- Page 4 of 9

ค้นหาแรงบันดาลใจใหม่จากลามิเนตลายธรรมชาติ เพื่อพื้นที่อยู่อาศัยในบ้านคุณ

หากคุณกำลังหาแรงบันดาลใจในการออกแบบที่อยู่อาศัย การเลือก “ลามิเนต” เป็นอีกหนึ่งวัสดุตกแต่งที่ควรบรรจุลงในรายการ เพราะไม่เพียงแต่จะเหมาะสมและใช้ได้กับห้องทุกห้องแล้ว ยังเหมาะกับการใช้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ชั้นเก็บของ หัวเตียง หรือเพดานห้อง ฯลฯ  และไม่ว่าคุณกำลังมองหาวัสดุแบบใด ลามิเนตคุณภาพสูงจาก “Lamitak” ย่อมเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่จะขาดไปไม่ได้ คอลเลคชั่นใหม่ “Intervention” มาพร้อมกับหลากหลายลวดลายและดีไซน์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นลวดลายหินธรรมชาติ ลายไม้เสมือนจริง และสีพื้นอันเต็มอิ่มสวยงาม ทั้งหมดนี้ก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยทั้งหมดมากกว่า 55 ดีไซน์ใหม่ ที่ผสมผสานกันได้มากกว่า 423 รูปแบบของลามิเนต ความพิเศษของคอลเลคชั่น “Intervention” คือการนำพาแบรนด์ไปสู่ความเป็นผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยทุกๆ ดีไซน์ของแผ่นลามิเนตนั้นจะถูกผลิตจากวัสดุรีไซเคิล การันตีด้วยตรารับรอง Singapore Green Label ที่บอกถึงการได้รับมาตรฐานจากโปรแกรม Green Mark ภายใต้หน่วยงาน Singapore Building Construction Authority อันเป็นที่ยอมรับ นอกจากนั้น ตัวผลิตภัณฑ์ยังได้รับการยอมรับในระดับสากลภายใต้ตรา GREENGUARD และ GREENGUARD Gold สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยสารพิษต่ำในขั้นตอนการผลิต และช่วยลดมลภาวะให้กับพื้นที่ในบ้าน […]

MAE RIM HOUSE บ้านจั่วกลางสวนป่า ฟีลตากอากาศ แต่ใช้อยู่จริง

บ้านชนบทท่ามกลางธรรมชาติที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบ้านหลังใหม่ที่อยู่เคียงข้างบ้านหลังเก่า อันเปี่ยมความทรงจำ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : WOS Architects และ Estudio บ้านขนาด 4 คนอยู่นี้ มีโจทย์ใหญ่คือการนำข้าวของเครื่องใช้จากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ มาใช้เกือบทั้งหมด บ้านหลังนี้จึงเป็นบ้านตากอากาศที่มีขนาดใหญ่กว่าบ้านตากอากาศทั่วไป ทั้งยังต้องการความมิดชิดเป็นส่วนตัวแบบบ้านในเมือง แต่สามารถเปิดรับธรรมชาติโดยรอบได้อย่างเต็มที่อีกด้วย.และเพราะในบ้านหลังนี้แทบทั้งหมดเป็นของที่ขนย้ายมาจากบ้านเดิมที่กรุงเทพฯ เป็นของที่ผูกพันกับครอบครัว หรือเป็นของสะสมตั้งแต่สมัยยังใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้โทนสีน้ำตาลเทา(Taupe) ที่สามารถเข้ากันได้ดีกับเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้หลากหลายรูปแบบทั้งเก่าและใหม่ รวมไปถึงธรรมชาติรอบๆบ้านมาใช้ทั้งภายนอกและภายในบ้านหลังนี้ การออกแบบบ้านหลังนี้ จึงมีความโดดเด่นของการใช้หลังคาจั่ว ครอบทับลงไปบนอาคารรูปสี่เหลี่ยมทรงกล่อง การกดหลังคาจั่วให้ลาดต่ำลงนั้น นอกจากจะทำให้สัดส่วนบ้านดูเป็นมิตรขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับผู้อยู่อาศัยภายในอีกด้วย #พื้นที่ส่วนตัวที่สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดจั่วหลังคา และอาคารทรงกล่องด้านล่างนั้น แท้จริงแล้วมีการเชื่อมต่อกันในแบบ double height เกิดเป็นพื้นที่ใช้สอยแบบผังเปิด (Open Plan) ขนาดใหญ่ ที่รวมเอาพื้นที่ครัว และนั่งเล่นเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่นั่งเล่นนี้ สามารถเปิดออกสู่ชานบ้านที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติได้อย่างดี ทั้งโถงสูงนั้นช่วยให้สามารถสร้างการไหลเวียนของอากาศ และระบายความร้อนได้ ด้วยพัดลมเพดานที่กลางห้อง จึงทำให้บ้านหลังนี้ แทบไม่ต้องพึ่งพาการปรับอากาศเลยตลอดทั้งวัน #ห้องนอนใต้หลังคารับวิวภูเขาและแม่น้ำในฝั่งทิศเหนือ และใต้ของบ้านนั้น จะเป็นพื้นที่ของห้องนอนที่แบ่งเป็นห้องสำหรับผู้สูงอายุที่ชั้นล่าง และห้องนอนสไตล์ห้องใต้หลังคาที่ชั้นบน ห้องนอนทั้งสองฝั่งนั้นจะหันออกสู่วิวภายนอกอาคาร รวมทั้งการแยกห้องนอนออกเป็นสองฝั่งเช่นนี้ […]

