HOUSE BETWEEN THE WALL บ้านระหว่างกำแพงในสไตล์มินิมอล

บ้านมินิมอล ของคู่รักนักออกแบบที่หลงรักในความเรียบน้อยและเน้นบ้านอยู่อาศัยที่ให้ความเป็นส่วนตัว จึงออกมาเป็นบ้านที่อยู่ระหว่างกำแพงสองผืนที่ช่วยตัดออกจากความวุ่นวายของเมือง DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A House Between the Wall นั้นไม่ได้เป็นเพียงชื่อบ้าน แต่ยังเป็นแนวความคิดในการออกแบบบ้านที่เลือกให้ ‘กำแพง’ เป็นมากกว่าผนังขนาดใหญ่ที่ปิดกั้นเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวออกจากโลกที่วุ่นวายด้วยการสร้างสเปซขึ้นมา ทั้งนี้เพื่อให้สเปซดังกล่าวกลายเป็น ‘บ้านระหว่างกำแพง’ ภายใต้รูปทรงทางสถาปัตยกรรมในลุค บ้านมินิมอล และตรงไปตรงมา แต่ทว่าก็ซุกซ่อนรายละเอียดของการออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ อย่างใส่ใจ ที่นี่สถาปนิกสร้างความน่าสนใจให้ในแต่พื้นที่ ด้วยการเลือกใช้วัสดุและเฟอร์เจอร์ เช่น พื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารและครัว ผนังเคาน์เตอร์กรุด้วยไม้อัด HMR นำมาเคลือบ PU แล้วนำมากรุเป็นตารางหมากรุก หรือเคาน์เตอร์สเตนเลสสั่งทำพิเศษ นอกจากนั้นยังตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ในสไตล์ยุค Mid Century ที่ทั้งคู่สะสมไว้ บ้านระหว่างกำแพงหลังนี้ออกแบบโดย คุณธนัทเกียรติ จงเกรียงไกร และ คุณกนกกาญจน์ เฮงอุดมทรัพย์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง ANATOMY ARCHITECTURE + ATELIER ซึ่งนอกจากออกแบบแล้ว ทั้งคู่ยังเป็นเจ้าของบ้านอีกด้วย […]

MDC HEADQUARTERS ชูความสร้างสรรค์ขององค์กรผ่านอาคารบิดแกน

MDC (Thailand) บริษัทขายอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ขนาดใหญ่ของไทย ที่ขยับขยายบริษัทและการสื่อสารภาพลักษณ์ขององค์กรผ่านงานออกแบบสถาปัตยกรรม

WORKSHOP 53 เปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์ยุค 80 เป็นสตูดิโอออกแบบ

WORKSHOP 53 คือการนำทาวน์เฮ้าส์รูปแบบดั้งเดิมของยุค 80 ในซอยสุขุมวิท 53 มีพื้นที่ภายในที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีโถงบันไดใจกลางบ้าน พร้อมหลังคาสกายไลต์ด้านบนมาทำเป็นสตูดิโอ

