาวตัดกันคล้ายเส้นถนนในแผนที่ ทั้งโคมไฟเพดาน ไฟตกแต่งข้างผนัง […]

DOT HOUSE บ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก กับพื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก เพียงพอสำหรับการพักอาศัยและทำงานได้อย่างยืดหยุ่น ออกแบบโดย Boano Prišmontas สตูดิโอออกแบบสัญชาติอังกฤษ นี่คืองานออกแบบ บ้านชั้นเดียว ขนาดเล็ก ในกรุงลอนดอน ที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์พร้อมฟังก์ชันที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์พื้นที่ใช้งานอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นมุมทำงาน พักผ่อน ดูหนัง อ่านหนังสือ หรือเล่นวิดีโอเกม ‘Dot House’ หลังนี้ มาพร้อมนิยามความอิสระแบบขั้นสุด เหมาะกับคนที่ต้องการปลีกวิเวก หรือแม้แต่เป็นไอเดียสำหรับการสร้างบ้านบนที่ดินขนาดจำกัด และในสวนหลังบ้าน ให้กลายเป็นบ้านที่อยู่ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงพอสำหรับพักอาศัยและใช้ทำงาน ประกอบด้วยพื้นที่หลัก 2 ส่วน คือ ห้องพัก และห้องน้ำ ห้องน้ำถูกซ่อนอยู่หลังประตูบานเลื่อนไม้อัดสั่งทำพิเศษ ด้านบนเหนืออ่างล้างมือออกแบบให้มีสกายไลท์รับแสงธรรมชาติจากด้านบน ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับบ้าน แทบไม่ต้องเปิดไฟในวันที่อากาศดี เมื่อเปิดบานเลื่อนออกยังช่วยเชื่อมพื้นที่ระหว่างภายในกับห้องน้ำให้ดูกว้างขึ้นด้วย พื้นผิวภายในบ้านประกอบด้วยไม้อัดเบิร์ช FSC แบบเปลือยบนเพดาน พื้นปูกระเบื้องคอนกรีต ผนังกรุแผ่นไม้อัดลามิเนต และผนังห้องน้ำกรุกระเบื้องหินขัด สร้างบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติผ่านผิวสัมผัสของวัสดุ และเนื่องจากเป็นเมืองหนาวจึงออกแบบให้มีระบบทำความร้อนใต้พื้น ช่วยให้บ้านหลังน้อยอบอุ่นแม้ในช่วงฤดูหนาว นอกจากใช้พื้นที่ที่จำกัดได้อย่างชาญลาดแล้ว เฟอร์นิเจอร์ยังมีฟังก์ชันพิเศษอย่าง การออกแบบผนังแบบเจาะรู ที่สามารถเสียบไม้สำหรับทำเป็นชั้นวางของได้หลากหลายระดับ แล้วแต่ความต้องการ พร้อมโต๊ะพับประหยัดพื้นที่สำหรับซ่อนคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เหนือผนังซ่อนจอโปรเจ็กเตอร์สามารถเลื่อนลงมาได้อัตโนมัติ สำหรับใช้ชมภาพยนตร์ยามค่ำคืน […]

