Design
เสพศิลป์กินอร่อยที่ Thai Taste Hub – Mahanakhon Cube
พื้นที่ทางอาหารตาและอาหารใจแห่งใหม่ในย่านสีลมและสาทร ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ (Thai Taste Hub Mahanakhon CUBE) เปิดประสบการณ์ใหม่ความอร่อยของสุดยอดร้านอาหารที่คัดสรรแล้ว กับสุดยอดร้านดังระดับตำนานที่พร้อมเสิร์ฟความอร่อยสูตรต้นตำรับ พร้อมเมนูเด็ดจากร้านที่ได้รับการการันตีความอร่อยจาก Michelin Guide ที่รวบรวมไว้ในที่เดียว โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 อ่าน : มหานคร แบงค็อก สกายบาร์ และมากกว่านั้น ไทย เทสต์ ฮับ มหานคร คิวบ์ ยังนำเสนองานศิลปะที่น่าสนใจจาก 5 ศิลปินที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โลเล พิม ก้องกาน เบนซิลล่า และเบียร์พิช ที่มาร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทั้งบนกำแพง พื้นทางเดิน หรือบนโต๊ะอาหาร ของการออกแบบสไตล์ ชิโนโปรตุกีสขนาด 640 ตารางเมตรที่ดูคล้ายย่านเมืองเก่า เพื่อให้ผู้มาเยือนได้อิ่มเอมไปกับทั้งศาสตร์ของอาหารควบคู่งานศิลปะร่วมสมัย ตอกย้ำการเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ที่เหล่านักชิมและคนเมืองไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง BENZILLA ประเภท Street Art […]
คุยกับนายกสมาคมสถาปนิกสยามในวันที่มีรายรับเป็นศูนย์
สมาคมสถาปนิกสยาม กับการก้าวผ่าน “วิกฤตโควิด-19” ที่ทำให้สมาคมฯ ไม่สามารถจัดงานสถาปนิกได้ “การรื้ออาคารที่มีคุณค่า” เป็นปัญหาที่กำลังรอการแก้ไข และ “การติดอาวุธ” เพิ่มศักยภาพให้กับสถาปนิกไทยเป็นสิ่งที่ต้องสนับสนุน วันนี้ สมาคมสถาปนิกสยาม มีบทบาทและแนวทางอย่างไร คุณชนะ สัมพลัง นายกสมาคมฯ จะมาพูดคุยกับ บ้านและสวน ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในวันพรุ่งนี้ วิกฤตโควิด-19 กับสถาปนิกจิตอาสา หลังจากคุณโอ๋-ชนะ สัมพลัง ได้รับเลือกเข้ามาเป็นนายกสมาคมฯ และเริ่มรับตำแหน่งในช่วงต้นปี 2563 ก็เกิดวิกฤตโควิด-19 ขึ้น ทำให้แนวนโนบายของสมาคมฯ ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ จากการเน้นไปที่ตัวสมาชิกด้านวิชาชีพ การเกิดสถานการณ์โรคระบาดทำให้สถาปนิกหลาย ๆ ท่าน เข้ามาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะโรงพยาบาล คุณชนะเล่าถึงการทำงานในช่วงดังกล่าวให้ฟังว่า คุณชนะ : “ในฐานะที่เป็นนายกสมาคมฯ และเป็นสถาปนิกคนหนึ่ง ช่วงที่ Work from Home ก็เชิญชวนทุก ๆ คนที่เป็นสมาชิก หรือคนที่รู้จัก ไปช่วยโรงพยาบาลทางภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใครอยู่ทางไหนก็ไปช่วยโรงพยาบาลแถวนั้น กลายเป็นว่าอาชีพของเราสามารถช่วยเหลือคนอื่น […]
THE LANTERN – NANOCO SHOWROOM โชว์รูมอิฐช่องลมที่เปล่งแสงยามค่ำคืนราวกับโคมไฟกลางเมือง
ที่นี่เป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่ของบริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากญี่ปุ่น ตั้งอยู่ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ดูโดดเด่นด้วยอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่สร้างจาก อิฐช่องลม ลายดอกไม้ทั้งหลัง ซึ่งแนวคิดนี้มาจาก VTN Architects (Vo Trong Nghia Architects)ที่ต้องการบอกเล่าความเป็นเวียดนามใส่ลงไปในสถาปัตยกรรมทรงเรขาคณิตดีไซน์เรียบง่าย เพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะอาคารหลังนี้จะกลายเป็นกล่องไฟขนาดใหญ่ ดูสว่างไสวกว่าใคร ๆ ในย่าน สมกับเป็นโชว์รูมและแกลเลอรี่จำหน่ายหลอดไฟฟ้านั่นเอง สำหรับไซต์ที่ตั้งของอาคารถือว่าสร้างความท้าทายให้ไม่น้อย เพราะมีขนาดพื้นที่จำกัดเพียง 72 ตารางเมตร