Design
C2 CAFE&BAR คาเฟ่ไม้ท่ามกลางป่าคอนกรีต ที่ชวนคุณให้ใช้ชีวิตช้าลง
คาเฟ่ไม้ ภายใต้พื้นที่เพียง 75 ตารางเมตร ที่มีทั้งบาร์และคาเฟ่รวมอยู่ด้วย สถาปนิกใช้ประโยชน์จากพื้นที่หัวมุมมาสร้างความโดดเด่นให้กับพื้นที่ด้วยวัสดุไม้ ที่ดูคอนทราสต์กับป่าคอนกรีตโดยรอบ
THE MOTIFS ECO HOTEL โรงแรมที่เปิดโอกาสให้สัมผัสสายลม และแสงแดดในแบบจันทบุรี
The Motifs Eco Hotel ตั้งอยู่ที่จันทบุรี บนถนนท่าแฉลบ ตัวโรงแรมห่างออกมาจากตัวเมืองไม่ไกล ภายในชุมชนเล็ก ๆ ที่เป็นบ้าน 2-3 ชั้น กับความตั้งใจของเจ้าของที่อยากสร้างโรงแรมในที่ดินตกทอดของครอบครัว ให้เป็นส่วนเดียวกันกับชุมชน เพื่อถ่ายทอดเสน่ห์และอัตลักษณ์ของเมืองจันท์ ทั้งยังส่งเสริมวิถีการใช้ชีวิตแบบ Eco จึงกลายมาเป็น The Motifs Eco Hotel โดยมีสถาปนิกที่โดดเด่นด้านการสร้างอาคารที่สอดรับกับธรรมชาติอย่างคุณแก้ว-คำรน สุทธิ จาก Eco Architect มาเป็นผู้รับหน้าที่ออกแบบให้ โรงแรมในแบบ Chantaburi-Modern-Craft สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจันทบุรีคือ หมู่ตึกแถวเก่าที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร ซึ่งสิ่งที่ The Motifs Eco Hotel ได้เลือกนำมาใช้ คือเอกลักษณ์ของบานหน้าต่าง ลวดลาย และซุ้มโค้ง ที่ทำให้เมื่อมองผ่านจากห้องสู่ภายนอก หรือจากพื้นที่หนึ่งสู่อีกพื้นที่หนึ่งจะได้บรรยากาศที่โรแมนติกในแบบเมืองจันท์ มีความคล้ายบ้านเก่า แต่ในการปรับใช้นั้นก็ได้มีการคลี่คลายรายละเอียดเพื่อให้องค์ประกอบดั้งเดิมนั้น สามารถเข้ากันได้กับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นได้ดียิ่งขึ้น ลดหลั่นความใหญ่โต เลือกใช้วัสดุ ให้ดูเป็นมิตรมากขึ้น เพราะอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นบ้าน 2-3 ชั้น จึงทำให้โรงแรมนั้นต้องไม่ดูเป็น […]
MAD BARS HOUSE บาร์ 5 ร้านในตึกแถว ที่เรียงลำดับชั้นตามดีกรีของแอลกอฮอล์
MAD BARS HOUSE คืออาคารขนาด 6 ชั้น ที่มีแนวคิดสุดแหวกแนว ด้วยการรวมบาร์และร้านอาหารจำนวน 5 ร้าน มาไว้ในตึกเดียวกัน โดยมีคอนเซ็ปต์การจัดวางร้านว่า ยิ่งชั้นสูง เปอร์เซ็นต์ของแอลกอฮอล์ก็สูงตามไปด้วย อาคารของ MAD BARS HOUSE ตั้งอยู่บนถนนคนเดินท่ามกลางเมืองประวัติศาสตร์ของเมือง Lviv ประเทศยูเครน ผู้ออกแบบพยายามออกแบบโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและงานฝีมือแบบดั้่งเดิม และนี่คือเรื่องราวของการดื่มด่ำ แอลกอฮอล์ แจ๊ส ความเพลิดเพลิน และเวทมนตร์ แม้ว่าทุกชั้นจะบรรจุไว้ด้วยบาร์คนละร้าน แต่ก็เชื่อมกันไว้ด้วยโทนสีและบรรยากาศเดียวกัน ผนังบางส่วนถูกกระเทาะออก เผยให้เห็นความงามของอาคารยุคศตวรรตที่19 พร้อมกับตกแต่งด้วยวัสดุไม้ หุ้มราวบันไดด้วยหนัง เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์ของอาคารที่เคยเป็นพื้นที่ัทำรองเท้า