- Page 4 of 243

Studio Miti ออกแบบสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นให้สอดคล้องไปกับสภาพแวดล้อม

Studio Miti สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นโดยใช้สภาพแวดล้อมและบริบทที่ตั้งมาเป็นโจทย์สำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับสภาพอากาศร้อนชื้น

SMEG GALILEO สเมก กาลิเลโอ เตาอบเจเนอเรชั่นใหม่

จากประสบการณ์กว่า 70 ปี ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว จนถึงปัจจุบัน สเมกได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดอย่าง SMEG GALILEO เตาอบเจเนอเรชั่นใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ โดยได้รับการถ่ายทอดออกมาให้เห็นถึงความเป็นเลิศในการออกแบบ นวัตกรรม และศิลปะการทำอาหารของอิตาลี SMEG GALILEO “Made in Italy” หรือ “ผลิตภัณฑ์จากอิตาลี” เป็นสิ่งที่แบรนด์ให้คุณค่าและให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอัตลักษณ์และรากฐานของแนวคิดในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว พร้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเป็นเลิศในอุปกรณ์ทำอาหารของสเมก เตาอบกาลิเลโอ โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการทำความร้อนแบบเทอร์โมฟลูอิดไดนามิก (thermo-fluid-dynamic) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ รวมถึงอัลกอริทึมใหม่ที่ถูกปรับเปลี่ยนมาเพื่อยกระดับการทำอาหารที่บ้านให้ได้รับประสบการณ์และผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายที่สุด เตาอบกาลิเลโอ ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านและเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ระดับมืออาชีพ ซึ่งได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบภายในใหม่ทั้งหมด ผ่านการผสมผสานเทคโนโลยีการทำอาหารทั้ง 3 โหมดเข้าด้วยกัน ภายในเตาอบเครื่องเดียว คือ การปรุงอาหารแบบดั้งเดิม (traditional) การปรุงอาหารผ่านไอน้ำ (Steam) และไมโครเวฟ (Microwave) เพื่อให้อาหารออกมามีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เตาอบ “Omnichef”  : เตาอบที่เป็นไฮไลท์ในซีรีส์กาลิเลโอ โดดเด่นด้วยการปรุงอาหารแบบใหม่ที่ผสมผสานการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม (traditional) การปรุงอาหารผ่านไอน้ำ (Steam) และไมโครเวฟ (Microwave)  เข้าด้วยกัน พร้อมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะช่วยให้คุณทำอาหารหลากหลายเมนูได้พร้อมกันในผลิตภัณฑ์เดียว […]

หลังคา ช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบให้ทุกงานดีไซน์

พื้นที่ร้อนชื้นและฝนชุกของเมืองไทย เป็นเงื่อนไขสำคัญที่นักออกแบบต้องคลี่คลาย พร้อม ๆ กับการทำความรู้จักกับวัสดุ เพื่อนำมาตอบโจทย์การใช้งาน

The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

ชวนดำดิ่งสู่ประสบการณ์ครบทุกมิติกับนิทรรศการศิลปะ “Hirono Bangkok Art Exhibition and Event”

เมื่อใคร ๆ ก็ชอบกล่องจุ่ม Popmart Thailand ชวนดำดิ่งสู่ประสบการณ์ครบทุกมิติกับนิทรรศการศิลปะ “Hirono Bangkok Art Exhibition and Event”

ต่อยอดอาคารปฏิบัติการหลังเก่า สู่พื้นที่เรียนรู้ใหม่ ในคณะสถาปัตยกรรมฯ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง

Material Innovation Lab เป็นอาคารเรียนอเนกประสงค์ ของคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง รีโนเวตอาคารปฏิบัติการหลังเดิมอายุ 50 ปี ให้ไปต่อในยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว  DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Teerachai Leesuraplanon (ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์) และคณะผู้ออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ผสานไอเดียเก่าและใหม่เพื่อมุ่งสู่อนาคต “แนวทางการออกแบบ เราผสานของเก่ากับของใหม่ ซึ่งอาคารเดิมของคณะ วางรากฐานที่ดีไว้อยู่แล้ว การรีโนเวตอาคารใหม่ ก็เอาไอเดียที่ดีจากของเดิม คือ การออกแบบอาคารให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ มาผสานกับการออกแบบใหม่ วัสดุใหม่ ออกมาให้ไปต่อได้”  ข้อความจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน และสถาปนิกผู้นำในการออกแบบรีโนเวตอาคารหลังนี้ ข้อความนี้เป็นเหมือนการสรุปไอเดียภาพรวมการปรับปรุงอาคารหลังเดิม ที่ยังคงโครงสร้างเดิม สัดส่วนของอาคารเดิมเอาไว้ ในจุดที่ใช้งานได้ดีอยู่ รวมถึงไอเดียจากอาคารหลังอื่นภายในคณะ ที่ใช้งานได้ดี ที่สร้างขึ้นในยุคเมื่อราว 50 ปีก่อน ที่อาจจะไม่ได้คิดถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ กล่าวคือ เป็นยุคสถาปนิกออกแบบอาคารมาเพื่อรองรับการเรียนการสอน ในสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศธรรมชาติแท้จริง โดยไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศช่วย อย่างเช่น การเรียงอิฐผนังอาคารให้มีช่องระบายอาคาร […]

Forest Villa บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ ที่พลิกมุมมองการอยู่อาศัยของครอบครัวจีนยุคใหม่

บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฝย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) ทางฝั่งตะวันออกของจีน ตัวบ้านอยู่ไม่ไกลนักจากวนอุทยานแห่งชาติต้าซู (Dashu Mountain National Forest Park) จึงโอบล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติของเทือกเขาหวงซานอันงดงามราวภาพวาด และกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทีมสถาปนิกจาก HAS design and research (HAS) สร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัย ที่สะท้อนวิถีชีวิต และจิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมจีนในยุคสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยพื้นที่เปลี่ยนผ่าน จากบ้านสำเร็จรูปเดิมมี 3 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ได้รับการออกแบบใหม่ให้รองรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดกลาง โดยมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยโดยอิงกับโครงสร้างเดิม ภายใต้โจทย์ที่ต้องการหลอมรวมภูมิประเทศธรรมชาติโดยรอบให้เชื่อมโยงกับสเปซภายใน ผนวกกับแรงบันดาลใจจากบ้านจีนโบราณ ที่มักมีพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เช่น โถงหรือคอร์ตก่อนจะเข้าสู่พื้นที่ใช้สอย สถาปนิกจึงให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านหรือเชื่อมต่อ (transition space) ระหว่างพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ โดยใช้องค์ประกอบหลักอย่างเปลือกหุ้มอาคาร (shell) ช่องทางเดิน (hole) และช่องเปิด (void) ที่สร้างเลเยอร์ของสเปซภายในบ้าน เปลือกหุ้มอาคารชั้นนอก มีช่องเปิดเป็นจังหวะ จงใจสร้างกรอบภาพที่มองเห็นจากภายในเป็นภาพต่อเนื่องของทิวทัศน์สวนป่าซึ่งโอบล้อมบ้านไว้ จากประตูทางเข้านำเข้าไปสู่ระเบียงทางเดิน ซึ่งทำหน้าที่เป็นพื้นที่ว่างแห่งการเปลี่ยนผ่านทางประสาทสัมผัส และการรับรู้ของผู้ใช้งาน […]

