MOUNTAIN HOUSE IN MIST บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็นห้องสมุดของชุมชน

บ้านจีนโบราณ ที่กลายมาเป็น ห้องสมุดชุมชน กับการเปลี่ยนพื้นที่ว่างใกล้จัตุรัสของหมู่บ้านในเมืองจินหัว ประเทศจีน ให้กลายเป็นอาคารสไตล์จีน

บ้านกลางบึงของวิศวกรที่ห้องนอนยื่นล้ำเหนือผืนน้ำกว่า 30 เมตร

บนที่ดินผืนใหญ่กว่า 10 ไร่ พร้อมบึงน้ำธรรมชาติ ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านแจ้งวัฒนะ คือที่ตั้งของบ้านสองชั้นที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารที่ยื่นลอยออกไปเหนือผิวน้ำแบบไร้โครงสร้างค้ำยัน  บ้านเหล็ก หลังนี้ได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อให้เป็นบ้านพักสำหรับผู้อยู่อาศัยวัยเกษียณ  ภายใต้แนวคิดเพื่อการพักผ่อนและได้สัมผัสกับธรรมชาติอย่างใกล้ชิด

บารานี เรสซิเดนซ์ รังสิต-คลอง 3 บ้านเดี่ยวที่ออกแบบเพื่อทุกคนในบ้าน พร้อมฟังก์ชั่นที่สะดวกสบายสำหรับผู้สูงอายุ

บารานี เรสซิเดนซ์ รังสิต-คลอง 3 บ้านเดี่ยวที่ออกแบบเพื่อทุกคนในบ้าน พร้อมฟังก์ชั่นที่สะดวกสบายสำหรับผู้สูงอายุ โดย MANA Development Co., Ltd.

LIVIST RESORT PHETCHABUN พักผ่อนกลางประติมากรรมคอนกรีตสุดท้าทาย

ทันทีที่ภาพสระว่ายน้ำที่ล้อมรอบไปด้วยคอนกรีตรูปทรงพีระมิดกลับหัวของโครงการ Livist Resort Phetchabun ถูกโพสต์ลงในสื่อออนไลน์ ก็กลายเป็นกระแสในวงกว้างทันที ด้วยรูปทรงสะดุดตาของสถาปัตยกรรมดิบกระด้างที่โดดเด่นท่ามกลางธรรมชาติ ที่นี่ได้รับการออกแบบภายใต้ความตั้งใจที่จะสร้างประสบการณ์ใหม่ในการพักผ่อน พร้อมท้าทายความรู้สึกและทดลองกับพฤติกรรมของผู้ใช้งาน DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: POAR Livist Resort Phetchabun  รีสอร์ตขนาด 76 ห้อง ออกแบบโดย POAR ตัวโครงการตั้งอยู่ห่างจากสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังอย่างเขาค้อเพียง 30 นาที โดยคำว่า Livist (ลิวิสต์) นั้น มาจากชื่อ Livistona Speciosa ซึ่งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของต้นค้อ ที่ทางสถาปนิกตั้งใจเลือกชื่อนี้เพื่อต้องการสื่อถึงการนำบริบทมาถ่ายทอดเป็นงานออกแบบที่ผ่านการตีความอย่างตรงไปตรงมาจากทิวเขาค้อที่โอบล้อมพื้นที่แบบ 270 องศา โดยถอดเส้นสายจากระนาบแนวนอนมาผสานกับลักษณะพื้นที่ตั้งโครงการที่เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา ตัวอาคารจึงมีลักษณะเป็นแนวยาวทอดตัวล้อไปกับแนวเขา โดยมีความยาวถึง 99 เมตร นำเสนอความต่อเนื่องของเส้นสายจากธรรมชาติมาสู่งานสถาปัตยกรรม ด้วยทำเลที่ตั้งจึงทำให้ทางโรงแรมตั้งใจจะเป็นศูนย์กลางการพักผ่อนไปพร้อมกับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเขาค้อที่มีมากกว่าแค่การมาดูทะเลหมอกยามเช้า ด้วยการสร้างสระน้ำกลางแจ้งไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของคอร์ตยาร์ดโรงแรม เพื่อให้แขกสามารถใช้ว่ายน้ำได้หลังจากกลับมาจากการดูทะเลหมอก สถาปนิกจึงเลือกใช้วงกลมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากจานมาเป็นรูปทรงของสระ และไล่ระดับความลึกไปยังกลางสระเช่นเดียวกับจานโดยไม่มีสเต็ป โดยมีพีระมิดกลับหัว ที่สร้างจากการหล่อคอนกรีตในที่วางตำแหน่งไว้อยู่กลางสระ และด้วยระดับความลึกที่ค่อยๆ ลดลงทำให้ผู้ใช้สระสามารถสัมผัสกับระดับความสูงของพีระมิดที่ค่อยๆ เปลี่ยนไป จากที่เมื่ออยู่ขอบสระว่ายน้ำ พีระมิดจะมีความสูงราว 3 เมตร […]