การเพิ่มขึ้นของปริมาณแอลกอฮอล์ของบาร์แต่ละชั้น ถูกนำเสนอผ่านกระเบื้องโมเสกที่กรุอยู่บนพื้นชานพักบันได โดยคุณสามารถเริ่มต้นที่ผับชั้น 1 ก่อนจะขึ้นไปเจอกับไวน์และอาหารรสเลิศ ถัดไปเป็นบาร์ในบรรยากาศสบาย ๆ พร้อมค็อกเทลแบบซิกเนเจอร์ หรือจะไปจบที่เครื่องดื่มพื้นเมืองใต้หลังคา ทั้งหมดนี้คุณสามารถใช้ลิฟต์เพื่อไปยังชั้นใดชั้นหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงก็ได้ ชั้น1 Varvar Pub เสิร์ฟคราฟท์เบียร์ ไซเดอร์ และกาแฟไนโตรโคลบริว มาพร้อมจอฉายการแข่งขันกีฬา และโต๊ะไม้ยาวที่ไม่มีรอยต่อ โดยทำมาจากไม้โอ๊กอายุกว่า150 ปี ตัวบาร์จัดการด้วยบาร์เทนเดอร์เพียงคนเดียว […]
FORMICA FOR ME, FORMICA FOR MORE คอลเล็กชั่นใหม่ 2021 จากฟอร์ไมก้า
Formica® ผู้นำแห่งการรังสรรค์นวัตกรรมงานออกแบบวัสดุปิดพื้นผิว ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุดของปี 2021 สำหรับภูมิภาคเอเชีย ในรูปแบบของแคตตาล็อก “Formica For Me, Formica For More” ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ล่าสุด ที่มาพร้อมนวัตกรรมอันเป็นหัวใจหลักของฟอร์ไมก้า ตอบรับกับแนวโน้มการสร้างสรรค์พื้นที่ใช้ชีวิตในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ยากจะคาดการณ์
FOREST HOUSE บ้านอิฐกลางป่าสน ที่ออกแบบเพื่อหลบเลี่ยงต้นไม้เดิม
บ้านอิฐ ที่ออกแบบกำแพงแบบฟรีฟอร์ม เพื่อหลบหลีกต้นไม้เดิมในพื้นที่ทั้งหมด โดยตัวบ้านใช้วัสดุอิฐ ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาเป็นวัสดุหลัก
HOUSE TOKYO บ้านหลังเล็กพร้อมสเปซเพิ่มขึ้นสองเท่า บนที่ดินขนาดแค่ 26 ตารางเมตร
บ้านหลังเล็ก โครงสร้างไม้สน กรุผนังภายนอกด้วยแผ่นเหล็กลอนลูกฟูก ออกแบบเพื่อแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยให้สอดรับปรับตัวเข้ากับความหนาแน่นของเมืองอย่างชาญฉลาด
HOA’S HOUSE บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาด กับการใช้งานอาคารแบบมิกซ์ยูส
Hoa’s House บ้านคอนกรีต หลังใหญ่กลางตลาดในเมืองไซง่อนที่พลุกพล่าน กับการออกแบบให้มีฟังก์ชันแบบมิกซ์ยูส ทั้งอยู่อาศัยและสร้างรายได้ไปพร้อมกัน หากสัญจรผ่านไปมาตรงหัวมุมสามแยกของตลาด สิ่งที่อดเหลียวมองขึ้นไปไม่ได้ คือภาพ บ้านคอนกรีต หลังใหญ่ที่ตั้งตระหง่านดูเคร่งขรึมโดดเด่นกว่าใครในย่าน โดยตั้งอยู่บนพื้นที่ 113 ตารางเมตร กับขนาดความสูงถึง 6 ชั้น แสดงตัวตนผ่านงานดีไซน์ที่เน้นโชว์พื้นผิวคอนกรีตที่เรียบง่าย และปกคลุมด้วยต้นไม้สีเขียว ซึ่งเป็นสิ่งที่เจ้าของบอกว่า สะท้อนตัวตนของเธอออกมาได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเจ้าของอาคาร เธอต้องการสร้างที่นี่ให้แตกต่างจากตึกแถวหลังอื่น ๆ ที่อยู่แวดล้อม เพื่อให้ใครเห็นแล้วจดจำได้ง่าย บวกกับต้องการต่อยอดธุรกิจเปิดพื้นที่ชั้นล่างให้เช่า ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว H.2 ทีมสถาปนิกผู้ออกแบบจึงต้องคิดฟังก์ชันเผื่อสำหรับการใช้งานที่หลากหลายดังกล่าว เริ่มตั้งแต่ชั้น 1ที่ออกแบบให้เป็นโรงรถ และร้านค้าให้เช่า ชั้น 2 ทำเป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก 3 ห้อง และชั้น 3 เป็นอพาร์ตเมนต์ขนาดใหญ่ 3 ห้อง ให้เช่า ส่วนชั้น 4 ออกแบบให้มีห้องนอนใหญ่ 1 ห้อง ห้องนอนเล็ก 2 ห้อง พร้อมห้องนั่งเล่น ชั้น 5 […]
เรือนกล้วยไม้ดีไซน์ล้ำ สั่งงานด้วยระบบอัจฉริยะ เอาใจเหล่านักปลูกโดยเฉพาะ
Greenhouse Orchid Punta del Este เรือนกล้วยไม้ ดีไซน์น่ารักในประเทศอุรุกวัย เอาใจนักปลูกโดยเฉพาะผู้คลั่งไคล้กล้วยไม้ นอกจากจะเป็นงานอดิเรกแล้ว กล้วยไม้สวย ๆ ที่ปลูกยังสามารถสร้างรายได้กลับคืนให้แก่เจ้าของได้ด้วย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายคนเลือกที่จะใช้เวลาอยู่กับบ้าน งดออกไปเดินทางท่องเที่ยวเหมือนเช่นเคย แต่ด้วยความหลงใหลในพฤกษศาสตร์โดยเฉพาะกล้วยไม้ ทำให้ Ana เลือกที่จะใช้ความชอบและงานอดิเรกของเธอมาต่อยอดเป็นธุรกิจร้านกล้วยไม้ตรงสนามหญ้าหน้าบ้าน โดยยกหน้าที่ให้ Mateo Nunes Da Rosa ช่วยออกแบบ Greenhouse Orchid Punta del Este ขนาด 20 ตารางเมตร หลังนี้ ให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ในสภาพอากาศของประเทศอุรุกวัย พร้อมโจทย์ที่ว่า ตัวอาคารจะต้องดูโปร่ง ปรับเปลี่ยนได้ และสามารถสร้างสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่รอดของกล้วยไม้สุดที่รักของเธอ เพราะกล้วยไม้ต้องการสภาพอากาศที่เฉพาะเจาะจง การออกแบบกรีนเฮ้าส์ให้มีพร้อมทั้งฟังก์ชันและความสวยงามควบคู่กัน จึงเป็นเรื่องที่ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงมากเป็นพิเศษ โดยเรือนกล้วยไม้จะต้องควบคุมได้ทั้งอุณหภูมิแสง ความชื้น และการระบายอากาศ รูปร่างของอาคารถูกออกแบบมาในลักษณะหลังคาทรงจั่วอย่างเรือนปลูกอื่น ๆ ขณะที่ผนังโดยรอบเน้นความปลอดโปร่งเพื่อให้ชื่นชมกับสีสันของเหล่ากล้วยไม้ และรับแสงได้อย่างทั่วถึง ภายใต้ระบบที่ช่วยป้องกันลม ความเย็น และแสงแดดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ระหว่างอาคารทั้งสองหลังจะมีบานประตูเปิด-ปิดช่วยระบายอากาศ […]
โอเอซิสส่วนตัวในบ้านโมเดิร์นของกราฟิกดีไซเนอร์ผู้รักธรรมชาติ
บ้านโมเดิร์น ที่ผสมผสานด้วยผนังอิฐดินเผาหลังนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ Kertomenanggal ของเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย มีเจ้าของเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ที่รักในธรรมชาติ แน่นอนว่าการออกแบบย่อมไม่ธรรมดา เพราะมาพร้อมตัวอาคารที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนรสนิยม แอบซ่อนพื้นที่พักผ่อนส่วนตัวอย่างสวนไว้ภายใน