และอยู่ติดกับถนนที่พลุกพล่าน การนำเสนอตัวเองให้เป็นที่น่าจดจำจึงสำคัญ ภายใต้ความเรียบง่ายของวัสดุอย่าง “อิฐช่องลม” ด้วยการนำมาทำเป็นเปลือกอาคารโดยรอบ โดยกรุกระจกใสเป็นผนังซ้อนอยู่ภายในอีกที ด้วยเหตุผลที่ว่าวัสดุชนิดนี้ เป็นวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ในเวียดนาม ก่อนที่จะมีเครื่องปรับอากาศใช้ เพราะเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเขตร้อน สามารถระบายอากาศได้ดี ช่วยกรองแสงไม่ให้ส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในโดยตรง แถมมีราคาไม่แพง หรือชิ้นละประมาณ 0.42 ปอนด์ สำหรับที่นี่สถาปนิกบอกว่าเขาใช้จำนวนบล็อกช่องลมราว ๆ 5,625 ชิ้น เป็นเงิน จำนวน 2,350 ปอนด์ นอกจากนี้ขั้นตอนการก่อสร้างสามารถสร้างเสร็จได้ง่ายและรวดเร็วด้วย ไม่เพียงเป็นการใช้วัสดุที่เรียบง่าย แต่ทำออกมาได้อย่างน่าทึ่ง สถาปนิกยังให้ความสนใจกับภูมิทัศน์รอบ ๆ […]
หลบหลีกความวุ่นวายแล้วไปผ่อนคลาย คาเฟ่ดอกไม้ ทั้ง 5 แห่งกัน!
สำหรับใครที่กำลังมองหาสถานที่สำหรับนั่งพักผ่อน จิบกาแฟ ท่ามกลางบรรยากาศดีๆ วันนี้บ้านและสวนได้รวบรวม “ คาเฟ่ดอกไม้ ” มาให้ไว้ที่นี่แล้วค่ะ
เอสเพน คอนโด ลาซาล กับการออกแบบที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน
สำรวจ เอสเพน คอนโด ลาซาล คอนโดที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน กับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยน่าใช้งานภายใต้สโลแกน “ฟรีทุกอย่าง ให้ครบยกห้อง”
Modular-Boxes กล่องต่อกล่อง สถาปัตยกรรมที่เกิดมาเพื่อการ “ประท้วง”
Modular-Boxes เป็นงานออกแบบที่เกิดขึ้นในการชุมนุมประท้วงต่อการการเพิกเฉยต่อปัญหา climate change ของรัฐบาลอังกฤษโดย Extinction Rebellion ออกแบบโดยหนึ่งในพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนั่นก็คือ Architect’s Climate Action Network (ACAN) โดยใช้งานออกแบบเดิมของ Studio Bark ที่ชื่อว่า U-Build System เป็นฐานคิดสำคัญ จุดเด่นของเจ้ากล่อง Modular Boxes เหล่านี้ก็คือ มันมีขนาดและน้ำหนักที่ง่ายต่อการขนย้าย ผู้ชุมนุมสามารถขนย้ายสิ่งเหล่านี้เข้ามาในพื้นที่ได้โดยง่าย ไม้อัดที่ประกอบขึ้นเป็นกล่องเหล่านี้เป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นมิตรต่อสายตาผู้คนรอบข้าง คุณสามารถขนมันเข้าสู่ที่ชุมนุมได้โดยไม่สร้างความรู้สึกคุกคามต่อคนบนท้องถนน และแน่นอนที่สุดคือมันแข็งแรงอย่างเหลือเชื่อ ด้วยโครงสร้างแบบกล่อง ประกอบกับความสะดวกของการเชื่อมต่อโครงสร้างไม้ และขนาดที่ใหญ่คล้ายอิฐขนาดยักษ์ (ชม Diagram การประกอบใน comment) ผู้ชุมนุมสามารถประกอบกันเข้าเป็นเวทีเตี้ย เวทีสูง สำหรับปราศัย กำแพง ที่นั่งพัก พื้นที่รวมตัว หรือแม้แต่หอคอยที่จะใช้เป็นหมุดสายตาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเสริมความแข็งแรงได้ด้วยการเพิ่มโครงสร้างและร้อยเข้าไประหว่างรูบนกล่องแต่ละใบ ทั้งกล่องที่เหลืออยู่อาจนำมาเป็นที่นั่งในการปักหลักชุมนุมได้อีกทาง นอกจากนี้ยังนำกลับมาใช้ซ้ำได้เพราะสามารถรื้อถอนได้อย่างรวดเร็ว และผู้ชุมนุมก็ช่วยกันถือออกไปคนละกล่องก่อนจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว เอากล่องกลับบ้านไปคนละใบ รอใช้ต่อในงานต่อไปลด Carbon Footprint ได้มากมาย ในยุคที่การชุมนุมเกิดขึ้นรายวันเช่นนี้ เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องประท้วง […]
อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอนักเล่าเรื่อง ที่เชื่อในอิสรภาพทางความคิด
