- Page 2 of 4

วิธีแก้ไขปัญหาเหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม

เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม อาจดูน่ากลัวสำหรับเจ้าของบ้าน โดยอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ปัญหานี้สามารถจัดการได้ไม่ยากอย่างที่คิด เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม เกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่หลากหลาย โดยปกติแล้ว เหล็กเส้นและเหล็กข้ออ้อยที่ใช้เสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นก็มักจะมีสนิมผิวอยู่บ้าง ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยให้ปูนยึดเกาะกับเหล็กเสริมโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ประเภทของสนิม สนิมผิว สนิมประเภทนี้จะเกาะตามเนื้อเหล็กกล้าที่ยังไม่ได้ถูกเคลือบหรือทำผิว สนิมเหล่านี้มักเป็นผงบางๆเกาะอยู่บนผิวสามารถใช้แปลงทองเหลืองปัดออกได้ไม่ยากนัก สนิมขุม เป็นสนิมที่เกาะกินจนลุกลามเกิดเป็นโพรงสนิมกินลึกเข้าไปในเนื้อเหล็ก สนิมแบบนี้ค่อนข้างอันตรายเพราะเริ่มทำให้เหล็กเสียหายไปเยอะแล้ว แต่ในโครงสร้างเหล็กที่มีความหนาเช่นเหล็ก H Beam หรือเหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อยมักจะไม่พบสนิมขุมบ่อยนัก (หากไม่ได้ปล่อยโครงสร้างเปลือยทิ้งเอาไว้เป็น 10-20 ปี แต่ในโครงสร้างเหล็กที่เป็นเหล็กกล่อง หรือเหล็กแบบ Light Guage นั้น หากเกิดสนิมแล้วก็มักจะลุกลามกัดกินจนเสียหายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อเหล็กที่บางเสียหายได้ง่ายนั่นเอง เสาคานระเบิดน่ากลัวหรือไม่? เกิดจากจากอะไร? ฟังดูแล้วเหมือนจะน่ากลัว แต่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด โดยปกติแล้ว การที่เสาหรือคานคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นจะมีอาการแตก ผุ ร่อน กระเทาะออกมา หากสังเกตแล้วไม่ใช่อาการว่าคานหัก หรือเสาหักกลางลำ และเมื่อพื้นที่ด้านบนไม่ได้มีการต่อเติม หรือ มีน้ำหนักที่ทำให้คานและเสาต้องแบกรับมากจนเกินไป ก็อาจจะเกิดจากความชื้นที่เข้าไปทำให้ เหล็กเสริม เกิดสนิมจนดันปูนระเบิดออกมานั่นเอง ส่วนสาเหตที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นก็คือการปริร้าวของคอนกรีตอันเป็นผลให้เกิดความชื้นเข้าไประหว่างเหล็กเสริมและโครงสร้างคอนกรีตนั่นเอง นานวันไปจึงเกิดเป็นสนิม และดันจนโครงสร้างคอนกรีตแตกออกมาจากภายในในที่สุด เพราะฉะนั้นทางแก้จึงเป็นการซ่อมแซมเนื้อคอนกรีต และปิดช่องทางของความชื้นที่จะเข้าไปทำให้เกิดสนิมนั่นเอง เหล็กเส้นคอนกรีตขึ้นสนิม ผุ […]