บ้านริมน้ำ สไตล์นอร์ดิก Norwegian Bathhouse

บ้านริมน้ำ กับเรืออีกหนึ่งลำ ผลงานการออกแบบที่ประยุกต์จากวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก Norwegian Bathhouse หรือบ้านริมน้ำขนาดเล็กของนอร์เวย์ ที่ถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบของวัสดุ และกรรมวิธีการก่อสร้างให้ทันสมัยขึ้น โครงสร้างหลักของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กวางบนหินแกรนิตแบบดั้งเดิม ใช้ผนังคอนกรีตสำเร็จวางตัวเปิดรับวิวทะเล โดยที่จากบนบกจะเข้ามุมที่บดบังสร้างความเป็นส่วนตัวอย่างพอดิบพอดี ในส่วนหลังคานั้นเลือกใช้เมทัลชีตเพื่อน้ำหนักที่เบาและก่อสร้างได้ง่าย ทำสีกันสนิมในโทนสีดั้งเดิมเข้ากันได้ดีกับบริบทโดยรอบ ภายในจัดวางห้องแบบ Studio Type เรียบง่าย เรียกได้ว่าห้องเดียว “ครบทุกสิ่ง” ทั้งครัวขนาดเล็ก พื้นที่นั่งเล่น และเตาผิงสำหรับประกอบอาหารได้ในตัว ในวันแสนสบาย บ้านหลังนี้สามารถเปิดบานหน้าริมทะเลออกได้จนหมดสามารถหย่อนใจรับแดดได้อย่างเต็มตา สำหรับใครที่อยากทำบ้านตากอากาศเรียบง่ายเป็นของตัวเอง บ้านหลังนี้คือตัวอย่างที่ดีอย่างยิ่ง ลองจินตนาการถึงบ้านน้อยหลังนี้มาตั้งติดเจ้าพระยาของเรา น่าจะดูดีเลยทีเดียว ออกแบบ Handegård Arkitekturภาพ Carlos Rollan เรื่อง Wuthikorn Sut

MAGMA FLOW PUBLIC SPACE ปะทุความสดใสด้วยสวนแมกมา กระตุ้นย่านให้คึกคักมีชีวิตชีวา

Magma Flow Public Space ขยายภาพลาวาปะทุ สู่ไอเดียการออกแบบสวนสาธารณะสีสันสดใส กระตุ้นให้ย่านถนนคนเดินในหนิงป่อ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ซึ่งเป็นย่านการค้าและที่อยู่อาศัยแห่งใหม่อันสำคัญให้คึกคัก ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโปรเจ็กต์นี้ คือการมีบันไดขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นทางเดินไปยังชั้น 2 ของอาคารที่พักอาศัยใกล้เคียง ก่อนจะถ่ายเททางเดินลงสู่พื้นที่ทางเท้าด้านล่าง ซึ่งกลายเป็นพื้นที่สาธารณะที่เต็มไปด้วยองค์ประกอบและสีสันสะดุดตา จุดไฮไลต์ของพื้นที่ คงหนีไม่พ้นภาพขั้นบันไดที่ทอดตัวจากอาคารสู่พื้นชั้นล่าง สีเหลือง สีส้ม และสีแดง สีสันโทนร้อนที่เห็นนี้ ถูกนำมาใช้เป็นธีมสีหลัก อันเป็นตัวแทนของภาพแมกมาที่ไหลปะทุลงมาจากยอดภูเขาไฟ เป็นภาพดึงดูดสายตาให้ผู้คนอยากมาใช้เวลาพักผ่อนในพื้นที่ใช้สาธารณะ แทนการเล่าเรื่องภาพภูเขาไฟและแมกมาที่ไหลนอง ด้วยเหล่าสเตชั่นสำหรับทำกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จุดพักผ่อนในแต่ละสเตชั่นออกแบบโดยเลียนแบบการปะทุของภูเขาไฟ แม้แต่สไลด์เดอร์สำหรับเด็ก ๆ บางอันที่คล้ายกับแมกมาไหลลงไปตามเนินเขา นอกจากนี้ยังมีชิงช้า กระดานหก เนินเขาจำลอง ทางลาด อุโมงค์ ฯลฯ เป็นอีกพื้นที่สาธารณะที่ทำหน้าที่เป็นจุดไฮไลต์ของเมือง และเป็นจุดรวมความบันเทิงภายในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ออกแบบ : 100 Architects (https://100architects.com/) ภาพ : Rex Zhou เรียบเรียง : Phattaraphon