จากคอนเซ็ปต์ Tree & Three ซึ่งหมายถึง Tree (ต้นไม้) และ Three (สมาชิกของบ้านที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก ) สถาปนิกจาก Andyrahman Architect จึงขอจัดเสิร์ฟพื้นที่ให้เจ้าของบ้านได้มีช่วงเวลาการพักผ่อนอย่างเงียบสงบ ไปพร้อม ๆ กับการออกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนชื้น โดยเน้นให้เกิดการไหลเวียนและถ่ายเทอากาศได้ดี แม้อากาศภายนอกจะร้อน แต่เมื่อเข้ามาในบ้านแล้ว กลับรู้สึกได้ถึงความเย็นสบาย ด้วยการมีช่องเปิดให้แสงและลมสามารถพัดผ่านเข้ามาได้ อย่างการเว้นพื้นที่ตรงกลางเพื่อทำเป็นคอร์ตยาร์ด สำหรับปลูกต้นไม้ฟอร์มสวยที่มีลำต้นใหญ่โตไว้เพียงต้นเดียว พื้นรอบโคนต้นโรยด้วยหินสีดำเพื่อเน้นความโดดเด่น ราวกับว่านี่คืองานศิลป์ชิ้นเยี่ยม โดยทุกมุมของบ้านจะสามารถสัมผัสได้กับความร่มรื่นของเรือนยอดสีเขียวสบายตานี้ ควบคู่ไปกับช่องว่างเหนือเพดานของขั้นบันได ช่วยให้แสงสว่างและการไหลเวียนอากาศในบ้านเป็นไปอย่างปลอดโปร่ง ขณะเดียวกันความหมายของ Three ในที่นี้ ยังปรากฏให้เห็นผ่านการคุมธีมสี 3 เฉดสี นั่นคือสีขาว เทา และดำ ที่เห็นเด่นชัดก็คือรูปสามเหลี่ยมของจั่วหลังคาบ้าน ซึ่งอยู่เคียงข้างกับผนังอิฐที่สื่อถึงการมีธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนร่วม รวมถึงพื้นบ้านสีเทา […]
MY MONTESSORI GARDEN เรียนรู้อย่างอิสระในโรงเรียนสีเขียว
โรงเรียนทางเลือก แนวมอนเตสซอรี่ (Montessori) ในประเทศเวียดนาม ที่ปลูกฝังให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติอย่างอิสระ โรงเรียนทางเลือก แห่งนี้มีชื่อว่า My Montessori Garden ตั้งอยู่ในเมืองฮาลอง จังหวัดกวางนินห์ ประเทศเวียดนาม สร้างขึ้นโดยเน้นการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) ซึ่งเป็นวิธีการศึกษาที่มีต้นกำเนิดในยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้รับการพัฒนาในเวียดนามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเน้นการเรียนการสอนที่เคารพความเป็นอิสระของเด็ก พร้อม ๆ กับสร้างสภาพแวดล้อมให้พวกเขาได้สำรวจและสัมผัสโลกผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง เหมาะเป็นหลักสูตรสำหรับเด็กวัยอนุบาล ที่ควรได้รับการปลูกฝังให้เจริญเติบโตไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่การยัดเยียดสิ่งที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็นลงไปในตัวเด็ก ๆ ฉะนั้นการออกแบบที่นี่ของทีมสถาปนิกจาก HGAA จึงมีแนวทางที่สอดคล้องกับปรัชญาการเรียนการสอนดังกล่าว ด้วยการนำพฤติกรรมและธรรมชาติของเด็ก ๆ มาตั้งเป็นโจทย์ แล้วจึงออกแบบโรงเรียนให้ตอบสนองกับความต้องการของเด็ก ๆ โดยเน้นสร้างอาคารที่มีความเรียบง่ายจากโครงสร้างเหล็ก