Dersyn Studio
- ที่อยู่ : 9/49 Workplace ราชพฤกษ์-จรัญฯ ถนนบางแวก แขวงภาษีเจริญ เขตบางแวก กรุงเทพฯ
- โทรศัพท์ : 0-2410-2282, 08-1401-0135
- Facebook : Dersyn Studio
- Instagram: https://www.instagram.com/dersynstudio/
ความประทับใจคือหัวใจสำคัญของการ Renovate บ้านพร้อมขาย และนี่คือ 7 สิ่งง่ายๆ ที่ช่วยสร้างความประทับใจได้อย่างแน่นอน
Q. เเม้ครัวจะมีเครื่องดูดควันแล้ว เเต่กลิ่นจากการทำอาหารยังไปรบกวนเพื่อนบ้านเเละคนในบ้านได้อยู่ดี จึงอยากทราบวิธีเเก้ไขเเละ กำจัดกลิ่นรบกวน ว่าควรทำอย่างไร? A. บ่อยครั้งแม้จะมีเครื่องดูดควันช่วยระบายควัน เเต่กลิ่นรบกวนจากการทำอาหารยังคงสร้างปัญหาเเละส่งกลิ่นรบกวนที่รุนแรงอบอวลอยู่ภายในบ้าน รวมถึงบ้านของเพื่อนบ้านได้อยู่ดี โดยเฉพาะครัวไทยที่มีการใช้เครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุนกว่าครัวฝรั่ง ในที่นี้เราจึงอยากขอแนะนำวิธี กำจัดกลิ่นรบกวน ด้วยการปรับปรุงระบบระบายควันที่สามารถเสริมเข้าไปกับช่องระบายเดิมได้เเบบไม่ยุ่งยาก นั่นคือ การระบายควันผ่านถังน้ำ และ การเดินท่อระบายควันขึ้นหลังคา เพื่อให้ควันและกลิ่นถูกระบายพ้นไปจากพื้นที่อยู่อาศัย จัดการปัญหากลิ่นควัน จากครัวต่อเติมของเพื่อนบ้าน อย่างไรดี วิธีที่ 1 : ระบายควันลงในถังใส่น้ำ วิธีนี้เป็นที่นิยมสำหรับจัดการกับควันของร้านอาหารที่ไม่สะดวกในการเดินท่อระบายควันขึ้นไปบนหลังคา ขั้นแรกให้ทำการติดตั้งท่อระบายอากาศโดยเลือกขนาดให้สัมพันธ์กับช่องระบายอากาศเดิม จากนั้นจึงหาถังน้ำขนาดประมาณ 200 ลิตร มาตั้งไว้ที่ด้านล่างของตำแหน่งช่องระบายอากาศ เติมน้ำประมาณครึ่งถัง เเล้วค่อยต่อท่อลมระบายอากาศลงไปที่ถัง โดยทำการซีลให้ท่อลมนั้นแนบสนิทกับถัง ซึ่งอาจใช้วิธีเจาะฝาให้พอดีกับท่อลมระบายอากาศ หรือจะใช้ผ้าพลาสติกเจาะรูก็ได้ โดยต้องกำหนดตำเเหน่งปลายท่อลมระบายอากาศให้แตะผิวน้ำภายในถังเพียงเล็กน้อย เพียงเท่านี้ทั้งควันและกลิ่นที่เคยตลบอบอวลก็จะถูกน้ำในถังดักเอาไว้ เเต่เมื่อน้ำในถังเริ่มขุ่นเราควรตักออกเพื่อเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ควันและกลิ่นที่ลอยไปยังบ้านข้างเคียงลดน้อยลงจนแทบอาจจะไม่รู้สึกเลยทีเดียว วิธีที่ 2 : ต่อท่อระบายอากาศขึ้นสู่หลังคา วิธีนี้ได้ผลมากกว่าวิธีแรก แต่ก็อาจจะต้องพึ่งพาช่างมาช่วยติดตั้งให้ โดยมีตัวเลือกทั้งแบบเดินแนบไปกับผนัง หรืออาจจะเจาะทะลุเพดานขึ้นไปก็ได้ เริ่มต้นจากให้ช่างผู้ชำนาญกำหนดตำแหน่งที่จะต่อท่อลมระบายอากาศจากตำแหน่งช่องระบายอากาศเดิม จากนั้นจึงเดินท่อขึ้นไปโดยยึดท่อกับผนังบ้านและชายคา เพียงเท่านี้กลิ่นและควันที่เคยรบกวนเพื่อนบ้านก็จะถูกระบายขึ้นพ้นหลังคา ไม่รบกวนทั้งเพื่อนบ้านและบ้านของเราเอง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ดีในระยะยาว […]
