Design
SATTAHIPTALE BOUTIQUE GUESTHOUSE & HOSTEL โฮสเทลธีมทหารเรือที่สัตหีบ
โฮสเทลแสนอบอุ่น SATTAHIPTALE BOUTIQUE GUESTHOUSE & HOSTEL ที่ตกแต่งภายใต้ธีม Navy ให้สอดคล้องกับตำแหน่งที่ตั้งที่สัตหีบ โดยรีโนเวตมาจากอาคารพาณิชย์
CERULEAN COFFEE SHOP คาเฟ่มินิมัลที่เข้ากันดีกับฮันอกแห่งย่านอินซาดง
ตีความฮันอกจากความเป็นบ้าน สู่ Cerulean Coffee Shop คาเฟ่รูปลักษณ์ทันสมัย เพื่อทำให้ที่นี่เป็นสถานที่เชื่อมโยงผู้คนกับสถาปัตยกรรม โดยใช้กาแฟเป็นตัวประสาน
PIZZA 4P’S RESTAURANT LANDMARK 72 นั่งกินพิซซ่าใต้โคมไฟไม้จำลองจากเตาเผาอิฐแบบโบราณ
PIZZA 4P’S RESTAURANT สาขา LANDMARK 72 คือร้านพิซซ่ากลางกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ที่สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยการสร้างระนาบเหนือศีรษะรูปทรงกระบอกทำจากไม้
PONT COFFEE SHOP กาแฟสถานย่านยงซานที่มีสะพานเป็นจุดเชื่อม
คาเฟ่ของ Pont แบรนด์เครื่องคั่วกาแฟสัญชาติเกาหลี ที่ปรับปรุงจากบ้านไม้เก่าย่านยงซาน กรุงโซล ซึ่งพื้นที่เดิมของอาคารเคยเป็นสำนักงานการรถไฟ ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1940 อาคารทั้งสองด้านหันหน้าไปทางถนนแต่ละด้าน และมีประตูซึ่งดูเหมือนทางลัดไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
โรงเรียนอนุบาล OB KINDERGARTEN AND NURSERY กับห้องเรียนวิวทะเลและภูเขา
โรงเรียนอนุบาลในเมืองนะงะซะกิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ HIBINOSEKKEI + Youji no Shiro ตั้งใจเปิดพื้นที่ให้เด็ก ๆ สัมผัสวิวธรรมชาติภายนอกจากภายในอาคารได้ตลอดวัน
คุยกับ ANTON NEGODA ชาวรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญบ้านไม้ไผ่ บนเกาะพะงัน
บ้านไม้ไผ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ไปปลูกสร้างบนเกาะสวย ๆ อย่างพะงันแล้วละก็ เชื่อว่าเป็นฝันของใครหลาย ๆ คนที่รักทะเลเป็นแน่แท้ วันนี้ room ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับชาวรัสเซียที่ลงมือปลูกบ้านไม้ไผ่ด้วยตัวเอง จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญในที่สุด บ้านไม้ไผ่ที่ปลูกเองได้ จนถึงวิธีการจัดการไม้ไผ่จะเป็นอย่างไร เลื่อนลงไปอ่านได้เลย Bamboo design : derived from passion “ผมไม่ได้เรียนเรื่องการก่อสร้าง แต่ผมจบด้านการทำอาหารมา ไม่น่าเชื่อว่าตอนนี้ผมกลับหลงใหลในการสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ เรียกว่าตอนนี้ผมปรุงไม้ไผ่แทนอาหารก็แล้วกัน“ Anton Negoda ชายหนุ่มชาวรัสเซีย เปิดบทสนทนากับเราได้น่ารักมาก ๆ เขาเริ่มหลงรักและสนใจในวัสดุไม้ไผ่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ตอนที่มาเกาะพะงันใหม่ ๆ “ตอนมาถึงที่นี่ครั้งแรก หลังจากเดินทางหลายประเทศในเอเชีย ผมมีความรู้สึกว่าที่นี่เป็นบ้าน รู้สึกอบอุ่น และถูกยอมรับจากพลังงานธรรมชาติบนเกาะ ในช่วงเริ่มแรกผมสนใจในการทำ dome สำหรับ Inipi ( sweat lodge ) ceremony ซึ่งมันคือพิธีกรรมโบราณของชาวอินเดียนแดง