ROLL SALAYA คาเฟ่กึ่งมิวเซียมในโกดังเก่า เล่าวิวัฒนาการฟิล์มภาพยนตร์หาชมยาก

รีโนเวทโกดังเก่าสู่คาเฟ่กึ่งมิวเซียม เพื่อพาทุกคนย้อนเวลาไปสู่ยุคที่ภาพยนตร์ยังบันทึกภาพด้วยฟิล์มที่ ROLL Salaya คาเฟ่ที่ตั้งอยู่เคียงข้างกับพิพิธภัณฑ์ KFLM Kantana Film Lab Museum ใกล้กับสถาบันกันตนา ภายในพื้นที่ของกันตนา มูฟวี่ทาวน์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SD LAB จาก ROLL สาขา 1 ในกันตนาสตูดิโอ ย่านห้วยขวาง ล่าสุดคาเฟ่ที่เล่าเรื่องราวของฟิล์มภาพยนตร์นี้ ได้เปิดเพิ่มอีกหนึ่งสาขา กับ ROLL Salaya โดยมีจุดประสงค์เพื่อพาผู้คนให้ไปเดินชมเรื่องราวของภาพยนตร์ต่อกันที่ KFLM Kantana Film Lab Museum พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและกระบวนการเกี่ยวกับการล้างฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะรู้และเคยเห็นว่าเขามีวิธีการอย่างไร นับตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคเปลี่ยนผ่าน จากฟิล์มภาพยนตร์สู่ระบบดิจิทัล ภายใต้โจทย์การออกแบบเพื่อให้ที่นี่เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม คล้ายกับทีเซอร์ช่วยเล่าเรื่องราวของฟิล์มภาพยนตร์เก่าหาชมยาก ตัวอาคารของคาเฟ่เดิมเคยใช้เป็นโรงเก็บสารเคมีใช้ในกระบวนการล้างฟิล์ม แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่นี่ก็ถูกปิดร้างมานานกว่า 10 ปี ทำให้สภาพโกดังทรุดโทรมไปตามเวลา จนกระทั่งโปรเจ็กต์รีโนเวทโกดังเริ่มต้นขึ้น จากพื้นที่เริ่มทรุด ผู้ออกแบบต้องเสริมโครงสร้างพื้นใหม่เพื่อปรับให้เหมาะกับการเปิดเป็นคาเฟ่ ขั้นตอนการรีโนเวตจึงไม่ใช่การทุบแล้วสร้างใหม่ แต่เป็นการเน้นเก็บโครงสร้างเก่าไว้ให้มากที่สุด เห็นได้จากบานหน้าต่างไม้ที่เป็นของเดิมทั้งหมด แต่ได้รับการนำมาขัดและทำสีใหม่ให้สวยงาม วงกบก็ยังคงตำแหน่งเดิม […]

Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะดั้งเดิมของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ที่ยังอยู่แต่เดิมด้วย เปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบซึ่งล้วนแต่งดงาม ดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects Yellow House คือ บ้านที่เหมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน #จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้ถูกจัดวางเอาไว้ในสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว #บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย #ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง และเฟอร์นิเจอร์ที่จัดแบ่งรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งบ้านที่น่าสนใจในรูปแบบที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เป็นตัวอย่างของบ้านต่างจังหวัดที่น่าสนใจอีกหลังหนึ่งเลยทีเดียว […]

Sherutā 108 บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดื่มด่ำ ธรรมชาติ ผ่านบ้านกระจกใส

บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ให้ผู้อยู่ได้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติรอบตัว ผ่านผนังกระจกใส DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO บ้านตากอากาศ ที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบโดย INLY STUDIO ที่เจ้าของต้องการสร้างเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับพักผ่อน ที่อยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง อีกทั้งยังออกแบบเพื่อรองรับการเปิดให้คนภายนอกได้เข้ามาพักในรูปแบบ Air Bnb เพื่อเปิดประสบการณ์สุดพิเศษ ณ สถาปัตยกรรม บ้านกระจกใส กลางพื้นที่โล่งรายล้อมด้วยภูเขา ซึ่งออกแบบมาให้สัมผัสธรรมชาติได้อย่างเต็มอิ่ม แนวคิดที่กำบัง ชื่อ Sherutā 108 มีที่มาจากคำว่า Shelter ในภาษาอังกฤษ หมายถึง หลุมกลบภัย หรือที่ซ่อนตัว สถาปนิกได้ตีความการออกแบบบ้านจากแนวคิดนี้ ต่อยอดเป็นอาคารที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นที่พักได้มาหลบซ่อนตัวจากตัวเมือง เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติของภูเขาที่อำเภอแม่ออน รายล้อมด้วยภูเขาและแปลงเกษตร บริบทรอบข้างอาคาร เป็นภูเขา และแปลงเกษตรของชาวบ้าน มีบ่อน้ำเดิมที่ขุดไว้แล้วตั้งอยู่ด้านข้าง ที่ดินซึ่งมีลักษณะเป็นลานโล่งกว้าง เปิดรับวิวน้ำ และภูเขาที่อยู่ห่างออกไปทำให้เกิดความรู้สึกเปิดโล่ง ทรงอาคารแนวราบผสานกับบริบท สถาปนิกออกแบบทรงอาคารเป็นแนวราบ ให้สอดคล้องไปกับบริบทรอบข้าง ที่เป็นแปลงเกษตร ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวราบ ไม่มีอาคารแนวตั้งอยู่ในพื้นที่เลย จึงออกแบบอาคารลักษณะราบขนาบไปกับพื้นดิน และยังให้ความรู้สึกของที่น่าพักผ่อน สงบ ผ่อนคลาย […]

Casa Mare รีโนเวตอาคารเก่าสู่ร้านอาหารแลนด์มาร์กใหม่หัวหิน – ชะอำ

คาซ่า มาเร่ บีชฟร้อนต์ เรสเตอรอง & เลาจน์ (Casa Mare Beachfront Restaurant & Lounge) แลนด์มาร์กใหม่ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างชะอำกับหัวหิน ที่รีโนเวตอาคารเก่าร่วมสมัยให้เป็นร้านอาหารริมทะเลที่เปิดบริการตั้งแต่กลางวันจรดค่ำ บนพื้นที่กว่า 900 ตารางเมตร

BANGKOK-VENICE เมื่อศิลปะพาเชื่อมจิตสองฝั่งน้ำ

“เมืองที่เต็มไปด้วยคูคลอง สัญจรทางน้ำเป็นนิจ อุดมด้วยวัฒนธรรม คึกคักคลาคล่ำไปด้วยผู้คน และอบอวลบรรยากาศของเมืองเก่า” หากกล่าวประโยคนี้ เราอาจนึกถึง บางกอก หรือกรุงเทพฯ และหากคิดดูอีกที เราก็อาจจะคิดถึงเวนิสได้เช่นกัน เมืองทั้งสองที่เหมือนกับเป็นพี่น้องฝาแฝดซึ่งต่างเกิดมาในต่างมุมโลก แต่มีความผูกพันอันน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ใช้คูคลองเป็นทางสัญจรหลัก การเป็นเมืองท่าที่คึกคัก จนทำให้รูปแบบอาคารโดยทั่วไปของเมืองนั้นเป็นอาคารพาณิชย์ หรือตึกแถว ดังเช่นเดียวกับบางกอกในครั้งอดีต ที่เรายังคงเห็นได้ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ และพื้นที่เยาวราช-ตลาดน้อย แต่เชื่อหรือไม่ว่า เมื่อกว่าร้อยกว่าปีก่อน กษัตริย์ของเราก็เคยเสด็จประพาสมายังนครแห่งสายน้ำแห่งนี้ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ.1897 และ ค.ศ.1907 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเสด็จฯ ร่วมชมงานเทศกาลศิลปะเวนิสเบียนนาเล่ถึงสองครั้ง และในครั้งที่ 2 นั้น รัชกาลที่ 5 ก็ได้ทรงทอดพระเนตรงานของ กาลิเลโอ คินี (Galileo Chini) หนึ่งในศิลปินดาวรุ่งในยุคนั้น ซึ่งต่อมา นาย กาลิเลโอ คินี คนนี้เอง ก็ได้เดินทางมายังสยามในตอนต้นของรัชกาลที่ 6 เพื่อเริ่มสัญญางานออกแบบ และวาดภาพให้กับท้องพระโรงแห่งใหม่ของสยาม อันมีนามว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม จะเห็นได้ว่าอิทธิพลศิลปะ ความงาม และจิตวิญญาณของเวนิส และบางกอกนั้น […]