Design
Ursa Tiny On Wheels บ้านเล็กติดล้อของสถาปนิกหัวใจช่างไม้
Ursa คือบ้านรถพ่วงหลังเล็กขนาด 17 ตารางเมตร ที่ออกแบบโดย Madeiguincho สตูดิโอออกแบบจากโปรตุเกส โปรเจ็กต์ท้าทายการใช้ชีวิตในพื้นที่ขนาดเล็ก Tiny On Wheels (TOW) นี้ผสมผสานระหว่างศาสตร์ของการออกแบบสถาปัตยกรรมเข้ากับงานไม้ ผ่านการสร้างสรรค์บ้านติดล้อหลังเล็ก 3 ขนาด (ยาว 4 เมตร 5 เมตร และ 7 เมตร) ด้วยความกว้าง 2.5 เมตร และความสูงไม่เกิน 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่เหมาะสมตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ Ursa มีความยาว 7 เมตร ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางอย่างสมบูรณ์ (off-grid) จึงมีระบบรองรับครบครันทั้งระบบน้ำ ระบบไฟ ผังพื้นของบ้านประกอบด้วยพื้นที่นอน 2 จุด สำหรับ 2 คน พื้นที่ทำงาน พื้นที่ครัว ห้องอาบน้ำ และดาดฟ้ากลางแจ้ง โดยยึดตามแนวคิดของการออกพื้นที่ขนาดเล็กให้สวยงาม และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงาน (Passive design) ในส่วนของระบบน้ำ เน้นการใช้น้ำฝนเป็นหลัก […]
BOOKING.COM ให้ทุกการมาทำงานเหมือนได้มาเที่ยวทะเล
BOOKING.COM ทราเวลเอเจนซี่ที่ออกแบบเพื่อสะท้อนถึงองค์กรที่มีความทันสมัยและรวดเร็ว ไปจนถึงอัตลักษณ์อย่างบรรยากาศการท่องเที่ยวพักผ่อน
CHANGAN NOODEL BAR กินบะหมี่แบบเท่ ๆในร้านสไตล์อินดัสเทรียล
ร้านบะหมี่ สไตล์อินดัสเทรียล ปนกลิ่นอายมินิมัล แทรกตัวอยู่ในอาคารเก่า ของเมืองผิงตง ประเทศไต้หวัน ร้านบะหมี่มีดีไซน์ เด่นด้วยการตกแต่งสุดเท่ สไตล์อินดัสเทรียล บนพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตร แม้มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก แต่สามารถเเบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็นสัดส่วนได้อย่างลงตัว โดยยังคงอรรถรสของร้านบะหมี่ผ่านงานตกแต่งที่มีกิมมิกเฉพาะตัว ภายในประกอบด้วยส่วนรับประทานอาหาร ลานด้านหน้า เเละพื้นที่ดิสเพลย์สินค้า ขณะที่พื้นที่ของพนักงานอย่าง ห้องครัว ห้องพนักงาน และไพรเวตออฟฟิศ ทั้งหมดได้รับการออกแบบให้เกิดการเชื่อมต่อมุมมองทางสายตา เกิดภาพกิจกรรมระหว่างทั้งสองส่วน เพื่อให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมามองเห็นกิจกรรม และเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับร้านให้มากที่สุด โดยในเเง่ของงานดีไซน์ได้ผสานเสน่ห์ของวัสดุเรียบง่าย เช่น คอนกรีต ไม้ เหล็ก เเละกระจก รวมถึงพื้นหินขัด โต๊ะไม้ เก้าอี้สแตนเลส และพัดลมเพดานเหล็ก อันเป็นองค์ประกอบสไตล์คลาสสิกที่สื่อถึงวิถีชีวิตเรียบง่าย และผ่อนคลายในแบบฉบับชาวไต้หวันทางตอนใต้ ฟาซาดด้านหน้าร้านทำหลังคาสามชั้น คือหลังคากระจกใส โครงเหล็กรูปตัวไอ และแผ่นตระแกรงเหล็กฉีก ช่วยกรองแสงให้ซอฟต์ก่อนส่องลงด้านล่างอย่างนุ่มนวล รวมถึงราวโลหะที่ตากเส้นบะหมี่ตั้งไว้ลานด้านหน้าร้าน ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ตั้งใจแสดงเอกลักษณ์การออกแบบที่น่าสนใจได้อย่างหนึ่ง ออกแบบ : Atelier Boter ภาพ : James Lin ที่ตั้ง 900, […]