TIGER MOTHER CAFE คาเฟ่ลอฟต์ขอโชว์หล่อ ดิบให้สุดใต้ร่มไม้สีเขียว

Tiger Mother cafe คาเฟ่ลอฟต์สุดเท่ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นส่วนผสมระหว่างโครงสร้างที่ดิบดุดัน ทั้งจากงานเหล็กและคอนกรีตหล่อในที่ แต่ขณะเดียวกันก็อบอุ่นด้วยงานไม้ และผ่อนคลายร่มรื่นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ที่นี่มีชื่อเรียกขานล้อไปกับชื่อ “แม่ขาน” ตามย่านที่ตั้ง แถมยังพ้องกับคำว่า “ขาล” ที่แปลว่า “เสือ” ก่อนนำมาสู่การตั้งชื่อเก๋ ๆ ว่า Tiger Mother Cafe  มีพิกัดตั้งอยู่ภายในลานกว้างสำหรับพักรถใกล้แยกแม่ขาน ซึ่งมีทั้งร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และห้องน้ำ คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ที่ส่วนใหญ่มุ่งหน้าเดินทางไปยังดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมบริเวณที่ตั้งของคาเฟ่มีเพียงต้นฉำฉาใหญ่ จนกระทั่งคุณเอก-ชนะสิษฐ์ คำตันแก้ว จาก ควายเผือก ดีไซน์  ผู้รับหน้าที่ออกแบบและเจ้าของร้านเข้ามาเช่าพื้นที่เพื่อทำคาเฟ่ เขาได้เลือกเก็บต้นไม้นี้ไว้จนกลายเป็นไฮไลต์ ทั้งยังคำนึงถึงทิศทางของแดดและแสงก่อนสร้างอาคาร เพราะต้องการให้แสงเป็นตัวช่วยสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ เพิ่มความโดดเด่นให้กับงานสถาปัตยกรรม ก่อนมาลงตัวกับอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กำหนดทางเข้าด้านหน้าให้อยู่ติดกับลานจอดรถที่อยู่ตรงกับทิศตะวันตก ผนังด้านนี้ออกแบบให้เป็นกำแพงเหล็กขนาดใหญ่ เชื่อมเศษเหล็กข้ออ้อยที่เหลือจากงานก่อสร้างให้กระจายอยู่ทั่วเพื่อแทนภาพขนเสือ เมื่อแสงแดดตกกระทบจะเกิดแสงเงาทาบลงบนผนัง โดยแสงจะค่อย ๆ หักเหไปตามช่วงเวลา สวยที่สุดในช่วงบ่ายถึงเย็น เท่ด้วยสีสนิมที่ปล่อยให้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นอีกมุมที่ใคร ๆ ก็ต้องถ่ายรูปคู่กับผนังสนิมนี้ ก่อนพาทุกคนขยับเข้ามาด้านใน ซึ่งมีสเปซช่องว่างระหว่างผนังด้านหน้ากับตัวร้าน […]

CHIA TAI สเปซที่พร้อมให้พนักงานเติบโตดั่งเมล็ดพันธุ์พืช

CHIA TAI ผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรที่มาพร้อมออฟฟิศที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน พร้อมแทรกพื้นที่สีเขียวไว้ในทุกอณู

GLOWFISH SATHORN พื้นที่พบปะ แลกไอเดียของผู้คนจากต่างออฟฟิศ

GLOWFISH SATHORN คอมมูนิตี้สเปซที่รวมพื้นที่ทำงานเข้ากับพื้นที่ไลฟ์สไตล์สุดสร้างสรรค์ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิต ในคอนเซ็ปต์ Work : Play : Grow

YOUNGFOLK AT CLUB CARVING CNX คาเฟ่ไซซ์มินิในโกดังเก่า สเตชั่นพักเหนื่อยของนักเล่นสเก็ต

