thingsmatter
- ที่อยู่ : 50/1 ซอยเอกมัย สุขุมวิท 63 เขตพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ
- เบอร์โทรศัพท์ 08-9925- 2516
- Website : www.thingsmatter.com
- Instagram : thingsmatterbkk
ระยะนี้ฝนตกบ่อย แม้แต่คนก็ยังเตือนกันให้ระวังเป็นหวัด เป็นไข้ แต่ต้นไม้คงจะดีใจที่ฝนตกเสียที เพราะแห้งเหี่ยวคอยฝนมาก็หลายเดือน สำหรับคนเมือง ฝนอาจเป็นของขวัญจากธรรมชาติที่เราไม่อยากได้เท่าไร เพราะนอกจากเปียกแล้ว รถก็ติด น้ำก็ขังรอการระบาย ไปไหนมาไหนไม่สะดวกสบาย คนที่มีสวนน้อยๆ ที่ริมระเบียง หรือสวนกว้างๆ ในบริเวณบ้าน สิ่งที่ควรทำหลังฝนตกคืออะไรบ้าง สำรวจต้นไม้ในสวน โดยเฉพาะในวันที่ฝนตก ลมแรง เพราะกิ่งไม้หรือแม้แต่ต้นอาจหักโค่นเป็นอันตรายได้ แต่ที่ถูกต้องแล้วควรตัดแต่งกิ่งตั้งแต่ปลายหน้าร้อนที่ผ่านมา พอฝนมาต้นไม้จะได้แตกยอดอ่อนและเจริญเติบโตต่อไป หากพบว่าในสวนมีน้ำท่วมขัง ควรตรวจสอบระบบระบายน้ำว่ามีส่วนไหนอุดตันบ้าง และควรเร่งระบายน้ำออกให้เร็วที่สุด เพราะถ้าฝนตกซ้ำ อาจเปลี่ยนจากน้ำขังมาเป็นน้ำท่วม สร้างความเสียหายให้กับต้นไม้และอาจถึงตัวบ้านได้ เมื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้แล้ว อย่าเพิ่งเดินเข้าไปเหยียบย่ำที่โคนต้นไม้ ซึ่งเป็นบริเวณที่รากแผ่กระจายอยู่ แต่ควรรอให้ดินแห้งก่อนแล้วค่อยสำรวจต้นไม้ ตัดแต่งหรือพรวนดิน สำหรับคนที่มีสวนกระถางริมระเบียง นอกจากตรวจดูกระถางต้นไม้ว่าล้มบ้างไหมแล้ว ควรดูว่าน้ำขังอยู่ที่ระเบียงหรือไม่ โดยตรวจดูรูระบายน้ำที่พื้นว่ามีสิ่งอุดตันหรือเปล่า อาจดูไปถึงความลาดเทของพื้นว่าลาดไปทางรูระบายน้ำหรือไม่ ถ้าไม่ หลังหมดฝนก็เตรียมปรับปรุงได้ ตรวจดูในกระถางต้นไม้ว่ามีน้ำขังหรือไม่ ถ้ามีอยู่ก็ควรระบายน้ำออกก่อน น้ำที่ขังอยู่ในกระถางโดยไม่ระบายออกหลังผ่านไปสักชั่วโมง เป็นสัญญาณบอกว่า ดินในกระถางเริ่มแน่น การระบายน้ำและอากาศเริ่มไม่ดีแล้ว ก็ถึงเวลาปรับปรุงดินเสียที คนที่ปลูกแคคตัสหรือไม้อวบน้ำ ในฤดูฝนเช่นนี้ ควรเก็บเข้าที่ร่ม เพราะแคคตัสเกือบทุกชนิดไม่ชอบน้ำปริมาณมากๆ กระถางต้นไม้ที่วางหรือแขวนไว้ตามชายคา ก็ควรขยับที่ อย่าให้รับน้ำจากชายคาโดยตรง เพราะต้นอาจเสียหายได้ […]
มาดู รวมรายชื่อสถาปนิกสายรีโนเวตบ้าน ในบ้านและสวน room Designer Directory เป็นไอเดียสำหรับผู้กำลังมองหาผู้มาเนรมิตบ้านเก่าให้กลายเป็นบ้านสวย
การฟื้นฟูผนังหลังน้ำท่วมเริ่มต้นด้วยการ ทาสีผนัง ใหม่เพื่อป้องกันความเสียหายจากความชื้นและเชื้อรา นอกจากนี้ยังช่วยคืนความสวยงามที่ถูกทำลายจากคราบสกปรกและรอยด่าง พร้อมเสริมความทนทานให้ผนังด้วยสีที่ทนต่อสภาพอากาศและป้องกันความชื้นในระยะยาว ปัญหาผนังหลังน้ำท่วมคือความชื้นสะสมที่ทำให้ ทาสีผนัง ไม่ติดทนและลอกล่อนง่าย ผนังอาจบวม แตกร้าว หรือเกิดคราบเชื้อราได้ หากไม่แก้ไขความชื้นและซ่อมแซมก่อนการทาสี ผนังจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ขั้นตอนการ ทาสีผนัง หลังน้ำท่วม ตรวจสอบความเสียหาย: ตรวจดูผนังว่ามีรอยแตกร้าวหรือบวมจากความชื้นหรือไม่ หากพบความเสียหายควรซ่อมแซมก่อน ทำความสะอาดผนัง: ล้างคราบสกปรก คราบน้ำ และเชื้อราที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดและแปรงขัดผิวผนัง ปล่อยให้ผนังแห้งสนิท: ผนังต้องแห้งสนิทเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและการลอกล่อนของสีในภายหลัง ใช้เวลาหลายวันหรือใช้พัดลมช่วยเร่งให้แห้ง เตรียมพื้นผิว: ขัดผนังเพื่อให้เรียบเนียน อุดรอยแตกร้าวด้วยวัสดุซ่อมแซมผนัง เช่น ปูนหรือวัสดุอุดรอยแตก ทารองพื้นกันชื้น: ทาสีรองพื้นกันชื้นบนผนังก่อนที่จะทาสีจริง เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้ทะลุผ่านสีภายนอก ทาสีจริง: ทาสีผนังด้วยสีที่ทนต่อสภาพอากาศและป้องกันความชื้น ทาอย่างน้อย 2 ชั้น เพื่อให้สีติดทนนานและสวยงาม ปล่อยให้สีแห้ง: รอให้สีแห้งสนิทในแต่ละชั้นก่อนทาทับชั้นต่อไป เพื่อให้สีติดทนนาน ควรเริ่มจากการเตรียมพื้นผิวผนังให้สะอาดและเรียบเนียน ปราศจากคราบสกปรกและเชื้อรา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผนังแห้งสนิทก่อนลงมือทาสี จากนั้นทารองพื้นกันชื้นเพื่อป้องกันความชื้นทะลุขึ้นมา เลือกใช้สีคุณภาพสูงที่ทนต่อสภาพอากาศและความชื้น ทาสีอย่างน้อย 2-3 ชั้น ปล่อยให้แต่ละชั้นแห้งสนิทก่อนทาทับ หลีกเลี่ยงการทาสีในวันที่อากาศชื้นหรือมีฝนตก เพื่อป้องกันสีลอกล่อน […]
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 0-2422-9999 ต่อ 4220
Email : baanlaesuanweb@amarin.co.th
0-2422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th