สวยเฉียบ เรียบนิ่ง เข้าได้กับบ้านทุกสไตล์กับ ASUS S500SC
น่าเสียดายไม่น้อยหากคุณตั้งใจออกแบบและตกแต่งบ้านมาเป็นอย่างดี แต่ดันมาเสียบรรยากาศกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ขาดไม่ได้อย่าง คอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกได้ว่าหลาย ๆ คนต้องทำงานอยู่หน้าจอไม่ต่ำกว่า 5-6 ชั่วโมงต่อวันในสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ต้องทำงานอยู่บ้านเช่นนี้ ไม่เพียงแค่พ่อแม่ผู้ปกครองเท่านั้นที่ต้องทำงานอยู่บ้าน ลูก ๆ เองก็จำเป็นต้องเรียนออนไลน์เช่นเดียวกัน หากมีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทรงประสิทธิภาพ รวมไปถึงมีรูปลักษณ์ที่สวย เรียบง่าย นำไปวางไว้มุมไหนของบ้านก็ไม่รู้สึกเคอะเขินก็คงดีไม่น้อย ราวกับเป็นของประดับบ้านชิ้นหนึ่งก็ว่าได้ หนึ่งในรุ่นของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ตอบโจทย์ดังกล่าวอย่าง ASUS S500SC ที่มาพร้อมดีไซน์ขนาดกะทัดรัดแต่แข็งแกร่ง ที่ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะก็สามารถวางได้ ช่วยประหยัดพื้นที่ใช้งาน และเอื้อต่อการทำความสะอาดเพราะหลัก ๆ มีเพียงส่วนของหน้าจอและตัว CPU ที่ออกแบบให้จัดวางได้ทั้งแบบตั้งข้าง ๆ หรือจะวางนอนเป็นฐานของหน้าจอคอมไปในตัวได้เลย ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์ที่เรียบง่าย คุมโทนด้วยสีสุดคลาสสิกอย่างสีดำทั้งในส่วนหน้าจอและ CPU ทำให้สามารถเข้าได้กับแบบบ้านทุกสไตล์ วางไว้มุมไหนก็สวยเก๋ พร้อมครอบคลุมทุกการทำงานในชีวิตประจำวัน เช่น การเขียนรายงานหรือการท่องอินเทอร์เน็ต ไปจนถึงการดูวีดีโอหรือเล่นเกมกับเด็กๆ ด้วยหน่วยความจำความเร็วสูงในตัวที่ให้ประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็ว ช่วยเพิ่มความสมจริงอย่างเหลือเชื่อให้กับภาพถ่ายและวีดีโอ สำหรับตัว CPU ขนาดย่อมนี้แต่ภายในประกอบด้วยระบบประมวลผลรุ่นใหม่ล่าสุด มาพร้อมแรมแบบ DDR4 ทำให้ Desktop ASUS S500SC เป็น PC […]
NAPLAB WANLANG นั่งทำงานในบรรยากาศโรงแรมเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา
Naplab WANLANG ที่หยิบเอาอาคารเก่าขนาดสองชั้นย่านวังหลังมาทำเป็น Co-Working Space ในบรรยากาศของโรงแรมเก่าเมื่อสมัย 50 ปีก่อน
The Growing Pavilion สถาปัตยกรรมจากเห็ดรา
ช่วงนี้ฝนตกบ่อยอากาศอับชื้น มองไปที่โต๊ะก็พบว่า ขนมปังที่ซื้อมาวันก่อนราขึ้นไปเสียแล้ว หลังจากนำไปทิ้งก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า ในโลกของงานออกแบบเราสามารถนำเห็ดรามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง? แล้วก็ไปเจอผลงานหนึ่งที่เคยจัดแสดงเมื่อปี 2019 ในงาน Dutch Design Week 2019 ซึ่งมีชื่อว่า The Growing Pavilion ความพิเศษของอาคารนี้ไม่ธรรมดาเพราะใช้ “เห็ดรา” เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้างกันเลยทีเดียว เจ้าเห็ดราที่ว่านี้เรียกว่า Mycelium ซึ่งแปลตรงตัวว่า “เส้นใยเห็ด” เจ้าเส้นใยนี่แหละที่ค่อยช่วยให้เห็ดหรือราสามารถยึดเกาะอยู่บนพื้นผิวเช่นผนังหรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ คล้ายรากของพืชไม้เลื้อย และด้วยการวิจัยกว่า 2 ปีของทีมงาน Company New Heroes ผลลัพธ์ที่ได้จึงเป็นพันธุ์ที่มี Mycelium หนาแน่นแข็งแรงคล้ายแผ่นโฟมอย่างที่เห็น เป็นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมวงการวัสดุเพราะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ง่าย และในอนาคตอาจจะสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยาว์อีกด้วย อาคารแห่งนี้มีโครงสร้างหลักเป็นไม้รีไซเคิลที่นำมาทำเป็นโครงรูปทรงกระบอก จากนั้นจึงติดตั้งแผ่น Mycelium ลงไปตามช่องว่างของโครงสร้าง โดยที่แผ่นเห็ดราเหล่านี้ก็ยังสามารถเติบโตต่อไปได้ หากเกิดความเสียหายสามารถเลี้ยงต่อให้ซ่อมแซมตัวเองได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในอนาคตไม่แน่เราอาจได้เห็นอาคารที่ใช้เห็ดราเหล่านี้ ทำหน้าที่เป็นทั้งโครงสร้างและพื้นผิวอาคารไปพร้อมกันเลยก็เป็นได้ และสำหรับใครที่อยากสัมผัสของจริง เรามีข่าวดีเพราะ The Growing Pavilion จะไปจัดแสดงอีกครั้งที่ Floriade Expo […]
JP HOUSE บ้านขนาดกะทัดรัด เด่นด้วยเปลือกอาคาร แผ่นเหล็กเจาะรู สีพาสเทล
จะเป็นอย่างไรหากเราเปลี่ยนผนังบ้านที่มีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นบ้านที่มีเปลือกอาคารเท่ ๆ ดูสดใส จาก แผ่นเหล็กเจาะรู ทำสีฟ้าพาสเทล ซึ่งให้ทั้งความแข็งแรงและปลอดภัย ไปพร้อม ๆ กับช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้บ้านหายใจได้ JP House หลังนี้ ตั้งอยู่ในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย มีลักษณะเป็นอพาร์ตเมนต์ 2 ห้อง เชื่อมติดกัน สร้างขึ้นบนพื้นที่ขนาด 180 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น สำหรับใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทำงาน และห้องสตูดิโอวาดภาพและทำเพลง ขณะที่ชั้นล่างเป็นที่อยู่อาศัยของพ่อแม่ผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากหน้าบ้านต้องหันออกสู่ถนน ซึ่งอยู่ตรงกับทิศตะวันออกแบบพอดี สถาปนิกจาก Kumar La Noce จึงออกแบบเปลือกอาคารด้วยแผงเหล็กแผ่นเจาะรูที่เปิด-ปิดได้ เพื่อช่วยกรองแสงแดดไม่ให้ส่องมายังพื้นที่ภายในบ้านโดยตรง จนกลายเป็นองค์ประกอบช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้บ้านดูสวยงามแตกต่างไปจากอาคารทั่วไป พร้อมกันนั้นยังมีความแข็งแรง และสามารถเชื่อมมุมมองและมีปฏิสัมพันธ์กับบรรยากาศภายนอกได้ การตกแต่งภายในของบ้านเน้นทำผนังสีขาว ผสมผสานกับซีเมนต์ขัดมัน และไม้แบบมินิมอล ยกเว้นพื้นที่ที่ต้องการสร้างความโดดเด่นอย่าง บันไดสีฟ้า ที่ค่อย ๆ พาไต่ระดับขึ้นไปยังชั้นต่าง ๆ ของบ้าน โดยพื้นที่ชั้น 2 โซนด้านหน้าออกแบบให้เป็นครัว […]
SOI SQUAD OFFICE รียูสวัสดุก่อสร้างรอบตัวเป็นสำนักพิมพ์ที่เข้ากับบริบท