เป็นที่ทราบกันดีว่าในงานก่อสร้างนั้นมีปัญหามากมายสารพัด รายละเอียดในหลาย ๆ จุดก็เป็นเรื่องค่อนข้างร้ายแรง หากทำไม่ดีแล้วปล่อยให้ผ่านไป ก็จะแก้ไขยากในอนาคต ลองมาดูไอเดียการ ตรวจงานก่อสร้าง ที่เจ้าของบ้านสามารถสังเกตและตรวจเช็กงานได้ด้วยตนเอง มีอะไรบ้างนั้นมาดูกันครับ ตรวจงานก่อสร้าง 1. เสาและคานโครงสร้างคอนกรีตไม่ได้ผ่านการบ่ม ถือเป็นเรื่องร้ายแรงในลำดับต้นๆเลยทีเดียว เพราะเสาและคาน ค.ส.ล.ถือเป็นหัวใจของโครงสร้าง เมื่อคอนกรีตทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำและจับตัวกันจนแข็ง ถ้าถอดแบบแล้วทิ้งไว้โดยไม่ได้บ่ม น้ำจะระเหยออกทำให้คอนกรีตแห้งเร็วเกินไป ดังนั้นจึงต้องบ่มคอนกรีตด้วยการหุ้มกระสอบป่านราดน้ำให้ชุ่ม หรือหุ้มพลาสติกกันน้ำระเหย อย่างน้อยเป็นระยะเวลา 7 วัน หรือหากถึง 14 วันก็จะยิ่งดี 2. การเปลี่ยนพื้นสำเร็จรูปเป็นพื้นเทคอนกรีต พื้นสำเร็จรูปจะใช้การวางพาดบนคานหัวท้ายที่ออกแบบให้รับน้ำหนักพื้นชนิดนี้โดยเฉพาะ ส่วนคานด้านข้างทำหน้าที่รัดโครงสร้างเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบมาให้รับน้ำหนัก หากผู้รับเหมาเปลี่ยนสเป็กจากพื้นสำเร็จรูปเป็นพื้นเทคอนกรีตในบางจุด เพราะอาจสั่งของแล้วขาดนิดหน่อย น้ำหนักก็จะถูกถ่ายเทลงคานทั้งสี่ด้าน ซึ่งอันตรายมาก หรือในทางกลับกัน หากเปลี่ยนสเป็กจากพื้นเทคอนกรีตเป็นพื้นสำเร็จรูปก็อันตรายเช่นกัน 3. วงกบประตูหน้าต่างที่ผนังก่อไม่มีเสาหรือคานเอ็นยึด เสาหรือคานเอ็นทับหลังนอกจากทำหน้าที่เป็นกรอบสำหรับยึดวงกบประตูหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรงแล้ว คานเอ็นทับหลังที่อยู่เหนือวงกบบนของประตูหน้าต่างยังทำหน้าที่รับและถ่ายเทน้ำหนักของผนังก่อที่อยู่เหนือขึ้นไปไม่ให้ตกบนวงกบโดยตรง ซึ่งจะทำให้วงกบแอ่นหรือบิดโก่ง ใช้การไม่ได้ หากผู้รับเหมาลักไก่ไม่ทำ ต้องสั่งให้รื้ออก ! ทำใหม่ด้วย 4. การเจาะพื้นห้องน้ำเพื่อวางระบบท่อ ตามปกติการสร้างห้องน้ำซึ่งเป็นพื้นเทคอนกรีต มักจะฝังท่อระบบน้ำไว้ตั้งแต่ตอนเทพื้นแล้ว หากมาเจาะเพื่อฝังภายหลัง อาจเกิดปัญหารั่วซึมบริเวณรอบรอยต่อของท่อได้ ซึ่งการแก้ไขในภายหลังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : [email protected]
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
[email protected]