renovation

10 จุดการรีโนเวตบ้านที่ไม่ควรพลาด

การรีโนเวตบ้านเก่ามักไม่มีวิธีการตายตัว เพราะต้องปรับไปตามสภาพและปัญหาของบ้านแต่ละหลัง จึงต้องใช้ประสบการณ์กันพอตัว แล้วถ้าหากเราเป็นเจ้าของบ้านมือใหม่ล่ะ จะเริ่มจากตรงไหนดี? สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่จะเริ่มรีโนเวตบ้าน ควรเริ่มจากการสำรวจบ้านเดิมว่าส่วนใดควรเก็บรักษาไว้ และ ส่วนใดควรรื้อทิ้ง จากนั้นมากำหนดขอบเขตว่าจะรีโนเวตทั้งหลัง, รีโนเวตบางส่วนแล้วจัดฟังก์ชันใหม่ หรือเพียงซ่อมแซมส่วนที่เสียหายให้ดีขึ้น  แม้แต่ละบ้านจะมีวิธีแก้ปัญหาต่างกัน แต่ก็มี 10 จุดการรีโนเวตที่มักเจอแทบทุกบ้านที่มือใหม่ควรรู้ รีโนเวทบ้าน 1. การยกพื้นภายใน รีโนเวทบ้าน ด้วยการยกพื้นภายในบ้านบางส่วนให้สูงขึ้นมีหลายกรณี อาจทำเพื่อต้องการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ เช่น ยกพื้นเพื่อแทนเตียงนอน  หรือแก้ปัญหาการเดินท่อน้ำไว้ใต้พื้นของห้องครัว ซึ่งควรระวังเรื่องระดับฝ้าเพดานที่จะเตี้ยลง รวมถึงกระทบต่อระดับประตูหน้าต่าง บันได ปลั๊กไฟ และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ถ้ายกพื้นเป็นบริเวณกว้าง ไม่ควรเทพื้นคอนกรีตให้สูงขึ้นเพราะแม้สูงขึ้นเพียง 10-15 เซนติเมตร น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจนอาจทำให้โครงสร้างเดิมเสียหายได้ เพราะคอนกรีต 1 ลูกบาศก์หนักประมาณ 2,400 กิโลกรัม วิธีที่ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมรับน้ำหนักมากเกินไปคือ การทำพื้นโครงสร้างเหล็กยึดกับเสาและคานของบ้าน ปูด้วยวัสดุแผ่นพื้นอย่างแผ่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ แล้วติตตั้งวัสดุปูพื้นระบบแห้งซึ่งมีน้ำหนักไม่มากและทำงานได้เร็ว 2. การเปลี่ยนวัสดุปูพื้น การเปลี่ยนวัสดุปูพื้นไม่ใช่เรื่องยาก และมีวัสดุหลายชนิดที่สามารถปูทับพื้นเดิมได้โดยไม่ต้องรื้อ เช่น ไม้ลามิเนต กระเบื้องไวนิล รวมถึงกาวซีเมนต์ที่ปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเดิมได้เลย แต่มีสิ่งที่ควรพิจารณาคือ ถ้าต้องการทำพื้นให้ระดับเท่าเดิม […]

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่?

รีโนเวตบ้านชั้นเดียว ให้กลายเป็นบ้านสองชั้น ทำได้จริงหรือไม่? ไม่อยากรื้อบ้านทั้งหลังแต่อยากขยายขึ้นไปชั้นสอง ถ้าตอบตรงๆ ก็คงจะต้องตอบว่า ทำได้จริง! และทำไม่ได้! เพราะมีเงื่อนไขขั้นตอนในแง่ของโครงสร้างและกฏหมายอยู่ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบ้านและสวนจึงอยากขอแจกแจงให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจว่า รีโนเวตบ้านชั้นเดียว เป็นบ้านสองชั้น ทำได้หรือไม่? ถ้าทำได้จริง ทำได้เพราะอะไร? และถ้าทำไม่ได้ มีหลักการและเรื่องที่ควรคำนึงอย่างไร? เพื่อจะได้พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะตัดสินใจสร้างบ้านหรือต่อเติมต่อไปนะครับ กรณีตอบว่าทำไม่ได้ กรณีออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสอง ทำไม่ได้เพราะ เพราะว่าการออกแบบบ้านนั้นไม่นิยมเผื่อโครงสร้างมากกว่าที่จะสร้าง เหตุผลก็คือในการขออนุญาตนั้นจะต้องทำในครั้งเดียว หากการคำนวญโครงสร้างนั้นมีการเผื่อชั้นสองชั้นสาม การขออนุญาตก็จะต้องขอไปในทันที ซึ่งเขาไม่ทำกันเนื่องจากมีความยุ่งยากเกินไป กรณีตั้งใจออกแบบให้ชั้นสองมีโครงสร้างอยู่ในพิกัดเสาเดิม ทำไม่ได้ถ้าหากไม่ใช้โครงสร้างเบาเช่น โครงสร้างไม้ หรือ โครงสร้างเหล็ก เพราะไม่ได้ออกแบบรอรับการต่อเติมไว้ อาจก่อความเสียหายกับโครงสร้างเดิมได้ อีกทั้งยังจำเป็นต้องขออนุญาตใหม่อีกด้วย กรณีตอบว่าทำได้ ในกรณีที่ทำได้นั้น สามารถเลือกออกแบบได้หลายวิธี วิธีที่ 1 ออกแบบโดยใช้ฐานรากใหม่ วิธีนี้จะใช้การลงเข็มและทำฐานรากเพื่อทำโครงสร้างของชั้นสองใหม่ ข้อเสียคือจะไม่ได้อยู่ในแนวพิกัดเสาเดิม แต่สามารถออกแบบให้แนวเสาใหม่เข้ามาอยู่ชิดกับแนวเสาเดิมได้ จากนั้นจึงออกแบบให้ชั้นหนึ่งกับชั้นสองต่อเชื่อมเป็นอาคารเดียวกัน*ต้องปรึกษาวิศวกรและสถาปนิกตั้งแต่เริ่มต้น วิธีที่ 2 ออกแบบโครงสร้างชั้นสองด้วยโครงสร้างเบา วิธีนี้คือการรื้อโครงสร้างหลังคาออกมาก่อนแล้วจึงต่อเติมชั้นสองโดยเลือกใช้โครงสร้างเบา ทั้งนี้โครงสร้างเดิมต้องได้รับการพิจารณาจากวิศวกรเสียก่อนว่า สามารถรับแรงได้จริง และปลอดภัย หากเป็นกรณีที่ออกแบบเผื่อต่อเติมชั้นสองอยู่แล้ว อาจพิจารณาเลือกใช้โครงสร้างแบบ “ผนังรับน้ำหนัก” จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด […]

โครงสร้างรั้ว และการแก้ไขปัญหารั้วล้มเอียง

วิธีก่อสร้าง รั้ว ให้แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนานมีปัจจัยหลักๆ คือ สภาพดินและระดับดิน ในเบื้องต้นมีปัจจัยและชนิดของโครงสร้างรั้วต่างๆ ดังนี้ 1. ระดับความสูงดินสองฝั่งเท่ากัน กรณีที่ระดับดินของเราและเพื่อนบ้านสูงเท่ากัน และทำเป็นรั้วร่วมโดยแชร์ค่าใช้จ่ายกัน โดยสร้างทับแนวเขตที่ดิน สามารถใช้เสาเข็มต้นเดียวกันในฐานรากแต่ละอันได้ เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดและ รั้ว มีความสมดุลเพราะแรงดันของดินทั้งสองฝั่งเท่ากัน 2. ระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันไม่เกิน 60 เซนติเมตร หรือกรณีทำโครงสร้างรั้วอยู่ในเขตที่ดินของเรา โครงสร้างเช่นนี้ไม่สมดุลเหมือนกรณีแรก จึงต้องออกแบบเป็นฐานรากแบบตีนเป็ด (ยื่นเข้ามาในที่ดินของเราเพียงฝั่งเดียว) 3. ระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตร ถ้าระดับดินแตกต่างกันมากกว่า 70 เซนติเมตรขึ้นไป จำเป็นต้องใช้ฐานรากพิเศษ โดยเพิ่มคานดึงรั้งที่เรียกว่า “คานสเตย์” เพื่อไม่ให้กำแพงเอนล้มไปด้านที่ระดับดินต่ำกว่า อีกทั้งต้องออกแบบกำแพงกันดินทลายออกสู่ภายนอกด้วย สาเหตุและการแก้ไขกำแพง รั้ว เอียง 1. ก่อสร้างผิดวิธี หากการก่อสร้างไม่เหมาะสมกับสภาพที่ดินนั้นๆ เช่น การสร้างรั้วรอบที่ดินซึ่งมีระดับความสูง-ต่ำต่างกับที่ดินข้างเคียงมาก ถ้าช่างนำแบบก่อสร้างสำหรับรั้วทั่วไป (รั้วสำหรับที่ดินสองฝั่งสูงเท่ากัน) มาใช้งาน ก็จะทำให้รั้วเกิดอาการเอียงหรือแบะออกอย่างแน่นอน การแก้ไข ควรทำคานดึงรั้งที่เรียกว่า […]