SOI SQUAD OFFICE สำนักพิมพ์ที่หยิบยก “ชั้นวางของเหล็ก” มาทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดฟังก์ชันและแบ่งสเปซของออฟฟิศได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์การใช้งาน
CARACOL BAR รีโนเวตโกดังเก่า ให้กลายเป็นบาร์บรรยากาศเท่ สไตล์อินดัสเทรียล
โกดังเก่าคับแคบ ที่ถูกชุบชีวิตใหม่ให้เป็นบาร์และร้านอาหารดิบเท่ สไตล์อินดัสเทรียล ตั้งอยู่ที่ Vila Buarque เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ที่นี่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่การเคารพและเก็บบริบทเดิมของอาคาร ผสานกับโครงสร้างใหม่ที่ถูกดีไซน์เพื่องานนี้โดยเฉพาะด้วยจุดเด่นของลักษณะอาคารเดิมที่ลึกยาวเป็นเส้นตรง พร้อมโครงหลังคาแบบฟันเลื่อย (Saw tooth roof) ทั้งหมดยังคงเก็บรักษาไว้เพื่อสร้างเสน่ห์ให้กับบาร์ สไตล์อินดัสเทรียล แห่งนี้ โดยทีมออกแบบจาก gru.a ได้มองเห็นความงามของรูปทรงหลังคาเดิม จนนำมาสู่การต่อยอดในการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ เข้าไปจนเหมาะสมลงตัว อาทิ การเพิ่มหน้าต่างให้กลายเป็นช่องแสง ช่วยนำพาแสงสว่างเข้าสู่ภายในร้าน นอกจากนี้ยังเก็บผนังกระเบื้องเซรามิกเดิมไว้ เช่นเดียวกับส่วนฟาซาดดั้งเดิมด้านหน้าที่กลายเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่ได้พบเห็น แล้วสร้างพื้นที่ทางเข้าที่สังเกตง่าย เมื่อเข้ามาภายในร้านจะพบกับเคาน์เตอร์หินอ่อนสีแดงสะดุดตายาว 10 เมตร ที่รวมฟังก์ชันทั้งที่นั่งสำหรับลูกค้า บาร์สำหรับเตรียมเครื่องดื่ม และดีเจบู๊ธ จากนั้นเมื่อเข้าสู่คอร์ตด้านหลังจะพบกับโครงสร้างยกสูงสองชั้น ใช้งานเป็นทั้งอัฒจันทร์สำหรับนั่งกลางแจ้ง และบันไดสู่ระเบียงดาดฟ้าที่สร้างให้เป็นพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้ง โดดเด่นภายใต้ต้นมะม่วงของเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ด้านบรรยากาศที่ดี เราขอเรียกที่นี่ว่ามีส่วนผสมระหว่างโมเดิร์นกับอินดัสเทรียลสุดดิบเท่ ซึ่งอบอวลไปด้วยเสน่ห์ของอาคารเก่าและการใช้งานใหม่ได้อย่างลงตัว ด้วยการโชว์วัสดุและโครงสร้างเรียบง่าย รวมถึงความกลมกลืนกับธรรมชาติ ผลลัพธ์คือการทำโกดังเก่าให้กลายเป็นร้านอาหารและบาร์ที่เผยเนื้อแท้ของโครงสร้างและวัสดุ อันเปี่ยมเสน่ห์โดยปราศจากการปรุงแต่งเเต่อย่างใด ข้อมูล เจ้าของ : Milos Keiser, Thiago Visconti, Rafael Capobianco, […]
TETRA POD บ้านสำเร็จรูป พร้อมสร้าง ยกไปวางที่ไหนก็ได้
บ้านสำเร็จรูป ขนาด 64 ตารางเมตร ที่มีฟังก์ชันครบครัน พร้อมปรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย รีสอร์ต บ้านในสวน พื้นที่ทำงาน หรือศาลาโยคะ Tetra Pod Studio บ้านสำเร็จรูป หลังนี้ ตั้งอยู่ที่อูลูวาตู บนเกาะบาหลี สร้างสรรค์จากวัสดุรีไซเคิล ทั้งในส่วนของผนังและหลังคามาผสมผสานให้เข้ากับความเป็นพื้นถิ่น มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวบ้านยกลอยจากพื้น 40 เซนติเมตร ใช้วัสดุไม้ เหล็ก กระจก และวัสดุรีไซเคิลในการก่อสร้าง สถาปนิกหาวิธีการผสานตัวบ้านให้เข้ากับบริบทโดยรอบผ่านการใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อสะท้อนตัวตน ในขณะที่บ้านต้องเปิดช่องเปิดเพื่อเชื่อมกับธรรมชาติ แปลนบ้านถูกแบ่งสเปซด้วยแกนแนวทะแยงซึ่งช่วยสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ และช่วยให้บ้านดูกว้างอย่างไม่น่าเชื่อ“เราคิดว่าโปรเจ็กต์นี้มีความท้าทายในหลายแง่มุม ทั้งการสร้างสรรค์ดีไซน์ที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ในขณะที่ต้องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ที่สำคัญคือต้องทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้สเปซได้อย่างเต็มที่ จะเป็นอย่างไรถ้าเราไม่เพียงแต่ลดปริมาณการใช้วัสดุ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยราคาการก่อสร้างที่เอื้อมถึง” เริ่มจากส่วนของหลังคาแบบหน้าจั่วที่เอื้อให้น้ำฝนระบายลงได้ง่าย แล้วนำไปกักเก็บเพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ช่องว่างใต้หลังคาช่วยให้อากาศสามารถไหลเวียนเป็นการลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้านได้อีกขั้นหนึ่ง ภายในพื้นที่เพียง 64 ตารางเมตรประกอบไปด้วยห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว ครัวเปิด และห้องนั่งเล่นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์เสมือนพื้นที่ชานบ้าน สอดคล้องกับความสูงของบ้านที่ยกขึ้น 40 เซนติเมตร เป็นระดับที่พอดีกับการนั่งห้อยขาเป็นพื้นที่ระเบียงบานฟาซาดขนาดใหญ่สามารถเปิดได้เพื่อระบายอากาศที่ดีและทำให้พื้นที่ภายในบ้านดูโปร่งโล่ง แล้วใช้ผ้าม่านในการสร้างความเป็นส่วนตัวแทน ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์เลือกที่ให้ความรู้สึกสะดวกสบายในส่วนของห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร Tetra Pod […]
Amornyont รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ของครอบครัวและธุรกิจ
หจก.อมรยนต์ จากธุรกิจของครอบครัวที่ก่อตั้งมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ถึงคราวจำเป็นจะต้องย้ายมายังที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านหัวลำโพง จึงถือเป็นโอกาสดีที่เจ้าของรุ่นลูกจะได้ รีโนเวทตึกแถว ให้เหมาะสมกับการทำงาน พร้อมกับพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและใช้ชีวิตของครอบครัวในอาคารพาณิชย์ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ออกแบบ: Lynk Architect โดย คุณณัฐศิษฐ์ วงบุญ โปรเจ็คต์ รีโนเวทตึกแถว แห่งนี้ เกิดขึ้นภายใต้โจทย์ที่มาจากความต้องการอันหลากหลายของเจ้าของ แตกแขนงออกเป็นพื้นที่ขายปลีก พื้นที่คลังสินค้า และพื้นที่พักอาศัย ซึ่งอยู่ในอาคารหลังเดียวกัน ก่อนนำทุกอย่างมาเรียบเรียงใหม่ให้เรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยใช้งานดีไซน์เป็นเครื่องมือจัดการทั้งเรื่องฟังก์ชันและความงาม เปลือกอาคารและการเลือกใช้สี จุดโดดเด่นและสะดุดตาที่สุดของอาคารแห่งนี้ คือเปลือกอาคารที่เป็นแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรูพับเป็นแพตเทิร์น