Common Neglect Material เก้าอี้จากลังปลาเหลือทิ้ง

ชุดเฟอร์นิเจอร์สาธารณะจากขยะอุตสาหกรรมประมง ที่สะท้อนภาพเมืองชายฝั่งของญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางความหวังจะชุบชีวิตย่านนี้ขึ้นมาใหม่ผ่านงานศิลปะที่สร้างการรับรู้ในวงกว้าง เมื่อทศวรรษก่อน ย่านคิชู (Kishu) ในจังหวัดมิเอะ (Mie) เมืองชายฝั่งทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงของชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบภาวะจำนวนประชากรที่ลดลง เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ห่างไกลของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากหมู่บ้านชายขอบเล็กๆ มากมายที่ถูกทิ้งร้าง ผู้คนโยกย้ายเข้าไปสู่เมืองใหญ่ที่กระจุกตัวของความเจริญ ปล่อยบ้านเรือนให้ว่างเปล่า ประชากรที่ยังอยู่ก็ล้วนมีรายได้ต่ำ พื้นที่ตรงนี้จึงเหลือทิ้งไว้เพียงขยะจากอุตสาหกรรมประมง เมื่อ Takuto Ohta นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ได้ลงพื้นที่สำรวจแถบ Kii, Miyama และ Owase ซึ่งเคยเป็นฐานอุตสาหกรรมประมงในย่านนี้ เขาได้พบกับตู้แช่ปลาจำนวนนับไม่ถ้วนบริเวณท่าเรือ ลังใส่ปลา แห อวน ทุ่น รวมถึงท่อพีวีซีที่ใช้ในฟาร์มปลากระเบนตลอดแนวชายฝั่ง ทั้งหมดนี้ถูกทิ้งร้างไร้เจ้าของมานานกว่า 12 ปี Common Neglect Material (CNM) จึงคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์สาธารณะของ Ohta ที่ตั้งใจสร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้กับขยะอุตสาหกรรม วัสดุ และสิ่งของเหลือทิ้ง ที่พบในเมืองที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ พร้อมฉายสปอตไลต์ให้กับพื้นที่ว่างเปล่าไร้ชีวิตชีวาแห่งนี้อีกครั้ง ลังใส่ปลาสีเหลืองสดใสได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ขี้เล่น ที่มีทั้งเก้าอี้ ม้านั่ง สตูล […]

Leica M Series ที่สุดของกล้อง 135 ที่ใคร ๆ ก็ใฝ่ฝัน

เพราะนี่คือกล้องที่เปรียบได้กับนวัตกรรมแห่งยุคซึ่งเปลี่ยนวิถีการถ่ายภาพไปตลอดกาล LEICA M Series “ภาพถ่าย” และ “การถ่ายภาพ” ไม่ว่าจะมองในมุมไหนก็เป็นได้ทั้งงานศิลป์ งานอดิเรก เป็นการหยุดเวลา และความทรงจำไว้ในรูปแบบของภาพนิ่ง ที่ทรงคุณค่าทั้งในแง่ของความงามและความหมายที่แฝงอยู่ภายใน และเมื่อพูดถึงอุปกรณ์ในการเก็บภาพความทรงจำเหล่านั้น “กล้องถ่ายภาพ” ก็คือเครื่องมือที่ผ่านการพัฒนามาอย่างยาวนาน จนถึงวันที่กล้องฟิล์ม 35 mm. หรือกล้อง 135 เป็นอุปกรณ์คุณภาพที่ใคร ๆ ต่างก็สามารถหยิบใช้ และถ่ายภาพด้วยตัวเองได้อย่างคล่องตัว ซึ่งหนึ่งในกล้องที่ใคร ๆ ต่างก็ยกให้เป็น “ที่สุด” ทั้งในแง่ของการผลิต คุณภาพของการผลิต ตลอดจนประสบการณ์ในการใช้งาน LEICA M Series ก็เป็นหนึ่งในชื่อที่ใคร ๆ ต่างก็ต้องนึกถึงและถือได้ว่าเป็นอีก Icon ของวงการภาพถ่ายตลอดมา จุดเริ่มของLeica Leica ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1924 โดยใช้ชื่อว่า Ernst Leitz ตามชื่อของเจ้าของในขณะนั้น และเปลี่ยนมาเป็นชื่อทางการค้าว่า LEICA Camera AG ในเวลาต่อมา ซึ่งชื่อ Leica นั้นมาจากการนำนามสกุล […]

