TROPICAL CHALET วิลล่าหลังใหญ่ริมทะเลสาบ ไอเดียออกแบบบ้านอิฐจากเมืองดานัง

วิลล่าริมทะเลสาบสำหรับครอบครัวใหญ่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเรียบง่ายของบริบทอันงดงาม ผ่านการออกแบบที่มีการนำ “อิฐ” วัสดุท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม มาใช้เป็นวัสดุหลัก ออกแบบบ้านอิฐ  ซึ่งอิฐในประเทศเวียดนามนั้น ถือเป็นวัสดุจากธรรมชาติที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 เพราะเหมาะกับการสร้างบ้านในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เนื่องจากเนื้อวัสดุมีรูพรุนจึงทำหน้าที่ระบายความร้อนช่วยให้บ้านเย็น และเป็นฉนวนได้อย่างดี อีกทั้งยังนำมาสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียงต่อกันแบบเว้นช่องว่าง เพื่อสร้างลวดลายที่สวยงามอย่างบ้านหลังนี้ โดยจับคู่กับไม้ และพื้นผิวคอนกรีต ออกแบบบ้านอิฐ ตัวอาคารได้รับการออกแบบเป็นรูปตัวแอล (L) รอบบ้านเป็นสวนขนาดใหญ่ เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ออกมาใช้เวลาในการพักผ่อนร่วมกัน องค์ประกอบหลัก ๆ ของอาคารมีอยู่ 2 ประการ ประการแรก คือช่องว่างของฟาซาดอิฐ ช่วยทำหน้าที่สร้างความสวยงามให้แก่อาคาร ไปพร้อม ๆ กับการทำหน้าที่เป็นแผงบังแดด เมื่อเข้ามาที่ชั้นล่างจะพบกับพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องอาหาร ห้องนั่งเล่น และห้องครัว จะสามารถชื่นชมวิวสวนที่แสนร่มรื่น และสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ประการที่สอง คือรูปแบบอันโดดเด่นของหลังคาทรงเรขาคณิตรูปสามเหลี่ยม ที่วางตัวต่อเนื่องกันคล้ายลูกคลื่น ช่วยทำให้เกิดมุมมองที่ไม่ซ้ำใคร เมื่อมองจากภายนอกจะเห็นส่วนผสมของวัสดุต่างชนิดกันอย่าง เสาและคานคอนกรีตแว็กซ์พื้นผิวเรียบ ทำหน้าที่เป็นกรอบโครงสร้างให้แก่หลังคากระเบื้องดินเผาที่ต่อเนื่องกัน และเป็นเส้นแนวยาวลงมาด้านล่าง หรือเป็นเสาให้แก่อาคาร เสริมความแข็งแรง และความทนทานให้แก่โครงสร้าง จากเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติ ร่วมกับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยแบบโปร่งโล่ง […]

CITY LIVING ROOM คอมมูนิตี้มอลล์ สุดคูลริมแม่น้ำ ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ประจำเมือง

โปรเจ็กต์งานออกแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ สีขาว ให้เป็นพื้นที่พบปะและทำกิจกรรมใหม่ของเมืองจินหัว บนพื้นที่ทำเลดีริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab หลังจากชิงช้าสวรรค์ของเล่นชิ้นสุดท้ายถูกรื้อถอนออกไปจากสวนสนุกในเมืองจินหัว ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายเล็ก ๆ ห่างจากทะเลสาบ Mingyue ไปทางใต้ 300 เมตร ที่ดินผืนนี้ก็กลายเป็นพื้นที่รกร้าง และอยู่ในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน จนกระทั่งปี 2021 ที่นี่ได้รับการพลิกฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้ง ภายใต้บทบาทใหม่ด้วยการออกแบบให้เป็น คอมมูนิตี้มอลล์ ขนาดใหญ่ มีพื้นที่ใช้สอยราว 1,050 ตารางเมตร ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสีขาวขนาดใหญ่ เปลือกอาคารดีไซน์คล้ายชายกระโปรงโบกพลิ้ว โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็นเสมือนห้องนั่งเล่นใหม่ของชาวเมือง “สัญลักษณ์ใหม่ของเมือง” ที่ว่านี้ คือผลงานการออกแบบโดย Mur Mur Lab โดยต้องการให้ที่นี่มีความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมดูแตกต่างจากอาคารทั่วไป ขับเคลื่อนแนวคิดที่เป็นนามธรรมภายใต้โจทย์ว่า ที่นี่คล้ายโรงละคร หรือเปรียบการใช้ชีวิตของผู้คนเหมือนละครที่ดำเนินชีวิตไปตามบทบาทของตนเอง จากแนวคิดดังกล่าวถูกคลี่คลายออกมาเป็นรูปธรรม ผ่านตัวอาคาร และพื้นที่ใช้สอยที่ตอบสนองต่อการใช้ชีวิต เน้นให้เกิดความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ไม่ต่างจากชื่อ “City Living Room” แต่ละกลุ่มอาคารประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านค้า พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่าง […]

KHI HOUSE & ART SPACE บ้านสีขาวรูปเครื่องบินกลางสวนมะกอก เสพวิวทะเลแบบไม่มีอะไรกั้น

บ้านสีขาว ของคู่รักศิลปิน กับบ้านหน้าตาสุดล้ำดูคล้ายเครื่องบิน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนมะกอกตอนใต้ของคาบสมุทรเพโลพอนนีส ประเทศกรีซ นอกจากวิวสวนมะกอกที่กว้างไกลแล้ว บ้านสีขาว รูปทรงแปลกตานี้ ยังเปิดรับวิวทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างเต็มอิ่ม จากข้อดีด้านทำเลดังกล่าว Theo Sarantoglou Lalis และ Dora Sweijd สถาปนิกจาก LASSA architects จึงเลือกหยิบทัศนียภาพที่ได้เปรียบนี้ มาเป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม ให้สามารถเปิดรับวิวแบบอะเมซิ่งได้รอบทิศทาง แปลนของบ้านที่มีรูปทรงคล้ายเครื่องบิน หรืออักษรรูปตัวเอ็กซ์ (X) นั้น ถูกแบ่งพื้นที่การใช้งานหลัก ๆ ออกเป็นอาคารฝั่งตะวันออกที่ออกแบบให้มีระดับความสูงเท่ากับเรือนพุ่มของต้นมะกอก จึงมองเห็นวิวต้นมะกอกที่ปลูกเรียงเป็นแถวสีเขียวอยู่รายรอบบ้าน ทั้งยังเปิดรับแสงยามเช้าได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีดีเทลการออกแบบ อันเป็นเสมือนเครื่องมือช่วยกำหนดขอบเขตให้แก่ตัวบ้านอย่าง ผนังคอนกรีตหล่อ ที่ได้รับการดีไซน์ให้ดูคล้ายระลอกคลื่นสีขาวยาวต่อเนื่องกัน โดยความสูงของผนังจะไล่ระดับสูงต่ำตามพื้นที่ และเป็นเส้นโค้งไปตามรูปทรงของแบบบ้าน เป็นผลพลอยได้ให้เกิดเป็นฉากหลังรับเงาตกกระทบของต้นไม้ดูสวยงาม ภายในบ้านแต่ละห้องสามารถขยายมุมมองต่อเนื่องออกไปยังโถงกว้างด้านใน และระเบียงด้านนอกได้แบบไม่มีผนังกั้น ทำให้เกิดมุมมองเปิดกว้างเชิงขยาย ช่วยลดความเบื่อหน่ายที่จะต้องอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ โดยเฉพาะมุมปีกสวนกรวดเล็ก ๆ ที่ออกแบบให้มีขอบผนังทรงโค้งขนาดสูง ทำหน้าเป็นเสมือนเฟรมให้แก่วิวท้องฟ้าเบื้องบน ดูสวยงามเป็นพิเศษยามที่พระอาทิตย์ตกดิน เพราะแสงสีส้มอมชมพูจะดูตัดกันกับผนังสีขาวสร้างบรรยากาศที่ชวนสดใส อีกทั้งยังมีชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปทอดสายตาชมวิวได้ด้วย นอกจากดีไซน์เรื่องรูปทรงที่แปลกตาไม่เหมือนใครแล้ว การใช้วัสดุก็เป็นอีกสิ่งที่สถาปนิกให้ความสำคัญ โดยให้ความเชื่อมั่นกับฝีมือของผู้รับเหมาในท้องถิ่น ภายใต้การควบคุมคุณภาพงานโดยสถาปนิกเองอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์โพลีสไตรีน […]