เว้นจังหวะช่องเปิดของอาคารตามฟังก์ชันการใช้งานภายใน ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้วัสดุนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดเริ่มต้น ที่ต้องการให้อยู่ในบรรทัดฐานของความเรียบง่ายและใช้งานได้จริง “เปลือกอาคารเป็นสิ่งหนึ่งที่เราพยายามคิดถึงเรื่องวัสดุ และการตีความทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา คำตอบที่ตรงโจทย์ที่สุดก็คือแผ่นอะลูมิเนียมคอมโพสิตเจาะรู ซึ่งมีข้อดีเรื่องน้ำหนักเบาจึงเหมาะกับงานรีโนเวตอาคารเก่า ทั้งยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณแสงและความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะพื้นที่ภายในที่ต้องการแสงไม่เท่ากัน ถ้ามองจากด้านในจะเหมือนกับการมองผ่านผ้าม่านโปร่ง แต่คนที่อยู่ภายนอกมองเข้าไปจะทึบหมด ช่วยปกปิดส่วนที่ไม่อยากให้มองเห็น เช่น พื้นที่เก็บสินค้า ส่วนรีเทลก็จะเปิดมากหน่อยเพื่อต้อนรับ และส่วนที่พักอาศัยก็เปิดกลาง ๆ กำลังดี” เพราะแผ่นอะลูมิเนียมมีความแข็งแรงน้อย จึงต้องใช้การพับเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับตัวมันเองให้มากที่สุด แพตเทิร์นที่เลือกใช้ในการพับจึงร้อยเรียงมาจากบริบทของอาคารที่อยู่ในย่าน ไม่ว่าจะเป็นหัวลำโพง หรือเส้นสายของอาคารเพื่อนบ้านให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน แม้จะเกิดใหม่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันก็ตาม ส่วนเรื่องการใช้สี แม้สีเขียวเป็นสีหลักของแบรนด์ แต่คุณแบงค์กลับที่จะเลี่ยงใช้สีนี้ แล้วหันไปใช้การจับคู่สีเพื่อมองหาสีอื่นที่จะมาเป็นแบ็กกราวน์ให้กับสีเขียวแทน เพื่อช่วยเน้นอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น […]
TB HOUSE บ้านที่มองออกไปมุมไหนก็เจอความเขียวชอุ่ม
บ้านชั้นเดียว ที่เลือกทำเลที่มีพื้นที่สีเขียวหลังบ้านให้นึกถึงบ้านต่างจังหวัดในวัยเด็ก พร้อมกับออกแบบตัวบ้านให้สามารถมองเห็นต้นไม้ได้ทุกมุม
EI TERRENO COMMUNAL GARDEN ศาลาในสวน ดอกไม้ แหล่งเรียนรู้ของเด็กในชุมชนเมือง
ศาลาในสวน จากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง ที่เปิดให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มาพักผ่อนและเรียนรู้กลางทุ่งดอกไม้แห่งนี้ ตั้งอยู่ในเมืองเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก ที่นี่เกิดขึ้นจากความต้องการของ Michelle Kalach ผู้ก่อตั้งโครงการ ซึ่งต้องการให้ ศาลาในสวน แห่งนี้ เป็นสถานที่พักผ่อนและเรียนรู้สำหรับเด็ก ๆ ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะการปลูกฝังให้พวกเขาได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นพัฒนาการทางสังคมไปพร้อมกัน ภายในพื้นที่ตั้งของโครงการ ผู้ออกแบบจาก Vertebral ได้จำลองบรรยากาศให้เหมือนเนินเขาขนาดย่อมตามธรรมชาติ โดดเด่นด้วยพาวิเลียน หรือศาลาอเนกประสงค์ที่สร้างจากวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง เพราะสำหรับบริษัทแล้ว สิ่งสำคัญในการออกแบบก็คือการสร้างอาคารจากวัสดุรีไซเคิลร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยนำมาผ่านกระบวนการคิดและก่อสร้างในกระบวนการใหม่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้แก่โครงการนี้โดยเฉพาะ ตัวอาคารทำจากไม้ที่นำกลับมาใช้งานใหม่ มีท่อนเหล็กทำหน้าที่เป็นเสา เชื่อมเข้ากับผนังบรรจุหินที่ได้จากการขุดไซต์ก่อสร้าง โครงถักทั้งหมดถูกประกอบขึ้นโดยอาสาสมัครจากชุมชนท้องถิ่น ที่นี่จึงสามารถสร้างเสร็จได้อย่างรวดเร็วจากแรงกำลังของจิตอาสาทั้งหลาย นอกจากผู้ใช้งานจะเป็นกลุ่มเด็ก ๆ แล้ว ที่นี่ยังเปิดต้อนรับกลุ่มผู้ใช้งานอื่น ๆ เป็นพื้นที่ที่มีการใช้งานได้อย่างยืดหยุ่นในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นสถานที่เพื่อรับใช้ชาวชุมชนอย่างแท้จริง นอกจากส่วนของศาลา พื้นที่สวนรอบ ๆ ยังส่งเสริมแนวคิดชุมชนแบบพอเพียง เพราะนอกจากพืชผักที่ปลูกไว้จะช่วยสร้างภูมิทัศน์อันสวยงามแล้ว ยังสามารถเก็บนำไปจำหน่ายได้อีกด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมการศึกษาเพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นแก่ผู้คนในชุมชน ขณะที่น้ำที่นำมาใช้รดต้นไม้ภายในสวนนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลังคาของศาลา ซึ่งไหลผ่านรางระบายน้ำมาตามท่อก่อนลงมายังบ่อเก็บน้ำ แล้วถูกสูบขึ้นมาใช้รดต้นไม้ด้วยพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องสูบน้ำ ซึ่งมีกำลังไฟมาจากแผงโซลาร์เซลล์ El […]
GRILLICIOUS ร้านยากินิคุสไตล์ญี่ปุ่นกลางเมืองพัทยา ภายใต้สถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ
Grillicious ร้านยากินิคุกลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยเส้นสายสถาปัตยกรรมเฉียบเรียบ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการก่อกองไฟ สำหรับประกอบอาหารประเภทบาร์บีคิวที่มักต้องมีผนังกันลมสองด้านล้อมกองไฟไว้ ผู้ออกแบบจาก ForX Design Studio ได้นำรูปแบบของผนังดังกล่าวมาตีความใหม่ ให้ร้าน Grillicious กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจากชุดผนังที่วางตัวขนานกันในแนวยาว โดยพื้นที่ระหว่างผนังแบ่งออกเป็นโซนการใช้งานที่ชัดเจน ได้แก่ โซนต้อนรับ โซนรับประทานอาหาร โซนครัว และคอร์ตกลาง ช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการพื้นที่ร้าน แนวผนังจากวัสดุเลียนแบบปูนขัดที่ทอดยาวนั้นยังทำให้เกิดเส้นทางลมธรรมชาติที่เข้าถึงในทุกพื้นที่ของอาคาร เมื่อผนวกกับร่มเงาจากต้นไม้ใหญ่และสวนสีเขียวในคอร์ตที่แทรกอยู่ระหว่างโซนต่าง ๆ จึงช่วยลดทอนความแข็งกระด้างของตัวอาคาร และสร้างภาวะน่าสบาย ตอบโจทย์สภาพอากาศแบบร้อนชื้นของเมืองพัทยาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผนังกระจกขนาดใหญ่ในส่วนต่าง ๆ ยังเชื่อมต่อมุมมองของแต่ละโซนเข้าด้วยกัน พื้นที่นี้จึงสามารถประยุกต์ใช้จัดงานอีเว้นต์ได้อีกด้วย หลังคาโครงสร้างเหล็กแบบลาดเอียงส่งผลให้รูปลักษณ์ภายนอกของอาคารดูโฉบเฉี่ยว และระดับความสูงเป็นพิเศษของหลังคาก็ช่วยสร้างสเปซแนวตั้งภายในที่โปร่งโล่ง นอกจากนี้ช่องเปิดระหว่างแนวหลังคากับผนังอาคารยังเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ภายในทำให้ร้านสว่างไสวตลอดวัน ที่ตั้ง Grillicious ซอยบงกช 3 พัทยาใต้ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พิกัด https://goo.gl/maps/AaCEXJQWzpNDWC5Q7 เปิดทุกวัน 12.00 – 21.00 น. โทร.08-3224-4665 ออกแบบ : ForX Design Studio ภาพ : […]