Youngfolk at Club Carving CNX คาเฟ่ไซซ์มินิในโกดังลานเซิร์ฟสเก็ต  มาพร้อมความพิเศษที่อยากชักชวนทุกคนให้ไปพบกับประสบการณ์การใช้งานแตกต่างจากคาเฟ่ทั่วไป จัดเป็นคาเฟ่ลับในจังหวัดเชียงใหม่ที่น่าไปโดน! DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 เพราะสถานการณ์โควิดเป็นเหตุ ทำให้ Youngfolk at Wonderwall Hotel คาเฟ่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม Wonderwall Hotel ต้องย้ายตัวเองมาเป็นส่วนหนึ่งของ Club Carving CNX ลานเซิร์ฟสเก็ต ภายในโกดังเก่าขนาดใหญ่ ใกล้เซ็นทรัลพลาซาเชียงใหม่ แอร์พอร์ต พร้อมใช้ชื่อใหม่ว่า Youngfolk at Club Carving CNX โดดเด่นด้วยซุ้มทางเข้ารูปกล่องสีขาวที่เหมือนเสียบเข้าไปด้านข้างเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคารอิฐเก่า คุณศตวัชร ขัตลิวงศ์ สถาปนิกผู้ออกแบบจาก 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเขาและกลุ่มเพื่อน ๆ มาเจอโกดังเก่านี้ เพื่อหาสถานที่เล่นเซิร์ฟสเก็ต กีฬาที่กลับมาฮิตสุด ๆ ในช่วงเวลานี้ โดยก่อนหน้าภายในโกดังมีเพียงแค่ลานสเก็ต ร้านขายอุปกรณ์และซ่อมสเก็ต และร้านสเต็ก ถือเป็นฮับเล็ก ๆ ของกลุ่มนักเล่นเซิร์ฟสเก็ตในเชียงใหม่ จนกระทั่งคาเฟ่ที่คอกาแฟรู้จักดีถึงคราวต้องย้ายมา จึงได้รับการจัดสรรให้อยู่ในพื้นที่บริเวณหัวมุมตึกแนวเฉียง บนพื้นที่เพียง […]

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมัล กะทัดรัด ในสัดส่วนที่พอเหมาะ

HOUSE C+I บ้านโมเดิร์นมินิมอล ที่ออกแบบในสัดส่วนที่พอเหมาะพอดีสำหรับสองคน พร้อมแก้ปัญหาที่ดินหน้าแคบด้วยการผสานการปิดทึบสลับกับช่องเปิด

FOOD STAR บริษัทน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ที่ใช้สินค้าเป็นส่วนหนึ่งของสเปซ

FOOD STAR พื้นที่สำนักงานของบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้พร้อมดื่ม ที่ใช้ขวดมาสร้างระนาบผนัง เส้นสาย และสีสันสะดุดตา

WOMR CABIN ก่อบ้านผ่านความรู้สึกของคู่รักนักออกแบบ

บ้านชั้นเดียว ที่สะท้อนเงาอยู่บนผิวน้ำ พร้อมภาพวิวของต้นไม้สีเขียวที่เติบโตอยู่รายล้อมนี้ คือบ้านที่ทำหน้าที่เป็นโฮมสตูดิโอสำหรับใช้ทำงานและพักผ่อนของคู่รักนักออกแบบ คุณบิ๊ก-สุจินดา ตุ้ยเขียว สถาปนิกแห่งใจบ้านสตูดิโอ และคุณบี๊ท-โสภิดา จิตรจำนอง ฟรีแลนซ์อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ ทั้งคู่ค่อย ๆ ช่วยกันเติมแต่งภาพบ้านในฝันหลังแรกทีละนิด ๆ แต่มากด้วยแพสชั่นให้สำเร็จเป็นจริง สำหรับการใช้ชีวิตที่แสนเรียบง่าย แต่เพียบด้วยความสุข “ทุกอย่างค่อนข้างกะทันหัน มีเวลาแค่ประมาณสามเดือนครึ่งให้ออกแบบและก่อสร้าง ก่อนที่เราจะย้ายมาอยู่ที่นี่” เจ้าของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ บอกกับเรา ก่อนที่จะเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการทำโฮมสตูดิโอเล็ก ๆ ในเมืองเชียงใหม่ คุณบี๊ทเล่าว่า หลังจากอพาร์ตเมนต์เก่าที่เคยอาศัยอยู่หมดสัญญา และขายตึกต่อให้เจ้าของใหม่รีโนเวตเป็นคอนโดมิเนียม เธอและคุณบิ๊กได้ตัดสินใจมาเช่าที่ดินริมน้ำแปลงข้าง ๆ Sher Maker สตูดิโอออกแบบของพี่ตุ่ย รุ่นพี่จากสถาปัตย์ฯ ลาดกระบัง หลังจากแอบมองที่ดินแปลงนี้จากร้านกาแฟ Asama Cafe ฝั่งตรงข้ามมานาน “ตอนแรกก็ลังเล หลายคนก็ไม่เห็นด้วย ถามว่าทำไมไม่ซื้อบ้านไปเลย แต่ด้วยความกะทันหันแบบนี้ เราก็ไม่อยากกดดันตัวเองทำสิ่งที่อาจจะไม่เหมาะกับเรา บวกกับแอบมองที่ดินตรงนี้มานาน พอรู้ว่าปล่อยเช่า และพอเราลองคำนวณเรื่องงบประมาณดูแล้วว่า คุ้มกว่าการเช่าบ้านและรีโนเวตใหม่ก็ตัดสินใจเลย” ด้วยความชอบลองทำอะไรใหม่ ๆ รวมถึงเงื่อนไขของงบประมาณ ทำให้บ้านหลังนี้เป็นเสมือนสนามที่ให้ทั้งคู่ได้ทดลองทั้งเรื่องของวัสดุ ดีเทลการออกแบบ […]