ITCH HOUSE บ้านประหยัดพื้นที่ ผสมความต่างให้หลอมรวม

บ้านประหยัดพื้นที่ กลางกรุงโซล โดดเด่นด้วยฟาซาดอิฐสีงาช้าง และการจัดวางแปลนใช้งานที่ชาญฉลาด แม้อยู่ในพื้นที่ที่ยาก และมีขนาดแสนจำกัด ก็สามารถสร้างบ้านออกมาได้สวย พร้อมดีไซน์ที่สะท้อนตัวตน ITCH House บ้านประหยัดพื้นที่ ของคู่รักนักออกแบบชาวเกาหลีใต้ ตั้งอยู่ในซอยหน้าสวนสาธารณะ Seonggwak ย่าน Sindang-dong, Jung-gu กลางกรุงโซล จากธรรมชาติของสถานที่ตั้งที่ต้องเดินผ่านบันไดที่ทั้งแคบและสูงชัน ทั้งยังรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนแออัดหลายสิบหลัง กับขนาดพื้นที่ที่จำกัด จึงไม่ง่ายเลยที่จะสร้างบ้านให้ออกมาน่าอยู่ ประหยัดพื้นที่ และโดดเด่นไปจากบริบทรอบ ๆ ดังนั้น การออกแบบบ้านบนที่ดินขนาดเล็กรูปร่างคล้ายธงสามเหลี่ยมนี้ จึงมาพร้อมความท้าทายของงานออกแบบ นอกจากนั้นยังต้องใส่สไตล์ความชอบที่แตกต่างของเจ้าของบ้าน เพื่อให้ทุกอย่างถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้คอนเซ็ปต์การออกแบบให้บ้านหลังนี้ออกมาอบอุ่นและปลอดโปร่ง เริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบฟาซาด โดยเลือกนำแสงเข้ามาในบ้านผ่านกำแพงก่ออิฐสีงาช้างแบบเว้นช่อง ด้านหลังกำแพงเว้นที่ว่างให้เป็นเส้นทางสัญจรเล็ก ๆ รอบตัวบ้าน เพื่อช่วยขยายความรู้สึกของพื้นที่ให้บ้านไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป เมื่อเข้ามาด้านในชั้นล่างมีพื้นที่รวม 27 ตารางเมตร ภายในจะประกอบด้วยพื้นที่ห้องครัว พร้อมโต๊ะรับประทานอาหาร ที่สามารถใช้เป็นที่นั่งทำงานได้แบบอเนกประสงค์ สดชื่นสบายตาไปกับการเปิดมุมมองออกสู่เฉลียง รับกับแนวต้นไผ่สีเขียวที่ปลูกไว้ พื้น ผนัง เพดาน และเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเป็นไม้ ช่วยสร้างความรู้สึกอบอุ่น พร้อมด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทันสมัย ที่ซ่อนอยู่ภายในผนังเพื่อไม่ให้เกะกะพื้นที่ ทำให้บ้านขนาดเล็กดูกว้าง และเป็นระเบียบยิ่งขึ้น ขณะที่ชั้น […]

BITE AND BOND คาเฟ่กลิ่นอายทรอปิคัล ซ่อนอยู่ในโฮสเทลย่านเสาชิงช้า

Bite and Bond คาเฟ่น้องใหม่ ที่อยากชวนคุณมานั่งชิล พร้อมชมย่านเก่า “เสาชิงช้า” ภายใน double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวตพื้นที่ตึกแถวเก่าให้อบอุ่นด้วยงานไม้ สร้างประสบการณ์แห่งการพักผ่อนอย่างผ่อนคลาย ภายในตรอกนาวาหลังโบสถ์พราหมณ์ คือที่ตั้งของคาเฟ่ Bite and Bond ที่ซ่อนอยู่ที่ชั้นล่างของ double b hostel โฮสเทลที่เกิดจากการรีโนเวทตึกแถวเก่าและโรงจอดรถของครอบครัว คุณเบ้น-ปริญ จิวารุ่งเรือง เจ้าของโฮสเทลและคาเฟ่ที่พามาเยือนแห่งนี้ เธอเล่าว่าเดิมที่นี่เป็นตึกแถวเก่าของอากง ใช้สำหรับเก็บของและเป็นที่จอดรถของครอบครัว ซึ่งทำธุรกิจหล่อพระในย่านเสาชิงช้า แต่เนื่องจากตัวอาคารและพื้นที่ด้านในได้ผ่านการใช้งานมานาน โครงสร้างส่วนใหญ่ที่มีอายุกว่าร้อยปีเริ่มผุพังไม่แข็งแรง ทางบ้านจึงต้องการแก้ไขดัดแปลงอาคารใหม่ เธอจึงปรึกษากับคุณพ่อและขออนุญาตรีโนเวตตึกแถวนี้ เพื่อเปิดเป็นคาเฟ่และโฮสเทล จุดเริ่มต้นธุรกิจใหม่ของครอบครัว โดยมีโจทย์ว่า ภายในโฮสเทลจะต้องมีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมเยอะ ๆ สำหรับแขกของโฮสเทล หรือคนทั่วไปสามารถเข้ามาพบปะเจอะเจอกันในฐานะที่มีคาเฟ่ซ่อนอยู่ด้านใน ตรงตามชื่อ Bite and Bond ที่เจ้าของอยากให้คนได้มาพบปะและนั่งกินขนมอร่อย ๆ ด้วยกัน ผสมกับความต้องการอยากดึงความเป็นธรรมชาติเข้ามาใช้ในพื้นที่ โดยผ่านรายละเอียดงานออกแบบที่ให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่น สร้างความใกล้ชิดกับธรรมชาติ แม้จะอยู่ในตึกแถวแบบปิดทึบก็ตาม ด้านหน้าโดดเด่นด้วยฟาซาดทำจากไม้พาสวูดซึ่งมีคุณสมบัติทนแดดและฝน นำมาออกแบบคล้ายไม้ระแนงสูงขึ้นไปจนถึงปลายสุด โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายรูปอักษรดับเบิ้ลยู (W) […]