ตึกแถวสองคูหาย่านเจริญนครได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นบ้านหลังใหญ่ของ อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอที่สนุกกับการสังเกต และตีความบริบทไทยใกล้ตัว เพื่อบอกเล่าใหม่ผ่านงานออกแบบร่วมสมัย ที่นี่เป็นทั้งสตูดิโอ เวิร์กชอป และพื้นที่จัดแสดงสำหรับการสร้างสรรค์ของพวกเขา “อิสรภาพ” คือการรวมกลุ่มของ 4 นักออกแบบจาก 3 สตูดิโอ ณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก และวนัส โชคทวีศักดิ์ จาก ease Studio ธีรพจน์ ธีโรภาส จาก Kitt-ta-khon และรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ จาก SATAWAT พวกเขาต่างสวมหมวกหลายใบเพื่อทำงานสร้างสรรค์ในหลายสถานะ แต่ภายใต้ชื่ออิสรภาพ ความเชื่อที่ว่าทุกคนในสังคมมีอิสระทางความคิด ที่นี่คือพื้นที่สำหรับการตั้งคำถาม ทดลองค้นหาคำตอบ และบอกเล่ากระบวนความคิดอย่างไร้กรอบ ชื่อของอิสรภาพปรากฏในโปรเจ็กต์สร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลงานออกแบบทั้งที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Anonymous Chair หรือการทำงานร่วมกับ Design Plant รวมไปถึงผลงานการออกแบบนิทรรศการล่าสุด Survival of Craft – 1989 to 2020 ณ ATT 19 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ […]
บ้าน “อิฐบล็อก” สวยโดยไม่ต้องโดนฉาบ
บ้านสีเทาที่ดูเหมือนสร้างไม่เสร็จ (ในสายตาคนอื่น) แท้จริงแล้วมีเสน่ห์อย่างไร room มีตัวอย่างบ้านต่างประเทศสวย ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นจาก อิฐบล็อก วัสดุสุดเรียบง่ายที่เราคุ้นเคยกันอย่างดีมาฝาก โดยเฉพาะใครที่กำลังอยากสร้างบ้านสไตล์ลอฟต์โชว์ผิววัสดุดิบ ๆ การฉาบปิดผิวสุดเนี้ยบในขั้นตอนสุดท้าย ก่อนงานทาสีเก็บรายละเอียดจึงแทบไม่จำเป็น เพราะแค่เผยผิวแบบไร้สิ่งปรุงแต่ง แค่นั้นก็สวยได้โดยไม่ต้องโดนฉาบเลย เพราะเสน่ห์ของบ้านที่สร้างจาก อิฐบล็อก คือการโชว์ผิวให้แพตเทิร์นที่เกิดจากการเรียงต่อกันนั้น กลายเป็นลวดลายตกแต่งอาคารไปในตัว นอกจากนั้นใน อิฐบล็อก แต่ละก้อนจะมีรูตรงกลาง จึงเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนได้ดี และด้วยขนาดของก้อนที่ใหญ่ในขั้นตอนการก่อสร้างจึงสามารถแล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว แถมเป็นวัสดุที่คุ้นมือช่าง ที่สำคัญมีราคาถูก ” อิฐบล็อก ” จึงถือเป็นวัสดุที่น่าสนใจ หากนำมาก่อสร้างด้วยไอเดียสร้างสรรค์ รับรองว่าบ้านอิฐบล็อกก็สามารถสวยได้ ไม่แพ้บ้านที่สร้างด้วยวัสดุอื่นเลย k59 Home and Atelier บ้านอิฐบล็อกที่อยู่สบายในสภาพอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของเวียดนาม ด้วยสภาพบ้านที่เป็นตึกแถว สถาปนิกจึงเลือกปรับตัวเองเข้าหาสภาพแวดล้อม โดยใช้โครงสร้างคอนกรีตและผนังคอนกรีตบล็อก รวมกับองค์ประกอบของงานไม้ เสริมบรรยากาศภาพรวมของบ้านให้ดูสบาย พร้อม ๆ กับการออกแบบที่เน้นให้แสงและลมพัดผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้ อย่างการออกแบบช่องว่างของอาคารและเพดานสูงโปร่งแบบดับเบิ้ลสเปซ ช่วยให้มีพื้นที่ลื่นไหลเชื่อมโยงกันอย่างอิสระ พร้อมพื้นที่สีเขียวริมระเบียงช่วยกรองฝุ่นและเสียงรบกวนได้อย่างดี Mipibu House บ้านอิฐบล็อกที่ชื่อว่า Mipibu House […]
HOUSE BETWEEN BLOCKS หยิบคอนกรีตบล็อกสุดธรรมดา มาประกอบเป็นบ้านแบบโปร่งโล่ง
บ้านคอนกรีตบล็อก หลังนี้ ตั้งอยู่ที่เมืองบาบาโอโย ประเทศเอกวาดอร์ เมืองที่บ้านเรือนส่วนใหญ่อาศัยในรูปแบบของตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์ มีลักษณะหน้าแคบตอนลึกยาว อันเป็นสาเหตุให้แสงธรรมชาติส่องไปถึงและไม่สามารถระบายอากาศได้ จึงกลายมาเป็นความท้าทายของผู้ออกแบบในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ที่ตั้งของ House Between Blocks บ้านคอนกรีตบล็อก อยู่ในที่ดินขนาด 7×10 เมตร ซึ่งเป็นของนักออกแบบสื่อสารเกี่ยวกับเสียงและวิชวล ที่เน้นทำงานอีเว้นต์เกี่ยวกับวัฒนธรรม ที่ได้รับการออกแบบให้มีสภาวะน่าสบายเหมาะแก่การทำงานและอยู่อาศัย สถาปนิกเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอย่าง “คอนกรีตบล็อก” มาเรียงสับหว่างในส่วนของกำแพงด้านหน้า ส่วนประตูและหน้าต่างเลือกใช้วัสดุทั่วไปอย่าง ไม้ กระจก และเหล็ก ทั้งยังเลือกใช้ชายคาแบบโปร่งแสงเพื่อยอมให้แสงธรรมชาติสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ หน้าต่างมีหน้าบานกว้างช่วยเสริมการระบายอากาศ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของพื้นที่ รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาดกะทัดรัดเพื่อประหยัดพื้นที่ เกิดการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่าที่สุด บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างของการการอยู่อาศัยแบบพอดีและการออกแบบที่ยั่งยืน ด้วยการใช้วัสดุที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้น้อย และสามารถก่อสร้างได้ด้วยฝีมือช่างท้องถิ่น เรียกว่าเป็นการดึงศักยภาพของสิ่งที่มีในชุมชนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออกแบบ : Natura Futura Arquitectura ภาพ : JAG Studio เรียบเรียง : BRL
SANTULAN BED & BREAKFAST ที่พักกลางภูมิทัศน์แห้งแล้งแต่งดงามในเม็กซิโก
อาคารอิฐบล็อก ที่เสมือนว่าลอยเหนือผืนดินอันแห้งแล้งใน Valle de Guadalupe สถานที่พักผ่อนยอดนิยมในจังหวัด Baja California ของเม็กซิโก คือโรงแรมขนาดเล็กในชื่อ Santulan Bed & Breakfast ที่ออกแบบขึ้นโดย Santos Bolivar Architects สถาปนิกวางแนว อาคารอิฐบล็อก ต่อกันเป็นรูปตัววี (V) ล้อมลานกลางแจ้งเอาไว้ อาคารที่พักประกอบด้วยล็อบบี้ เลานจ์เปิดโล่งสำหรับผู้เข้าพักได้นั่งชมทิวทัศน์อันกว้างไกล มีพื้นที่นั่งเล่นส่วนกลางถัดจากห้องครัวและห้องรับประทานอาหารส่วนกลางที่สร้างขึ้นเพื่อการสร้างปฏิสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันในหมู่แขกผู้มาเข้าพัก สำหรับก้อนอิฐ ecoblock ที่เห็นนั้นคือส่วนผสมของดินเหนียว และดินบางส่วนจากสถานที่ตั้งซึ่งถูกขุดขึ้นมาสำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะในสัดส่วนของดินในพื้นที่ร้อยละ 70, ดินเหนียวร้อยละ 25, ซีเมนต์ร้อยละ 5 และน้ำสำหรับการผสมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน มันถูกบีบอัดเป็นก้อนโดยใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกแบบแมนนวลเพื่อผลิต ecoblock ให้ได้ในจำนวนที่ต้องการสำหรับก่อสร้าง ส่วนห้องพักแต่ละห้องนั้นมีระเบียงไว้นั่งมองทิวทัศน์หรือใครจะนั่งมองผ่านประตูกระจกบานเลื่อนด้านในก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ช่องเปิดที่ตัดผ่านอาคารยังมีลานขนาดเล็กและบันไดที่สามารถเดินขึ้นไปสู่ดาดฟ้าที่ตกแต่งด้วยต้นไม้พื้นเมืองได้อีกด้วย นอกจากนี้ตัวอาคารยังได้รับการยกสูงกว่าระดับพื้นดิน นั่นเป็นความตั้งใจของทีมออกแบบที่ต้องการจะสร้างภาพลวงตาให้อาคารเสมือนว่าลอยอยู่กลางอากาศ ด้วยการหุ้มอลูมิเนียมสะท้อนแสงตรงส่วนล่างของอาคารเอาไว้ เพื่อให้มันสะท้อนภูมิทัศน์โดยรอบให้เกิดความต่อเนื่องของภูเขาและผืนดินนั่นเอง ออกแบบสถาปัตยกรรม : Santos […]
MIPIBU HOUSE บ้านอิฐบล็อก ทึบนอก โปร่งใน
บ้านอิฐบล็อก หลังนี้ คือบ้านบนที่ดินที่มีพื้นที่ในลักษณะยาวและแคบ ทำให้ผู้ออกแบบต้องแก้ปัญหาพื้นที่แคบและลึกของที่ดินแปลงดังกล่าว ด้วยการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเบิ้ลเป็นสองเท่า บดบังสายตาจากภายนอกด้วยการออกแบบตัวอาคารด้านนอกให้ทึบแต่โปร่งใน ช่วยแก้ปัญหาเขตรั้วชิดบ้านเรือนเคียงให้เกิดความเป็นส่วนตัวอย่างชาญฉลาด ด้วยที่ตั้งของ บ้านอิฐบล็อก Mipibu House ซึ่งอยู่ในเมืองเซา เปาโล ประเทศบราซิล มีมูลค่าของที่ดินที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทีมออกแบบจาก Terra e Tuma | arquitetos associados จึงต้องเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่ดีสำหรับเจ้าของบ้าน เพื่อให้พื้นที่ใช้สอยทุกตารางนิ้วเป็นไปอย่างคุ้มค่าสูงสุด เห็นได้จากการจัดสรรพื้นที่ใช้งานขนาดแคบแค่เพียง 5.6 x 30 เมตร ให้ยกระดับพื้นที่ด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย เพื่อตัดการรบกวนจากอาคารรอบ ๆ ในระยะประชิด ประกอบกับความท้าทายของทีมออกแบบที่ต้องพบกับโปรแกรมมากมายสำหรับพื้นที่แห่งนี้ แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็กำหนดพื้นที่ใช้งานออกมาได้มากถึง 170 ตารางเมตรเลยทีเดียว เมื่อพิจารณาถึงบริบทในแนวดิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากที่ตั้งของที่ดินนั้นรายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของเพื่อนบ้าน บ้านหลังนี้จึงออกแบบโดยตั้งต้นจากภายใน เปิดพื้นที่ให้โปร่งโล่ง แล้วปิดล้อมด้วยกำแพงอิฐบล็อกให้ทึบสนิทที่สุด สร้างคอร์ตยาร์ดสองจุดกลางบ้านเพื่อให้แสงสว่างที่จำเป็นส่องผ่านมายังพื้นที่ภายในอาคารอย่างทั่วถึง เพื่อการระบายอากาศที่ดี รวมถึงเพื่อเป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างเป็นสัดส่วนและมีคุณภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริง แต่การตัดสินใจของผู้อาศัยที่สถาปนิกไม่คาดคิดอีกหนึ่งสิ่ง ก็คือการเลือกวางตำแหน่งของห้องนอนไว้ที่ชั้นล่าง แทนที่จะยกขึ้นไปไว้บนชั้นสองตามปกติทั่วไป ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นส่วนตัวและเงียบสงบ โดยตำแหน่งของห้องนอนได้ถูกวางให้เชื่อมกับคอร์ตยาร์ดที่ออกแบบให้เกิดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ เพิ่มความเย็นให้กับบ้าน ส่วนคอร์ตยาร์ดอีกจุดหนึ่งได้วางตำแหน่งให้เชื่อมต่อกับครัว เป็นมุมพักผ่อนกลางแจ้งที่สามารถยกเก้าอี้ไปนั่งพักผ่อนได้จริง […]
Art in the PARQ พางานศิลป์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
ใครที่เคยไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศฝั่งยุโรปหรือบ้านใกล้เรือนเคียงเราอย่างเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวันเอง ก็มักเห็นบ้านเมืองเขาเต็มไปด้วยงานศิลปะจัดวางประดับตกแต่งอยู่ทั่วเมืองให้ได้เสพและเข้าถึงกันจนเป็นเรื่องปกติ จนบางทีก็นึกอิจฉา…แต่วันนี้กรุงเทพฯของเราได้มีโปรเจ็กต์ที่หอบเอา Installation Art เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันให้สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายกลางเมืองกรุงที่โครงการ The PARQ The PARQ คือโครงการไลต์สไตล์มิกซ์ยูส ที่ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความกลมกลืนระหว่างธรรมชาติและไลฟ์สไตล์คนเมืองด้วย “งานศิลปะ” จึงชวนศิลปินชาวไทย 3 ท่าน ที่มีผลงานโดดเด่นมาสร้างงาน Installation Art ที่จะนำมาวางตามจุดต่าง ๆ ในโครงการ โดยทั้งหมดได้มีการเตรียมการและวางแผนไว้ตั้งแต่แรกพร้อม ๆ กับการก่อสร้าง ผลงานทั้งสามชิ้นจึงถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเจาะจงต่อสเปซนั้น ๆ โดยงานนี้ได้ศิลปินชั้นนำมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานภายใต้แนวคิด “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ” ประกอบไปด้วย 5 ผลงาน ได้แก่ศิลปินไทย 3 ผลงาน คือ “เกื้อกูล” โดยศิลปิน พงษธัช อ่วยกลาง, “The Cradle” โดยศิลปิน อ้อ สุทธิประภา, “The Cocoon” โดยศิลปิน สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ รวมไปถึงอีก 2 […]
รถขายของเคลื่อนที่ เพื่อไปหาคุณแม้ต้องข้ามเขาหรือฝ่าโควิด โดย Muji(Japan)
รถขายของเคลื่อนที่ แบบกระบะสี่ล้อเล็กแขวนของพะรุงพะรังอาจเป็นภาพชินตาของชาวไทยเรา บ้างก็เรียกรถพุ่งพวง บ้างก็เรียกรถขายผักขายหอย ตามแต่ของที่หามาขาย เมื่อไม่นานมานี้ อ่าน : บ้านมินิมัลในแบบมูจิที่สนทนากับธรรมชาติและผู้สูงอายุ ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือกันระหว่างเมือง Sakata ในจังหวัด Yamagata และ Muji แบรนด์มินิมัลขวัญใจคนชอบความน้อยแต่มากสัญชาติญี่ปุ่นได้กำเนิด Sakata Project ขึ้น เพื่อลดภาระการต้องเดินทางไปซื้อหาของใช้จำเป็น ตั้งแต่เดือน กรกฏาคมที่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวเมืองที่เป็นผู้สูงอายุโดยส่วนใหญ่ประกอบกับพื้นที่ซึ่งเป็นเขตภูเขาของเมือง การนำรถสี่ล้อเล็กออกไปพบปะชาวเมืองจึงนับได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกที่น่ารัก ซึ่งแนวคิดนี้ก็เกิดขึ้นมาจากการลงพื้นที่ศึกษากลุ่มผู้บริโภคในโครงการ “Lifestyle Organizing School” นั่นเอง มากกว่านั้น ด้วยภาวะการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นก็ยังไม่ใคร่ปลอดภัยนัก การมีข้าวของเครื่องใช้และสินค้าต่างๆมาจำหน่ายถึงหน้าบ้านก็เป็นสิ่งดีๆที่ทำให้ผู้คนยิ้มแย้มได้มากกว่าเดิม และมากกว่านั้น จากปากคำของพนักงานที่ขับรถพุ่มพวงเหล่านี้ “มันทำให้เราได้เชื่อมโยงเข้าหาผู้คนมากขึ้น เราได้รู้จักพวกเขา ได้เห็นบ้านเรือนและชีวิตของพวกเขา เราไม่ใช่แค่พนักงานขายอีกต่อไป” ก็เป็นมุมน่ารักที่รถคันเล็กๆเหล่านี้ทำให้เกิดขึ้น แม้ว่าจะดูเชยๆไปบ้างกับการขับรถเร่ขายของ แต่จริงๆแล้วเราสามารถเช็คได้ตลอดว่ารถเหล่านี้กำลังมุ่งหน้าไปที่ใดบ้าง ตารางการเดินทางเป็นอย่างไร หรือแม้แต่รีเควสได้เสียด้วยซ้ำกับสินค้าที่ต้องการก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยีเข้ามาช่วยประสานความสะดวกให้กับวิธีการเดิมๆได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน่าสนใจ อยากให้มีรถ Muji วิ่งขายของในไทยตามต่างจังหวัดบ้างเหมือนกันนะ อาจเป็นของ OTOP ปลาเค็ม หม่ำ แหนม อะไรก็ว่าไป […]
CASA NAKASONE บ้านอิฐเปลือยผิวในบริบทเเบบเม็กซิโก
บ้านอิฐ เปลือยผิว ขนาด 100 ตารางเมตร แห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ชานเมืองเม็กซิโกซิตี เด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่เเล้วในพื้นที่อย่าง “อิฐมอญ” มาใช้ในการสร้างบ้าน เพื่อประหยัดงบประมาณการก่อสร้าง และง่ายต่อการทำงานกับช่างในท้องถิ่น เเม้อิฐมอญจะเป็นวัสดุธรรมดา ๆ แต่ผลที่ได้กลับเป็นบ้านที่สื่อถึงเอกลักษณ์พื้นถิ่นได้อย่างน่าสนใจ เอื้อต่อการอยู่อาศัยอย่างเเท้จริง ในขั้นตอนการทำงานออกเเบบ บ้านอิฐ หลังนี้สถาปนิกได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับช่างในท้องที่ถึงวิธีการก่อสร้าง จนได้บ้านอิฐที่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบคอร์ตกลางบ้านเอาไว้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลในแง่ของความเป็นส่วนตัว เผื่อว่าในอนาคตที่ดินรอบ ๆ บ้านอาจเกิดงานก่อสร้างอื่น ๆ หรือมีความพลุกพล่านวุ่นวายตามมาในอนาคต อย่างน้อยบ้านหลังนี้ก็ยังมีพื้นที่คอร์ตยาร์ดอยู่ภายในสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ จุดเด่นของบ้านนี้นอกจากการเลือกใช้วัสดุธรรมดาที่หาได้ง่ายเเล้ว ยังให้ความสำคัญในเรื่องของเเสงเงา เห็นได้จากบันไดหลักของบ้านที่มีสกายไลต์อยู่ด้านบน ช่วยเปิดให้แสงธรรมชาติค่อย ๆ ฉาบไล้ลงมายังพื้นที่ภายในบ้าน ผ่านผนังหินภูเขาไฟที่สถาปนิกเลือกนำมาใช้ เกิดเป็นเฉดสีของเเสงเงาที่แบ่งจังหวะของพื้นที่ต่าง ๆ ออกจากกัน ส่วนบานกระจกที่ใช้เป็นประตูบ้าน นอกจากจะเปิดให้แต่ละสวนสามารถมองเห็นกันได้สะดวกแล้ว ยังปล่อยให้แสงเข้าสู่ตัวบ้านได้ในบางจุด ช่วยให้ภาพของอิฐที่ดูหนักเกิดจังหวะที่ดูโปร่งขึ้น ขณะที่พื้นที่ชั้นล่างออกแบบเป็นส่วนรับแขก ครัว คอร์ตยาร์ด และส่วนรับประทานอาหาร ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวอาทิ ห้องนอน ห้องทำงาน และห้องน้ำ โดยแบ่งห้องนอนออกเป็นสองปีกล้อมคอร์ตกลางไว้ ซึ่งคอร์ตนี้ออกแบบไว้เผื่อกรณีที่เจ้าของบ้านต้องการต่อเติมพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก เเละนี่ก็คือบ้านอิฐเปลือยที่มีการเล่นกับพื้นที่ รวมถึงการให้แสงธรรมชาติเข้ามามีบทบาทในแต่ละจุดได้อย่างน่าสนใจ […]
La casa que crece บ้านชั้นเดียวจากอิฐบล็อกและเมทัลชีท
บ้านอิฐบล็อก ชั้นเดียว ในพื้นที่แถบชนบทของประเทศเม็กซิโก ออกแบบขึ้นภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้เมทัลชีท และอิฐบล็อก ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย ใช้งานได้ดี และประหยัดงบประมาณ เพื่อให้ที่กลายเป็น บ้านอิฐบล็อก ที่ใคร ๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สร้างได้ ทั้งยังสอดคล้องกับภูมิอากาศ และวิถีชีวิตการอยู่อาศัยของชาวเม็กซิโกได้อย่างดี โครงสร้างหลักของ บ้านอิฐบล็อก เป็นคอนกรีตสำเร็จที่ออกแบบมาจากโรงงาน หลังจากประกอบเข้าด้วยกันเเล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการแบ่งพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของบ้านอิฐบล็อก โดยสามารถปรับเปลี่ยนต่อขยายได้ตามความเหมาะสมของแต่ละครัวเรือน พร้อมกับมีพื้นที่ส่วนกลางและลานปูนหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวตามวัฒนธรรมพื้นถิ่นของเม็กซิโก ซึ่งคล้ายคลึงกับบ้านตามต่างจังหวัดในไทยเราไม่น้อย นอกจากนี้ชานปูนยังสามารถต่อขยายพื้นที่ สำหรับรองรับสมาชิกเเบบครอบครัวขยาย ที่ยังต้องการอยู่อาศัยบนที่ดินผืนเดียวกันกับญาติพี่น้องได้ในอนาคต เกิดเป็นหมู่อาคารขนาดย่อมที่สะท้อนถึงความกลมเกลียวกันของครอบครัว ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีทั้งในเเง่ของการสร้างความผูกพัน รวมถึงเป็นการเลือกใช้วัสดุสำหรับสร้างบ้านเเบบง่าย ๆ ที่คนทั่วไปอาจมองว่าเป็น “วัสดุราคาถูก” หรือ “วัสดุบ้าน ๆ” เเต่เมื่ออิฐบล็อก เเละเมทัลชีทถูกผนวกเข้ากับงานออกแบบที่ดี ก็สามารถกลายเป็นบ้านที่ใช้งานได้ดี อบอุ่น และลงตัวอย่างที่เห็น ออกแบบ : JC Arquitectura, Kiltro Polaris Arquitectura ภาพ : […]
CHING CHAIR สตูลไม้ไผ่ ชูเนื้อแท้ความงามของธรรมชาติ
ในไต้หวันผู้คนมองว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่ยังคงมีบทบาทต่อวิถีชีวิต ไม่ว่าจะใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ และวัสดุก่อสร้าง นั่นจึงทำให้สองดีไซเนอร์ Ta-Chih Lin และ Yi-Fan Hsieh เลือกนำไม้ไผ่มาออกแบบเฟอร์นิเจอร์ เก้าอี้ไม้ไผ่ ของพวกเขาในชื่อ “Ching Chair” โดยให้ความสำคัญกับความเป็นวัสดุดั้งเดิม ผ่านทางความรู้สึกทั้งการสัมผัสและการมองเห็น โดยกระบวนการออกแบบ เก้าอี้ไม้ไผ่ ครั้งนี้ ล้วนตั้งต้นมาจากคุณสมบัติของไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้งานได้แบบอรรถประโยชน์ และมีความยืดหยุ่นสูง เริ่มจากการเลือกลำไม้ไผ่ที่มีความสมบูรณ์เพียงต้นเดียวมาตัดและแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนต่าง ๆ ตามแบบที่ได้ดีไซน์ไว้ โดยดีไซเนอร์ได้สร้างแม่พิมพ์หลายชิ้นสำหรับแต่ละส่วน เพื่อให้ไม้ไผ่สามารถทำเก้าอี้ได้ง่ายและแม่นยำ พร้อมกันนั้นยังได้รักษาผิวไม้ไผ่ด้วยวิธีการพิเศษ เพื่อช่วยกักเก็บคลอโรฟิลล์ไว้ที่ผิวไม้ไผ่ให้ยังคงสีสันเขียวสดดูสวยงามแบบไม่มีวันซีดจาง ขณะที่ส่วนที่ยากที่สุดของการผลิตเก้าอี้ก็คือการดัดชิ้นไม้ไผ่ด้วยความร้อน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นเวลาหลายปี จนได้เคล็บลับที่ไม่ทำให้ผิวไม้ไหม้ ก่อนจะเชื่อมต่อแต่ละส่วนเข้าด้วยกันด้วย Joint ไม้ไผ่ ตรงส่วนขาของเก้าอี้แต่ละข้างซึ่งถูกคิดมาอย่างดี โดยไม่มีวัสดุใดเข้ามาช่วยผสานเลย อีกทั้งยังได้ประกอบชิ้นส่วนไปตามทิศทางของเส้นใยไม้ไผ่ในแนวตั้ง เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้เก้าอี้ไม้ไผ่มีความแข็งแรงมากเพียงพอ สำหรับรองรับน้ำหนักของคนนั่งได้ นอกจากข้อดีในแง่ของการหยิบวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นซึ่งเราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี มาใช้เป็นวัตถุดิบในงานออกแบบแล้ว ในอีกแง่หนึ่งไม้ไผ่ยังถือเป็นวัสดุธรรมชาติที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการผลิต และกระบวนการย่อยสลาย เก้าอี้ดีไซน์เรียบง่ายชิ้นนี้จึงสามารถบอกเล่าคุณสมบัติของไม้ไผ่ออกมาได้อย่างครบถ้วนด้วยตัวของมันเอง ออกแบบ : Ta-Chih Lin & Yi-Fan Hsieh ภาพ : […]
TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย
TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย Best of Residential Design “Twisted House “ by Architect 49 House Design (A49HD) บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา […]
ALESSI Plissé คอลเล็กชั่นเครื่องครัวร่วมสมัย ดีไซน์กลิ่นอายยุค 60s
พลีตครบเซ็ต! ALESSI Plissé คอลเล็กชั่นเครื่องครัวที่นำเสนอสุนทรียภาพแห่งการใช้ชีวิตร่วมสมัย ผ่านดีไซน์กลิ่นอายยุค 60s ALESSI แบรนด์อุปกรณ์ครัวและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในตำนานของอิตาลี เปิดตัวคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุด Fall/Winter 2020 สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี โดยร่วมงานกับหลากหลายนักออกแบบชื่อดัง อาทิ Patricia Urquiola, Michel Boucquillon และ Mariam Mirri และ Plissé คือหนึ่งในคอลเล็กชั่นเด่น ผลงานการออกแบบของ Michele de Lucchi สถาปนิก และนักออกแบบอิตาเลียนระดับไอคอนิก ซึ่งทำงานร่วมกับแบรนด์ดังของยุโรปมาตลอดหลายทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็น Artemide, Olivetti, Hermès, Philips, Siemens, Vitra ฯลฯ “งานออกแบบคือการบันทึกช่วงเวลา ณ ขณะที่ชิ้นงานนั้นได้รับการสร้างสรรค์ขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของรสนิยม และนิยามของความร่วมสมัย เมื่อคุณมองไปที่งานออกแบบสักชิ้น ย่อมรับรู้ได้ถึงจิตวิญญาณแห่งช่วงเวลาในอดีต ผ่านสีสัน เส้นสายหรือวัสดุ แน่นอนว่างานออกแบบนั้นคือหลักฐานการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคหนึ่ง ๆ ทั้งลักษณะนิสัย และรสนิยม และนี่คือจุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นี้ ซึ่งมิใช่เพียงอุปกรณ์เครื่องครัว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมร่วมสมัย ชิ้นงานเหล่านี้มิได้สวยงามด้วยคุณค่าของประโยชน์ใช้สอยเพียงเท่านั้น […]