IZY Kindergarten and Nursery เปลี่ยนศาลาวัดเป็นโรงเรียนอนุบาล

IZY Kindergarten and Nursery โรงเรียนอนุบาล และเนิร์สเซอรี่ที่เปลี่ยนมาจากโถงวัดเดิม เพื่อให้คนในชุมชนและเด็ก ๆ ได้กลับมาใกล้ชิดกับวัดอีกครั้ง

ขนมหม้อแกง แม่กิมไล้ จะเป็นอย่างไรเมื่อรีแบรนด์ดิ้ง

เมืองเพชร ประตูสู่ภาคใต้ที่ใคร ๆ ก็ต้องแวะ และแน่นอนว่า ร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้ ไร่ส้ม ก็มักจะเป็นของฝากขึ้นชื่อที่ทุกคนต่างคุ้นเคย ผ่านวันเวลามาเนิ่นนาน แต่ขนมหม้อแกงในถาดสเตนเลสใส่ถุงกระดาษแข็งก็ถึงเวลาที่น่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้รับกับยุคสมัยกันเสียที ผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็กต์วิชา Corporate Identity โดย ริคกี้ – ถิรวัฒน์ น้อยทับทิม นักศึกษาภาควิชานิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่ตั้งใจจะนำพาขนมอันโปรดปรานและคุ้นเคย สู่รูปแบบที่เข้าใจและจดจำได้มากกว่าเดิม ในการทำงาน โจทย์ของวิชาคือการรีแบรนด์ดิ้งสินค้า หรือบริการของไทย และวิเคราะห์ปัญหาในการสื่อสาร เขาจึงได้เลือกแม่กิมไล้ ซึ่งเป็นร้านขายขนมหม้อแกงแวะเวียนอยู่เป็นประจำในยามเดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคใต้ โดยนำเสนอจุดเด่นที่คนทั่วไปจะสามารถจดจำได้แตกต่างจากร้านอื่น ๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ใกล้เคียง จึงนำล.ลิง (ตัวย่อจากคำว่า ไล้) และรูปแบบที่อิงมาจากถาดของขนมหม้อแกง นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นตัวไอคอนของขนมแต่ละชนิดของแบรนด์ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกัน ดีไซน์ทั้งหมดมีความต้องการที่จะทำให้ภาพลักษณ์ดูใหม่ขึ้น เพื่อนำเสนอให้คนที่ยังไม่เคยได้สัมผัสอยากจะลิ้มลองดูบ้าง แต่เหนือสิ่งอื่นใดคือต้องยังคงกลิ่นอายความเป็นขนมของแบรนด์แม่กิมไล้ไว้อยู่อย่างครบถ้วน แม้โปรเจ็กต์นี้จะยังเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่การต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมในแบบ Pop Culture ก็เป็นสิ่งที่สมควรจะส่งเสริม คำว่า Soft Power นั้นถูกใช้จนเกร่อในปัจจุบัน แต่กับขนมหม้อแกงที่เคยโด่งดังนั้นกลับถูกละเลย room magazine จึงหวังว่าโปรเจ็กต์นี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ […]

QOOFE.CAFE คาเฟ่เส้นสายชัดเจน ที่ไม่ยอมให้สระบุรีเป็นแค่ทางผ่านอีกต่อไป!

qoofe.cafe คาเฟ่มินิมอล ที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานเส้นตรงเข้ากับเส้นโค้งได้อย่างลงตัว พร้อมสีขาวละมุนที่ตัดกับสีไม้ยางแบบไร้รอยต่อของผนัง

KOFF AND THINGS.TH คาเฟ่เชียงใหม่ อบอุ่นด้วยงานไม้ สวยได้ฟีลเกียวโต

Koff&Things.th  คาเฟ่ไม้สไตล์ญี่ปุ่น ใจกลางเมืองเชียงใหม่ ที่จะพาใจคุณให้ฟีลกู๊ดไปกับบรรยากาศที่อบอุ่น เหมือนนั่งพักผ่อนจิบกาแฟและกินขนมอยู่บ้าน กับความโดดเด่นของการตกแต่งที่มองรวม ๆ แล้วเหมือนหมู่บ้านโบราณในเมืองเกียวโต DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: pommballstudio Koff&Things.th มีจุดเริ่มต้นจากคุณบิ๋มหนึ่งในหุ้นส่วนร้าน ซึ่งเคยไปเรียนและทำงานด้านโรงแรมที่ญี่ปุ่น ก่อนจะกลับมาเชียงใหม่เพื่อรอไปศึกษาต่อ แต่เพราะติดสถานการณ์โควิด ทำให้ต้องอยู่เชียงใหม่แบบยาว ๆ และด้วยความชื่นชอบใช้เวลาว่างไปเที่ยวร้านกาแฟที่ญี่ปุ่นอยู่บ่อย ๆ จึงนำมาซึ่งไอเดียการเปิดคาเฟ่ร่วมกับคุณน้าและคุณอา จนมาลงตัวกับอาคารพาณิชย์เก่าห้องหัวมุมซึ่งเป็นของญาติคุณบิ๋มเอง โดยที่นี่มีความโดดเด่นด้านทำเล ซึ่งหันหน้าเข้าหาประตูเชียงใหม่พอดี ด้วยศักยภาพที่เห็นทั้งวิวประตูเมือง และอยู่ในย่านที่พักของนักท่องเที่ยวเช่นนี้ จึงถือว่าเหมาะเจาะลงตัวอย่างยิ่ง ก่อนส่งหน้าที่ให้สถาปนิกจาก pommballstudio ช่วยออกแบบ ด้วยการดึงข้อดีของทำเลในย่านเมืองเก่า มาผสานเข้ากับเสน่ห์ของญี่ปุ่นตามที่คุณบิ๋มหลงใหล    การสอดประสานเสน่ห์ของย่านเมืองเก่าในเชียงใหม่ เข้ากับภาพหมู่บ้านเก่าแก่ของเกียวโต นั่นคือแนวคิดในการออกแบบครั้งนี้ และเนื่องจากเป็นอาคารเก่า ซึ่งมีส่วนประกอบของไม้เป็นทุนเดิม เช่น โครงสร้างบันได ฝ้าเพดาน และพื้นไม้ที่ยังคงสภาพแข็งแรง สถาปนิกจึงหยิบมาใช้งานต่อกับงานออกแบบด้วย โดยผสมผสานไปพร้อมกับการเปลี่ยนโฉมอาคารให้มีลูกเล่นโดดเด่น เห็นได้จากฟาซาดด้านนอกที่ใช้ไม้จริงเนื้อแข็งทำสีมาออกแบบให้มีแพตเทิร์นหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นตั้งเส้นนอนของบานช่องแสง พร้อมชายคากันสาดเล็ก ๆ ที่ด้านบนและล่าง หากมองรวม ๆ แล้ว ดูคล้ายบ้านไม้ญี่ปุ่นซ้อนกันหลาย ๆ หลัง เหมือนภาพหมู่บ้านในชนบทอย่างไรอย่างนั้น […]