ISAN CUBISM หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสาน สู่ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยบอกเล่าอัตลักษณ์ไทย

“ISAN Cubism” หยิบศิลปะคิวบิสม์จากแดนอีสานพัฒนาสู่โปรดักต์ดีไซน์ ที่มีต้นทุนมาจากวัฒนธรรมการทอผ้าลายขิด งานไม้ และฮูปแต้มในสิม เพื่อบอกเล่าภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง ในการสร้างสรรค์ลวดลายอย่างง่าย ผ่านรูปทรงเรขาคณิตอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ จากคุณค่าดังกล่าวได้รับการบอกเล่าผ่าน ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ภายใต้แบรนด์ ISAN Cubism หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จุดเริ่มต้น ดร.ขาม จาตุรงคกุล และ ผศ.ดร. ณัฏฐพงศ์ พรหมพงศธร ทั้งคู่คืออาจารย์ผู้สอนด้าน Industrial design สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากอุดมการณ์ร่วมกันที่อยากให้งานดีไซน์รับใช้ท้องถิ่น โดยเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ได้มีความเข้าใจและภูมิใจ ในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน นำมาสู่แนวทางการสอนและการลงมือทำจริง อันเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ “ISAN Cubism” “เรามีความคิดกันว่าจะสอนอะไรพวกเขาดี เพราะในกรุงเทพฯ เราจะเห็นงานดีไซน์ที่มีความเป็นสากล แต่พอมาอยู่ที่อีสาน ผมมองว่านักศึกษาที่เรียนออกแบบในพื้นที่ พวกเขามีวัตถุดิบ ไม่ค่อยมีคนดีไซด์งานใหม่ ๆ […]

Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง ให้เป็นแผ่นวัสดุอเนกประสงค์สไตล์สัจวัสดุ

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการขยะ SEMBA บริษัทก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เริ่มโครงการ Recycle เศษวัสดุก่อสร้าง SEMBA ethical design thinking โดยมี we+ ทีมดีไซเนอร์หัวก้าวหน้า เข้ามาช่วยจุดประกายในโครงการนี้ จนออกมาเป็นวัสดุที่น่าสนใจในวิธีการใช้งานที่ยืดหยุ่น และที่สำคัญ “มันเคยเป็นขยะ” เนื่องจากอาคารในประเทศญี่ปุ่น มักมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ตั้งแต่ก่อสร้างจนถูกทุบทำลาย we+ จึงมองเห็นว่ามันช่างเป็นอายุการใช้งานที่สั้น ซึ่งส่งผลไปถึงปัญหา “ขยะ” ที่เกิดจากการทุบทำลาย โดยเศษวัสดุเหล่านั้นแทบไม่มีค่าไปกว่าการนำถมที่ดินเลย ดังนั้นการหาทางออกให้กับการจัดการขยะจากอาคารเก่าจึงเริ่มต้นขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษวัสดุให้สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ทั้งตัวของวัสดุ และวิธีการความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของกระบวนการออกแบบก่อสร้าง “Link” คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ด้วยการออกแบบวัสดุอเนกประสงค์ชนิดแผ่น ที่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันนี้ ซึ่งเกิดจากการศึกษาความเป็นไปได้อันหลากหลายผ่านวัสดุที่มาจากซากตึก ตั้งแต่เศษไม้ อิฐ หิน และเหล็ก ตลอดจนวัสดุอย่าง เศษพรม ผ่านม่าน หรือแม้แต่แผ่นปูพื้น โดย we+ ได้นำซากวัสดุมาผสมรวมกันด้วยการบดให้กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนจะหลอมและเทวัสดุประสาน รวมทั้งเศษวัสดุต่าง ๆ ลงไปในแม่พิมพ์ […]

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมเป็นของตกแต่งเปี่ยมจิตวิญญาณเด็กแว้น

