Design
รีโนเวตตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านเดี่ยวทันสมัยพร้อมสวนในบ้าน
โดยทั่วไปโครงการรีโนเวตมักเป็นความท้าทายสำหรับนักออกแบบอยู่แล้ว เนื่องจากมักต้องพบเจอข้อจำกัดมากกว่าโครงการที่ออกแบบและสร้างขึ้นใหม่ โดยเฉพาะโครงการธนบุรี 6 ที่ต้องเปลี่ยนโฉมจากตึกแถวอายุ 20 ปี ให้กลายเป็นบ้านเดี่ยวสมัยใหม่ พร้อมสวนภายในบ้าน
HIRATA TOTSUKA CHURCH โบสถ์ไซซ์เล็กสุดคิวท์ มีไอเดียจากใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
Hirata Totsuka Church โบสถ์กลางย่านชุมชนที่ดูน่ารักไม่ต่างจากภาพบ้านในหนังสือนิทานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่มืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่าถ้าใครไปเที่ยวเมืองนี้ ลองหาข้อมูลแล้วแวะเวียนไปเยี่ยมชมและถ่ายรูปกลับมาเป็นที่ระลึกกันได้
HOME DAY 1 พื้นที่ทำงานที่แสดงออกถึงแนวคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์
HD1 อาคารสำนักงานที่เปรียบเหมือนบ้านของเหล่าวิศวกรแห่ง Tri-En Solution โครงการนี้เริ่มต้นจากการขยายพื้นที่ของบริษัทวิศวกร Tri-En Solution จากเดิมที่ใช้อาคารแบบทาวน์เฮาส์ ได้มีการขยายเพิ่มขึ้นเป็น 3 คูหา และผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ออกแบบก็คือ คุณตี๋ ณรงค์ โอถาวร จาก So Architect นี่เอง
MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่
ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]
เสื้อ “คนเลี้ยงช้าง” ที่บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมโดย RENIM PROJECT
แบรนด์แฟชั่นที่ยั่งยืนอย่าง RENIM PROJECT บอกเล่าประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมไทยผ่านเสื้อผ้ามาแล้วหลากหลายคอลเล็กชั่น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟในกรุงเทพฯ SS19 คนเก็บขยะรีไซเคิล FW 19 ไปจนถึงคนงานก่อสร้าง SS20 และล่าสุดสำหรับคอลเล็กชั่น Fall/Winter2020 หรือในชื่อว่า “Dark Forest” ที่ได้ร่วมเดินแฟชั่นโชว์ที่เวียนนาแฟชั่นวีค ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีแรงบันดาลใจจากหนังเรื่อง “คนเลี้ยงช้าง” โดย ม.ล.ชาตรีเฉลิม ยุคล ปี 2533 นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี เป็นคนเลี้ยงช้างชื่อนายบุญส่ง และขี่ช้างป่าชื่อ แตงอ่อน ที่คอยลากไม้จากคนลักลอบตัดไม้ เรื่องราวในหนังเป็นการต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับคนที่ลักลอบตัดไม้ป่า โดยมีนายทุนเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ท้ายที่สุดแล้วแตงอ่อนได้คอยขับไล่พวกลักลอบตัดไม้ไปจนพ้น เพื่อปกป้องผืนป่าไว้ โดยเรื่องราวในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้อุทิศให้แก่ สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติไทย ด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับช้างและป่าไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อคอลเล็กชั่นว่า “Dark Forest” เพื่อให้คนได้ตระหนักถึงช้างป่าไทยที่ลดลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เห็นในข่าวว่า ช้างถูกรถชน ถูกล่างา และต้องตายจากการย้ายแหล่งหาอาหาร เพราะป่าไม้ถูกทำลาย […]