HOT WIRE EXTENSIONS เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D PRINTING

Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]

“ตำทองหล่อ” แซ่บนัวในบรรยากาศอีสานโมเดิร์น

หลังจากประสบความสำเร็จมาแล้วกับสาขาแรก “ตำทองหล่อ”  จึงตัดสินใจปักธงลงบนพื้นที่ผืนใหม่ เพื่อรองรับลูกค้าผู้ติดใจรสชาติแบบดั้งเดิม กันที่โครงการสินธรวิลเลจ ซอยหลังสวน โดยยังคงคอนเซ็ปต์เมนูอาหารอีสานรสเเซ่บเช่นเคย ภายใต้การออกแบบตกแต่งร้านสไตล์อีสานเเบบโมเดิร์น ตำทองหล่อ หยิบเมนูสุดฮิตอย่าง “ส้มตำ” ที่เต็มไปด้วยบรรดาสมุนไพรและผักพื้นบ้าน สีสันน่ารับประทาน มาเป็นธีมสีในการตกแต่งร้าน อาทิ การจับคู่สีอย่างสีเขียวเเละน้ำตาล เริ่มจากพื้นที่ฝ้าเพดานที่พลิกเเพลงเส้นสายมาจากหวดนึ่งข้าว โดยนำมาออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ด้านในเป็นโครงสร้างเหล็ก ก่อนจะนำหวายเทียมที่จักสานเป็นลวดลายตามที่ออกแบบไว้มาติดตั้งทับลงไป สำหรับบอกอาณาเขตตำเเหน่งโต๊ะรับประทานอาหารเเต่ละยูนิตให้เกิดจังหวะที่สม่ำเสมอ ขณะที่พื้นเลือกใช้อิฐดินเผาที่ผลิตมาจากดินชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำครกตำส้มตำ นำมาปูลวดลายเเบบก้างปลา เข้ากันดีกับเฟอร์นิเจอร์หวายที่จักสานอย่างประณีตเเละมีแพตเทิร์นเฉพาะตัว อีกทั้งยังเลือกกระเบื้องทำมือจากจังหวัดลำปางมากรุลงบนผนัง เเละโคมไฟสั่งทำพิเศษจากหวายฝีมือของชาวบ้านพนัสนิยม จังหวัดชลบุรี  เช่นเดียวกับความต้องการสร้างบรรยากาศภายในร้านให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วยการเลือกใช้กระบอกไม้ไผ่ธรรมชาติมาปิดเสาอาคาร ทั้งยังนำไปหุ้มวงกบหน้าต่างทุกบาน เพื่อให้ทุกรายละเอียดแสดงถึงความเป็นอีสานอย่างแท้จริง   หากเปรียบ “ตำทองหล่อ” เป็นอาหาร ก็คงเป็นอาหารอีสานที่ยังคงความแซ่บและนัวได้อย่างไม่ขาดไม่เกิน ที่เพิ่มเติมคือการใช้งานออกแบบสื่อให้เห็นถึงเสน่ห์ของแก่นความเป็นอาหารอีสาน  ผ่านการเลือกใช้สีสันและวัสดุท้องถิ่นที่คุ้นเคย จนเกิดเป็นร้านอาหารที่พร้อมจะมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารอีสาน ในบรรยากาศที่ทันสมัยเเละดูแปลกใหม่ขึ้นกว่าเดิม ข้อมูล เจ้าของ : คุณพิมพ์ชนก (พลางกูร) สุภัทรพันธุ์ ออกแบบ :  Context Design Studio ภาพ : Skyground Architectural […]

ARROM ORCHID ชมกล้วยไม้ใต้สถาปัตยกรรมไม้ไผ่

จาก “สวนบัวแม่สา” แหล่งท่องเที่ยวสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่บนถนนสายแม่ริม-สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนนี้ได้รับการแปลงโฉมให้กลายเป็นร้านอาหารและคาเฟ่ในสวนกล้วยไม้ในชื่อ ARROM ORCHID (อารมณ์ ออร์คิด) เชียงใหม่นอกจากมีมนต์เสน่ห์ด้านวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี และธรรมชาติสวย ๆ แล้ว อีกสิ่งที่น่าจดจำคืองานหัตถกรรม หรืองานคราฟต์ ที่ละเอียดลออ ผ่านสองมือของสล่า (ช่างพื้นบ้าน) โดยเฉพาะงานจักสานและไม้ไผ่ เมื่อถึงคราวปรับโฉมสวนบัวแม่สา มาเป็น “ARROM ORCHID” ไอเดียการรังสรรค์ความงามให้แก่ของพื้นที่รายล้อมไปด้วยธรรมชาติอย่างกล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ พร้อมการนำเสนอตนเองเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเลือกใช้ไม้ไผ่เพื่อทำเป็นโครงสร้าง รวมกับความชำนาญในงานไม้ไผ่ของช่างท้องถิ่น เกิดโปรเจ็กต์งานออกแบบที่สวยงามสื่อถึงธรรมชาติอย่างกลมกลืน การออกแบบโดยรวมเป็นวางผังโดยได้คงโครงสร้างหลักที่เป็นเหล็กกาวาไนซ์เดิมไว้ และใช้วัสดุ “ไม้ไผ่” ซึ่งให้ความรู้สึกถึงความเป็นธรรมชาติ เเละมีน้ำหนักเบา เข้าไปติดตั้งร่วมกับโครงสร้างเดิมสำหรับตกแต่งในส่วนของฟาซาด ฝ้าเพดาน เเละผนัง โดยใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดนำมาประกอบกันหลายรูปแบบ จนเกิดเเพตเทิร์นเเละเส้นสายเเสงเงาที่สวยงาม ยามเมื่อเเสงลอดผ่านลงมายังพื้นที่ด้านใน  การใช้ไม้ไผ่หลากหลายขนาดและรูปทรงมาประกอบการตกแต่งทั้งภายในร้านอาหารและภายนอกซึ่งเป็นสวนกล้วยไม้ขนาดใหญ่นั้น ทำให้ภาพของไม้ไผ่ดูทันสมัยขึ้น ทั้งจากเส้นสายลวดลายกราฟิกและแสงเงาที่ส่องผ่านเข้ามา อีกทั้งยังทำหน้าที่ช่วยกรองเเสง ดีทั้งกับลูกค้าผู้มาใช้บริการ รวมถึงบรรดากล้วยไม้หลากหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในโรงเพาะชำ ซึ่งสถาปนิกได้จัดวางผังทางเดินใหม่ให้ลดเลี้ยวไปมา จึงสามารถเดินชมกล้วยไม้ที่ออกดอกบานสะพรั่งได้อย่างใกล้ชิด  เรียกว่ามาถึงที่นี่เเล้วได้ชมทั้งสวนกล้วยไม้ และรับประทานอาหารรสชาติอร่อยไปพร้อมกัน ครบจบในที่เดียว ที่ตั้ง 332 หมู่ที่ 1 […]

สนทนากับคุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล อดีตนายกสมาคมมัณฑนากรฯ TIDA (2016-2023)

บ้านและสวน ได้มีโอกาสสนทนากับมัณฑนากรมากฝีมือผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการมานาน นั่นคือคุณเป้า-วิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท P49 Deesign and Associates และอดีตนายกสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) (2016-2023) โดยสิ่งที่ได้พูดคุยนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ภาพของวงการที่คุณเป้าได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด เรื่องของรางวัล TIDA Awards ที่ได้กลับมาจัดอีกครั้งในรอบ 10 ปี ไปจนถึงเรื่องของผลกระทบจาก Covid-19 ที่มีต่อวงการมัณฑนากร รวมไปถึงบทบาทของ TIDA ว่าอะไรคือสิ่งที่สมาคมมัณฑนากรฯ ตั้งใจพัฒนาและผลักดันต่อไปในอนาคต (*บทสัมภาษณ์ในปี 2020) อ่าน : TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย “สำหรับ TIDA Awards ในอนาคต  เราได้ขยายสาขารางวัลขึ้นมาเพิ่มเติม เพราะอยากให้ไม่ว่าใครจะทำอะไรก็ตาม อยากให้เขามีเป้าหมาย ได้รับการพูดถึงมากขึ้น มีรางวัลให้กับเขา ในทางกลับกันพอประเภทของรางวัลมีเยอะขึ้น ความหลากหลายของงานที่จะเข้ามาและความน่าสนใจดี ๆ ย่อมมีมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน” Q. อยากให้พี่เป้าช่วยเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของวงการมัณฑนากรที่มองเห็นจากสายตาของพี่ ว่ามีอะไรที่แตกต่างไปบ้างจากอดีตจนถึงปัจจุบัน? […]