VANZTER เปลี่ยนเศษไทเทเนียมให้กลายเป็นของตกแต่ง โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเด็กแว้น กับพฤติกรรมแต่งรถที่เต็มไปด้วยเรื่องราวและวัฒนธรมมแบบไทย ๆ

YUZU OMAKASE ร้านโอมากาเสะใจกลางสยามสแควร์ ดีทั้งเมนูและบริการระดับพรีเมียม

Yuzu Omakase ร้านอาหารญี่ปุ่นแบบ ‘โอมากาเสะ’ หรือ Chef’s Table ใจกลางกรุง ตั้งอยู่บนชั้นสองของอาคารพาณิชย์ในสยามสแควร์ซอย 3 ที่ได้รับการแปลงโฉมจากร้านหนังสือเก่า ให้กลายเป็นร้านอาหารบรรยากาศเรียบง่าย ช่วยขับเน้นทุกเมนูสุดพิเศษให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ประตูทางเข้ารูปวงกลมสะท้อนกลิ่นอายวัฒนธรรมตะวันออก เมื่อเข้าไปภายในจะพบกับต้นส้มยูซุตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลาง โอบล้อมด้วยเคาน์เตอร์ขนาดใหญ่รูปตัวยู (U) เนื่องจากเป็นทั้งพื้นที่ครัวเปิดของเชฟและเป็นพื้นที่นั่งรับประทานอาหาร ดังนั้นพื้นที่เคาน์เตอร์จึงได้รับการออกแบบให้เอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชฟกับลูกค้าเป็นพิเศษ เมนูอาหารญี่ปุ่นของที่นี่ได้รับการสร้างสรรค์ให้เกิดการผสมผสานระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมถึงมีการใช้วัตถุดิบจากทั่วทุกมุมโลกตามฤดูกาล ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ภายในร้านจึงมีการลดทอนให้ดูมีความร่วมสมัย กลมกลืน เรียบง่ายมากกว่าจะมีลักษณะของความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิม ขณะเดียวกันก็ไม่โดดเด่นเสียจนข่มความงามละเมียดละไมของอาหารแต่ละจาน วัสดุเน้นใช้ไม้สีอ่อน ตกแต่งด้วยสีทองเพิ่มมิติให้กับสเปซ รวมถึงมีการจัดแสงสว่างช่วยขับเน้นอาหารบนโต๊ะให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น IDEA TO STEAL ออกแบบเคาน์เตอร์ให้ตอบโจทย์การใช้งาน โดยความกว้างของเคาน์เตอร์ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือพื้นที่ทำอาหารประเภทซูชิ ส่วนที่สองคือพื้นที่ยกระดับสำหรับการเสิร์ฟ และส่วนสุดท้ายคือโต๊ะสำหรับรับประทานอาหารของลูกค้า โดยความสูงอาจเป็นแบบเคาน์เตอร์บาร์ หรือความสูงแบบโต๊ะอาหารปกติทั่วไป ข้อมูล เจ้าของ : คุณปรมินทร์ เปรื่องเมธางกูร ที่ตั้ง258/9-10 สยามสแควร์ซอย 3 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เวลาทำการทุกวัน […]

Maré Seafood รวมวัตถุดิบทะเลสดใหม่จากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ริมแม่น้ำปิง

ร้านซีฟู้ด ริมแม่น้ำปิงในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Seafood Bar และ Open Kitchen ในบรรยากาศ Midnight ชวนนึกถึงชาวประมงไปหาปลายามค่ำคืน