ซึ่งใช้เวลาการติดตั้งแล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อที่ดินที่เป็นแบบเช่าระยะยาวนี้ให้น้อยที่สุด และหากครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ก็สามารถรื้อถอนเคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่อื่นได้ทั้งหลัง ห้องเรียนจากโครงสร้างเหล็กมีจำนวน 2 ยูนิต ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายและขวาโดยเว้นพื้นที่ตรงกลางไว้เป็นทางสัญจร ด้านบนมีทางเดินเหนือศีรษะเชื่อมต่อถึงกัน เพื่อให้เด็ก ๆ ได้มีพื้นที่เดินเล่นมากขึ้น ภายในอาณาเขตของโรงเรียนที่มีเพียง 600 ตารางเมตร เพื่อความปลอดภัยได้ทำราวกันตกจากตะแกรงลวดตาข่าย สร้างความร่มรื่นด้วยพื้นที่สวน 2 […]
BLU395 อาคารที่ตั้งใจสร้างพลังงานดีๆคืนสู่ย่านและผู้คน
อาคารสีขาวที่ถูกคว้านเป็นทรงกรวยแปลกตาทั้งยังห่อหุ้มไว้ด้วยเหล็กตะแกรงนี้ตั้งอยู่ในย่านสะพานควาย ย่านที่พลุกพล่านที่สุดย่านหนึ่งของกรุงเทพฯ เพื่อสร้างให้เกิดภาพจำเชิงสัญญะแก่ผู้สัญจร และเพื่อให้อาคารแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่จะสร้างพลังงานที่ดีคืนแก่บริบทของย่านและเหล่าผู้คนที่ผ่านไปมาริมถนน การออกแบบความเชื่อมโยงระหว่างภายนอกและภายในจึงเป็นส่วนสำคัญ และผู้ที่เข้ามารับหน้าที่นี้ก็คือ PHTAA สตูดิโอออกแบบที่โดดเด่นในการตีความสร้างนิยามใหม่ๆให้กับงานทุกชิ้นที่ได้ผ่านมือพวกเขา BLU395 เป็นอาคารแบบ Mixed Used ที่มีห้องพัก 84 ห้อง และร้านค้า 3 ร้านผสมเข้าด้วยกัน อาจกล่าวได้ว่าอาคารหลังนี้มีจริตแบบ Modernism อยู่ในตัว ด้วยการแสดงออกอย่างชัดเจนจากภายนอกถึงลักษณะของโครงสร้างและพื้นที่การใช้งาน จากภายนอก ผู้สัญจรจะสามารถมองเห็นตะแกรงเหล็กที่นำมาใช้เป็น Facade ได้อย่างเด่นชัด ทั้งเป็นองค์ประกอบที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขต แต่ก็โปร่งพอที่จะเห็นลักษณะของอาคารได้อย่างชัดเจน พื้นที่พิเศษเพื่อพักสายตาแล้วเดินต่อ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของอาคาร BLU395หลังนี้คงหนีไม่พ้น ต้นไม้ใหญ่ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของโถงบันไดซึ่งวางตัวเป็นทรงกรวยตั้ง ค่อยๆบานออกที่ชั้นบน โถงบันไดนี้มีการขึงผ้าใบสีขาวเรียบเกลี้ยงเอาไว้กั้นระหว่างความเป็นภายนอกและภายใน ทั้งทำหน้ากรองแสง กั้นความเป็นส่วนตัว และทำหน้าที่รับเงาของแสงที่ส่องผ่านโครงสร้างเปลือกอาคารลงมาเกิดเป็นเส้นโค้งที่ล้อไปกับรูปฟอร์มและตำแหน่งของไม้ใหญ่ ขับเน้นให้มุมมองสายตาที่ไล่เรียงจากชั้นพื้นที่ไม้ใหญ่นั้นเหมือนเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับบาทวิถี ค่อยๆไล่เรียงขึ้นไปยังอาคาร และแหงนมองสู่ฟ้าในที่สุด พื้นที่นี้เป็นทั้งพื้นที่ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ ทั้งสำหรับตัวผู้ใช้อาคารเอง และผู้ที่สัญจรผ่านไปมา