HOUSE IN TEZUKAYAMA บ้านหลังเล็กหน้าแคบที่มีโครงสร้างไม้สนเป็นพื้นที่อเนกประสงค์

บ้านหลังเล็ก ในเมืองโอซาก้าหลังนี้ มีชื่อว่า House in Tezukayama ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่โอบรอบไปด้วยบ้านเรือนหนาแน่นทั่วทิศ แต่ใครจะคิดว่าพื้นที่ขนาด 3.74 x 16.31 เมตร ซึ่งเป็นที่ดินที่มีลักษณะแคบ แต่ลึก ก็สามารถแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับสร้างบ้านพักอาศัยดี ๆ สักหลังสำหรับครอบครัวเล็ก ๆ ที่ผลลัพธ์ออกมาน่าอยู่ได้

ATHITA THE HIDDEN COURT CHIANG SAEN ซ่อน “ความสุข” และ “ความสงบ” หลังกำแพงอิฐกลางเมืองโบราณเชียงแสน

Athita The Hidden Court Chiang Saen โรงแรมดีไซน์ร่วมสมัยผสานกลิ่นอายล้านนาในอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เกิดขึ้นจากแนวคิดที่เน้นความกลมกลืนไปกับชุมชน และวัดวาอารามเก่าแก่ที่ตั้งอยู่โดยรอบ คล้ายกับกำลังซ่อนตัวอยู่ในย่านเมืองเก่าอย่างเงียบเชียบ เพื่อรอให้คุณเดินทางมาพักผ่อนและเยี่ยมเยือน ด้านหลังแนวกำแพงอิฐมอญที่ดูคล้ายกำแพงเมืองโบราณนี้ ซ่อนไว้ด้วยตัวอาคารไม้สักสูงขนาดสองชั้นที่ดูไม่ต่างจากบ้านไม้ในชนบท และคอร์ตสนามหญ้าผืนใหญ่สำหรับเป็นลานกิจกรรม เปิดมุมมองให้เห็นยอดเจดีย์และพระพุทธรูปโบราณอายุกว่า 500 ปี ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดอาทิต้นแก้ว ซึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หนึ่งที่บอกเล่าความเป็นเมืองเก่าของเชียงแสน ก่อนถูกนำมาตีความหมายใหม่ผ่านสายตาของคุณเติ้ล – เผดิมเกียรติ สุขกันต์ แห่ง Studiomiti จน Athita The Hidden Court Chiang Saen ออกมาเป็นโรงแรมสไตล์โมเดิร์นล้านนา เจือกลิ่นอายท้องถิ่นเมืองเหนือ น่าเดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน “ภาพของเมืองเชียงแสนที่ได้สัมผัสในตอนแรก ที่นี่มีความคล้ายคลึงกับเชียงใหม่ คือมีกำแพงเมืองเก่า วัดส่วนใหญ่ก็อยู่ติด ๆ กันคล้ายกับเชียงใหม่ เลยคิดว่าที่นี่เป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์ สภาพบ้านเรือนก็เป็นบ้านไม้ธรรมดาสองชั้นยกใต้ถุนสูง “เลยคิดว่าน่าจะทำสถาปัตยกรรมให้ซ่อนหรือหายไปกับเมือง ผสมผสานและมีน้ำหนักของความแตกต่างที่ไม่มากเกินไป ในความแตกต่างเราคุมไม่ให้กระโดดไปไกลเสียจนจับต้องไม่ได้  เพราะฉะนั้นน้ำหนักของการใช้แมททีเรียลก็เลยให้ความรู้สึกทั้งกลมกลืนและมีเอกลักษณ์ในเวลาเดียวกัน” คุณเติ้ลเล่าที่มาของแนวคิดการนำความเป็นพื้นถิ่นที่ได้พบเห็นมาคลี่คลายสู่งานออกแบบ ด้วยพื้นที่ตั้งของโรงแรมซึ่งอยู่ในทำเลที่หันเข้าหาด้านหน้าของวัดอาทิต้นแก้ว วัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ มังราย จากบริบทและประวัติศาสตร์ของพื้นที่ […]