วิธีแก้ปัญหา ท่อน้ำรั่วซึม

ท่อน้ำรั่วซึม เป็นปัญหาสามัญประจำบ้านที่คอยกวนใจเจ้าของบ้านก็ว่าได้ หากเป็นห้องน้ำชั้นล่าง ก็ยังพอจะปล่อยผ่าน แต่หากเป็นชั้น 2 เมื่อไหร่ รับรองว่ามีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกเยอะเป็นแน่นอน เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณลองมาดู วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม เบื้องต้นกันครับ ขั้นตอนการทำงาน วิธีแก้ท่อน้ำรั่วซึม 1.ก่อนอื่นต้องรื้อฝ้าเพดานออกมา เพื่อดูจุดที่มีการรั่วซึม (ในกรณีที่ไม่มีช่องเซอร์วิส) ซึ่งอาจเกิดจากท่อน้ำดีชำรุดหรือท่อน้ำทิ้งรั่ว 2.หากเป็นการรั่วประเภทนี้ก็ซ่อมแซมท่อน้ำตามปกติ แต่หากเป็นการรั่วจากรอยต่อระหว่างโถสุขภัณฑ์กับพื้น หรือยาแนวกระเบื้องพื้นชั้นบนเสื่อม ก็แก้ไขโดยการขูดร่องยาแนวรวมถึงกระเบื้องที่เสียหายออกให้หมด 3.จากนั้นทาผลิตภัณฑ์กันซึมให้ทั่วบริเวณพื้น และควรทาเลยมาที่ผนังรอบห้องน้ำให้สูงจากพื้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรด้วย รอให้แห้งสนิทแล้วทาผลิตภัณฑ์กันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง 4.ปูกระเบื้องกลับตามเดิมให้เรียบร้อย แล้วยาแนวใหม่ด้วยยาแนวสูตรป้องกันราดำ หากยังไม่แน่ใจว่าห้องน้ำด้านบนที่ซ่อมแซมนั้นยังมีการรั่วซึมอยู่หรือไม่ ก็อาจยังไม่ต้องทำฝ้าเพดานใหม่ที่ห้องด้านล่าง รอสักหนึ่งเดือนหรือสองเดือนให้แน่ใจก่อนแล้วค่อยทำก็ได้ TIPS วิธีการตรวจสอบว่าท่อน้ำทิ้งหรือท่อน้ำดีรั่วหรือไม่ ทำได้โดยการนำกระดาษทิชชูไปพันรอบข้อต่อหรือจุดที่คาดว่าจะมีการรั่วซึม แล้วใช้งานตามปกติ (กดชักโครกหรือราดน้ำลงพื้น) ปล่อยทิ้งไว้สัก 15-30 นาที จากนั้นก็ตรวจสอบกระดาษทิชชู หากมีความชื้นหรือเปียกน้ำแสดงว่าบริเวณนั้นมีการรั่วซึม เรื่อง : คันยิก้า ภาพประกอบ : เอกรินทร์ พันธุนิล แฟนเพจ “บ้านและสวน” ห้องน้ำกับงานระบบที่ควรรู้ ปัญหากาวยาแนวในห้องน้ำเสื่อมสภาพ กันซึมไม่ดีเจ้าของบ้านได้แต่นั่งซึม

ซ่อมผนังร้าว

“ผนังร้าว” ซ่อมเองได้ด้วยงบหลักร้อย

ผนังร้าว  หรือรอยแตกกระเทาะบนผนังบ้าน อาจดูเป็นเรื่องจัดการยาก แต่จริง ๆ แล้วหากผนังบ้านกำลังเกิดอาการนี้แบบไม่มากก็ยังพอซ่อมเเซมได้ โดยอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ เพราะอาจเกิดปัญหาลุกลามตามมาภายหลัง บ้านและสวน จึงอยากนำเสนอวิธี ซ่อมผนังร้าว ด้วยตัวเองกับอุปกรณ์ในงบหลักร้อยที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ซ่อม อุปกรณ์ ซ่อมผนังร้าว • แป้งโป๊ผนังสำเร็จรูป• กระดาษทรายเบอร์2 หรือเบอร์3• ค้อน• ไขควงปากแบน• ลูกกลิ้ง แปรงทาสี• เกรียงปากแบนขนาดใหญ่กลาง และเล็ก อย่างละ 1 อัน• สีรองพื้นปูนเก่า• สีทารองพื้น• สีทาผนังใหม่่ อาการที่ 1 ผนังแตกร้าวกระเทาะเป็นรู ขั้นตอนที่ 1. ใช้แป้งโป๊ปิดรูกะเทาะแล้วปล่อยไว้ให้แห้ง ขั้นตอนที่ 2. ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดผนังให้เรียบ ขั้นตอนที่ 3. ทาสีรองพื้นทับรอยแตก ถ้าเป็นผนังเก่ามากให้ทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อน ขั้นตอนที่ 4. ทาสีผนังใหม่ด้วยสีเดิม หรือเปลี่ยนสีผนังใหม่ก็ได้ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ อาการที่ 2 ผนังแตกร้าว […]

พุก

พุก อุปกรณ์ยึดติดนอตหรือสกรูกับพื้น-ผนัง

“พุก” คืออุปกรณ์สำหรับช่วยยึดนอตหรือสกรูเข้ากับพื้นและผนัง ซึ่งมีหลายชนิดมาก มารู้จักพุกแต่ละชนิด เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน พุกพลาสติก หรือพุกตัวหนอน เป็น พุก ที่เหมาะกับงานง่าย ๆ ที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น การแขวนรูปภาพประดับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เมื่อขันสกรูเข้าไป ตัวหนอนจะพองขึ้นและยึดแน่นติดกับปูน พุกเหล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม และงานที่ต้องการรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น งานติดตั้งเสารับน้ำหนักบนพื้นคอนกรีตของโรงรถ งานยึดฝ้าเพดานเพื่อแขวนแชนเดอเลียร์ พุกสำหรับคอนกรีตบล็อก มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพุกตัวหนอน แต่บริเวณลำตัวของพุกจะมีสันหรือลอนถี่มากกว่า ทำจากในลอนซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าพุกพลาสติกทั่วไป พุกเคมี พุกแบบนี้เราไม่ได้ใช้เองในบ้าน เพราะเป็นอุปกรณ์ของช่างก่อสร้างอาชีพ แต่ก็น่าจะรู้จักไว้ ช่างจะเจาะรูที่เสา หรือพื้นคอนกรีตแล้วสอดพุกเข้าไป จากนั้นจะใช้สว่านเจาะพุกให้แตก แล้วสอดเหล็กเส้น หรือตะปูเกลียวเข้าไป กาวเคมีที่อยู่ในหลอดแก้วจะช่วยยึดให้ติดแน่น พุกสำหรับงานยิปซัม เนื่องจากเนื้อในของยิปซัมจะมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักน้อยกว่าผนังแบบอื่น ๆ ลำตัวของพุกชนิดนี้จึงออกแบบให้มีลักษณะเป็นแฉก เมื่อเราขันสกรูเข้าไป พุกจะกางออกที่ด้านในของแผ่นยิปซัม พุกสำหรับคอนกรีตมวลเบา ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเกลียวคมที่สามารถยึดติดกับเนื้อของอิฐมวลเบาได้ดี และมีประสิทธภาพดีกว่าพุกพลาสติก พุกตะกั่ว เหมาะกับงานกลางแจ้ง เนื่องจากรับน้ำหนัก และทนต่ออุณหภูมิความร้อนภายนอกบ้านได้ดีกว่าพุกพลาสติกหรือพุกเหล็กซึ่งเกิดสนิมได้ง่าย เช่นการติดตั้งแท็งก์บรรจุ น้ำดื่มน้ำใชที่ตั้งอยู่บนระเบียงหรือดาดฟ้า เรื่อง : คันยิก้า […]