ได้พักสายตาจากหมู่ตึกและการจราจรที่คับคั่งอีกด้วย แฝงกลิ่นอาย “ตึกแถวไทย” ด้วยรูปแบบการใช้อาคารหลังนี้อาจพาให้นึกไปถึง “ตึกแถวไทย” ได้แต่ทั้งหมดนั้นก็ได้ถูกตีความและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในแบบ PHTAA โดยที่จากชั้นล่างซึ่งเปรียบได้กับพื้นที่หน้าตึกแถวที่มักมีสวนเล็กๆและพื้นที่หย่อนใจ ซึ่งมักเป็นพื้นที่แบบ Semi-Public ก่อนที่จะขึ้นสู่ชั้นบนด้วยโถงบันไดนำพาไปยังพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นห้องพักในที่สุด ประกอบกับพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่ชั้นล่าง […]
เจาะลึกสถานีกรุงเทพ สถาปัตยกรรมหลังคาโค้งกว้างที่สุดเมื่อ 105 ปีก่อน
50 เมตร คือความกว้างของหลังคาโค้งที่พาดช่วงยาวโดยไม่มีเสากลางของสถานีกรุงเทพ คงไม่น่าตื่นเต้นเมื่อเทียบกับสมัยนี้ แต่เมื่อกว่า 105 ปีก่อนนั้น เป็นที่น่าตื่นตาที่สุดแห่งหนึ่งในพระนครเลย และเชื่อไหมว่าโครงสร้างหลังคานี้ยังไม่เคยต้องซ่อมครั้งใหญ่เลยจนปัจจุบัน สถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในยุคสร้างเมืองที่เปิดรับความรู้และเทคโนโลยีทางวิศวกรรมและศิลปสถาปัตยกรรมจากต่างชาติ จึงมีความผสมผสานและเป็นสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจพอๆกับสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานีต้นทาง เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างเส้นทางไปยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เพื่อรักษาเอกราชในยุคล่าอาณานิคม และเป็นอีกจุดเปลี่ยนของเมือง เมื่อเกิดชุมทางการขนส่งขนาดใหญ่ ณ ทุ่งวัวลำพอง แห่งนี้ มารู้จัก สถานีกรุงเทพ ซึ่งมีรหัสสถานี 1001 ในอีกมุมมองกัน ลำดับการก่อสร้างและอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพ สถานีกรุงเทพ มีรูปแบบเป็นทรงประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาเลียนผสมผสานกับศิลปะยุคเรอเนสซอง วางผังอาคารเป็นรูปตัวอี (E) มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มีจุดเด่น คือ กระจกสีช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เท่า ๆ กับตัวอาคารสถานี มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในเป็นเอกลักษณ์ เป็นเครื่องบอกเวลาที่ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น นาฬิกาทั้งสองเรือนถูกสั่งทำพิเศษให้มีไฟส่องสว่างในตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหน้าปัด 120 เซนติเมตร และเข็มนาฬิกามีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร อาคารที่มีอายุมากกว่าชั่วอายุคน และมีผู้คนเข้าใช้งานแบบที่เรียกได้ว่า “สมบุกสมบัน” […]
PUBLIC TOILET IN SENDAGAYA ห้องน้ำสาธารณะที่ละม้ายว่ามันกำลังล่องลอยอยู่กลางอากาศ