เพื่อชำระล้างจิตวิญญาณ กาย ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการเข้าไปนั่งในกระโจม หรือโดมที่มีหินร้อนอยู่ข้างใน คล้ายกับการซาวน่า หรือสตรีม ซึ่งรูปแบบของกระโจมก็เป็นตัวแทนของครรภ์มารดา ซึ่งโครงสร้างของโดม หรือกระโจมนั้น ผมทำจากไม้ไผ่ ซึ่งขนาดที่ใช้ในพิธีกรรมไม่ได้ใหญ่มาก คนเข้าไปได้ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นผมก็ทดลองทำขนาดที่ใหญ่ขึ้นในรูปทรงแบบโดมเหมือนเดิม แต่ปิดด้านนอกด้วยใบจาก ซึ่งโปรเจ็กต์แรกที่ทำ ผมสร้าง Play House ในโรงเรียนอนุบาล หลังจากนั้นผมก็ทดลองสร้างในขนาดที่ใหญ่ขึ้น กับรูปแบบการใช้งานที่ต่างออกไป ทั้งในศูนย์วิปัสสนา วัด โรงโยคะ โรงเรียนอนุบาล ไม่ใช่สำหรับ Sweat Lodge เท่านั้น ซึ่งในแต่ละครั้ง มันเหมือนเป็นการทดลอง ใน 2 ปีนี้ผมมีความเข้าใจและค้นพบเทคนิคต่าง ๆ ผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกมากขึ้น และที่น่าประทับใจมาก ๆ ก็คือตอนนี้ผมมีลูกทีมถึง 6 คน ที่มาช่วยทำในโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยจับงานไม้ไผ่มาก่อนเลย พวกเขาถนัดแต่งานคอนกรีต แต่ว่าตอนนี้พวกเขากลับหลงรัก และได้แรงบันดาลใจในงานไม้ไผ่เหมือนผม” งานไม้ไผ่ช่วงแรกของ Anton ตอนที่เริ่มทำ Sweat Lodge เป็นไม้ไผ่ที่บาง แต่พอเขาขยับขึ้นมาทำงานที่ใหญ่ขึ้น เขาก็เริ่มหาข้อมูลการทำโครงสร้างไม้ไผ่ที่แข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังมีความยั่งยืน ใช้งานได้ยาวนาน ด้วยเทคนิคที่แตกต่างออกไป “ หลายคนคิดว่างานไม้ไผ่ไม่คงทน เสียหายได้ง่ายจากสภาพอากาศและแมลง เพราะความคิดเหล่านี้ทำให้บ้านไม้ไผ่ไม่เป็นที่นิยม แต่ความจริงแล้วถ้าเราทรีตไม้ไผ่อย่างดี และสร้างถูกหลักการ โครงสร้างไม้ไผ่ก็สามารถอยู่เป็น 100 ปี ได้เช่นกัน […]
ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟฯ
บันทึกภาพ อาคารพัสดุยศเส – อาคารตึกบัญชาการ สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟแห่งประเทศไทย ก่อนบางส่วนจะย้ายไปสู่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่จะเปิดให้บริการปลายปีนี้
YORK BAR BY DUMBO แจ๊สรูฟท็อปบาร์ย่านพหลโยธิน ดื่มด่ำวิวกรุงเทพฯ ได้อารมณ์แบบนิวยอร์ก
ใครชอบกลิ่นอายบาร์สไตล์อินดัสเทรียลแบบอเมริกัน York Bar by Dumbo บาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 5 ของอาคาร INN-Office Building ถนนพหลโยธิน คือคำตอบ ! เพราะทุกอณูได้ถูกแต่งแต้มให้ชวนนึกถึงเมืองนิวยอร์ก เท่แต่ไม่ดุดัน วินเทจแต่ไม่หวานจนเลี่ยน จึงเหมาะมาแฮ้งเอ๊าต์ยามค่ำกับคนรัก หรือเพื่อน ๆ สัมผัสกับวิวเมืองย่านพหลโยธิน มองเห็นรถไฟฟ้าวิ่งฝ่าความมืดท่ามกลางแสงสีของกรุงเทพฯ York Bar by Dumbo คือบาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 5 ของอาคาร INN-Office Building ถนนพหลโยธิน ซึ่งมีหุ้นส่วนเป็นเจ้าของเดียวกับร้าน Dumbo Jazz & Vinyl Bar บนชั้น 6 ของตึก เป็นที่มาของการตั้งชื่อร้านทั้งสองให้สอดคล้องกัน เพราะหากเราจะไปย่านดัมโบ้ที่นิวยอร์ก