BURNT CORK เฟอร์นิเจอร์ไม้คอร์ก ที่ฟื้นคืนชีพจากเถ้าถ่าน
จากครั้งหนึ่งที่เคยเป็นฉนวนกันไฟให้ต้นไม้รอดจากไฟป่า เศษไหม้ดำของเปลือกต้นคอร์กโอ๊กกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหม่ด้วยฝีมือของ MADE IN SITU ดีไซน์สตูดิโอจากโปรตุเกส “ไม้คอร์ก” ที่เรารู้จักกันนั้นคือเปลือกไม้ชั้นนอกของต้นโอ๊ก ซึ่งเมื่อลอกออกจากต้นโอ๊กแล้ว เปลือกชั้นนอกก็จะเติบโตขึ้นใหม่ในรอบระยะเวลา 9-10 ปี และโปรตุเกสก็คือประเทศที่ส่งออกไม้คอร์กเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ต้นคอร์กโอ๊ก (Quercus suber) หรือที่เรียกกันว่า “sobreiro” ในภาษาโปรตุกีส นั้นมักตกอยู่ในอันตรายจากไฟป่า และในช่วงหน้าร้อนปี 2017 Noé Duchaufour-Lawrance นักออกแบบชาวฝรั่งเศสกำลังเดินทางมาโปรตุเกส เขาขับผ่าน Pedrógão Grande เส้นทางใกล้เคียงกับพื้นที่ไฟป่าครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างมาก ซึ่งกลายเป็นประสบการณ์ฝังใจ และนำไปสู่จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่น Burnt Cork แรงบันดาลใจ ตั้งแต่ปี 2018 เขาและทีมงานเริ่มทำการการสำรวจ พบปะกับช่างฝีมือในชุมชนที่ยังทำอุตสาหกรรมไม้คอร์กของโปรตุเกส พวกเขาได้พบกับ Tania และ Nuno ผู้สืบทอดกิจการ NF Cork หัตถอุตสาหกรรมผลิตบล็อกไม้คอร์กสำหรับเป็นฉนวนในงานสถาปัตยกรรม ในระหว่างการเยี่ยมชมโรงงาน และกระบวนการแปรรูปไม้คอร์ก Noé สังเกตเห็นเปลือกไม้คอร์กโอ๊กไหม้ดำมากมายที่ถูกกองทิ้งไว้ เศษซากไม้คอร์กเหล่านี้ ครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่เป็นเปลือกหุ้มกันไฟให้กับต้นคอร์กโอ๊กในช่วงไฟป่า และเมื่อถึงช่วงเวลาลอกเปลือกมาทำไม้คอร์ก ส่วนเปลือกที่ไหม้ดำก็จะถูกลอกแยกทิ้ง […]
SAN YONG CAFÉ เปลี่ยนตึกแถวเป็นคาเฟ่สไตล์จีนร่วมสมัย
เปลี่ยนอาคารพาณิชย์เป็นคาเฟ่สไตล์จีนร่วมสมัย SAN YONG CAFÉ ที่โดดเด่นสะดุดตาด้วยฟาซาดกระเบื้องดินเผาแบบจีน และการใช้วัสดุแบบดั้งเดิมมาตกแต่ง
DJ House แบ่งบ้านเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ โดยยังคงรูปแบบเดิมของตัวบ้านเอาไว้แล้วเพิ่มความดึงดูดใจด้วยฟาซาดอิฐที่แบ่งออกเป็นสองฝั่งเหมือนเครื่องเล่นแผ่นเสียงของดีเจ
โฉมใหม่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมเปิดให้บริการกันยายนปี 65
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โฉมใหม่พร้อมเปิดตัว ขยายพื้นที่ใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า ตอกย้ำการเป็นศูนย์ประชุมใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดของไทย