BAAN PREEDEE 26 มอบความเป็นส่วนตัวท่ามกลางความวุ่นวายของเมือง

แบบบ้านโมเดิร์น ที่ตั้งอยู่ในซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หนึ่งในซอยที่มีความพลุกพล่านและถนนกว้างไม่ถึง 4 เมตร จึงออกแบบเพื่อตอบโจทย์เรื่องความเป็นส่วนตัวพร้อมความสงบ เจ้าของ: คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล ออกแบบ: Gooseberry design บ้านที่เรียกชื่อตามสถานที่ตั้งอย่างซอยปรีดีพนมยงค์ 26 หรือสุขุมวิท 71 ซึ่งหากใครเคยขับผ่านไปซอยนี้จะรู้ว่ายิ่งขับเข้าไปถนนยิ่งค่อย ๆ แคบลง แคบชนิดที่เรียกว่ากว้างไม่ถึง 4 เมตรเลยด้วยซ้ำส่งผลให้การสัญจรในซอยไม่สะดวกเท่าไหร่ พอตัดสินใจจะสร้างบ้านบนผืนที่ดินซึ่งซื้อไว้นานแล้วในซอยนี้  ซึ่งมีขนาดหน้ากว้าง 10 เมตร ลึก 40 เมตร เจ้าของบ้านอย่าง คุณยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ และ คุณมนัญญา วณิชวิศิษฎ์กุล จึงวางให้ใจสถาปนิกจาก Gooseberry design มารับหน้าที่ออกแบบสเปซที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งคู่ โดยโจทย์แรกที่สถาปนิกได้รับคือต้องการที่จอดรถสำหรับรองรับรถ 4 คัน นำมาสู่การออกแบบประตูแบบบานม้วนขึ้นเหมือนประตูการาจให้กว้างเต็มพื้นที่ โดยใช้โครงสร้างแบบ Long Span ช่วยให้ประหยัดพื้นที่ ง่ายต่อการถอยรถเข้า-ออก พร้อมกับร่นระยะหน้าบ้านเข้าไปเป็นเวิ้งพักคอยประมาณ 3 เมตร […]

MADI BKK คาเฟ่มินิมอล-นอร์ดิกฟีลอบอุ่น ที่เชื่อว่าวงจรของเพื่อนนำมาซึ่งเรื่องราวดี ๆ

มาดิ! คำชักชวนสั้น ๆ ระหว่างเพื่อนได้กลายมาเป็นชื่อ Madi Bkk คาเฟ่ดีไซน์เรียบง่าย สถานที่ที่อยากให้เหล่าเพื่อน ๆ ได้มาพบปะและใช้เวลาร่วมกัน ตามคอนเซ็ปต์ที่คุณจี๊ป-สาธิยา ศิริพจนากร และคุณเมย์-เมธิกานต์ ขวัญเมือง สองสาวเจ้าของร้านเพื่อนซี้ที่ตั้งใจอยากส่งต่อความเป็น Circle of Friends ให้อบอวลไปด้วยรอยยิ้ม ความสุข และความอบอุ่น ไม่แพ้บรรยากาศของคาเฟ่ที่ตกแต่งสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก เพราะเชื่อในวงจรและพลังของความเป็นเพื่อน แม้ต้องเจอเรื่องราวแย่ ๆ มา ถ้าเรามีเพื่อนที่ดีก็จะช่วยซัพพอร์ตให้ผ่านเรื่องยาก ๆ เหล่านั้นไปได้ จากนิยามความเป็นเพื่อน ผสมผสานกับความฝันของทั้งคู่ที่อยากเปิดร้านกาแฟควบคู่ไปกับ Creator Hub หลังจากมองหาทำเลอยู่นาน ในที่สุดก็มาพบกับตึกแถวเก่าใกล้ปากซอยเจริญกรุง 43 ก่อนลงมือรีโนเวตเปลี่ยนตึกแถวสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็น Madi Bkk คาเฟ่บรรยากาศอบอุ่น โดยยังคงเก็บรายละเอียดของอาคารบางอย่างไว้ เพื่อสร้างเสน่ห์และเล่าเรื่องราวการตั้งอยู่ในย่านเก่า คุณจี๊ปเล่าว่า “หลังจากที่มาดูตึก เรารู้สึกชอบที่นี่มาก จึงให้โจทย์อินทีเรียร์ไปว่า อยากได้ร้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก ขอแสงธรรมชาติเยอะ ๆ จะเห็นว่าพื้นที่ด้านหลังร้านได้รื้อพื้นไม้ชั้นสองออก เพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ มีสกายไลท์ด้านบน ส่วนหน้าต่างก็เปลี่ยนเป็นหน้าต่างกระจกกรอบวงกบไม้ สิ่งที่เก็บรักษาไว้มีแค่ผนังอิฐ กับพื้นไม้จริงชั้นสองเท่านั้น” […]