ห้องน้ำสาธารณะ ที่ปลดทุกข์ของเมืองที่ดูอย่างไรก็เจริญตา ละม้ายว่ามันกำลังล่องลอยอยู่กลางอากาศ
สนทนากับศุภรัตน์ ชินะถาวร แห่ง party / space / design สำนักงานออกแบบที่เชี่ยวชาญการรังสรรค์คาเฟ่และร้านอาหาร
party / space / design หรือ PSD ชื่อที่หลาย ๆ ท่านน่าจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้น ในฐานะผู้รับหน้าที่เนรมิตพื้นที่คาเฟ่และร้านอาหารมากมาย โดยเฉพาะยุคนี้ที่เราสามารถมองหา Specialty Coffee Cafe และ Fine Dinning Restaurant ได้เกือบทุกหัวมุมถนน แต่อะไรที่ทำให้สำนักงานออกแบบแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน “มือหนึ่ง” ของการออกแบบคาเฟ่และร้านอาหาร วันนี้ room ได้มีโอกาสสนทนากับคุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร Design Director & Founder ของ PSD ถึงที่มาที่ไป และแนวคิดที่สร้างให้ PSD โดดเด่นและแตกต่างจากนักออกแบบท่านอื่น ๆ เคยมีคนกล่าวว่า ‘สถาปัตยกรรมคือเครื่องจักรในการอยู่อาศัย’ ผมชอบประโยคนี้นะ เพราะเครื่องจักรนั้นจะทำงานไม่ได้เลยถ้าปราศจากมนุษย์ ร้านจะทำงานได้เมื่อมีคนอยู่ มีคนเข้าไปสร้างให้เครื่องจักรมันทำงานร้านถึงจะมีชีวิต อะไรคือสิ่งที่ทำให้ PSD แตกต่างจากคนอื่น “เรียนรู้ด้วยการ ‘ลงไปลองทำ’ คือสิ่งที่เราเริ่มจริงจังมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เราเริ่มขยับมาเป็นนักปฏิบัติ ในการลงมือทำ […]
The Roof Cafe Roiet คาเฟ่ทรงหลังคา(เมทัลชีท) ที่ไม่ธรรมดาด้วยพื้นที่สอดแทรกธรรมชาติอย่างลงตัวในจังหวัดร้อยเอ็ด
หลังคา เมทัลชีท ที่เป็นมากกว่าหลังคา เพราะนี่คือคาเฟ่ที่อาจเรียกได้ว่าแนวที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ดก็ว่าได้ในวันนี้ กับ The Roof Cafe Roiet เพราะด้วยโจทย์ของเจ้าของที่มาจากธุรกิจจัดจำหน่ายแผ่นหลังคาเมทัลชีท โดย Sangthai Metal Sheet ทำให้ คุณกัน-ธุวานนท์ เรืองกนกศิลป์ แห่ง YIN + D Studio ต้องตีความ “พื้นที่ที่จะแสดงตัวตนของหลังคาเมทัลชีท” ออกมาให้ได้มากกว่าแค่ภาพจำเดิม ๆ “ เมทัลชีท = หลังคา” การตีความที่ล้อเลียนภาพจำ ทำให้เกิดคำถามเมื่อผู้มาเยือนได้เริ่มเดินเข้าไปในคาเฟ่แห่งนี้ สถาปนิกตั้งใจออกแบบโดยสร้างภาพของหลังคาขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากที่ตั้งของคาเฟ่อยู่ริมถนนไฮเวย์รอบตัวเมืองจังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อให้เป็นที่จดจำของรถราที่เดินทางผ่านเส้นทางนี้ได้โดยง่าย รูปฟอร์มที่จดจำได้ง่ายและบอกเล่าต่อกันได้ด้วยคำ ๆ เดียวถือเป็นสิ่งสำคัญ “คาเฟ่หลังคาเมทัลชีต” จึงเกิดขึ้น แต่เมทัลชีทในคาเฟ่กลับถูกใช้หลากหลายกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นแนวกำแพง หรือผนัง ไปจนถึงเคาน์เตอร์กาแฟ ทั้งหมดได้รับการออกแบบขึ้นโดยใช้เมทัลชีทเป็นวัสดุหลัก สถาปนิกเลือกลอนของเมทัลชีทที่เป็นแบบลอนเรียบ และเว้นจังหวะของสัดส่วนช่องเปิดต่าง ๆ ให้พอดีกับลักษณะลอน ทำให้จังหวะแพตเทิร์นที่มาจากรูปแบบลอนนั้น กลายเป็นจังหวะและสัดส่วนที่ร้อยรัดพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นภาษาเดียวกัน ในส่วนของบรรยากาศภายใน นอกจากกำหนดพื้นที่ใช้งานหลัก ๆ เช่น […]