เราต้องขึ้นรถไฟใต้ดินที่สถานี York เสียก่อน ซึ่งก็เชื่อมโยงกันกับทำเลที่ตั้งของร้านนี่เช่นกัน เพราะสามารถมองเห็นรถไฟฟ้าวิ่งผ่านหน้าอาคารได้อย่างพอดิบพอดี จากโครงสร้างอาคารพาณิชย์เดิมที่เคยเป็นร้านเพชรมาก่อน การออกแบบนั้นใช้การคงเหล็กดัดหน้าต่างรอบ ๆ อาคารไว้ ซึ่งมีซี่เป็นเส้นตรงธรรมดา ทว่ามีเอกลักษณ์ นอกจากนั้นยังเก็บผนังปูนเเละเพดานโชว์คานเอาไว้ โดยผู้ออกแบบได้เพิ่มผนังด้านหนึ่งเป็นกระเบื้องจัตุรัสสีขาว […]
WHITE SKUBE HOUSE พื้นที่น้อย ฟังก์ชันเยอะ แต่ลงตัวด้วยการแบ่งสัดส่วนพื้นที่
แบบบ้านโมเดิร์น ตัวอาคารถูกทาทับด้วยสีขาวอย่างประณีตเพื่อให้ความรู้สึกสงบ เรียบง่าย ท่ามกลางบริบทโดยรอบที่มีความสับสบวุ่นวายและกลบความไม่สมบูรณ์ที่เกิดขึ้น
MAYSA BKK เปลี่ยนบ้านเก่ายุค 90’s เป็นคาเฟ่บรรยากาศโฮมมี่
MAYSA BKK คือบ้านเก่ายุค 90s ที่ถูกเนรมิตให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสุดอบอุ่น โดยยังคงเอกลักษณ์ในวันวานไว้ ไม่ว่าจะเป็น เส้นโค้ง รูปทรง และวัสดุ
MAYDAY ผู้รังสรรค์ป้ายรถเมล์เปลี่ยนเมือง
ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหนึ่งของคนเมืองในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่ระบบขนส่งสาธารณะเหล่านี้ก็มีมากมายหลากรูปแบบ บ่อยครั้งที่การเดินทางเป็นไปได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่างง! จะขึ้นรถไปต่อเรือ หรือหาสายรถเมล์ที่ถูกต้องช่างยากเหลือเกิน MAYDAY ทีมนักออกแบบที่เรียกได้ว่าเป็น “นักสื่อสาร” จึงลุกขึ้นมาทำให้ระบบต่าง ๆ สามารถทำงานเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว ทั้งยังเข้าใจได้ง่ายขึ้นโดยผ่านงานออกแบบ และ room ก็ได้มีโอกาสในการพูดคุยกับพวกเขาถึงมุมมองและวิธีคิดเพื่อให้ระบบขนส่งสาธารณะในประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น MAYDAY นักสื่อสารระบบขนส่งสาธารณะ room : MAYDAY คืออะไร? MAYDAY : “จริง ๆ คนชอบมองว่า เราเป็นนักออกแบบ แต่มากกว่านั้น เราทำเรื่องการพัฒนาสิ่งที่เป็นสาธารณะของสังคมมากกว่า ผ่านการลงพื้นที่ ทำความเข้าใจ เก็บข้อมูล และทำวิจัย จนปลายทางมันออกมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ “สาธารณะ” ดีขึ้นได้ ในที่นี้พอเป็นป้ายรถประจำทาง จึงเป็นการพัฒนาให้กับ “ระบบขนส่งสาธารณะ” นั่นเอง” ระบบขนส่งสาธารณะแบบเชียงใหม่ room : ล่าสุดที่เห็นป้ายรถประจำทางใหม่ของเชียงใหม่ที่ทาง MAYDAY ได้ไปออกแบบไว้ ส่วนตรงนี้คิดว่า ต่างกับกรุงเทพฯ มากน้อยแค่ไหน MAYDAY : “อย่างในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ […]
FENIX® นวัตกรรมวัสดุปิดพื้นผิวที่จะสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้แก่วงการออกแบบไทย
FENIX® วัสดุปิดผิวนวัตกรรมนำเข้าจากประเทศอิตาลีอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ว่ากันว่านี่คือวัสดุทางเลือกใหม่ที่จะมาสร้างความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับนักออกแบบในบ้านเรามากขึ้น