HOUSE OF WINE อนุรักษ์อาคารเก่าจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 ให้กลายเป็นบาร์ดีไซน์ร่วมสมัย

ไวน์บาร์ ที่ซ่อนตัวอยู่ในอาคารเก่าแห่งนี้ เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูและ อนุรักษ์อาคารเก่า ซึ่งเป็นโรงเบียร์จากยุคคริสต์ศตวรรษที่19 ใจกลางย่านประวัติศาสตร์ของเมืองซนอยโม สาธารณรัฐเช็ก ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งภายใต้การออกแบบที่ร่วมสมัย ซึ่ง House Wine มีแนวคิดการออกแบบการ อนุรักษ์อาคารเก่า ที่เน้นการสอดแทรกพื้นที่การใช้งานใหม่บรรยากาศสดใสเข้าไปในอาคารเก่า โดยปรับเปลี่ยนกายภาพของตัวอาคารให้น้อยที่สุด เล่าย้อนบรรยากาศไปอาคารเดิมมีลักษณะเป็นอาคารปูนขนาดใหญ่ สถาปนิกเลือกเก็บโครงสร้างภายนอกของอาคารไว้ดังเดิม เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่จะปรากฏขึ้นในใจกลางเขตเมืองเก่าไม่ดูโดดเด่นหรือแปลกแยก ในขณะเดียวกันก็รื้อการใช้งานภายในออกให้เหลือเป็นเพียงโถงโล่งกว้าง เพื่อจะได้บรรจุการใช้งานใหม่ได้อย่างยืดหยุ่นและอิสระ  โดยฟังก์ชันที่ใส่เข้าไปใหม่นั้นมีลักษณะเป็นกล่องไม้สูงขึ้นไปประกอบด้วยชั้นลอย 2 ชั้น  โดยใช้โครงสร้างที่แยกขาดจากตัวอาคารเดิมอย่างชัดเจน เป็นเหมือนการบรรจุไส้ในของตัวอาคารใหม่ โดยใช้โครงสร้างอาคารเดิมทำหน้าที่เป็นเพียงกล่องหุ้มในด้านรูปลักษณ์สถาปนิกเปลี่ยนกรอบอาคารเดิมให้เป็นสีขาวสะอาด แล้วออกแบบฟังก์ชันที่ใส่เข้าไปใหม่ให้มีสีสันเพื่อเน้นให้พื้นที่ใช้งานดูสนุกสนานและเป็นกันเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ไม้กับพื้นและผนังที่เป็นโครงสร้างคดโค้ง สร้างความรู้สึกลื่นไหลให้กับพื้นที่  ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ที่มีสีสันสดใสอย่าง สีเหลือง แดง เเละน้ำเงิน เพื่อปรับบรรยากาศให้ดูสนุก ในขณะกันก็ยังสามารถรับรู้สภาพดั้งเดิมของอาคาร และมองผ่านหน้าต่างออกไปเห็นโบราณสถานใกล้เคียงได้ อันเป็นประสบการณ์จากการอาคารอนุรักษ์ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ข้อมูล เจ้าของ : Vinařství LAHOFER ออกแบบ : CHYBIK + KRISTOF ภาพ : Laurian Ghinitoiu,  Alexandra Timpau   […]

TOP-NOTCH DESIGNER รีโนเวตทาวน์โฮมเป็นโฮมออฟฟิศออกแบบ

TOP-NOTCH DESIGNER เมื่อตัดสินใจขยับขยายจากคอนโดมาอยู่ทาวน์โฮมขนาด 3 ชั้น จึงรีโนเวตให้กลายเป็นโฮมออฟฟิศไปในตัวเพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิต

PORTABLE CABIN บ้านตู้คอนเทนเนอร์กลางสวนหลังน้อย

เอาใจคนมองหาไอเดีย บ้านตู้คอนเทนเนอร์ หลังน้อยกลางสวน เพื่อสร้างไว้สำหรับพักผ่อน หรือตากอากาศในต่างจังหวัด ด้วยการใช้ตู้คอนเทนเนอร์สองหลัง