we!park แพลทฟอร์มที่ชวนให้ทุกคนเป็นเจ้าของสวนในเมือง

we!park องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เชิญชวนทุกคนมามีส่วนร่วมในการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวด้วยการหยิบพื้นที่ว่าง หรือยกพื้นที่รกร้างในเมืองกรุงมาพัฒนาให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเชื่อว่าพื้นที่สีเขียวเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดว่า เมืองนั้นมีคุณภาพที่ดีหรือไม่?  แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวขนาดเล็ก หรือ Pocket Garden ได้ในทุก ๆ 400 เมตร โดยแพลตฟอร์มนี้เกิดจาก คุณยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิกผู้ร่วมก่อตั้ง ที่ตั้งข้อสงสัยว่า หากเรามีองค์ความรู้เรื่องการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม และความรู้สึกอยากช่วยเหลือหน่วยงานรัฐในการสร้างสวน หรือพื้นที่สาธารณะ จะต้องมีขั้นตอน และกระบวนการอย่างไร หรือหากองค์กรไหนมีเงินทุนที่สนใจจะสร้างสวนสาธารณะ เขาต้องเดินเข้าไปติดต่อหน่วยงานไหน  นำมาสู่การสร้างสรรค์แพลตฟอร์มเพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเชื่อม “หน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชน” เข้าหากัน โดยปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหลัก wepark “เราทำหน้าที่เป็นกลไกกลางในการเชื่อม เช่น ใครมีที่ดินว่างเอามา เดี๋ยวเราเชื่อมกับหน่วยงานรัฐให้ หานักออกแบบมาให้ หรือใครมีเงินอยากบริจาคเพื่อทำสวน เราก็ดูว่าทางกทม.กำลังมีโครงการแบบนี้อยู่ไหม กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยในการช่วยดึงทรัพยากร โดยเราใช้วิธีการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานคือคุยกับชุมชน คุยกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อนำความรู้กลางมาสร้างให้เกิดเป็นรูปธรรมจริง ๆ” เริ่มต้นจากสวนขนาดเล็ก “ตอนนี้เราเน้นขับเคลื่อนการสร้างพื้นที่สวนขนาดเล็ก หรือ Pocket Park […]

ARTISAN AYUTTHAYA สถาปัตยกรรมบล็อกแก้วที่สถาปนิกและธรรมชาติร่วมกันออกแบบ

อีกคราที่ คุณเอส-สรวีย์ วิศิษฏ์โสพา เจ้าของธุรกิจร้านอาหารแกรนด์เจ้าพระญา ลุกขึ้นมาสร้างหมุดหมายสำคัญให้กับบ้านเกิด หลังจากก่อนหน้านี้เธอได้ส่ง ที่เที่ยวอยุธยา ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไม้อัดโครงสร้างน็อกดาวน์ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ “The Wine Ayutthaya” ไปเป็นทัพหน้าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนและการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนเป็น ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ ที่ประสบความสำเร็จเกินคาดหมายมาแล้ว 

T-HOUSE NEW BALANCE STORE รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

พาไปสำรวจโครงการ T-HOUSE ซึ่งเป็นสโตร์ของ New Balance ในญี่ปุ่น ที่รื้อโกดังเก่ามาประกอบร่างใหม่ซ่อนไว้หลังผนังสีขาว

ATHLETIA แฟล็กชิพสโตร์ที่ใช้วัสดุย่อยสลายง่ายและไม้เบิร์ชจากป่าปลูกมาตกแต่ง

เจาะแนวคิดแฟล็กชิพสโตร์ของแบรนด์ Athletia ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบรนด์ใหม่ในเครือ e’quipe ที่ตกแต่งด้วยวัสดุย่อยสลายง่าย และใช้ไม้เบิร์ชคัดสรรจากป่าปลูก

YASU HOUSE บ้านหน้าต่างยาวที่ออกแบบไว้นั่งมองเขาและทิวไม้จากมุมนั่งเล่น

บ้านญี่ปุ่น หลังนี้แค่มองผ่านหน้าต่างก็สร้างความสดชื่นได้ เพราะสถาปนิกใช้หน้าต่างเป็นตาของบ้าน และอาศัยบริบทโดยรอบที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติมาเป็นองค์ประกอบ

TIAM COFFEE SHOP & HOME รีโนเวตตึกแถวเก่าให้เป็นบ้านที่มีคาเฟ่อยู่ชั้นล่าง

รีโนเวตตึกแถว เก่าสภาพทรุดโทรมที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกใจกลางเมืองเว้ ประเทศเวียดนาม ให้มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับครอบครัว 3 รุ่น ที่มีสมาชิก 7 คน! ความพิเศษของที่นี่ นอกจากการ รีโนเวตตึกแถว เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้ว ชั้นแรกของที่นี่ยังเปิดเป็นคาเฟ่ดำเนินการโดยเจ้าของเอง และส่วนที่เหลือของอาคารมีไว้สำหรับนั่งเล่น บานเกล็ดแนวตั้งและผนังกระจกทำหน้าที่เป็นเสมือนเปลือกอาคาร ปกคลุมบ้านเป็นเหมือนฉากกั้นที่สร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในกับภายนอก ช่วยให้คนในบ้านใกล้ชิดกับธรรมชาติและบริบทภายนอกได้มากขึ้น บานเกล็ดนี้ไม่เพียงช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน แต่ยังสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงเงา และจังหวะของเส้นสายแบบเรขาคณิต เพิ่มความรู้สึกสะดุดตาทุกครั้งของผู้คนที่ได้มองเห็น “เราใช้เวลาในการพูดคุยและทำความเข้าใจกับความต้องการของเจ้าของบ้าน เพื่อมอบประสบการณ์อันมีค่าสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยได้ออกแบบที่นี่ให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 3 ชั้น ห้องใต้หลังคา 1 ห้อง และเฉลียงสำหรับออกมาชมวิวรอบ ๆ” ทีมออกแบบจาก Nguyen Khai Architects & Associates เล่ารายละเอียดการทำงานให้ฟัง แนวคิดหลักอีกอย่างของการออกแบบก็คือการสร้างสรรค์พื้นที่ให้น่าอยู่ และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ แม้จะอยู่ในพื้นที่ขนาดแคบก็ตาม เห็นได้จากการออกแบบพื้นที่ที่ต่อเนื่องและเปิดโล่ง เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวใกล้ชิดกัน แต่ยังคงสามารถมีพื้นที่ส่วนตัวได้หากจำเป็น ขณะที่บันไดวนเก่าและใช้งานไม่ได้แล้วถูกแทนที่ด้วยบันไดแบบตรง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพพื้นที่และทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ส่วนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านเน้นทำจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมมีลักษณะเด่นบางประการที่เหมาะสำหรับใช้ในสภาพอากาศที่รุนแรงในเว้ ขณะคาเฟ่ที่ชั้นหนึ่งได้รับการออกแบบโดยใช้องค์ประกอบและวัสดุเดียวกันกับส่วนอื่น ๆ ของบ้าน เช่น โต๊ะโค้งยาว […]

ร้านกาแฟข้างตึกของ BLUE BOTTLE COFFEE ที่แก้ข้อจำกัดพื้นที่แคบและยาวด้วยการออกแบบ

Blue Bottle Coffee NEWoManYOKOHAMA Cafe Stand ร้านกาแฟในรูปแบบ Grab and Go สาขาใหม่ล่าสุดจาก Blue Bottle Coffee ในประเทศญี่ปุ่น ที่เพิ่งเปิดบริการไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

TLALPUENTE บ้านสีทึมที่ซ่อนอยู่กลางผืนป่าเขียวชอุ่ม

นี่คือบ้านเดี่ยวที่ตั้งอยู่เดียวดายโดยไม่มีเพื่อนบ้าน ตัวอาคารภายนอกมีสีทึมดำ ภายในขาวนวล ถูกซ่อนไว้อยู่กลางผืนป่าเขียวชอุ่มที่รู้จักกันในชื่อ Tlalpuente ทางตอนใต้ของกรุงเม็กซิโก ซิตี