LENORA HOTEL รีโนเวตโรงแรมใหม่ในลุคสีขาวคลีน ภายใต้ฟาซาดตาข่ายถัก
นี่คือโปรเจ็กต์ รีโนเวตโรงแรม ใน Bojongloa Kaler ประเทศอินโดนีเซีย กับการออกแบบอาคารเพื่อสร้างความรู้สึกถึงการพักผ่อนที่ทั้งสบาย เรียบง่าย และไม่รู้สึกอึดอัด แม้จะต้องพักอยู่ในย่านชุมชนที่พลุกพล่านไปด้วยภาพวิถีชีวิตผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาตามท้องถนนด้านหน้า โดยเลือกที่จะ รีโนเวตโรงแรม ใหม่ด้วยการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อเปิดรับวิวเมืองนั้นเสียเลย ซึ่งสถาปนิกจาก RDMA Architect มองว่านี่แหละคือเสน่ห์ของท้องถิ่นอันแท้จริง ที่ผู้เข้าพักจากต่างแดนจะได้สัมผัส ดังนั้นความโดดเด่นจึงตกอยู่ที่พื้นที่ระเบียงพักผ่อนแบบเป็นส่วนตัวกลางแจ้ง ที่อยู่ทั้งสี่ด้านของอาคารในทุก ๆ ชั้นให้ออกมาชมวิวรอบ ๆ ได้ โดยกั้นด้วยฟาซาดตาข่ายถักทำสีขาว วัสดุที่หาได้ทั่วไปและหลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่กลับสามารถนำมาออกแบบให้เข้ากับอาคาร จนสร้างความโดดเด่นและกลายเป็นภาพจำดูแตกต่างจากอาคารหลังอื่น ๆ มุมระเบียงนั่งเล่นแต่ละชั้นจะถูกแต่งแต้มด้วยสีเขียวจากพรรณไม้หลากชนิด โดยเฉพาะพรรณไม้เลื้อยใบสีเขียวที่ห้อยระย้าลงมาตัดกับตัวอาคารสีขาว ซึ่งเปรียบเสมือนผืนผ้าใบแนวตั้ง รออนาคตให้สีเขียวจากพรรณไม้ที่ปลูกประดับไว้นั้น ค่อย ๆ เติบโตกลายเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบส่วนหน้าของอาคาร ขณะที่ที่พักและส่วนบริการด้านใน ยังคงเน้นตกแต่งด้วยธีมสีขาวผสมกับงานไม้ที่ให้ลุคดูอบอุ่น โดยไม่ลืมแทรกไม้กระถางตามมุมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่น รวมถึงยังใช้วัสดุอย่างบล็อกแก้วติดลงบนผนัง เพื่อช่วยนำแสงส่องผ่านเข้ามายังพื้นที่ใช้งานด้านในแบบไม่ต้องทำช่องเปิดให้ยุ่งยาก แถมยังกลายเป็นแพตเทิร์นให้แก่ผนังไปในตัวด้วย เป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดจากความใส่ใจ ไม่ว่ามองมุมไหนผู้เข้าพักก็จะพบกับความพิเศษที่สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้การพักผ่อนได้รับการเติมเต็มมากที่สุด ออกแบบ : RDMA Architect […]
รีโนเวททาวน์เฮ้าส์เป็น โฮมออฟฟิศ เก๋กลางกรุง
โฮมออฟฟิศ ของสตูดิโอออกแบบ Top-notch Designer ที่โปร่งโล่งและตอบโจทย์ทั้งการใช้ชีวิต และการทำงาน เกิดจากการรีโนเวททาวน์เฮ้าส์ใจกลางกรุง โดยรื้อผนังเดิมของแต่ละชั้นออก พื้นที่ภายในบ้านจึงกลายเป็นเหมือนสตูดิโอขนาดย่อม ที่แบ่งฟังก์ชั่นใช้สอยสำหรับแต่ละชั้นอย่างชัดเจน พร้อมตกแต่งให้มีบรรยากาศที่แตกต่างกัน หลังจากคลุกคลีและสั่งสมประสบการณ์อยู่ในวงการงานออกแบบภายในและเฟอร์นิเจอร์มานาน ในที่สุดก็ถึงจังหวะเวลาที่จะได้ออกแบบบ้านของตนเอง คุณนลินี เธียรศิริพิพัฒน์ อินทีเรียร์ดีไซเนอร์ และเจ้าของบริษัท Topnotch Designer ที่ใช้ชีวิตอยู่คอนโดมิเนียมมาโดยตลอด เธอได้ตัดสินใจแปลงโฉมทาวน์เฮ้าส์หลังใหม่ใจกลางเมืองให้กลายเป็น โฮมออฟฟิศ หลังแรกสำหรับการใช้ชีวิตและเป็นสถานที่ทำงานไปในเวลาเดียวกัน “ก่อนจะมีบ้านหลังนี้ก็ใช้ชีวิตอยู่คอนโดมาตลอด พอเริ่มขยับขยายก็ลังเลว่าจะเลือกซื้อเป็นบ้านหรือคอนโดดี ด้วยงบประมาณที่ตั้งไว้เราสามารถมีคอนโดขนาด 50 ตารางเมตร ที่ทองหล่อได้ แต่ถ้าเป็นบ้านหลังนี้ เราจะได้พื้นที่ 3 ชั้น ตกชั้นละ 50 ตารางเมตร จึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์เรื่องพื้นที่ได้มากกว่า เพราะเราเป็นคนของเยอะ อีกอย่าง ทำเลของบ้านก็ไม่ได้ไกลจากเอกมัย และทองหล่อมากนักก็เลยมาลงตัวที่โครงการนี้ค่ะ” ยกเครื่องทาวน์เฮ้าส์ เมื่อได้โครงการบ้านที่สามารถตอบโจทย์เรื่องไลฟ์สไตล์ได้แล้ว งานยากลำดับถัดมาคือ การรีโนเวตทาวน์โฮมขนาด 3 ชั้น ซึ่งคำว่า “ยกเครื่อง” ใหม่ดูเหมือนจะไม่ได้เกินจริงเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากทันทีที่ตัดสินใจรีโนเวตบ้าน คุณนลินีได้ทำการรื้อผนังบ้านทั้ง 3 ชั้นออก เหลือไว้แต่เพียงโครงสร้างเพื่อให้บ้านโปร่งโล่งสบายและมีฟังก์ชันตรงกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด ภายใต้แนวคิดการออกแบบว่า […]
แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021 เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ” วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่ หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ” การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ […]
PONGCHUROS แซ่บนัวแบบไม่ง้อผงชูรสในร้านอีสานมินิมัล
ร้าน Pongchuros และโลโก้รูปมือที่หยิบคำว่า “ชู” มาเป็นกิมมิกอย่างที่เห็น ชวนให้รู้สึกสงสัยและสร้างเสน่ห์ให้ไม่น้อยว่า ภายใต้อาคารสีขาวมินิมัลชั้นเดียวนี้ ไม่ใช่คาเฟ่อย่างที่คิด แต่เป็นร้านอาหารอีสานรสชาติแซ่บนัว ซึ่งมีดีตรงที่ทุกเมนูของร้านเด็ดอร่อยได้แบบไม่ต้องใส่ผงชูรส แม้ภายนอกและภายในร้าน Pongchuros แห่งนี้ จะมีความขาวคลีนสไตล์มินิมัล จนหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าเอ๊ะ ! ที่นี่คือคาเฟ่รึเปล่านะ นับเป็นอีกหนึ่งลูกเล่นสนุก ๆ ที่ช่วยสร้างความน่าจดจำให้แก่ ร้านผงชูรส ร้านอาหารอีสานแห่งนี้ ที่ขอบอกเล่าตนเองเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ผ่านการตกแต่งร้านที่ดูทันสมัยสะอาดสะอ้าน ราคาน่ารักไม่ลำบากเงินในกระเป๋า พร้อมบริการเป็นกันเอง เนื่องจากร้านตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงแรมเกศราในย่านสีลมที่มีภาพลักษณ์แบบบ้านเก่า การออกแบบอาคารจึงตั้งใจให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือเป็นเรือนไม้สีขาวโบราณ มีเส้นขอบสีเทา เห็นการใช้อิฐช่องลมมาประกอบเป็นองค์ประกอบในการตกแต่งร้าน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์รับออเดอร์ หน้าประตูร้าน เคาน์เตอร์คิดเงิน รวมถึงในส่วนหน้าห้องครัว ทำให้เกิดความเรียบง่าย น้อยแต่ได้มาก จากเส้นสายที่เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีการใช้เส้นจากการวางแผ่นไม้ของผนังห้อง ซึ่งใช้เป็นเส้นทะแยงแทนที่จะใช้แนวตั้งตามปกติ รวมถึงช่วยเพิ่มลูกเล่นด้วยการทำผนังส่วนล่าง