ปิดล้อมสู่ความสงบใน พื้นที่สีเขียว ส่วนตัว

บ้านหลังนี้โดดเด่นด้วยการสร้างพื้นที่ส่วนตัวในแบบ พื้นที่สีเขียว ซึ่งมีต้นไม้และช่องเปิดสำหรับแสงธรรมชาติอยู่ภายใน การออกแบบพื้นที่ใช้สอยจากพื้นที่เล็กๆให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติโดยรอบ จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากอีกหลังหนึ่งของการอยู่อาศัยในเขตเมืองอย่างเช่นกรุงเทพในทุกวันนี้ และผู้ที่ออกแบบบ้านหลังนี้ก็คือ TOUCH ARCHITECTS นั่นเอง เจ้าของ: คุณกายแก้ว อัมพรวิวัฒน์ และคุณสิริยศ ภูนุชออกแบบ: TOUCH ARCHITECT ความเป็นส่วนตัวที่ยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ด้วยความที่เดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรค์ ที่ดินของบ้านแต่ละหลังจึงค่อนข้างอยู่ติดกันไปเสียหมด การออกแบบพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องปิดกั้นพื้นที่ภายในจากพื้นที่ภายนอกเสีย แต่หากปิดกั้นไปเสียหมดแล้วก็จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขาดการรับรู้ถึงบริบท และคงทำให้ผู้ที่อยู่อาศัยภายในรู้สึกไม่ดีเป็นแน่ การออกแบบ facade skin หรือเปลือกอาคาร จึงเป็นสร้างองค์ประกอบที่จะช่วยพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัวได้โดยที่ผู้ที่อยู่ภายในยังรู้สึกสัมผัสกับธรรมชาติและบริบทรอบด้านได้อยู่ ผู้ออกแบบ เลือกที่จะใช้ระแนงเหล็กกล่องเพื่อพรางตาและสร้างความเป็นส่วนตัว แสงธรรมชาติที่ลอดผ่านซี่ระแนงนั้นยังคงทำให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนไปของบริบทโดยรอบอยู่นั่นเอง นอกจากนี้ การใช้ระแนงโลหะเป็นเปลือกอาคารยังทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้อยู่อาศัยภายในบ้านได้ แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ภายในยังสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวบ้านได้โดยทั่วเช่นเดิม พื้นที่จตุรัส ใช้งานได้คุ้มค่า สำหรับบ้านพื้นที่น้อย พื้นที่ของบ้านหลังนี้นั้นตั้งอยู่บนที่ดินขนาด 50 ตารางวา หลังจากรื้อถอนบ้านเดิมออกแล้ว การออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานใหม่จึงต้องมีการจัดวางผังเสียใหม่ ผู้ออกแบบเลือกวางผังบนกริดตารางแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส เพื่อให้แบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นพื้นที่ต่างๆได้ครบถ้วนกว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้า(ในขนาดพื้นที่เดียวกันที่ดินแบบจตุรัสจะใช้งานได้มากกว่าแบบผืนผ้า) โดยที่เลือกให้ห้องรับแขกนั้นอยู่ด้านในจากหน้าบ้านเข้ามา และแบ่งพื้นที่ด้านหน้าออกเป็นห้องทำงานแบบ WFH ที่ต่อไปจะใช้เป็นห้องนอนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในอนาคต และพื้นที่ชั้นสองที่เป็นห้องนอนทั้งสองฝั่ง การเลือกให้ห้องนั่งเล่นอยู่ด้านในของตัวบ้านนั้นก็เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวจากถนนหน้าบ้านด้วยเช่นกัน โดยที่ห้องนั่งเล่นนี้จะสามารถเปิดออกไปยังชานหลังบ้านและรับกับสวนกลางบ้านได้พร้อมๆกัน ด้วยความที่บ้านหลังนี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด พื้นที่สัญจรภายในบ้านจึงเลือกที่จะหยิบยืมเอาจากพื้นที่ใช้งานต่างๆ […]