Full House บ้านทรงจั่วที่บรรจุความสุขจนเต็มพิกัด

บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น สีขาวน่ารักดีไซน์มินิมัล 700 ตารางเมตร แต่ด้วยที่ดิน 106 ตารางวา จึงเป็นความ “แน่น” ในการออกแบบที่สถาปนิกต้องแก้ปัญหา เมื่อสถาปนิก คุณวิน-ธาวิน หาญบุญเศรษฐ แห่ง WARchitect ได้คลี่คลายฟังก์ชันให้สื่อสารถึงความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น  บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น สีขาวน่ารักหลังนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งมองดูภายนอกเสมือนเป็นบ้านหลังเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วเป็นบ้าน 2 หลังของ 2 พี่น้องที่สร้างบ้านของครอบครัวตัวเองให้มีส่วนเชื่อมต่อและแชร์พื้นที่กันได้ จนกลายเป็นบ้านที่รวมครอบครัวใหญ่ให้อยู่พร้อมหน้ากัน บ้านพี่ บ้านน้อง บ้านเราติดกัน ใน บ้านทรงจั่ว โมเดิร์น ที่ออกแบบให้ดูเป็นหลังเดียวกันนั้น แบ่งเป็น 2 หลังที่มีฟังก์ชันแยกออกจากกันอย่างชัดเจน บ้านหลังใหญ่ (บ้านฝั่งขวา) เป็นของพี่ชาย ส่วนบ้านหลังเล็ก (บ้านสูง 3 ชั้นฝั่งซ้าย) เป็นของน้องชาย ซึ่งต่างคนต่างมีครอบครัวและลูกวัยน่ารัก แต่ด้วยความผูกพันที่อยากให้ครอบครัวได้อยู่ใกล้กัน โดยมีคุณพ่อคุณแม่ (ปู่ย่าของหลานๆ) เป็นจุดศูนย์กลางของครอบครัว ให้ท่านได้มีความสุขกับการได้อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าและได้เห็นการเติบโตของหลานๆ แล้วยังเป็นการได้กลับมารวมตัวกันของครอบครัวใหญ่ ที่ครอบครัวของน้องสาวได้มาอยู่พร้อมหน้ากันในวันหยุด ซึ่งนับรวมกันแล้วมีสมาชิกถึง 10 […]

บ้านในสถาปัตยกรรม โมเดิร์นทรอปิคัล ริมน้ำแม่กลอง

ครอบครัวอารยอสนี เติบโตและประกอบธุรกิจที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มายาวนาน จึงตั้งใจจะสร้างบ้านหลังใหม่ในพื้นที่ที่ตนเองและครอบครัวมีความผูกพันมาตลอด กระทั่งได้ที่ดินผืนงามติดกับคุ้งน้ำ ซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำสายสำคัญ 2 สาย อันเป็นเส้นทางหลักที่นักท่องเที่ยวมักนั่งเรือโดยสารไปทำบุญ 9 วัด และชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน  ด้วยศักยภาพของทำเลที่ตั้งดังกล่าว  จึงเป็นโจทย์ท้าทายให้สถาปนิกจาก D minus plus B ต้องออกแบบบ้านหลังใหม่สไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล ที่โดดเด่น หรือเป็นภาพจำให้แก่ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ราวกับเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์กที่จะถูกกล่าวถึงในอัมพวา พร้อมๆ กับตอบโจทย์การอยู่อาศัยในทุกแง่มุม เนื่องจากบ้านหลังนี้ทางครอบครัวอารยอสนีตั้งใจจะให้เป็นบ้านที่อยู่ประจำ พื้นที่ใช้สอยจึงมีขนาดใหญ่ถึง 1,500 ตารางเมตร โดยใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างนานถึง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ ทั้งนี้ทางเจ้าของบ้านได้เปิดโอกาสให้สถาปนิกเสนอไอเดียได้อย่างเต็มที่ เพียงแค่ขอให้บ้านอยู่แล้วรู้สึกโปร่งโล่งในสไตล์ โมเดิร์นทรอปิคัล สามารถรับวิวและธรรมชาติอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ของอัมพวาได้อย่างเต็มที่ เมื่อได้โจทย์เบื้องต้นมาแล้ว สถาปนิกจึงเริ่มกำหนดตำแหน่งพื้นที่ใช้สอย และขนาดห้องต่าง ๆ ไปพร้อมกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายนอกไปพร้อมกัน ส่วนพื้นที่ใช้สอยถูกแบ่งอย่างชัดเจนด้วยกำแพงขนาดใหญ่บริเวณทางเข้าหลักของบ้าน นอกจากจะสร้างเพื่อความเป็นส่วนตัวจากสายตาคนภายนอก ไม่ให้มองเข้ามาเห็นพื้นที่ส่วนตัวในบ้านแล้ว ยังใช้กำแพงหินนี้ช่วยสร้างมุมมองที่เรียกว่า Surprise Space ก่อนเปิดเข้าไปพบกับโถงทางเดินที่สามารถมองทะลุไปยังแม่น้ำแม่กลองได้ โดยสถาปนิกได้วางตำแหน่งของพื้นที่ใช้สอยไว้ทั้งสองฝั่งโถงทางเดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่กึ่งภายนอกอาคาร ฝั่งซ้ายเป็นห้องนอนแขก ห้องเกม และสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าแม่น้ำและบ้านได้ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน […]