PRAGUE DESIGN WEEK 2020 นวัตกรรมความคิดที่ผลักดันแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืน
Prague Design week 2020 คืองานแสดงงานออกแบบซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปราก เมืองหลวงที่สุดแสนโรมแมนติกใจกลางยุโรป เป็นเวลา 7 วันเต็มๆ โดยคอนเซ็ปของการจัดงานและการคัดเลือกนักออกแบบในปีนี้ นอกจากจะเน้นการออกแบบที่ร่วมสมัยและสามารถใช้งานได้จริงแล้ว ยังเน้นการนำเสนอทักษะด้านงานฝีมือ และไอเดียนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการพัฒนาของเทคโนโลยี พร้อมเรื่องราวแนวคิดของแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทางของผลิตภัณฑ์เลยทีเดียว ในวันนี้เราได้คัดสรรค์งานออกแบบสไตล์รักษ์โลก ที่มีความโดดเด่นทางนวัตกรรมด้านความคิดมาฝากกันถึง 4 งานด้วยกัน “ เมื่อฝูงผึ้ง..กลายเป็นนักออกแบบจำเป็นของแบรนด์ Beehive ” Seibert Eduard นักออกแบบผู้มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติและป่าเขาลำเนาไพร เกิดไอเดียเด็ดในการทำงานกับ “ผึ้ง” ใช่ค่ะ..เรากำลังพูดถึงผึ้ง! แมลงสีเหลือง-ดำปีกใสสุดน่ารัก ที่เป็นฮีโร่ในการออกแบบและสร้างสรรค์ colloection โคมไฟและเทียนไข รูปแบบสุดเอ็กซ์คลูซีฟในครั้งนี้ โดยขั้นตอนการสร้างสรรค์งานศิลปะจากผึ้งชิ้นนี้ Seibert Eduard เล่าว่า เขาเป็นผู้ริเริ่มทำโมลด์นวัตกรรม ที่มีส่วนผสมพิเศษ สามารถส่งกลิ่นหอม เย้ายวนให้ฝูงผึ้งเริ่มบินมาทำรัง และด้วยความสามัคคีของเหล่าผึ้งนี้เอง ทำให้รังเริ่มใหญ่ขึ้นและมีรูปร่างที่สวยงามแตกต่างกันไปจนเกิดเป็นผลงานชิ้นเอกในคอลเล็คชันนี้ขึ้น นอกจากนี้รายได้บางส่วนที่เกิดจากการจำหน่ายผลงานคอลเล็คชันนี้ ยังถูกส่งกลับไปสนับสนุนกลุ่มคนเลี้ยงผึ้งในชุมชนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนของพื้นที่อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงระบบนิเวศอย่างครบวงจรอย่างแท้จริง “ Tomas Holub เครื่องประดับมินิมอลจากขยะอลูมิเนียม ” คอลเล็คชันเครื่องประดับสไตล์มินิมอลเหล่านี้ หากเราไม่พูดคุยกับนักออกแบบ หรืออ่านเรื่องราวของแบรนด์ […]
NANA COFFEE ROASTER ARI ดื่มด่ำกาแฟ อาบอุ่นด้วยแสง และธรรมชาติกลางใจเมือง
เปิดอย่างเป็นทางการแล้ว กับคาเฟ่สาขาใหม่ล่าสุด NANA Coffee Roaster Ari ภายใต้แบรนด์กาแฟคุณภาพ อย่าง NANA Coffee Roaster โดยครั้งนี้ขอมาบุกดินแดนแห่งคาเฟ่อย่างย่านอารีย์ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่อยากให้คุณแวะมานั่งชิล ๆ ดื่มด่ำกับกาแฟ ชมสวนสวย ๆ แบบไม่ต้องเร่งรีบ พร้อมมุมถ่ายรูปเพียบ บอกเลยมาครั้งเดียวไม่พอ! สิ่งที่อบอุ่นไม่แพ้ไปกว่าแก้วกาแฟในมือ เห็นจะเป็นบรรยากาศสไตล์โฮมมี่ของที่นี่นี่แหละ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรีโนเวตบ้านเก่ายุค Mid-Century อายุกว่า 50 ปี ภายในซอยอารีย์ ให้ยังคงโครงสร้างและดีเทลของงานออกแบบยุคเก่าเอาไว้ เพื่อทำหน้าแบบเหนือกาลเวลา ผสานไปกับงานดีไซน์ยุคใหม่ กลายเป็นส่วนผสมของงานการออกแบบที่กลมกล่อม ออกแบบโดยคุณโต – ศุภรัตน์ ชินะถาวร จาก party/space/design จากความต้องการของคุณฝ้าย – นันท์นภัส มัลลิกะมาลย์ ผู้หลงใหลการดื่มกาแฟ และเป็นแฟนตัวจริงของ NANA Coffee Roaster เมื่อตัดสินใจจะเปิดคาเฟ่กับครอบครัว เธอจึงเลือกแบรนด์ NANA แล้วเปิดสาขาใหม่นี้ขึ้นที่อารีย์ ซอย 4 ซึ่งเป็นสาขาต่อเนื่องมาจาก NANA […]
โชว์สวนดอกไม้ ณ ป้อมมหากาฬ พื้นที่ที่แลกมาด้วยชุมชนชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย
ก่อนจะเป็น สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ พื้นที่ตรงนี้คือชุมชนป้อมมหากาฬซึ่งเป็น “ชุมชนชานกำแพงพระนคร” ที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมากว่า 2 ปีกับการรื้อถอนชุมชนออกเพื่อปรับเป็นสวนสาธารณะอย่างในปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางกรุงเทพมหานครได้จัดงาน “ยลป้อมมหากาฬยามสายัณห์…ในวันดอกไม้บาน” เป็นสวนดอกไม้ในพื้นที่ 4 ไร่ ที่เปิดให้คนกรุงได้ชมเชยระหว่างเวลา 05.00 – 21.00 น. ทุกวัน จนถึงต้นปีหน้ากันเลย สวนสาธารณะป้อมมหากาฬ นอกเหนือจากการไปชมความสวยงามของดอกไม้แล้ว เราควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ จึงต้องย้อนกลับไปตั้งคำถามว่า สวนแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ตามที่ กทม.ใช้เป็นเหตุผลในการรื้อชุมชนกลบหน้าประวัติศาสตร์ออกไปหรือไม่ เรามาฟังความคิดเห็นของ ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ สถาปนิกผู้เป็นนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และ คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ชำนาญการพัฒนาเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชน ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาปนิกและนักประวัติศาสตร์ผู้ทำวิจัยเรื่องบ้านโบราณในชุมชนมานานก่อนการไล่รื้อครั้งสุดท้าย และเป็นส่วนหนึ่งที่เสนอให้เก็บบ้านเก่าไว้คู่กับวิถีชีวิตชุมชนเพื่อทำให้เป็น “พิพิธภัณฑ์มีชีวิต” ร่วมกับหลายองค์กรภาคสังคม รวมถึงเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมหลายแห่งรอบเกาะรัตนโกสินทร์มาเป็นเวลาไม่น้อย ได้ให้ความคิดเห็นว่า สวนสาธารณะที่ถูกปิดล้อม “ตั้งแต่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬมาเป็นสวนสาธารณะกว่า 2 ปี ตามที่เห็นกัน ถือเป็นสวนสาธารณะที่ล้มเหลวตามที่คาดการณ์ไว้ ด้วยตำแหน่งที่ตั้งและบริบทไม่เหมาะกับการทำเป็นสวนสาธารณะอยู่แล้ว เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างปิด ขนาบด้วยคลอง และกำแพงเมืองเก่า จึงเข้าถึงพื้นที่ด้านในยาก […]
COPENHAGEN ISLANDS ต้นแบบสวนสาธารณะแห่งอนาคตในรูปแบบหมู่เกาะเคลื่อนที่