PUKKEL ร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมชาติและสีเอิร์ธโทน
PUKKEL ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ ที่ตกแต่งและใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ 100% รวมถึงสอดแทรกธรรมชาติให้เข้ามาเป็น่สวนหนึ่งของสเปซภายในได้อย่างลงตัว
TROPICAL CAVE HOUSE รีโนเวตตึกแถว อุดอู้เป็นบ้านเย็น ด้วยไอเดียเหมือนอยู่ในถ้ำ
บ้านที่น่าสนใจหลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองแบกนินห์ (Bac Ninh) ประเทศเวียดนาม เกิดจากการ รีโนเวตตึกแถว ให้เป็นบ้านของครอบครัวขนาดใหญ่ เหมาะกับการอยู่อาศัยในสภาพอากาศร้อนชื้น ที่นี่มีความน่าสนใจไม่เพียงแค่การ รีโนเวตตึกแถว ให้กลับมาน่าอยู่เหมือนใหม่ แต่ยังเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เย็นสบายและมีความสว่างไสว โดยมีไอเดียมาจากถ้ำ สมกับที่มีชื่อเรียกว่า Tropical Cave House บ้านพักสำหรับครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีถึง 4 รุ่น เป็นผลงานการออกแบบโดยทีมสถาปนิกชาวเวียดนาม H&P Architects ที่เข้าใจสภาพพื้นที่และความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้อย่างดี แต่ด้วยลักษณะของอาคารที่ทางเข้าค่อนข้างอยู่ติดกับถนน สถาปนิกจึงออกแบบบานเฟี้ยมประตูเหล็กที่มีแพตเทิร์นบนหน้าบานเล็ก ๆ สำหรับกั้นพื้นที่เพื่อความเป็นส่วนตัวของคนในบ้าน ขณะเดียวกันก็ไม่ปิดทึบเสียทีเดียว โดยยอมให้ลมและแสงลอดผ่านได้ ก่อนจะเปิดเข้าสู่พื้นที่ลานอเนกประสงค์หน้าบ้าน ที่เชื่อมกับส่วนรับประทานอาหารชั้นล่าง ขณะที่ด้านข้างก็มีบันไดสำหรับแขก เพื่อขึ้นสู่ชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับรับแขกและนั่งเล่น ไฮไลท์ของบ้านคือ “ฟาซาด” ที่เลือกเปลี่ยนผนังทึบของบ้านตึกแถวให้กลายเป็นช่องเปิดขนาดใหญ่ (เปรียบเหมือนปากถ้ำ) มีบานเปิดเรียงต่อกันถึง 10 บาน ทำหน้าที่นำพาแสงและอากาศเข้าสู่ตัวบ้าน โดยแต่ละบานออกแบบให้มีความสูง 6.6 เมตร แบ่งเป็น 2ช่วงคือ ตอลดความสูงของชั้น 2-3 และชั้น 4-5 ควบคุมระบบเปิด-ปิดด้วยพวงมาลัยเพาเวอร์ระบบไฟฟ้าที่ค่อยปรับระดับองศาของบานเปิดได้เมื่อต้องการอากาศที่ปลอดโปร่ง […]
SHIROIYA HOTEL ชีวิตที่สองของโรงแรมจากยุค 70’s ในมะเอะบาชิ
Shiroiya Hotel โรงแรมกลางเมืองมะเอะบาชิ จังหวัดกุมมะ ที่สถาปนิกญี่ปุ่นระดับแนวหน้า Sou Fujimoto แห่ง Sou Fujimoto Architects เข้ามาฟื้นชีวิตใหม่อีกคราหลังปิดตัวลง