RIPPLE  ฉากกั้นพลิ้วไหวจากไม้ผสานวัสดุรีไซเคิล

RIPPLE ฉากกั้น พลิ้วไหวที่เกิดจากไม้โอ๊คผสานเข้ากับวัสดุรีไซเคิล Coffee Ground เพื่อช่วยลดต้นทุน ลดปริมาณไม้ และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ

NT’s Habitat บ้านอิฐ กับลูกเล่นช่วยเพิ่มแสงและลมให้บ้านเย็น

บ้านอิฐ สีแดง NT’s Habitat เกิดจากการเปลี่ยนโกดังขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเมืองฟานเทียต ประเทศเวียดนาม ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศแห้งแล้งตลอดทั้งปี ให้กลายเป็นบ้านที่น่ารักสำหรับครอบครัว 4 คน ให้การอยู่อาศัยรู้สึกถึงความสบายทั้งอากาศและบรรยากาศ ผลงานการออกแบบโดยสถาปนิกจาก Flex.atelier ได้เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจและสังเกตสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นก่อนออกแบบ บ้านอิฐ หลังนี้ ที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับปัจจัยภายนอกด้วย การออกแบบบ้านประกอบด้วยพื้นที่เปิดสำหรับเชื่อมต่อและพื้นที่ปิดเพื่อความเป็นส่วนตัว พื้นที่ปิดประกอบด้วยห้องนอน และห้องน้ำ ขณะที่พื้นที่เปิดโล่งประกอบด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องครัว และสนามเด็กเล่น ทั้งหมดเชื่อมต่อกับสกายไลท์กลางบ้าน ซึ่งมีจุดประสงค์หลายประการ ประการแรกคือ ช่วยเพิ่มการระบายอากาศลดความร้อน และประการที่สองคือ ให้แสงธรรมชาติส่องสว่างได้อย่างทั่วถึงในเวลากลางวันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า ด้านโครงสร้างสถาปนิกใช้เทคนิคคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่มีความสูงกว่าปกติเพื่อกักเก็บอากาศเย็นให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจคือส่วนหน้าของอาคารที่ประกอบขึ้นจากอิฐดินเผาสีแดง วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ก่อนนำมาเรียงต่อกันเป็นแพตเทิร์นอย่างระมัดระวัง นอกจากเพิ่มความสวยงามให้แก่เปลือกอาคารด้านหน้าแล้ว ช่องว่างของอิฐยังทำหน้าที่ระบายอากาศ และยอมให้แสงลอดผ่านเข้ามาได้เพิ่มเติมจากสกายไลท์ชั้นหนึ่งของบ้านถือเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวจะได้มาใช้เวลาร่วมกันมากที่สุด โดยออกแบบให้อยู่ในพื้นที่ที่มีมุมมองเปิดโล่งและดูแลบุตรหลานได้ง่าย มีห้องสมุดเล็ก ๆ อยู่ใต้บันได ให้เด็ก ๆ ได้นั่งอ่านหนังสือ นอกจากนี้ยังมีมุมรับประทานอาหารแบบสบาย ๆ ส่วนชั้นสองโดยเฉพาะห้องนอนใหญ่ด้านหน้า ออกแบบให้รู้สึกถึงความอบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้ากันดีกับฟาซาดอิฐผืนใหญ่ มีความพิเศษอันเกิดจากแสงที่ลอดผ่านช่องอิฐเข้ามา เป็นแพตเทิร์นของเงาที่ทาบลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของห้อง โดยจะเปลี่ยนองศาไปตามแต่ละช่วงเวลา […]

หอพักพยาบาลของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

หอพักพยาบาล ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานของพยาบาลเป็นหลัก ประกอบกับสร้างสภาวะความน่าสบายไว้อย่างเต็มที่

THAIS ECOLEATHERS ความงามจากเศษหนังสู่วัสดุใหม่

THAIS ECOLEATHERS (อ่านว่า ธา-อิส) หนึ่งในแบรนด์ไทยจากโครงการ Talent Thai โดย DITP หรือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่เราอยากแนะนำ เพราะไม่เพียงแค่ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายและพื้นผิวที่น่าสนใจ หรือการนำไปใช้ที่หลากหลายเพียงเท่านั้น แต่การได้มาซึ่งวัสดุอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั่นก็คือ “หนังรีไซเคิล” ซึ่งเรียกได้ว่ามีความโดดเด่นและมีเพียงเจ้าเดียวในโลกที่สามารถผลิตสิ่งนี้ได้ จึงทำให้เราสนใจแบรนด์เครื่องหนังที่ชูวัสดุรักษ์โลกแบรนด์นี้เป็นพิเศษของคุณธันย์-ธันยวัฒน์ ทั่งตระกูล และคุณเม-พัณณ์ชิตา ธราดลศิริฐิติกุล จุดเริ่มต้น ถ้าพูดถึงจุดเริ่มของTHAIS ECOLEATHERS“เราเริ่มจากเป็นคนชอบเครื่องหนัง ชอบจนถึงขนาดที่อยากจะหัดทำเครื่องหนังด้วยตัวเอง” คุณธันย์เริ่มต้นเล่าให้เราฟัง “พอเราเริ่มทำหนังไปเรื่อย ๆ เราก็ค้นพบว่าสิ่งที่กวนใจเราคือ เศษหนัง ที่เหลือจากการผลิต จะเอาไปทิ้งก็เสียดาย พอจะนำเศษเหล่านั้นมาลองเย็บเป็นกระเป๋าแล้วเอาไปวางขายในอินเทอร์เน็ตก็ค้นพบว่า มันแทบจะไม่ได้ราคา เหมือนเป็นความคาใจจนเราเริ่มศึกษาลงไปว่า คนอื่นเขาจัดการกับเศษหนังกันอย่างไร และก็ค้นพบว่าเศษเหลือเหล่านี้มีอยู่มากมายในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง และไทยเราเองก็เป็นประเทศส่งออกหนังอันดับที่ 4 ของโลก ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ปัญหาเศษเหลือเหล่านี้ ต้องมีอยู่มากมายเช่นเดียวกัน“ “พอเราเริ่มสนใจในปัญหาเศษเหลือเราก็ค้นพบว่า โรงงานส่วนใหญ่ต้องจ้างให้นำไปทิ้ง เป็นมูลค่าที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว สิ่งที่ทำได้คือนำฝังกลบ หรือนำไปเผาทำลาย” คุณเมเล่าต่อ “ซึ่งเราอาจเคยได้ยินว่า มีการนำเศษหนังมาทำเป็นวัสดุใหม่ แต่นั่นไม่ใช่เศษหนังในขั้นตอนสุดท้ายแบบที่เป็นเศษเหลือแบบนี้ สิ่งเหล่านั้นคือเศษหนังที่มาจากขั้นตอนการผลิต คือหลังจากการฟอกเสียมากกว่า เราก็เลยคิดกันว่า […]

CONCRETE JUNGLE HOUSE รีโนเวตบ้านสำหรับซ่อนพื้นที่ทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ของลูกไว้ภายใน

รีโนเวทบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านขนาด 2 ชั้นครึ่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในสไตล์มินิมัล ดูเรียบง่าย

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

เพิ่มความสุขในพื้นที่เพียง 23 ตารางเมตรกลางกรุงไทเป

ไอเดียแต่งคอนโด ภายใต้พื้นที่เพียง 23 ตารางเมตรให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าในทุกตารางเมตรกลางกรุงไทเป ด้วยการใช้พื้นที่แนวตั้งอย่างคุ้มค่า

YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่กล่องไม้ท่ามกลางป่าคอนกรีต

YIJIAN CAFE SHANGHAI คาเฟ่ขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่เพียง 30 ตารางเมตรในรูปลักษณ์ของกล่องไม้สุดอบอุ่นที่ซ่อนตัวอยู่ในป่าคอนกรีต