Copenhagen Islands หรือ หมู่เกาะเคลื่อนที่ได้ในชื่อ “Parkipelago” เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ Marshall Blecher สถาปนิกและนักสร้างเกาะชาวออสเตรเลีย และ Magnus Maarbjerg สถาปนิกแห่ง FOKSTROT โดยโมเดลต้นแบบตัวแรกที่เรียกว่า CPH-Ø1 นั้นมีขนาดพื้นที่เพียง 20 ตารางเมตรเท่านั้น มันถูกสร้างขึ้นจริงจากแผ่นไม้คล้ายกับแพที่ลอยน้ำและสามารถลากเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งด้วยเรือหนึ่งลำอย่างสะดวก
POR SANTITHAM รีโนเวตโรงแรมเก่าให้สดชื่นด้วยสระว่ายน้ำและไม้เขตร้อน
POR SANTITHAM คือการพลิกโฉมโรงแรมเก่าย่านสันติธรรมกลางเมืองเชียงใหม่ที่ถูกทิ้งร้างมานาน ให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหลังจากได้รับการรีโนเวตให้อยู่ในลุคโมเดิร์นสุดเรียบง่าย ภายใต้แบรนด์ POR แบรนด์ธุรกิจโรงแรมรูปแบบไลฟ์สไตล์โฮเทล ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความตั้งใจที่อยากจะดึงศักยภาพของอาคารเก่า โดยผ่านการออกแบบที่ชาญฉลาด เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของแขกผู้เข้าพักให้มากที่สุด POR SANTITHAM จึงเป็นโรงแรมสาขาแรกและคาดว่าจะครบอีก 4 สาขา ในอนาคตอันใกล้นี้ เดิมทีสภาพอาคารของโรงแรมเก่าทรุดโทรมมาก และมีการต่อเติมที่ไม่เป็นระเบียบ แต่เมื่อสำรวจแล้วพบว่า โครงสร้างเดิมบางส่วนยังแข็งแรงอยู่ค่อนข้างมาก จึงยังเก็บรายละเอียดเหล่านั้นไว้ เพื่อช่วยสร้างเสน่ห์ภายใต้ความไม่สมบูรณ์แบบได้อย่างน่าสนใจ การออกแบบได้ให้ความสำคัญกับพิจารณาว่าจะ “เก็บ” หรือ “ทิ้ง” ของเก่าส่วนไหน แล้วค่อยผสมผสานกับของใหม่ เป็นการปรับแต่งให้พื้นที่กลับมาใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอีกครั้ง เห็นได้จากการทุบพื้นอาคารให้เกิดดับเบิ้ลสเปซที่โปร่งโล่ง และการเสริมโครงสร้างเบาบนชั้น 4 ของอาคาร เพื่อเพิ่มจำนวนห้องพัก ไฮไลท์ที่ไม่อาจมองข้ามไปได้เลยนั่นคือ สระว่ายน้ำ ซึ่งที่อยู่ด้านหน้าของโรงแรม เด่นด้วยบันไดโครงสร้างเหล็กที่สร้างใหม่ตั้งตระหง่านเป็นฉากหลัง ต่อเนื่องกับพื้นที่ส่วนกลางโปร่งโล่ง บรรยากาศบริเวณสระน้ำดูสดชื่นเป็นพิเศษด้วยเหล่าพันธุ์ไม้เขตร้อนสีเขียวชอุ่มที่ขึ้นอยู่เต็มฟาซาดของอาคาร สะท้อนแนวคิด Evergreen เปรียบเทียบลักษณะเขียวชอุ่มไม่ผลัดใบตลอดปีของพรรณไม้เขตร้อน กับการบริหารโรงแรมให้น่าเข้าพักได้ทุกฤดูกาล ถือเป็นการสร้างตัวตนที่ไม่ต้องอิงกับกระแสขาขึ้นหรือลงของตลาดโรงแรม ส่วนห้องพักเป็นการปรับปรุงจากโครงสร้างโรงแรมเก่าจึงมีพื้นที่จำกัดค่อนข้างจำกัด ผู้ออกแบบแก้ปัญหานี้ด้วยการเลือกใช้สีขาว ซึ่งเป็นสีที่สื่อถึงความสะอาดเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เมื่อตัดกับเส้นสายสีดำของเฟอร์นิเจอร์ช่วยให้ดูเรียบเท่โมเดิร์นขึ้น ตรงกับคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังมีการใช้กระจกเงามาช่วยลวงสายตาสร้างมิติให้ห้องดูกว้างและลึกขึ้น และเพื่อสร้างความแตกต่าง แนวคิดการบริหารจัดการโรงแรมของที่นี่ จึงเน้นระบบการทำงานที่พนักงานทุกคนต่างทำงานเป็นทีม ไม่มียูนิฟอร์ม […]
คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม
ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ
SUNNE Voyage เปิดประสบการณ์ล่องทะเลตะวันออกกับเรือไม้ดีไซน์อบอุ่น
เปิดประสบการณ์การพักผ่อนรูปแบบใหม่ไปกับ SUNNE Voyage ทริปล่องทะเลภาคตะวันออก เสพบรรยากาศสุดชิลบนเรือไม้ดีไซน์อบอุ่น โดยมีจุดหมายปลายทางคือหาดทรายสวย และน้ำทะเลใสบนเกาะมันนอก จังหวัดระยอง SUNNE Voyage (ซัน วอยาจ) เกิดจากการแปลงโฉมเรือประมงเก่าสีฉูดฉาด ที่ผ่านการใช้งานมายาวนานหลายสิบปี ให้กลายเป็นเรือท่องเที่ยวรูปแบบใหม่บนน่านน้ำทะเลระยอง ด้วยความตั้งใจที่จะนำเสนอประสบการณ์ใหม่ผ่านบรรยากาศของเรือท่องเที่ยวที่แตกต่างจากเคย เรือลำกะทัดรัดเรียบง่าย แต่กลับโดดเด่นด้วยโครงสร้างไม้เนื้อแข็งสีธรรมชาติ พร้อมนำเสนอคุณค่าของฝีมือช่างต่อเรือประมงไทย ที่ส่งต่อประสบการณ์รุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันมีการนำเรือประมงมาดัดแปลงเป็นเรือท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์มากขึ้น แต่ยังคงมีรูปแบบจำกัด ซัน วอยาจ จึงตั้งใจจะนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่ให้กับเรือท่องเที่ยวของทะเลตะวันออก เรือประมงเก่าได้รับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่เกือบทั้งหมด เพื่อให้ตอบรับกับการใช้งานในรูปแบบเรือท่องเที่ยวมากขึ้น อาทิเช่น บันไดกลางเรือถูกรื้อออก เปลี่ยนเป็นบันไดสองด้านที่นำขึ้นไปสู่ลานดาดฟ้าสำหรับอาบแดดด้านบน เพื่อให้สเปซด้านล่างโปร่งโล่ง เปิดรับวิวสวยจากทุกด้าน พื้นที่ด้านล่าง ประกอบด้วยโต๊ะกลางขนาดใหญ่ และบาร์เครื่องดื่ม เส้นสายโค้งมนของเฟอร์นิเจอร์ และการลบเหลี่ยมมุมของชิ้นส่วนงานไม้ช่วยเพิ่มรายละเอียดการออกแบบที่น่าสนใจ ช่วยลดทอนความแข็งกระด้างของโครงสร้างเรือ การเลือกใช้ไม้เนื้อแข็ง เผยผิวเนื้อไม้ธรรมชาติแทนการทาสีอย่างที่เรือส่วนใหญ่นิยม ช่วยสร้างบรรยากาศเรียบง่าย เข้ากับสมัยนิยม อีกทั้งยังสะท้อนรายละเอียดงานฝีมือ ที่สร้างความภูมิใจให้กับช่างฝีมือท้องถิ่นอีกด้วย ซัน วอยาจ เป็นโปรเจ็คต์ที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มเพื่อน 5 คน ที่ตั้งใจสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ คู่ขนานไปกับธุรกิจที่พักบนเกาะมันนอก โดยพวกเขาตั้งใจให้ซัน วอยาจ เป็นมากกว่าแค่การให้บริการท่องเที่ยวทางเรือ แต่เป็นเหมือนคลับหรือคอมมูนิตี้ของคนรุ่นใหม่ […]
CASA DIQUE LUJÁN บ้านที่ใช้แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีลอนลูกฟูกตกแต่งจนสวยเด่นมีระดับ
FRAM arquitectos ออกแบบบ้านโดยใช้แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสีลอนลูกฟูก มุงหลังคาและกรุผนังภายนอก จนออกมาสวยเด่นมีระดับ
ศูนย์บำบัดผู้พิการที่สร้างจากดินและไม้ไผ่โดยฝีมือชาวบ้านในชุมชน