ต่อเติมบ้าน จัดสรรให้เติมเต็มพื้นที่ใช้สอย

ไอเดีย ต่อเติมบ้าน จัดสรรย่านพัฒนาการ เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้ตอบโจทย์การขยับขยายของครอบครัว เมื่อว่าที่คุณพ่อคุณแม่คู่แต่งงานใหม่วางแผนเตรียมบ้านให้พร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ตัวน้อย จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยด้วยการต่อเติมกล่องขนาด 4 x 11 เมตร ออกมาจากตัวบ้านเดิม แรกเริ่มก่อนก่อสร้าง ตั้งใจให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่นั่งเล่น และห้องเก็บของ เพื่อเติมเติมการใช้งานของบ้านหลัก ทีมสถาปนิกจาก Fatt! Studio ทำงานร่วมกับวิศวกรในการออกแบบเสาโครงสร้าง 4 ต้น เพื่อรองรับส่วนต่อเติมยาวกว่า 11 เมตร โดยมีโครงสร้างคานยื่นออกไปทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นทางเดียวที่ทำให้พื้นที่ชั้นล่างกว้างขวางเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่นั่งเล่นและทำกิจกรรมแบบกึ่งเอ้าต์ดอร์ ที่โปร่งสบายในลักษณะคล้ายใต้ถุนบ้าน นอกจากนี้ ยังออกแบบให้สะพานเชื่อมทางสัญจรกับตัวบ้านหลัก โดยไม่กระทบกับโครงสร้าง Precast เดิม ดังนั้น จึงเชื่อมต่อกับผนังเบาตามสันฐานเดิมของอาคาร จากเดิมที่ส่วนต่อเติมนี้ควรจะเป็นพื้นที่ของคุณพ่อ-คุณแม่ในช่วงสุดสัปดาห์ แต่เมื่อสมาชิกใหม่ลืมตาดูโลก พื้นที่ภายในกล่องจึงถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เพื่อให้เป็นพื้นที่ของเด็กๆ โดยเฉพาะ ส่วนพื้นที่ด้านล่างก็ได้มีการปรับบ่อน้ำโดยย้ายตำแหน่งและลดขนาดเพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านตัวน้อย พร้อมมีบันไดวนขึ้นไปสู่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัว การต่อเติมบ้านหลังนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความเป็นไปได้ในการปรับปรุงต่อเติมบ้านจัดสรรให้กลายเป็นบ้านที่ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยอย่างแท้จริง พื้นที่ใช้สอย: 80 ตารางเมตร ออกแบบ: FATTSTUDIOออกแบบภายใน: Surapat Puanmuangออกแบบแสงสว่าง: FATTSTUDIO collaborate with TRUELIGHTวิศวกรโครงสร้าง: Nuttapol Wangsittikulวิศวกรงานระบบ: […]

UNOVA CO-WORKING SPACE  หลอมรวมพื้นที่ทำงานเข้ากับศิลปะสุดล้ำ

UNOVA CO-WORKING SPACE โคเวิร์กกิ้งสเปซสุดแฟนตาซีใจกลางย่านธุรกิจเมืองเซินเจิ้นที่มุ่งรองรับนักธุรกิจและชาวฟรีแลนซ์รุ่นใหม่ไฟแรง พื้นที่ทำงานที่หลอมรวมเข้ากับสุนทรียภาพแห่งศิลปะล้ำจินตนาการ