โดยเพิ่มฟังก์ชันให้ใช้วางของได้ ขณะที่เพดานด้านบนใช้การวางเส้นแสงบนเพดานล้อไปกับโครงสร้างด้านบนที่เปิดเปลือยดูโมเดิร์นขึ้น และยังมีการแทรกข้อความต่าง ๆ ไปกับการออกแบบได้อย่างลงตัว Tip นำอิฐช่องลมมาประกอบเป็นตัวเคาน์เตอร์รับออเดอร์หน้าร้าน เคาน์เตอร์เก็บเงิน และตกแต่งในส่วนหน้าห้องครัว สร้างเส้นสายทำให้ภาพของร้านดูน่าสนใจขึ้น และให้ความรู้สึกถึงความเป็นร้านอาหารไทย ที่ตั้ง 38 ซอยสีลม […]
เติมหลังคาให้ตึกเก่ากลายเป็นสวนดาดฟ้าและพื้นที่พบปะของชาวเมือง
โปรเจ็กต์การคืนชีพคฤหาสน์เก่าที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 กลางเมืองเม็กซิโก ซิตี ให้กลับมามีชีวิตชีวาในฐานะพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของชาวเมือง โดดเด่นด้วย สวนดาดฟ้า ภายใต้หลังคาทรงหน้าจั่วที่ยาวตามแนวอาคารกว่า 50 เมตร เพื่อใช้ทดแทนหลังคาเก่าของอาคารที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนัก จนไม่สามารถบังแดดและฝนให้แก่พื้นที่ใช้งานด้านล่างได้ Rooftop Prim คือชื่อของโปรเจ็กต์นี้ ซึ่งมาจากคำถามที่ว่าจะอนุรักษ์อาคารเก่าหลังนี้ ไปพร้อม ๆ กับสร้างคุณค่าแก่สถาปัตยกรรมโบราณอย่างไร ให้ยังคงมีความสำคัญกับชุมชนรอบ ๆ สตูดิโอออกแบบ PRODUCTORA ผู้รับหน้าที่รีโนเวตอาคารตั้งใจจะเก็บโครงสร้างเดิมเอาไว้ ต่อเติมเพียงส่วนของหลังคาให้กลายเป็น สวนดาดฟ้า ด้วยโครงสร้างที่มีความโมเดิร์นเข้ากับยุคสมัย ดึงดูดผู้คนให้อยากเข้ามาใช้งาน สมกับเจตนารมณ์ของเจ้าของ ที่ต้องการให้ที่นี่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและงานรื่นเริงต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและความคึกคักให้หวนคืนมาอีกครั้ง โดยงานออกแบบหลังคาที่ครอบอยู่ด้านบนนั้นมีความยาวมากถึง 50 เมตร ตลอดแนวความยาวของอาคาร โครงสร้างประกอบด้วยโครงถักโลหะน้ำหนักเบา 45 ชิ้น วางเว้นระยะห่างกันทุก ๆ 1.2 เมตร โดยแบ่งน้ำหนักให้เท่า ๆ กันตลอดโครงสร้างที่มีอยู่ เน้นจังหวะและมุมมองผ่านรูปทรงหลังคาทรงสามเหลี่ยม วัสดุที่ใช้ในการมุงหลังคาเน้นน้ำหนักเบา และนิยมใช้ในอุตสาหกรรม เช่น พื้นพีวีซี แผ่นพอลิคาร์บอเนต รวมไปถึงราวบันไดที่ทำจากอวนไนลอน เพราะพยายามที่จะลดน้ำหนักของโครงสร้างให้มากที่สุด เนื่องจากเกรงว่าฐานที่เป็นอาคารเก่าจะรับน้ำหนักไม่ไหว […]
บันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
ก่อนทุกอย่างจะย้ายไปที่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ นี่คือชุดภาพถ่าย สถาปัตยกรรม องค์ประกอบอาคาร การใช้งานพื้นที่ อาชีพ วิถีชีวิตของคนรถไฟ และคนใช้บริการรถไฟ ที่เราบันทึกได้จากการขออนุญาต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินสำรวจ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ และอาคารสำคัญ ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจ แปลกใจ และประทับใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า และอยากนำกลับมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน