Design
KIENTRUC O OFFICE สำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมที่เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม
KIENTRUC O OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่ออกแบบสอดคล้องกับภูมิอากาศเวียดนาม ไร้เส้นแบ่งภายในและภายนอก เปิดรับธรรมชาติอย่างเต็มอิ่ม
BÓ MON PRESCHOOL อาคารเรียนที่สร้างด้วยแผ่นหลังคาลอนเล็กยกหลัง
Bó Mon Preschool เป็นโรงเรียนเล็ก ๆ ในแถบชนบทของเวียดนาม ที่สร้างขึ้นด้วยงบประมาณอันจำกัด โดยความร่วมมือและสนับสนุนขององค์กรไม่แสวงผลกำไร “MT Community” และโครงการระดมทุน “Pay It Forward Fund” โดยมีสำนักงานสถาปัตยกรรม “KIENTRUC O” เป็นทีมผู้ออกแบบ
TORIGUCHI SANCI บ้านไม้และคลินิกกายภาพบำบัดในงบประมาณจำกัด
“TORIGUCHI SANCI” คือบ้านและ seitai clinic ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารที่พัฒนาขึ้นใหม่ใน Tama New Town ล้อมรอบด้วยอาคารซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกันด้วยการกรุวัสดุภายนอกที่มีความมันวาว หน้าต่างรูปแบบคล้าย ๆ กันทั้งหมด เนื่องจากสร้างโดยซัพพลายเออร์ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูปตามข้อกำหนดและกลไกของราคาในตลาดในพื้นที่
THINK LAB SOLO-WORK SPACE โต๊ะทำงานในฝันของคนอยากนั่งทำงานเงียบ ๆ
ขอฉันนั่งทำงานเงียบ ๆ ได้ไหมเนี่ย? สิทธิ์นั้นจะเป็นของคุณทันที หากมาใช้บริการที่ “Think Lab Shiodome” เพราะที่นี่คือพื้นที่ทำงานแบบ Solo-Work Space แห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Caretta Shiodome อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัท Dentsu ในประเทศญี่ปุ่น
% ARABICA KUWAIT ABU AL HASANIYA คาเฟ่ไร้เก้าอี้ในคูเวตจากฝีมือ NENDO
จากสาขาดั้งเดิมที่ฮิกาชิยามะในเกียวโต ก่อนมาถึงสาขาล่าสุดในไทยที่ไอคอนสยาม ขอพาย้อนไปดูอีกหนึ่งสาขาของ % ARABICA ที่สร้างภาพจำของความน้อยนิ่งและเรียบหรูให้เกิดขึ้นในคูเวตมาก่อนหน้านี้กันบ้าง
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์บล็อกแก้ว ที่เชื่อมเมืองกับสวนสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน
RICCO BURGER ร้านเบอเกอร์ ที่ใช้เวลาในการทำเพียง 4 เดือน ด้วยงบประมาณและเวลาก่อสร้างอันจำกัด สถาปนิกถึงพยายามใช้โครงสร้างและสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด ผู้ออกแบบให้ความสำคัญกับความเชื่อมต่อของพื้นที่หน้ ร้านเบอเกอร์ RICCO BURGER ซึ่งเป็นถนนและสวนสาธารณะด้านหลัง ตัวอาคารของร้านจึงทำหน้าที่เป็นตัวประสานพื้นที่ทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยให้ร้านเปรียบเสมือน “ตัวกรอง” มลภาวะเเละความวุ่นวายทางสายตาต่าง ๆ ออกไป บรรยากาศของพื้นที่ฝั่งสวนสาธารณะใช้โครงเหล็กและบันไดที่จะนำไปสู่พื้นที่ร้านอาหารชั้น 1 และเมื่อเข้ามาในร้าน ลูกค้าจะได้รับความรู้สึกเหมือนกำลังนั่งกินเบอเกอร์อยู่ในห้องน้ำ ด้วยผนังกรุกระเบื้องแผ่นเล็กของห้องน้ำเดิมยังคงอยู่โดยถูกดัดแปลงให้กลายเป็นส่วนของห้องครัว ผนังที่เหลือถูกกระเทาะออกทั้งหมด เหลือไว้เพียงพื้นไม้เดิมที่ยังคงเก็บรักษาไว้ อีกหนึ่งรูปแบบที่เชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกันคือขนาดของวัสดุ 20×20 เซนติเมตร ทั้งในส่วนของกระเบื้องสีขาว แผ่นปูพื้น และบล็อกแก้ว ส่วนพื้นที่ที่ทำขึ้นมาใหม่ของร้านนี้ ก็คือส่วนของเคาน์เตอร์เตรียมอาหาร และที่นั่งแบบหล่อในที่ ฝ้าเพดานถูกรื้อออกหมด เพื่อโชว์โครงสร้างเผยผิววัสดุตามเเบบที่เรียกว่าสัจวัสดุ ซึ่งตรงกับคอนเซ็ปต์ของร้านที่ว่าใช้วัตถุดิบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติ และเน้นไปที่กระบวนการเตรียมอาหาร พื้นที่ในร้านชั้น 1 และทางเท้าเลือกใช้วัสดุปูพื้นชนิดเดียวกัน เพื่อเชื่อมพื้นที่ให้ดูลื่นไหล ต่อเนื่อง ผนังด้านหน้าและหลังร้านกั้นด้วยบล็อกแก้วที่ใช้โครงสร้างเหล็ก ด้วยคุณสมบัติของบล็อกแก้วที่ยอมให้แสงธรรมชาติเข้าสู่พื้นที่ในร้าน แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ภายใน อีกทั้งช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์ของแสงสียามค่ำคืน สร้างความน่าสนใจสำหรับใครที่ผ่านไปมา ออกแบบ : BLOCO Arquitetos ภาพ : […]
DESIGN IN MOTION OFFICE ออฟฟิศสถาปนิกที่โชว์ผิววัสดุ โครงสร้าง และสเปซคุณภาพ
ออฟฟิศสถาปนิก ที่โดดเด่นด้วยความโปร่งโล่งทั่วถึงกันตลอดทั้งอาคาร ด้วยการออกแบบ “บันได” เป็นองค์ประกอบหลัก จากการใช้โครงสร้างคอนกรีตโชว์ผิวที่โชว์ความงามของระบบโครงสร้างอย่างตรงไปตรงมา เมื่อถึงโอกาสของการขยับขยายและย้ายที่ทำงานสู่สถานที่ใหม่ บริษัท Design In Motion จึงได้เปลี่ยนที่ดินว่างเปล่าผืนหนึ่งในซอกซอยซับซ้อนของถนนสุขุมวิท 71 ให้กลายเป็นอาคารสำนักงานมากเอกลักษณ์ ที่รวมทุกคุณสมบัติของสำนักงานคุณภาพ ทั้งเรื่องแสงสว่าง พื้นที่ส่วนกลาง และดีไซน์พิเศษมากฟังก์ชัน ซึ่งผ่านการคิดมาแล้วอย่างเป็นองค์รวม สมกับความเป็น ออฟฟิศสถาปนิก มากประสบการณ์ “เรามีความต้องการที่จำเป็นอยู่ไม่กี่ข้อ” คุณธฤต ทศไนยธาดา หนึ่งในพาร์ทเนอร์ของบริษัท เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของสำนักงานแห่งใหม่ “แสงสว่างส่องถึง ให้ออฟฟิสสว่างๆ โล่งๆ ไม่ทึบ แล้วก็อยากมองเห็นกันในระหว่างทำงาน รวมถึงเรื่องงบประมาณค่าก่อสร้างด้วย” คุณธฤตเล่าว่า สำนักงานของ Design In Motion ก่อนหน้านี้ เป็นเพียงห้องของตึกแถว 1 ห้องในย่านเอกมัย และพนักงานกว่า 10 คนทั้งทีมพาร์ทเนอร์และพนักงาน ก็นั่งทำงานรวมกันอยู่ในห้องเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงพอ และไม่ถึงขั้นแออัดยัดเยียด แต่การขาดพื้นที่ส่วนกลางและความเป็นส่วนตัวในพื้นที่ทำงานของแต่ละคน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องการแก้ไข เมื่อย้ายมาที่ทำงานใหม่ การออกแบบให้สถานที่ทำงานโปร่งโล่ง และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยแรกๆ […]
เปลี่ยนศูนย์อนุรักษ์น้ำ ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนเมือง
แม่น้ำ Songyin ในมณฑลเจ้อเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมือง Songyang เมืองที่มีประวัติศาสตร์การอนุรักษ์น้ำ มาเป็นเวลานาน โดยที่นี่เป็นแหล่งกระจายน้ำที่สำคัญของภูมิภาคเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เกษตรกรรม ทางทิศตะวันตกของเขื่อนและสถานีไฟฟ้าเป็นที่ตั้งของ ศูนย์อนุรักษ์น้ำ ซึ่งเดิมทีที่นี่ตั้งใจให้เป็นศูนย์การจัดการน้ำ ที่มีห้องควบคุม ออฟฟิศ และโรงอาหารรวมอยู่ด้วยกัน แต่ด้วยนโนบายการพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นจุดชมวิวแม่น้ำ ที่นี่จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เพื่อการพักผ่อนเเละนันทนาการเเทน โดยพื้นที่ภายในอาคารได้ถูกเปลี่ยนการใช้งานทั้งหมด เช่น ห้องเก็บเอกสารเปลี่ยนเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติการอนุรักษ์น้ำ ศูนย์ตรวจสอบเปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้คนทั่วไปและนักเรียนได้เข้ามาใช้ทำกิจกรรม และส่วนของโรงอาหารยังคงการใช้งานไว้ โดยเพิ่มหน้าที่เป็นพื้นที่มัลติมีเดียสำหรับวัยรุ่นในพื้นที่ ทีมผู้ออกแบบพยายามเก็บสเปซเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด โดยรูปทรงโค้งของอาคารถูกปรับให้เป็นอัฒจันทร์สำหรับทำกิจกรรมเอ๊าต์ดอร์ และทางเดินที่จะนำไปยังสวนดาดฟ้า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากรูปแบบของพื้นที่เดิมมาสร้างความพิเศษให้กับพื้นที่ภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นลำดับการเข้าถึง เเละเปิดรับแสงธรรมชาติให้สาดเข้ามายังพื้นที่ภายใน การวางตัวอาคารในลักษณะของคลัสเตอร์ที่มีทางเชื่อมถึงกัน แล้วแทรกด้วยบ่อน้ำ ดูเสมือนคอร์ตน้ำกลางกลุ่มอาคาร อันสื่อถึงเอกลักษณ์ของสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ทางเดินเชื่อมไปยังแต่ละอาคาร ยังออกแบบให้สอดคล้องไปกับลักษณะของภูมิประเทศ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายของการมาเที่ยวชมศูนย์อนุรักษ์แห่งนี้ ที่นี่จึงกลายเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านแถบชานเมืองกับภูเขาโดยรอบ เปิดโอกาสให้ผู้คนจากในเมืองได้มาเรียนรู้ ใกล้ชิด เเละสัมผัสธรรมชาติ ผ่านเรื่องราวการอนุรักษ์น้ำที่สอดเเทรกอยู่ทุกมุม รวมถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตั้งได้เป็นอย่างดี ออกแบบ : DnA_ Design and Architecture ภาพ : Wang Ziling, Han Dan […]
BAANSOMTAM BANG NA ร้านส้มตำที่เติมความแซ่บและเป็นพื้นที่สีเขียวให้เมือง
“บ้านส้มตำ” ร้านส้มตำสุดเก๋าที่เปิดมายาวนานกว่า 15 ปี และมีสาขาอยู่ทั่วมุมเมือง ล่าสุดกับสาขาที่ 10 สาขานี้เปรียบเสมือนเป็นแฟล็กชิปสโตร์ของบ้านส้มตำ ที่แสดงออกถึงตัวตนและอัตลักษณ์ของเเบรนด์ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความใส่ใจในรายละเอียด การคัดเลือกวัตถุดิบคุณภาพ และดีเทลในการบริการ ผ่านการวางพื้นที่ใช้สอยและการใช้วัสดุตกแต่งธรรมดาที่ไม่ธรรมดา หลังจากศึกษาและวิเคราะห์ที่ตั้งของร้าน ซึ่งอยู่ในย่านบางนาที่ยังขาดพื้นที่สวนระดับชุมชน หรือไม่มีสวนขนาดเล็กแทรกอยู่ในชุมชนเมืองเลย ประจวบเหมาะกับที่ดินผืนนี้มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ เมื่อหักลบจากพื้นที่ร้าน บ้านส้มตำ และคาเฟ่แล้ว ยังเหลือพื้นที่อีกมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการสร้างสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ที่ใช้ “พื้นที่สีเขียว” เป็นจุดดึงดูดความสนใจของโครงการ พื้นที่สีเขียวที่เกิดขึ้นอาจจะเรียกว่าสวนกึ่งสาธารณะ นอกจากช่วยดึงผู้คนให้มาใช้พื้นที่ของร้านบ้านส้มตำและคาเฟ่แล้ว ยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมือง โดยสิ่งนี้ได้กลายเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน ทั้งในเเง่ฟังก์ชันการใช้พื้นที่และโมเดลธุรกิจ และเมื่อพูดถึงอาหารอีสาน หลายคนมักนึกถึงความสนุกสนาน อันเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งที่เป็นเบสิก ท่ามกลางบรรยากาศการรับประทานอาหารที่เป็นการพูดคุยอย่างออกรสเเละเป็นกันเอง อันสื่อถึงความเป็นครอบครัวและความอบอุ่น นำไปสู่การออกแบบตัวอาคารให้มีความกลมกลืนระหว่างฟังก์ชันกับรูปฟอร์มได้อย่างลงตัว ตัวอาคารถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนหลัก ๆ คือ ส่วนของร้านบ้านส้มตำ และส่วนของร้านหอมคาเฟ่ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในรูปทรงของ Spiral Shape โดยส่วนของคาเฟ่เป็นส่วนของขดก้นหอยที่มีลักษณะเป็นวงกลม ตอบโจทย์การใช้งานของบาร์กาแฟ ขณะหางที่ต่อออกมาใช้เป็นส่วนของบ้านส้มตำ ที่มีลักษณะของอาคารทรงจั่วอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ เอื้อต่อการวางฟังก์ชันครัว ซึ่งทั้งสองมีการเชื่อมต่อทางมุมมองและการเข้าถึงสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไฮไลต์ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือพื้นที่สวนโดยรอบอาคารที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง สวนด้านหน้าเป็นสวนของไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม เช่น จำปี ปีบ […]
JACQUELINE BANGKOK จิบค็อกเทลในบาร์ที่จะพาคุณย้อนสู่ยุค50’s
ย้อนบรรยากาศกลับสู่ยุค 50’s กับ JACQUELINE BANGKOK บาร์สไตล์ American Mid-Century บนชั้น 2 ของโครงการสิริเฮ้าส์ ไลฟ์สไตล์คอมมูนิตีเฮ้าส์ย่านชิดลม ด้วยการหยิบคาเเร็กเตอร์สุดเฟียร์สของแจ็คเกอลีน เคนเนดี มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบตกแต่ง จากบ้านเก่าที่สร้างขึ้นในยุค 50’s ภายในซอยสมคิด ได้รับการปรับเปลี่ยนเพื่อเปิดเป็นแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ ซึ่งมีทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านหนังสือ ร้านดอกไม้ เเละโดยเฉพาะบาร์แห่งนี้ จากประวัติอันยาวนานเเละรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ ทุกอย่างจึงดูลงตัวเข้ากับคอนเซ็ปต์บาร์ยุคซิกซ์ตี้อย่างยิ่ง โดยทันทีที่คุณเดินขึ้นมายังพื้นที่บาร์จะสัมผัสได้กับบรรยากาศที่เป็นกันเอง คล้ายกำลังพักผ่อนอยู่ในบ้านพักตากอากาศช่วงซัมเมอร์ริมชายหาดไมอามีอย่างไรอย่างนั้น ด้านหน้าเด่นด้วยเคาน์เตอร์บาร์ที่นำไอเดียคอปเปอร์บาร์ของบ้านตัวร้ายในภาพยนตร์ Dr. No (1963) มาดีไซน์กลายเป็นเคาน์เตอร์บาร์สีทองเเดงสามารถรับบริการเครื่องดื่มจากบาร์เทนเนอร์ได้รอบทิศทาง ท็อปด้านบนปูด้วยหินขัดเทอร์ราซโซ วัสดุยอดนิยมของยุคนั้น พร้อมกับประดับโคมไฟเเขวนสไตล์สเเกนดิเนเวียนช่วยย่อสเปซลงมา รอบ ๆ เคาน์เตอร์ทั้งในเเละนอกจัดวางสตูลบาร์ตัวสูงทำจากหวายสไตล์ทรอปิคัล ดูรีเเล็กซ์เข้ากับบรรยากาศร่มครึ้มของไม้ใหญ่ในโครงการ ขยับเข้ามาที่โซนด้านในจะพบกับชุดเฟอร์นิเจอร์บุเบาะกำมะหยี่สีสันสดใสหนานุ่ม ร่วมด้วยองค์ประกอบอย่าง เเพตเทิร์นไม้เเต่งผนังสีน้ำตาลเข้ม ทาสีผนังด้วยสีน้ำเงินเเกมเขียวสื่อถึงสไตล์วินเทจ รู้สึกได้ทั้งความเป็นเฟมินีนเเละโฮมมี่พร้อม ๆ กัน หากอยากออกไปสูดอากาศด้านนอกก็มีระเบียงให้นั่งเล่น บนเบาะสีฟ้าขลิบขอบขาว ซึ่งนิยมใช้ในสถานที่ตากอากาศริมทะเลสมัยก่อน นอกจากบรรยากาศเเละของตกแต่งที่อิงมาจากเรื่องราวชีวประวัติของแจ็คเกอลีน เคนเนดี เเล้ว เมนูค็อกเทลยังตั้งชื่อตามช่วงเวลาสำคัญต่าง ๆ […]
หอเก็บน้ำจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่พระตะบอง
เมื่อ “น้ำดื่มสะอาด” กลายเป็นของหายาก จึงเป็นที่มาของ หอเก็บน้ำ ที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านมาก่อสร้าง หอเก็บน้ำ ในหมู่บ้านที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา แห่งนี้ ทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มสะอาดของหมู่บ้านที่ปลอดภัย ให้แก่พื้นที่ขาดแคลนและด้อยโอกาส ทั้งยังกลายมาเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของคนในชุมชน ทั้งการเฉลิมฉลองและเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เเต่กว่าหอเก็บน้ำนี้จะกลายเป็นฮับของชุมชน ในระหว่างกระบวนออกแบบทีมสถาปนิก Orient Occident Atelier ได้ลงพื้นที่และเข้ามาเก็บข้อมูล จนค้นพบเทคนิคและเอกสารเกี่ยวกับการก่อสร้างที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระทั่งนำมาสู่แรงบันดาลใจการสร้างหอเก็บน้ำภายใต้รูปเเบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นอย่างที่เห็นขึ้น โดยหมู่บ้านที่เป็นสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของพระตะบอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยได้รับความเสียหายจากทุ่นระเบิดในยุคสงครามเขมรแดง วิถีชีวิตชาวบ้านต้องอาศัยน้ำจากทะเลสาบเป็นแหล่งอุปโภคบริโภคหลัก เเต่ก็ไม่ปลอดภัยนัก เพราะแหล่งน้ำที่ว่านี้ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษจากโรงงานในพื้นที่ใกล้เคียง เเถมยังต้องเผชิญกับปัญหาภัยเเล้งเเละน้ำท่วมในบางปี เพื่อแก้ปัญาหาการขาดแคลนน้ำอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวบ้าน ทีมงานจึงช่วยกันระดมทุนเพื่อสร้างหอเก็บน้ำไว้สำหรับกักเก็บน้ำฝนและจากทะเลสาบใกล้เคียง ซึ่งมีระบบการกรองน้ำที่มีคุณภาพ จนได้น้ำที่ทั้งสะอาดเเละปลอดภัยสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน จะว่าไปหอเก็บน้ำนี้เป็นเหมือนฮีโร่พาชาวบ้านทั้งหมู่บ้านผ่านพ้นวิกฤตปัญหาน้ำเเละภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ไปได้ นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งสถาปัตยกรรมที่ออกแบบมาเพื่อผู้คนอย่างเเท้จริง ออกแบบ : Orient Occident Atelier (http://ooa.design ภาพ : Magic Kwan, Kenrick Wong เรียบเรียง : BRL Adventurous Global School อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
ADHOC อร่อยกับเมนูเชฟส์เทเบิ้ลในบรรยากาศไพรเวตไดน์นิ่งสุดเอกซ์คลูซีฟ
ADHOC ร้านอาหารไพรเวตไดน์นิ่งกับคอนเซ็ปต์ที่จะทำให้คุณรู้สึกราวกับเป็นเเขกคนพิเศษ ผู้ได้รับคำเชิญจากเชฟเจ้าของบ้านให้มาดินเนอร์ท่ามกลางบรรยากาศอบอุ่นสุดเอกซ์คลูซีฟ กับมื้ออาหารไทยสไตล์โมเดิร์นที่ทั้งอร่อยเเละมีหน้าตาราวกับงานศิลปะ สร้างสรรค์โดยเชฟเเท็ป-ศุภสิทธิ์ ก๊กผล DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Studio Act of Kindness จากธีมของร้าน ADHOC ที่เป็นเเบบเชฟส์เทเบิ้ล เปิดต้อนรับลูกค้าผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว ที่ตั้งของที่นี่จึงถูกซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบภายในทาวน์เฮ้าส์หลังเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายซอยตัน ในย่านสุขุมวิท39 ทันทีที่เปิดประตูเข้ามาเราจะพบกับโต๊ะ Long Table รองรับเเขกได้ราว 10 คน กับการตกแต่งที่ดูอบอุ่นเหมือนบ้านดั้งเดิมในยุโรป เพดานด้านบนเปิดสเปซสูงโปร่งเเขวนเเชนเดอเลียร์คริสตัลดูหรูหรา สุดปลายโต๊ะคือครัวเปิดที่มองเห็นความเคลื่อนไหวของเชฟขณะทำอาหาร ก่อนลำเลียงออกมาจัดเสิร์ฟไล่ลำดับตามรสชาติจนครบ 1 คอร์ส โดยเน้นการดีไซน์อาหารไทย-จีนให้มีหน้าตาสร้างสรรค์ดูโมเดิร์น หนึ่งคำสามารถสัมผัสได้ครบทุกรสชาติ ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของอาหารไทยดั้งเดิม จากธีมของร้านที่เป็นเเบบเชฟส์เทเบิ้ล เปิดต้อนรับลูกค้าผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว ที่ตั้งของที่นี่จึงถูกซ่อนตัวอยู่อย่างเงียบเชียบภายในทาวน์เฮ้าส์หลังเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายซอยตัน ในย่านสุขุมวิท39 ทันทีที่เปิดประตูเข้ามาเราจะพบกับโต๊ะ Long Table รองรับเเขกได้ราว 10 คน กับการตกแต่งที่ดูอบอุ่นเหมือนบ้านดั้งเดิมในยุโรป เพดานด้านบนเปิดสเปซสูงโปร่งเเขวนเเชนเดอเลียร์คริสตัลดูหรูหรา สุดปลายโต๊ะคือครัวเปิดที่มองเห็นความเคลื่อนไหวของเชฟขณะทำอาหาร ก่อนลำเลียงออกมาจัดเสิร์ฟไล่ลำดับตามรสชาติจนครบ 1 คอร์ส โดยเน้นการดีไซน์อาหารไทย-จีนให้มีหน้าตาสร้างสรรค์ดูโมเดิร์น […]
THE NẮNG SUITES ที่พักเมืองดานัง นอนสบายเหมือนอยู่บ้านท่ามกลางธรรมชาติ
The Nắng Suites ที่พักเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่สถาปนิกตั้งใจออกแบบบรรยากาศให้อยู่สบายเเหมือนอยู่บ้าน ไม่ว่าจะมาพักในระยะสั้น หรือระยะยาว โดยหัวใจสำคัญของที่นี่คือคอร์ตกลางอาคารที่เปิดโล่งจากชั้นแรกทะลุถึงท้องฟ้า เกิดเป็นพื้นที่เปิดโล่งและวิวของที่พัก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องแสงธรรมชาติและความอึดอัดของตึกที่มีลักษณะเป็นอาคารสูงแคบได้อย่างดี ที่พักเมืองดานัง แห่งนี้พื้นที่ทั้ง 4 ชั้น ถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก ๆ คือ พื้นที่พักผ่อนแบบไพรเวตในชั้นบนจำนวน 8 ห้อง และพื้นที่ส่วนกลางที่ประกอบด้วยพื้นที่นั่งเล่น ห้องครัว ส่วนรับประทานอาหาร เล้านจ์ ห้องสมุด ห้องดูหนัง ห้องซักรีด และที่จอดรถ ในส่วนของฟาซาด สร้างจังหวะให้กับอาคารด้วยแผงไม้ และหน้าต่างเต็มบานที่มีความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน สร้างความรู้สึกทั้งปิดทึบและปลอดโปร่งด้วยเเสงสว่าง โดยแผงไม้ทำเป็นรูปแบบของไม้สาน ช่วยในการนำแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในเเละระบายอากาศ ทั้งยังช่วยกรองแสงแดดได้ในตัว และเมื่อคุณเดินเข้ามาจะเจอกับคอร์ตตรงกลางทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมระหว่างพื้นที่ภายในกับภายในเข้าด้วยกัน การตกแต่งภายในได้แรงบันดาลใจมาจากยุค 1960s และทำให้ดูร่วมสมัยสไตล์คอนเทมโพรารี โดยใช้คีย์สีหลักอย่าง แดง เขียว และน้ำเงิน เพิ่มความอบอุ่นด้วยไม้วอลนัทสีเข้มที่ทำเพียงเคลือบใสเพื่อเผยผิวธรรมชาติ เพิ่มผิวสัมผัสความเป็นธรรมชาติด้วยหินขัดในส่วนของห้องน้ำ และเพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบที่เป็นภูเขา จึงยกไม้แบบทรอปิคัลมาไว้ในส่วนต่าง ๆ ของที่พัก ไม่ว่าจะเป็นระเบียงด้านหน้า หรือคอร์ตด้านใน นอกจากจะเพิ่มความสดชื่นแล้ว […]
CASA DE LASESTRELLAS โรงเรียนทางเลือกในคอสตาริกา ที่ออกแบบให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติแบบเต็มร้อย
ความท้าทายของที่นี่คือการนำแนวคิดการศึกษาของ โรงเรียน แปลงออกมาในรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีทั้งความโดดเด่น เปิดโล่ง ผนังโค้งดูลื่นไหล สี และวัสดุทำมาจากธรรมชาติ จุดเริ่มต้นเกิดจากความต้องการให้ โรงเรียน แห่งนี้เป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่ ดูกลมกลืนไปกับพื้นที่ป่ารอบ ๆ ให้มากที่สุด สถาปนิกจึงเลือกออกแบบอาคารเรียนเป็นแนวยาว ขนานไปกับชายหาด และรูปแบบภูมิสัณฐานของที่ตั้ง ตัวอาคารแยกออกเป็นก้อน ๆ เพื่อแบ่งการใช้งานตามระดับของชั้นเรียน ซึ่งมีความต้องการพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน อาคารหลักใช้เป็นห้องเรียนหลัก ห้องน้ำ ห้องครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ขนาบไว้ด้วยห้องแสดงศิลปะ ที่จอดรถ และห้องของเด็กชั้นเตรียมอนุบาล ซึ่งเเบ่งให้อยู่ด้านละฝั่ง ส่วนของชั้นเตรียมอนุบาลนั้น ตามหลักสูตรมุ่งเน้นให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นการเรียนรู้ ดังนั้นรูปแบบของสถาปัตยกรรมจึงเน้นใช้วัสดุธรรมชาติ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจผ่านความรู้สึก แผนผังของอาคารประกอบด้วยส่วนที่มีรูปทรงแบบก้นหอย ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งในส่วนของทางเข้า แล้วค่อย ๆ ปิดทีละนิดตามเส้นทางที่คดเคี้ยว จนกระทั่งถึงห้องเรียนรวมที่เด็ก ๆ จะทำกิจกรรมร่วมกัน หลังคาของอาคารส่วนก้นหอยนี้ ทำขึ้นจากโครงสร้างไม้ไผ่ให้มีลักษณะคล้ายกระโจม แล้วมุงด้วยหญ้าแห้งเป็นชั้น ๆ แทนการมุงกระเบื้อง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านทางภาคใต้ของคอสตาริกา โดยส่วนของโครงสร้างหลังคาได้เว้นช่องตรงกลาง แต่มีหลังคาเล็ก ๆ แบบโปร่งแสงคลุมอีกชั้น เพื่อให้แสงอาทิตย์สามารถสาดส่องเข้ามายังพื้นที่ภายในได้ ให้เด็ก […]
ADVENTUROUS GLOBAL SCHOOL อาคารเรียนที่ใช้ล็อกเกอร์เป็นทั้งผนังและที่เก็บของ
นี่คือ อาคารเรียน ในหมู่บ้านที่พระตะบอง ประเทศกัมพูชา โดย Orient Occident Atelier สำนักงานออกแบบจากฮ่องกงต้องการให้ที่นี่ไม่ได้เป็นเพียงอาคารเรียนแบบเน้นการบรรยายทั่วไป แต่ใช้สำหรับเป็นพื้นที่เรียนรู้ด้านการออกแบบ ก่อสร้าง รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในระหว่างกระบวนการก่อสร้างนั้นเด็ก ๆ จะได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับทีมสถาปนิกด้วย อาคารเรียน มีลักษณะสองชั้น ชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่เเบบใต้ถุนสูง ซึ่งเป็นลักษณะบ้านเรือนดั้งเดิมของชาวกัมพูชา โดยประยุกต์เป็นห้องเรียนแบบเปิดโล่งสามารถเชื่อมต่อกับชุมชนและวิวท้องนารอบ ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมการเรียนรู้ เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์กันระหว่างชาวบ้านให้ได้รับรู้ถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ทั้งยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้นั้น ๆ ได้ตลอดเวลาโดยไม่รู้สึกเคอะเขิน พื้นที่ชั้นสอง ออกแบบเป็นห้องสองฝั่งแบบโอเพ่นสเปซ สามารถใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น โดยมีผนังที่เรียกว่า “Griddy” ผนังโครงเหล็กสองชั้นกรุด้วยแผ่นไม้สลับกับแผ่นพอลิคาร์บอเนตทำหน้าที่เป็นทั้งผนังอาคาร ล็อกเกอร์ และชั้นวางของ โครงสร้างอาคารแบบยกสูง นอกจากจะเกิดเป็นพื้นที่ใช้งานแบบใต้ถุนแล้ว ยังช่วยป้องกันเรื่องน้ำท่วม และเป็นการเก็บรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการอยู่อาศัยไว้ ในส่วนของกระบวนการก่อสร้าง สถาปนิกได้เลือกใช้วิธีการและวัสดุแบบท้องถิ่น อย่างการใช้อิฐและไม้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ซึ่งเป็นการประหยัดค่าก่อสร้าง ทั้งยังแป็นวัสดุที่ช่างพื้นถิ่นคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ในแง่ของการออกแบบใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมแบบ Bottom-up ทำให้อาคารที่ออกมายังสะท้อนถึงบริบทของชุมชน เพราะทีมผู้ออกแบบเชื่อว่าอาคารเรียนที่ดีต้องเกิดจากความร่วมมือของครูผู้สอน เด็กนักเรียน และคนในชุมชนร่วมกับผู้ออกแบบ ถึงจะได้พื้นที่ใช้งานที่ทั้งถูกต้องและถูกใจ […]
NOURSABAH PATTAYA โรงแรมที่ผสมผสานโคโลเนียล ไทย ยุโรปและอารบิคไว้ด้วยกัน
แปลกใหม่ตั้งแต่ที่มาของชื่อโรงแรมไปจนถึงการตกแต่งกับดีไซน์ของ ที่พักพัทยา ที่ผสมผสานการออกแบบทั้งโคโลเนียล ไทย ยุโรปและอารบิคเข้าด้วยกัน โดย ‘ณุศบา’ มีที่มาจากภาษาอารบิคประกอบจาก คำว่า Nour (นูร) แปลว่า แสง และ sabah (ซอบาฮฺ) แปลว่า สายลมยามเช้าทำให้การออกแบบของที่นี่จึงเน้นในเรื่องของการใช้แสงและสายลมธรรมชาติมาเป็นส่วนประกอบของตัวอาคารนั่นเอง ที่พักพัทยา สไตล์ไทยโคโลเนียลมี 3 ชั้นภายนอกเป็นสีขาวสะอาดตา ส่วนภายในตกแต่งตามธีมและชื่อแต่ละชั้นไม่ซ้ำกัน โดยห้องพักแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ ห้องแกรนด์ดีลักซ์ ห้องดีลักซ์ทวินและห้องดีลักซ์ ตัวอาคารของโรงแรมถูกวางตำแหน่งให้หันระเบียงเข้าหากันเพื่อเห็นวิวสระว่ายน้ำที่กรุด้วยหินอ่อนรูปกุญแจบริเวณคอร์ตตรงกลางที่ถูกออกแบบเพื่อแทนถึงทะเลของพัทยา ส่วนภายในห้องพักออกแบบให้มีความสูงจากพื้นถึงฝ้า 3.5 ม. เพื่อให้ลมธรรมชาติเข้ามาได้อย่างเต็มที่ เลือกใช้ธีมสีเพื่อความสบายตาลสร้างบรรยากาศในการพักผ่อนด้วย สีฟ้า เทา ชมพู เขียว เหลืองและครีม พร้อมการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำใหม่ทั้งหมดจากเชียงใหม่ โดยเน้นเป็นไม้เนื้อแข็งเพื่อความอบอุ่น รวมไปถึงการสร้างกิมมิคในรายละเอียดอย่าง การออกแบบประตูบานเฟี๊ยมจากไม้จำปีซึ่งเป็นขนาดสั่งทำเป็นพิเศษ หรือจะเป็นกระเบื้องและการฉลุลายไม้ที่มีกลิ่นอายของโมรอคโคและของมุสลิมซึ่งนำมาใส่เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของโรงแรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น NOURSABAH PATTAYA มีบริการที่จอดรถและเสิร์ฟอาหารเช้าให้แขกที่เข้าพัก นอกจากนั้นยังบริการอาหารว่างในแบบฮาลาลและทั่วไปบริเวณพื้นที่ล๊อบบี้ ซึ่งบริเวณนี้เองที่คุณจะเลือกนั่งชิลภายในห้องแอร์หรืออกมานั่งริมสระว่ายน้ำแบบเอาท์ดอร์ได้ตลอดทั้งวัน Ideas to steal สร้างมุมพักผ่อนเล็กๆ ที่มุมอาคารในแต่ละชั้นเพื่อสร้างบรรยากาศสดชื่นให้กับโรงแรมโดยไม่ต้องเสียพื้นที่ใช้สอย […]
ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio กับ 7 ปีของบทบาทที่มากกว่าการเป็นนักออกแบบ
ทำความรู้จักการทำงานของ ศรัณย์ เย็นปัญญา และ 56thStudio ให้มากขึ้น รวมถึงแนวคิดต่อแนวทางการออกแบบที่ไม่เหมือนใครกับ 7 ปี ที่เขานำงานออกแบบสีสันจัดจ้าและรูปลักษณ์สุดแสบ และทำงานสร้างสรรค์อื่น ๆ อย่างการสร้างแบรนด์ สไตลิ่ง หรือออกแบบภาพลักษณ์ มาผลักดันวงการออกแบบให้สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น
ชามแกง สร้างประสบการณ์ในการกิน “แกง” ผ่านการตกแต่งร้านแบบสตรีทฟู้ด
ตลาดน้อย ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องและอาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและร้านค้าที่ยังคงเก็บกลิ่นอายวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้อย่างเข้มข้น เเละหนึ่งในนั้นคือ “ชามแกง” ร้านอาหารเจริญกรุง ที่ซ่อนตัวอย่างเงียบ ๆ อยู่ภายในซอยนครเกษม 5 ประหนึ่งเป็นฮิดเด้นเพลสกลางกรุง ถ้าหากคุณอยากลิ้มลองต้องตั้งใจเดินตามหากันหน่อย เพราะร้านนี้ไม่ได้มีป้ายหน้าร้านอย่างที่อื่น ๆ เป็นหนึ่งในความตั้งใจของผู้ออกแบบนั่นเอง เมื่อก้าวผ่านบานประตูสีแดงของ ร้านอาหารเจริญกรุง แห่งนี้ คุณจะได้สัมผัสกับกลิ่นเครื่องแกงหอมเย้ายวน พร้อมเสียงของการเตรียมวัตถุดิบจากเชฟทั้ง 3 ได้เเก่ คุณจีราวิชช์ มีแสงนิลวีรกุล คุณอรุษ เลอเลิศกุล และคุณอัจฉราภรณ์ เกียรติธนวัฒน์ ผู้หยิบวัตถุดิบง่าย ๆ ที่มีอยู่แล้วมาพลิกแพลงใหม่ ผสมผสานกับเทคนิคการปรุงอาหารชั้นเลิศ จนเกิดเป็นเมนู “แกง” แบบไทย ที่สร้างประสบการณ์การลิ้มรสที่พิเศษยิ่งขึ้นกว่าเดิม ภายในร้านขนาดหนึ่งคูหานี้ มีเพียงโต๊ะสังกะสีวางเรียงต่อกัน พร้อมสตูลบาร์จำนวน 16 ที่นั่ง ด้านในสุดปลายสายตาคือครัวโชว์ขนาดย่อมที่ออกแบบมาสำหรับเชฟ 3 คนแบบพอดี ๆ ภายใต้บรรยากาศแบบร้านอาหารกึ่งบาร์ ที่ให้ความรู้สึกถึงการผสมผสานระหว่างสตรีทฟู้ดกับเชฟเทเบิ้ล “เราพยายามตีความหมายของแกง ซึ่งแกงที่เชฟเลือกทำเป็นแกงที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน วัตถุดิบก็สามารถหาได้ทั่วไป มีความเป็นโลคอล งานอินทีเรียร์เลยอยากทำเพื่อสะท้อนถึงอาหารที่มีความติดดิน” – คุณศิรดา เกื้อวิบูลย์วณิชย์ […]