V.O. ร้านอาหารจีน ไฟน์ไดนิ่ง ตกแต่งสไตล์คอนเทมโพรารีร่วมสมัยมากลูกเล่น

ร้านอาหารจีน ไฟน์ไดนิ่ง ในเมืองเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดดเด่นด้วยการตกแต่งสไตล์คอนเทมโพรารี เน้นนำเสนอความอร่อยผ่านบรรยากาศที่มีความทันสมัย ไปจนถึงบรรยากาศที่มีลูกเล่นของพื้นที่ เพื่อสร้างประสบการณ์ระหว่างมื้ออาหารอันสุนทรีย์ ถ่ายทอดการจัดการสเปซ ร้านอาหารจีน แห่งนี้ ผ่านลูกเล่น รูปร่าง และระดับที่หลากหลาย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Wandering in Valleys – ท่องทั่วทิวหุบเขา” ตั้งแต่ส่วนฟาซาดสีบรอนซ์ทรงสูงที่ช่วยป้องกันแสงจ้าในเวลากลางวัน ทางเดินที่ล้อไปตามระนาบความโค้งของผนัง ฝ้าเพดานที่กดต่ำลง ระยะกว้างแคบและองศาทั้งหมดช่วยสะท้อนบรรยากาศราวกับเดินอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่มีพรรณไม้สูงต่ำสลับซับซ้อน ก่อนจัดเสิร์ฟอาหารจีนที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างพิถีพิถัน เด่นด้วยวัตถุดิบชั้นดีที่ส่งตรงจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร อันเป็นหัวใจสำคัญของร้านนี้ เพื่อถ่ายทอดความงดงามทุกกระบวนการ ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก วัตถุดิบจากฟาร์มออร์แกนิก การทำอาหารที่ผสานเทคนิคแบบจีนแท้ ๆ แต่สามารถเข้ากับรูปแบบการนำเสนอสมัยใหม่  ที่ล้อไปกับบรรยากาศของพื้นที่ที่มีมุมมองแปลกใหม่ ไม่ธรรมดา เรียกว่าทุกองค์ประกอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดการทดลองทำงานกับวัสดุ ก่อนจะส่งไม้ต่อให้เมนูอาหารเป็นบทสรุปของไฟน์ไดนิ่งในแต่ละวัน Idea To Steal การเล่นสนุกกับการซ่อนไฟ (Indirect Light) ผ่านตัวกลางรูปแบบต่าง ๆ  เช่น ซ่อนใต้ฝ้าที่เบิ้ลระดับขึ้นอีกชั้น หรือการเบิ้ลผนังซ่อนไฟให้เหมือนกับผนังลอยได้ หรือซ่อนกับขอบด้านในของประตู เหมาะกับบาร์ที่ต้องการสร้างบรรยากาศจากแสงไฟสีนุ่มนวล ข้อมูล เจ้าของ : Voisin Organique […]

TASTESPACE.CO ออฟฟิศที่ถนัดออกแบบสเปซให้เหล่านักชิม

TASTESPACE สตูดิโอที่เน้นงานออกแบบคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ จึงนำประสาทสัมผัสทุกส่วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส มาเป็นส่วนหนึ่งของสเปซ

KIEW KAI KA ยกทัพสำรับไทย จัดเสิร์ฟในร้านบรรยากาศยุโรป

ร้านเขียวไข่กา l Kiew Kai Ka สาขาลาซาล อิ่มอร่อยกับอาหารไทยภาคกลาง-ใต้ ในร้านสีเขียวลุคเฟมินีน สวยหรูสไตล์วินเทจ อีกหนึ่งร้านอาหารไทยรสชาติถึงเครื่อง กับการขยายสาขาใหม่ล่าสุดมายังย่านบางนา ภายในโครงการ Sunny at Summer Lasalle โดยครั้งนี้ขอแตกต่างด้วยสไตล์การตกแต่งที่ฉีกแนวออกจากสไตล์อินดัสเทรียลสุดเคร่งขรึมในเรือนกระจก ซึ่งเป็นภาพที่แฟนประจำของร้านจดจำได้จากสาขาแรกที่ซอยนาคนิวาส มาสู่ลุคความเป็นเฟมินีนดูโก้หรู เจือกลิ่นอายย้อนยุค เมื่อมองเข้ามาจากถนนในซอยลาซาล ตัวร้านจะอยู่ใต้อาคารที่ยังคงโดดเด่นด้วยธีมสีเขียว เรียกว่ามองปราดเดียวก็รู้ว่านี่คือ ร้านเขียวไข่กา ผนังร้านถูกล้อมด้วยช่องแสงกระจกทรงโค้งตัดขอบด้วยกรอบสีทองดูหรูหรา แม้ตัวร้านจะเป็นส่วนหนึ่งของอาคารในโครงการ Sunny at Summer Lasalle แต่ก็ยังไม่ลืมภาพของความเป็นร้านอาหารบรรยากาศกลาสเฮ้าส์ ด้วยการนำมาสร้างสรรค์กับสาขานี้ด้วย ทั้งยังปรับเปลี่ยนจากสไตล์อินดัสเทรียล มาสู่บรรยากาศหรูหรา และมีความเป็นแฟมินีนมากขึ้น คุณดนัย สุราสา ได้เล่าถึงแนวคิดการออกแบบเขียวไข่กาสาขาลาซาลให้ฟังว่า “จากความต้องการของเจ้าของที่อยากให้สาขาใหม่ยังคงมีบรรยากาศแบบกลาสเฮ้าส์ เราจึงเลือก The Crystal Palace ในกรุงลอนดอน ซึ่งสร้างขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมมาเป็นต้นแบบ ด้วยการหยิบเอกลักษณ์การขึ้นโครงเหล็กทรงโค้งที่ดูบางเบามาเป็นไอเดีย โดยนำเส้นสายพวกนั้นมาใช้แบบกลับหัว ในส่วนของช่องแสงรอบผนังร้าน รวมถึงองค์ประกอบงานตกแต่งภายในต่าง ๆ ” เช่นเดียวกับธีมการใช้สีเขียวที่ครั้งนี้มีความเทรนด์ดี้มากขึ้น ด้วยการเลือกใช้สี Teal Blue […]

Hey! Coffee Watcharapol คาเฟ่ในกระถางต้นไม้ยักษ์

Hey! Coffee Watcharapol คาเฟ่ย่านวัชรพล ที่ใช้โครงสร้างเดิมของตลาดต้นไม้มาต่อยอด โดยยังคงบรรยากาศการเดินตลาดด้วยรูปทรงของกระถางต้นไม้ยักษ์

บ้านตอบโจทย์ครอบครัวต่างวัย เปิดสเปซเชื่อมต่อความสุข

เมื่อถึงคราวต้องปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย จากบ้านที่เป็นอาคารพาณิชย์ในตัวเมืองเชียงใหม่ สู่การสร้างบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นอีกบทหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่าต้องเป็นบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ เหนืออื่นใดคือต้องเติมเต็มความสุขให้สมาชิกทุกคน แม้จะต่างวัยกันแค่ไหน แต่ก็อยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น จากทำเลที่มองเห็นวิวดอยคำ ดอยสุเทพ และใกล้กับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ ครอบครัวขยายของสองทันตแพทย์ ทพ. วัลลภ ธีรเวชกุล และ ทพญ. สรินภรณ์ ธีรเวชกุล ได้ไว้วางใจให้ทีมสถาปนิกจาก STUDIO SATi มารับหน้าที่ออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับบริบท และความต้องการของสมาชิก 3 เจเนอเรชั่นที่ย้ายเข้ามาอยู่พร้อมหน้ากันถึง 7 คน โดยมีคุณยาย 2 ท่าน คุณพ่อคุณแม่ ลูกชาย ลูกสาว และหลาน ความท้าทายจึงอยู่ที่การออกแบบให้ทุกคนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ไปพร้อม ๆ กับมีพื้นที่สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ในบ้านด้วย เนื่องจากตัวบ้านหันไปทางทิศใต้กึ่งตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่รับแดดบ่ายโดยตรง การออกแบบสถาปัตยกรรมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณแสงและความร้อนเป็นพิเศษ สถาปนิกออกแบบผนังด้านหน้าบ้านเป็นลักษณะแนวผนังทึบก่ออิฐมอญบิดมุมให้เกิดองศาที่พอเหมาะเพื่อช่วยบังสายตาและกันแสงแดด โดยมีช่องเปิดให้ลมพัดผ่านและมองเห็นวิวได้ “เราออกแบบให้ตัวโถงบันไดและสระว่ายน้ำอยู่ด้านหน้าบ้าน ให้เป็นส่วนรับแดดช่วงบ่าย การใช้น้ำมาเป็นองค์ประกอบจะช่วยให้บ้านไม่ร้อนมาก และมีโถงบันไดด้านหน้าซึ่งเป็นจุดรับความร้อนได้ดี ออกแบบให้มีผนังอิฐเฉียงเพื่อบังแดดและบิดมุม […]

KB BUILDING IPKW เปลี่ยนโรงงานผลิตเส้นใยไนลอนเป็นออฟฟิศสร้างสรรค์

เปลี่ยนโฉมโรงงานผลิตเส้นใยไนลอนที่สร้างขึ้นในปี 1940 ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ผ่านการรีโนเวตเป็นสำนักงานใหม่ที่มีความโปร่งโล่ง แยกสัดส่วนอย่างดี

Veggiology : Better You For The Better Planet ร้านอาหารสุขภาพในสไตล์มิดเซ็นจูรี่

Veggiology ร้านอาหารสุขภาพในสไตล์มิดเซ็นจูรี่ ที่ได้แรงบันดาลใจจาก Jean Prouvé สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ที่ผสานงานโลหะและสถาปัตยกรรมเข้าด้วยกัน

บ้านไม้ไผ่ อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติในกาลาปากอส

บ้านไม้ไผ่ รูปทรงโมเดิร์นตั้งอยู่ที่เกาะซานกริสโตบาล ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะกาลาปากอส ในประเทศเอกวาดอร์ ก่อสร้างขึ้นโดยใช้ทรัพยากร พลังงาน แรงงาน และการขนส่งในพื้นที่ โดยพยายามให้เกิดความยั่งยืนและเป็นมิตรกับธรรมชาติมากที่สุด Dany และ Jenny คู่สามีภรรยาเจ้าของ บ้านไม้ไผ่ ตั้งใจสร้างที่นี่ขึ้น หลังจากที่ทั้งคู่มีลูกคนแรก แล้วต้องการพื้นที่พักอาศัยที่กว้างขึ้น โดยได้รับคำปรึกษาจาก ESEcolectivo ก่อนออกมาเป็นบ้านที่ใช้โครงสร้างไม้ไผ่ทั้งหลัง โดยใช้แรงงานและภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงนัก เพื่อให้เข้ากันดีกับบริบททางธรรมชาติอันเปราะบางของหมู่เกาะกาลาปากอส บ้านทั้งหลังจึงต้องออกแบบให้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ลดการใช้พลังงาน และพึ่งพาตนเองได้ เห็นได้จากการแบ่งพื้นที่รอบบ้านสำหรับทำแปลงปลูกผักใช้รับประทานในครอบครัว ขณะที่พื้นที่ใช้สอยภายในขนาด 120 ตารางเมตร สถาปนิกได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยส่วนห้องน้ำ ส่วนซักล้าง และห้องพักสำหรับผู้สูงอายุ แบ่งพื้นที่รอบแกนบันไดให้มีขนาดกว้าง เพื่อทำหน้าที่เป็นทางเดินไปขึ้นสู่ชั้นบนสุดมองเห็นวิวทะเลได้ ทั้งยังช่วยในการไหลเวียนอากาศทั่วทั้งบ้าน ชั้น 2 มีห้องพัก 2 ห้อง คือ ห้องนอนใหญ่ และห้องเด็กเล่น เผื่อสำหรับในอนาคตเมื่อลูกเติบโตขึ้น เขาสามารถย้ายมาพักที่ห้องนี้ได้เพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนชั้น 3 มีห้องสตูดิโอขนาดเล็ก และจุดชมวิวที่สามารถทอดสายตาชมวิวทะเล และพระอาทิตย์ตกดินได้อย่างโรแมนติก ด้านการตกแต่งเน้นเฟอร์นิเจอร์และส่วนต่าง ๆ […]

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion จุดผสมที่ลงตัวของร้านไฟน์ไดนิ่ง และBed & Breakfast

The GOAT Greatest Of All Time & Wanyu mansion คือบ้าน ร้านอาหาร และที่พักแบบ Bed and Breakfast ของเชฟแทน-ภากร โกสิยพงษ์ กับนิยาม Off–beat Asian ที่นำมาใช้ในแง่สถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายแบบชิโน-โปรตุกีส ผสมผสานความร่วมสมัยจากประสบการณ์การเดินทางในหลากหลายประเทศ แต่งแต้มเอกลักษณ์อย่างอาคารย่านเอกมัย-ทองหล่อให้โดดเด่นและแตกต่าง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Storage Studio จากจุดเริ่มต้นของการมุ่งหน้าสู่อาชีพ “เชฟ” คุณแทน-ภากร โกสิยพงษ์ เจ้าของร้าน The GOAT Greatest Of All Time และร่วมกับพี่น้องอีก 2 ท่านในการบริหาร Wanyu mansion ร่วมกัน ที่นี่เปรียบเสมือนบทใหม่ของการทำงานเลยทีเดียว เพราะก่อนหน้านี้คือการเก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งในการไปทำงานในต่างประเทศ การได้ร่วมกับเพื่อนเปิดร้านอาหาร “Ekamian” และการได้ทำงานเป็นที่ปรึกษาร้านอาหารให้กับร้าน One Ounce for Onion และ OOOBKK จนวันนี้รูปแบบสไตล์ได้ลงตัวพร้อมนำเสนออย่างชัดเจนในชื่อของ […]

WORKPLACE Saimai-Phaholyothin โฮมออฟฟิศตอบโจทย์ธุรกิจคนรุ่นใหม่

WORKPLACE Saimai-Phaholyothin คืออีกหนึ่งโครงการภายใต้แบรนด์โครงการโฮมออฟฟิศโดย SC Asset รองรับทั้งการอยู่อาศัยและการประกอบธุรกิจ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้านักธุรกิจรุ่นใหม่ เจ้าของกิจการที่ต้องการขยายสาขา หรือกำลังมองหากิจการใหม่ ๆ เช่น คลินิก ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ รวมถึงกลุ่มนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์  โครงการ WORKPLACE Saimai-Phaholyothin ทำเลติดถนนสายไหม ต่อเนื่องกับโครงการทาวน์โฮม เวิร์ฟ สายไหม-พหลโยธิน เนื่องจากมีจำนวนยูนิตน้อย รวมถึงทุกยูนิตหันหน้าเข้าถนน จึงพร้อมรองรับทั้งลูกค้าจากภายนอก และสมาชิกในหมู่บ้าน โดดเด่นด้วยรูปลักษณ์เรียบเท่สไตล์ Modern Loft  ที่เพิ่มเส้นสายสร้างชีวิตชีวา และความสนุกสนานแบบ Festival ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ทั้งยังมีการออกแบบให้เชื่อมโยงกับโครงการทาวน์โฮมด้านหลัง เพื่อสร้างความเป็นต่อเนื่องของภาพรวม  โฮมออฟฟิศแบบไหนตอบโจทย์ธุรกิจคนรุ่นใหม่ คุณภาณุ พิศาลกิจวนิช ตำแหน่ง  Marketing Manager Low Rise และ คุณภาณุพงษ์ ชินมหาวงศ์  Senior Manager Project Architect ของโครงการ เวิร์คเพลส สายไหม–พหลโยธิน บอกเล่าถึงแนวโน้มความนิยมที่อยู่อาศัยประเภทโฮมออฟฟิศในตลาดคนรุ่นใหม่ ที่มองหาพื้นที่ธุรกิจพร้อมๆ กับที่อยู่อาศัย “แนวโน้มของโฮมออฟฟิศกำลังเริ่มดีขึ้น คนรุ่นใหม่เริ่มทำธุรกิจเร็วขึ้น […]

PROTAGONIST BAR คาเฟ่กึ่งบาร์ที่มี “สัจวัสดุ” เป็นพระเอก

คาเฟ่กึ่งบาร์ ที่แปลชื่อได้ว่า “ตัวเอก” มีโจทย์อยู่ที่การสร้างพื้นที่โดยใช้ “สัจวัสดุ” ซึ่งได้กลายมาเป็นงานออกแบบตัวเอกของสถานที่นี้ พื้นที่ภายในเน้นบรรยากาศเผยให้เห็นความเป็น สัจวัสดุ ซึ่งเป็นร่องรอยโครงสร้างดั้งเดิม ทั้งการฉาบฝ้าเพดาน พื้นผิวคอนกรีตมองเห็นรอยที่เคยปูกระเบื้อง เเละเนื้อปูนที่เชื่อมประสานอิฐแต่ละก้อน แล้วจัดสรรสเปซเพื่อให้สอดรับกับฟังก์ชันการใช้งานมากที่สุด เพราะให้ความสำคัญกับเสียงเพลงและดีเจเป็นพิเศษ นอกจากจะออกแบบระบบเสียงอย่างดีแล้ว บู๊ธดีเจของที่นี่ยังแสดงถึงกลิ่นอายวินเทจนิด ๆ ด้วยการนำสเตอริโอโบราณจากยุคโซเวียตมาตัดครึ่งแล้วขยายออก ก่อนเติมดีเทลความเป็นโมเดิร์นลงไป จนกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเอกของพื้นที่ส่วนที่เป็นจุดโฟกัสของสเปซอย่างพื้นที่รับประทานอาหารส่วนกลาง เลือกใช้โต๊ะอาหารแบบยาววางกลางห้อง เปิดมุมมองออกสู่หน้าต่างบานกว้างแบบพานอรามา เหนือโต๊ะเป็นประติมากรรมโคมไฟขนาดยักษ์ตีกรอบล้อมรอบด้วยผิวเมทัลลิกมันวาว พื้นที่ส่วนกลางนี้ประกบข้างด้วยบาร์เต็มรูปแบบอยู่ฝั่งซ้ายมือของโต๊ะ และผืนผนังบล็อกแก้วที่สะท้อนความเป็นไปภายในร้านผ่านแสงและสีสัน ทั้งหมดนี้สามารถมองเห็นรายละเอียดการตกแต่งที่เรืองรองออกมาจากกล่องหน้าตาธรรมดาตรงบริเวณหัวมุมถนนโดดเด่นกว่าใคร    Idea to Steal เปลี่ยนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าวินเทจให้กลายเป็นพร็อปส์ตกแต่งสุดเก๋ด้วยการทดลองตัด ต่อ และเติม ข้อมูล ที่ตั้ง เมืองคาร์คิฟ ประเทศยูเครน ออกแบบ : belbek bureau เวลาทำการ : ทุกวัน 10.00 น. – 02.00 น. IG: prtgnst.bar    

ออฟฟิศ ม่านไม้เลื้อยเพื่อสร้างความสุขในการทำงาน A&P OFFICE BUILDING

ออกแบบ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน หากใครมีโอกาสผ่านเข้าไปในซอยประชาชื่น 31 จะพบอาคารคอนกรีตสูง 5 ชั้นที่ตั้งใจเลือกใช้ฟาซาดจากธรรมชาติ เป็นม่านไม้เลื้อย ซึ่งอาคารแห่งนี้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัท เอ แอนด์ พี เมนทิแนนซ์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ในแวดวงธุรกิจจะรู้จักกันดีในชื่อ A&P ซึ่งเป็นบริษัทรับคลีนนิ่งระดับประเทศ ที่รับทำความสะอาดทั้งอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า สนามบิน ตลอดจนหน่วยงานราชการต่างๆ โดยอาคารสำนักงานดังกล่าวเป็นการออกแบบและสร้างใหม่บนที่ดินขนาด 1.5 ไร่ ออกแบบโดยคุณ ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน ภายใต้แนวความคิดการหลอมรวมธรรมชาติให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน เพื่อสร้างความสุขให้กับพนักงานขององค์กรอย่างยั่งยืน อาคารสำนักงานแห่งนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของผู้ออกแบบไม่น้อย เนื่องจากต้องทำการออกแบบและก่อสร้างภายใต้ข้อจำกัดมากมาย ทั้งในเรื่องของระยะเวลาและการออกแบบเพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด ในการออกแบบเบื้องต้น ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้ตัวอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 2,000 ตร.ม. วางไว้ด้านในของที่ดิน เนื่องจากทางเจ้าของโครงการมีแผนจะสร้างอาคารเพิ่มเติมยังบริเวณด้านหน้าที่ดินในอนาคต อีกทั้งด้วยตำแหน่งของที่ตั้งทำให้จำเป็นต้องหันด้านหน้าอาคารไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นด้านที่จะได้รับความร้อนตลอดทั้งวัน ผู้ออกแบบจึงกำหนดให้มีชุดผนังกระจกบานเลื่อนซ้อนในทุกๆ ฟังก์ชันเผื่อในกรณีที่ต้องการเปิดรับลมได้มากสุด ก็จะทำให้อากาศนั้นหมุนเวียนไปได้ทั่วอาคาร เสริมกับการเลือกใช้ต้นลีกวนยูมาเป็นฟาซาดด้านหน้าอาคารก็เพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปกรณ์บังแดดทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยมให้กับอาคารอีกชั้นหนึ่งด้วย ทั้งนี้ตัวอาคารยังออกแบบพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการกำหนดผนังทั้ง 2 ด้านของอาคารนั้นเป็นผนังทึบ ทำให้ระยะร่นระหว่างจากอาคารถึงแนวเขตกำแพงนั้นมีน้อยลงตามที่ข้อกฎหมายได้กำหนด ส่งผลให้อาคารมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเพื่อช่วยกันความร้อนและเพื่อย่นระยะเวลาในการก่อสร้าง […]