กำแพงแยก ปัญหาใหญ่ที่แก้ไขให้ดูดีได้ด้วยฉากอะลูมิเนียม

กำแพงแยก เพราะบ้านทรุด เป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเผชิญ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ แม้จะใช้ซิลิโคนปิดรอยแล้วก็ตาม เเต่กำเเพงยังเเยกตัวขยายลุกลามออกไปได้อยู่ดี วันนี้เราจึงมีวิธีแก้ปัญหาด้วยการใช้ “ฉากอะลูมิเนียม” มาฝาก รับรองได้ถึงความทนทาน แม้จะใช้งานผ่านไปนานเเค่ไหน กำเเพงก็ยังคงดูดีเเละเเข็งเเรงเหมือนเดิม แก้ปัญหา ส่วนต่อเติมบ้านทรุด กำแพงแยก กำแพงแยก Q. ทำไมกำแพงจึงแยกออกจากกัน? A. ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับส่วนต่อเติมของบ้าน นั่นเป็นเพราะว่าส่วนตัวบ้านหลักกับส่วนที่ต่อเติมนั้นไม่ได้มีฐานรากร่วมกัน โดยมากส่วนครัวหลังบ้านมักจะใช้เสาเข็มขนาดสั้นตอกลงไปก่อนก่อสร้าง ความแตกต่างของเสาเข็มนี้ทำให้ทั้งสองส่วนของบ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน และทำให้เกิดปัญหา “กำแพงแยก” ออกจากกันในที่สุด Q. ซิลิโคนช่วยได้ไหม? A. บางท่าน (ซึ่งเคยได้ยินมาจริง ๆ) เข้าใจว่า การฉีดซิลิโคนปิดรอย จะสามารถหยุดการแยกตัวออกของกำแพงบ้านได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ซิลิโคนเป็นเพียงวัสดุที่เข้าไปเติมเต็ม “ช่องว่าง” ของกำแพง ไม่ได้มีแรงเพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวกำแพงไว้ด้วยกัน ฉะนั้นแม้จะฉีดซิลิโคนจนเต็มรอยแยกไปแล้ว แต่ก็ไม่อาจหยุดการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากันได้ Q. จะแยกไปถึงเมื่อไหร่? A. การทรุดตัวนั้นจะเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะดินในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นดินเหนียว แต่เมื่อผ่านปีที่ 3-4 ไปแล้ว จะเกิดการทรุดตัวที่ช้าลง จนแทบไม่ทันสังเกต(แต่ยังทรุดตัวอยู่) ซึ่งเรียกได้ว่าช้าพอที่จะจัดการรอยแยกได้ง่ายขึ้น […]

5 สเต็ปสำรวจเรื่องเงินเรื่องงบ ก่อนซื้อคอนโดหลังแรก

ก่อนที่จะลงเงินซื้อคอนโดมิเนียม ทั้งซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยหรือซื้อเพื่อการลงทุน เจ้าของห้องควรรู้ 5 สเต็ปท์เรื่องเงินเรื่องงบเบื้องต้น และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตัดสินใจ •บ้านทิวทะเลบลูแซฟไฟร์ และบลู คอนโดริมหาดชะอำ-หัวหิน  •JOY HOUSE IN THE BOUND HOUSE แกลเลอรี่ในบ้านตัวอย่าง •BURASIRI PATTANAKARN CLUBHOUSE คลับเฮาส์บรรยากาศรีสอร์ต 1 | ตรวจสอบกำลังซื้อ เรื่องแรกที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อคอนโดคือ ประเมินกำลังซื้อของตัวเองโดยเงินที่ใช้ซื้อคอนโดประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือเงินปัจจุบัน ซึ่งก็คือเงินออม และเงินอนาคต คือเงินกู้ที่ต้องนำรายได้ในอนาคตมาผ่อนใช้คืนในจำนวนเท่ากับเงินที่กู้มาบวกกับดอกเบี้ยนั่นเองเงินส่วนแรกคือเงินออม ยังมีความสำคัญ เพราะแม้ว่าอาจเคยได้ยินโฆษณาขายโครงการคอนโดหลายแห่งบอกว่ากู้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าไม่ต้องมีเงินออมเลยก็ซื้อคอนโดได้ แต่ผู้ซื้อยังต้องมีเงินเพื่อใช้จ่ายเงินจอง เงินทำสัญญา เงินดาวน์ ค่าธรรมเนียมโอน ค่าจดจำนองรวมทั้งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งเพราะฉะนั้นควรเตรียมเงินออมไว้ไม่ต่ำกว่า 18 – 23 เปอร์เซ็นต์ของราคาคอนโดที่จะซื้อเงินส่วนที่สองที่เป็นเงินกู้ มีสัดส่วน 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ ความสามารถในการกู้เงินจึงเป็นปัจจัยสำคัญว่าเราจะสามารถซื้อคอนโดได้หรือไม่ เป็นเรื่องน่าเสียใจที่หลายคนถูกยึดเงินจองและเงินดาวน์จากการซื้อคอนโดเพราะกู้ไม่ได้หรือกู้ได้ไม่พอ ถ้าโชคดีอาจได้เงินที่จ่ายไปแล้วคืน […]

วิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน

ทำระบบสูบน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้าน

วิธีป้องกันน้ำไหลเข้าบ้าน เมื่อเจอปัญหาน้ำท่วมถนน หรือบ้านอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าถนน สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีต่างๆ หรือเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อสร้าง

ระบบกันซึม น้ำยากันซึม เลือกใช้อย่างไรดี

ระบบกันซึม เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการก่อสร้างบ้าน โดยเฉพาะส่วนห้องน้ำและพื้นดาดฟ้า แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร เราควรเลือกใช้แบบไหน ไปดูกัน ระบบกันซึม แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ น้ำยากันซึมแบบผสมในคอนกรีต น้ำยากันซึมแบบเหลวใช้ทา และ ระบบกันซึมแบบแผ่น ไปดูกันว่าแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร น้ำยากันซึม แบบผสมในคอนกรีต ใช้เทเป็นโครงสร้างหรือเอามาฉาบผิวเพื่อกันซึม แต่สำหรับที่มักพูดกันหรือเขียนในแบบก่อสร้างว่า “คอนกรีตผสม น้ำยากันซึม ” ตัวนั้นเป็นแค่เคมีที่ช่วยลดน้ำในคอนกรีตเพื่อหวังผลให้น้ำในคอนกรีตน้อยลงจนทำให้คอนกรีตหนาแน่นมากขึ้น แล้วจะกันน้ำได้มากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงใช้งานไม่ได้เพราะป้องกันน้ำซึมไม่ได้เลย จึงไม่แนะนำให้ใช้ระบบนี้ ส่วนที่ใช้งานได้ดีคือการใช้สารประเภท Crystalline ที่เมื่อผสมในคอนกรีตแล้วจะทำให้คอนกรีตทำปฏิกิริยากับน้ำจนก่อเป็นผลึกขนาดจิ๋ว อุดตามช่องว่างภายในคอนกรีตจนสนิท ทำให้คอนกรีตทึบน้ำจนกันน้ำกันซึมได้ดี ระบบนี้ใช้ได้ทั้งแบบใช้ผสมในคอนกรีตก่อนเทหรือพ่นที่ผิวคอนกรีตก็ได้ ข้อดี ทำงานง่าย ราคาถูก ข้อจำกัด ควบคุมคุณภาพยาก เพราะสารเคมีนี้ใสมากและไม่มีสี ทำให้ยากที่จะตรวจสอบว่าพ่นหรือผสมในคอนกรีตแล้วหรือไม่ และผสมในปริมาณที่ถูกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ยังใช้ได้กับคอนกรีตเท่านั้น ใช้กับวัสดุอื่น เช่น โลหะ กระเบื้อง ปูนฉาบ ไม่ได้เลย น้ำยากันซึม แบบเหลวใช้ทา (Liquid Applied) มีลักษณะเป็นของเหลวใช้ทาหรือพ่นที่ผิวที่ต้องการใช้กันซึม จะป้องกันคอนกรีตไม่ให้โดนความชื้นหรือสารเคมีจากด้านนอก สมัยก่อนนิยมใช้เป็นสารพวกยางมะตอย […]

อยากต่อเติมรั้วให้สูงกว่าเดิม ต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านไหม?

รั้วด้านที่ติดกับเพื่อนบ้านเตี้ย ไม่สวย อยากต่อเติมให้สูงกว่าเดิม ต้องขออนุญาตหรือไม่? ไปหาคำตอบกัน อยาก ต่อเติมรั้ว เพราะเพิ่งซื้อที่ดินและจะเข้าไปปลูกบ้านใหม่ แต่รั้วด้านที่ติดกับบ้านข้างๆ สร้างกำแพงรั้วอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งค่อนข้างเตี้ยและไม่ค่อยสวย เลยอยากต่อเติมรั้วใหม่ โดยทำให้สูงขึ้นเพื่อความเป็นส่วนตัว สามารถต่อเติมรั้วได้สูงเท่าไหร่? ต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านหรือไม่? จากปัญหานี้ หากอยาก ต่อเติมรั้ว แน่นอนว่าต้องคุยกับเพื่อนบ้านให้เข้าใจกันก่อนว่ารั้วเดิมนั้นสร้างอยู่ กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดินของทั้งสองบ้านหรือไม่ โดยดูจากหมุดโฉนด ถ้าหมุดหายก็อาจต้องให้เจ้าหน้าที่เข้ามาดูให้ หรือจะลองถามเพื่อนบ้านดูก่อนก็ได้ทั้งนี้ถ้ารั้วเดิมสร้างอยู่กึ่งกลางระหว่างแนวเขตที่ดิน รั้วนั้นก็จะถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของทั้งสองบ้านที่จะต้องช่วยกันสร้าง ดูแลและจ่ายค่าซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง แต่ถ้าต้องการต่อเติมรั้วเดิมก็ต้องพูดคุยกับเพื่อนบ้านก่อนว่าอนุญาตให้ทำได้ไหม อาจต้องมีแบบคร่าวๆ ไปให้เขาดูด้วย นอกจากนี้ก็ควรดูว่าถ้าต่อเติมรั้วเพิ่มอาจทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านหรือไม่ ควรคิดให้ครอบคลุมทั้งปัญหาใหญ่ๆ อย่างต่อเติมแล้วโครงสร้างเดิม จะทรุดเสียหายไหม และปัญหาที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างรั้วสูงทำให้หญ้าเหลือง เพราะแดดส่องไม่ถึง ซึ่งคงต้องแก้ปัญหาด้วยการใช้รั้วโปร่งพอให้แสงผ่านได้ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติ การต่อเติมหรือซ่อมแซมรั้วเดิมเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองหมด เพราะเป็นคนมาทีหลัง ซึ่งรั้วเดิมนั้นเพื่อนบ้านเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายไปแล้ว หรือเป็นไปตามแต่จะตกลงกัน แต่ถ้าเพื่อนบ้านไม่ยอมให้ต่อเติม อีกวิธีหนึ่งก็คือสร้างรั้วใหม่ร่นเข้ามาในเขตที่ดินของเรา โดยรั้วใหม่และฐานรากของรั้วต้องไม่ล้ำเกินไปในแนวเขต ที่ดินเพื่อนบ้าน ทั้งนี้เราอาจเสียพื้นที่ใช้งานที่ดินบริเวณช่องรอยต่อระหว่างรั้วเดิม กับรั้วใหม่ ข้อดีคือเราสามารถทำรั้วลักษณะใดก็ได้ แต่กรรมสิทธิ์ในเขตที่ดินของเรายังอิงตามหมุดโฉนดเดิม เพื่อนบ้านจะทุบรั้วเดิมแล้วมาใช้ประโยชน์จากที่ดินรอยต่อตรงนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายแล้วไม่ควรสร้างรั้วสูงเกิน 3 เมตร นับจาก ทางเท้าหรือถนนสาธารณะ […]