AD ARCHITECTURE OFFICE แปลงโฉมโรงงานเก่าทิ้งร้างเป็นออฟฟิศสถาปนิก

AD Architecture เกิดจากการแปลงโฉมโรงงานเก่าทิ้งร้างในเมืองซัวเถา สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง โดยเคารพบริบทเดิมให้มากที่สุด

DEN DA QUANG คาเฟ่เวียดนาม ใช้บรรยากาศดึงผู้คนหวนคืนสู่ไซ่ง่อนในวันวาน

คาเฟ่เวียดนาม ที่มีแรงบันดาลใจจากสีสัน และรายละเอียดอันโดดเด่นของบ้านเรือนในเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เช่น การดึงภาพบรรยากาศของบ้านเก่าที่มีมอสส์สีเขียวเกาะตามหลังคา และสีเหลืองแกมน้ำตาลที่มักถูกใช้ทาพื้นผิวบนผนัง ออกแบบโดย Ksoul ที่ต้องการออกแบบที่นี่ให้เชื่อมโยงกับภาพอดีต เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้คนยุคปัจจุบัน ออกแบบ : KSOUL Studio (https://ksoul.studio/) ภาพ : Valor Studio นอกจากเรื่องราวของสีสัน องค์ประกอบอีกอย่างที่โดดเด่น คือการเลือกใช้วัสดุอย่าง กระเบื้อง และช่องลมดินเผาที่ด้านหน้าและบางส่วนของหน้าต่าง เพื่อรับแสงแดดยามเย็น ทำให้พื้นที่มีชีวิตชีวาและอบอุ่นมากขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะเปรียบเทียบ Ksoul ในฐานะจิตรกรที่สร้างภาพอันสื่อถึงอารมณ์ผ่านงานออกแบบ คาเฟ่เวียดนาม ครั้งนี้ จากวัสดุพื้นถิ่นที่ชาวเวียดนามคุ้นเคย ไปจนถึงการแบ่งพื้นที่ซึ่งตั้งใจจัดบรรยากาศให้เหมือนลูกค้ากำลังนั่งอยู่ในบ้านจริง ๆ   ที่ชั้นล่างดีไซเนอร์ได้ปรับผนังเก่าให้เป็นระบบโครงเหล็กที่มีสีเขียวมอสส์เหมือนกรอบหน้าต่าง ขณะที่เคาน์เตอร์บาร์ก่อขึ้นจากอิฐ ชวนให้นึกถึงเตาไฟเก่า ๆ ที่คุณยายและคุณแม่กำลังง้วนอยู่กับการทำอาหาร ชั้นบนผสมผสานภาพลักษณ์ของแบรนด์เข้ากับราวจับบันไดอย่าง การนำรูปทรงของตัวดี (D) มาเชื่อมเป็นราวกันตกได้อย่างลงตัว เฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด่น ๆ ประกอบด้วยเหล่าเก้าอี้ไม้ ผสมพนักพิงที่ทำจากหวาย ทั้งยังมีเก้าอี้ และอาร์มแชร์ดีไซน์เรียบง่ายหลากหลาย สำหรับรองรับลูกค้าที่เข้ามาใช้พื้นที่ในแต่ละมุมอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพูดถึงพื้นที่การตกแต่งที่มีตู้เหล็กขึ้นสนิม ไฮไลต์ของพื้นที่ “ห้องนั่งเล่น” […]