Anandaloy คือศูนย์สำหรับผู้พิการที่มีสตูดิโอขนาดเล็กสำหรับทำงานสิ่งทอรวมอยู่ด้วย ที่นี่โดดเด่นด้วยการก่อสร้างด้วยวัสดุเรียบง่ายอย่าง ดิน และ ไม้ไผ่ ออกแบบโดย Anna Heringer จาก Studio Anna Heringer ซึ่งเธอมีความเชื่อว่า “งานสถาปัตยกรรมคือเครื่องมือที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน” เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์อื่น ๆ ของเธอที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป แอฟริกา หรือเอเชีย ซึ่งล้วนแต่ใช้วัสดุหาง่ายในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมไปถึงอาศัยฝีมือและแรงงานจากช่างท้องถิ่น เนื่องจากตัวอาคารทำจากดินเหนียวและ ไม้ไผ่ งบประมาณส่วนใหญ่จึงตกไปอยู่ที่ค่าแรงงานของช่างฝีมือหญิง ตัวอาคารนึ้จึงทำหน้าที่เป็นมากกว่างานสถาปัตยกรรม แต่ยังเป็นตัวเร่งให้เกิดการพัฒนาในระดับชุมชน โครงการนี้คือการนำประสบการณ์จาก 5 โครงการที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ นำมาพัฒนาร่วมกับ Montu Ram Shaw ผู้รับเหมาชาวบังกลาเทศ และทีมทำโครงสร้างดินและไม้ไผ่จากในหมู่บ้าน รวมไปถึงผู้พิการบางคนที่ขอเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ของ Studio Anna Heringer นับเป็นกุญแจสำคัญที่พิสูจน์ให้เห็นว่า ความรู้ด้านการออกแบบและก่อสร้างได้ถูกส่งต่อไปยังผู้คนและชุมชนอย่างหยั่งรากลึก บ่อยครั้งที่ความเป็นคนพิการของคนบังกลาเทศมักถูกมองว่าเป็นเพราะพวกเขาถูกลงโทษจากพระเจ้า ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ทำให้พวกเขาต้องอยู่กันอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ และถูกทิ้งให้ใช้ชีวิตตามลำพัง ในขณะที่คนอื่น ๆ ในบ้านต้องออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ภายใต้ปัญหาความยากจน พื้นที่สำหรับบำบัดเยียวคนพิการจึงแทบหาได้ยากมาก […]
303 HOUSE บ้านซอกตึกที่เปลี่ยนพื้นที่แคบลึกให้อยู่ได้จริง
โดยปกติแล้วบ้านทาว์เฮ้าส์คือรูปแบบที่พักอาศัยที่เราเห็นกันจนคุ้นตาในกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ทว่าโปรเจ็กต์ 303 HOUSE บ้านหลังเล็ก ขนาด 90 ตารางเมตร นั้นต่างออกไปจากภาพคุ้นชินเหล่านั้นแทบสิ้นเชิง
CHEEVA SPA พากลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติในบรรยากาศแบบมินิมัล
จากสปาแบบ Traditional Lanna ที่ให้บริการมาอย่างยาวนาน ด้วยเหตุการณ์สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ Cheeva Spa แห่งนี้ ต้องหยุดให้บริการไป แต่ในวิกฤตนั้นมักมีโอกาสเสมอ ช่วงเวลาที่หยุดให้บริการไปนั้นจึงทำให้คุณกันติชา และคุณกัลยกร สมศักดิ์ ลงมือรีแบรนด์และปรับเปลี่ยนบรรยากาศของสปาใหม่จนหมดจดเลยทีเดียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO คุณกันติชา และคุณกัลยกร เป็นผู้ลงมือเลือกสรรและตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ในสปาใหม่ด้วยตนเอง แต่ในด้านการออกแบบพื้นที่นั้นได้ถูกรังสรรค์โดยทีมสถาปนิกจาก INLY STUDIO โดยมีคอนเซ็ปต์ของการรีแบรนด์หลัก ๆ ก็คือการนำ Cheeva Spa กลับสู่แก่นแท้ของธรรมชาติ ทั้งการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรยากาศภายในแบบมินิมัล ที่สื่อถึงความเป็นธรรมชาติและสุขภาพที่ดีอย่างเด่นชัด การออกแบบพื้นที่ให้สว่างและเปิดโปร่งเช่นนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะต้องการสร้างบรรยากาศใหม่ ๆ ให้เกิดความสดใสขึ้น เพื่อให้การบริการสปานั้นถูกมองว่าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยขยายกลุ่มลูกค้าให้ไปสู่คนวัยทำงานมากขึ้นด้วย และอีกส่วนหนึ่งคือการเน้นย้ำถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิกในสปา ความสว่างและปลอดโปร่งจึงสื่อถึงสุขภาพที่ดีจากภายใน ตั้งแต่การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ พื้นที่ส่วนบริการมีกระจกบานใหญ่ที่เปิดวิวออกไปยังสวน เป็นการออกแบบที่ดึงเอาความเป็นสวนเข้ามาในพื้นที่ภายในโดยยังคงไว้ซึ่งความสบายอยู่ วัสดุและโทนสีของสปา เลือกใช้สีที่กลมกลืนกับความเป็นธรรมชาติ เช่น สีไม้ขัดเสี้ยนขาว วัสดุที่เป็นดินเผา และเซรามิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีขาวที่เลือกให้เป็นสีขาวที่หม่น ทั้งนี้เพื่อรับกับการเปิดช่องแสงจะทำให้แสงที่สะท้อนจากผนังยังคงนวลตาไม่เจิดจ้าจนเกินไป ในหลาย […]
ZIVI NIMMAN โฮสเทลเชียงใหม่ที่มีห้องพักเพียง 4 ห้อง 4 สไตล์
ZIVI เป็นสำนวนที่มาจากภาษาโครเอเชียมีความหมายว่า Live Life ด้วยแนวคิดการออกแบบที่ตั้งใจให้โฮสเทลแห่งนี้เป็นเสมือนบ้านที่มีดีไซน์ เต็มไปด้วยความสะดวกสบายและชวนผ่อนคลายขณะพักผ่อน DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: pommballstudio โดยเริ่มต้นจากการรีโนเวตตึกแถวเก่าที่เจ้าของเคยอยู่อาศัยมาตั้งแต่วัยเด็ก แล้วจัดวางฟังก์ชันใหม่เพื่อให้ตอบโจทย์กับการทำหน้าที่เป็นโฮสเทลมากที่สุด ZIVI NIMMAN ห้องพักของที่นี่มีเพียง 4 ห้องเท่านั้น โดยแต่ละห้องมีขนาด 32 ตารางเมตร และมีห้องน้ำในตัว ตกแต่งด้วยธีมที่แตกต่างกันตามความชอบและไลฟ์สไตล์ของแขกผู้เข้าพัก โดยเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งล้วนได้รับการคัดสรรจากเจ้าของเองทั้งหมด แบ่งเป็นห้อง Black เน้นเฟอร์นิเจอร์สีดำเป็นหลัก ห้อง White โดดเด่นด้วยการตกแต่งด้วยหินอ่อนสีขาว ห้อง Comfy Gold พิเศษด้วยฮาร์แวร์สีทองทั้งห้อง และห้อง Wood บรรยากาศอบอุ่นเป็นกันเองด้วยการนำไม้สักของจังหวัดเชียงใหม่มาใช้เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้แต่ละชั้นของห้องพักยังมีพื้นที่ส่วนกลางสำหรับไว้แชร์กิจกรรมร่วมกัน จัดวางชุดโซฟาขนาดใหญ่ พร้อมชุดครัวขนาดกะทัดรัดไว้สำหรับนั่งรับประทานอาหารพร้อมหน้ากัน ที่ตั้ง 12/14 ซ.15 ถ.นิมมานเหมินท์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่ โทร : 0-5311-1809 FB : zivinimman เจ้าของ: ฉมาพันธ์ อัครอิทธิพงศ์ ออกแบบ : […]
เก้าอี้ MANTA เฟอร์นิเจอร์เอ๊าต์ดอร์ดีไซน์มินิมัลที่มาพร้อม 3 ฟังก์ชั่น
คอลเล็กชั่น เก้าอี้ ม้านั่งเอ๊าต์ดอร์ดีไซน์มินิมัลจากแบรนด์ mmcité แบรนด์สตรีทเฟอร์นิเจอร์ชื่อดังจากสาธารณรัฐเช็ก ในปีนี้ Manta กวาดรางวัลด้านการออกแบบมาแล้วมากมาย รวมถึงรางวัลระดับโลกล่าสุดอย่าง Red Dot Design Award 2020