บ้านกล่องของขวัญที่ห่อหุ้มความสุขและสภาวะน่าสบายไว้ภายใน

บ้านมินิมัลทรงกล่อง ที่ทำผนังกันร้อนสองชั้น (Double Skin) เพื่อป้องกันความร้อน และเปิดคอร์ตกลางบ้านให้อากาศถ่ายเท สร้างสุขภาวะที่ดีในบ้าน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MAKE It POP Co.,Ltd. ประกายความคิดในการสร้างบ้าน บ้านมินิมัลทรงกล่อง หลังนี้เริ่มมาจากลูก คุณตาล – สุภาพร งามไสว เจ้าของบ้านเล่าที่มาว่า “พอเรามีลูกคนที่สอง เราก็เริ่มรู้สึกว่าลูกไม่มีที่วิ่งเล่น เดิมบ้านที่อยู่เป็นอาคารพาณิชย์ ลูกก็ต้องเล่นอยู่แต่ในบ้าน หรือไม่ก็ต้องออกไปเล่นที่สวนสาธารณะนอกบ้าน เลยมาคุยกันกับคุณจี (สามี) ว่าถึงเวลาที่เราต้องทำบ้านกันสักหลังแล้วล่ะ” หลังจากคุณตาลและคุณจีหาแบบบ้านที่ชอบ และลองผิดลองถูกในการหัดทำแบบด้วยตัวเองอยู่นาน ด้วยการดูนิตยสารและแบบตัวอย่าง แม้กระทั่งมองหาแบบบ้านสำเร็จรูป ก็ยังไม่ได้สิ่งที่ถูกใจ โดยมีโจทย์ที่อยากได้ คือ บ้านสีขาวรูปทรงกล่องที่ไม่เหมือนใครแต่แล้วโชคชะตาฟ้ากำหนด ก็นำพาผลงานของ Make It Pop โดย คุณแป้ง-ใยชมภู นาคประสิทธิ์ และคุณก้อง-จิตรทิวัตถ์ อู่ทรัพย์ มาให้เห็นผ่านทางโซเชียลมีเดีย เมื่อได้ดูแล้วก็พบว่านี่แหละใช่เลย หลังจากติดต่อไปและแจ้งโจทย์เบื้องต้นกับสถาปนิกแล้ว ก็ยังเปิดกว้างให้ผู้ออกแบบได้จินตนาการต่อยอดพื้นที่ภายในบ้านสำหรับสมาชิกในบ้าน และนำเสนอลูกเล่นเพิ่มเติมที่มาจากความต้องการพื้นฐานของครอบครัว ซึ่งเคยอยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้อย่างเต็มที่ บ้านมินิมัลทรงกล่อง เงื่อนไขของพื้นที่ตั้ง “แดดแรงตากผ้าไหม้” สู่แรงบันดาลใจในการออกแบบ […]

บ้านโมเดิร์น เปิดโปร่ง ตอบโจทย์ทั้งคนและสมาชิกสี่ขา PETZ HOUSE

บ้านโมเดิร์น ที่ตอบโจทย์พื้นที่อยู่อาศัยของคน และยังให้ความสำคัญกับแมวสัตว์เลี้ยงที่เปรียบเสมือนเป็นลูกคนเล็กในบ้าน

บ้านสีขาว โฮมสตูดิโอที่ผสานพื้นที่อยู่อาศัยในบ้านหลากฟังก์ชัน

บ้านสีขาว สะดุดตาหลังนี้ รวมรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เนื่องจากเจ้าของบ้านทำพื้นที่ให้เป็นสตูดิโอสำหรับทำงานแบรนด์เสื้อผ้าและสตูดิโอสำหรับซ้อมเต้น โดยพื้นที่สตูดิโอทั้งสองนี้จะเป็นโซนที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกนั้นเข้ามาร่วมใช้สอยในพื้นที่ได้เช่นกัน ในขณะเดียวกันนั้นโซนที่เป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับการพักผ่อน ห้องพักพนักงานนั้นก็มีการจัดสรรพื้นที่โดยจัดการลำดับความเป็นส่วนตัวได้ตามการใช้งาน

บ้านโมเดิร์นพื้นถิ่น

ความงามของ บ้านโมเดิร์นพื้นถิ่น จากการประดิดประดอยอย่างตั้งใจ

บ้านโมเดิร์นพื้นถิ่น ที่แสดงถึงตัวตนของความเป็น Craftmanship ผ่านการเล่นและทดลองวัสดุ จนเกิดเป็นความงามที่น่าสนใจ

บ้านสไตล์โมเดิร์น กลิ่นอายไชนีส ที่ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ยลุคทันสมัย

บ้านโมเดิร์นที่ซ่อนไว้ด้วยการออกแบบให้ถูกหลัก ฮวงจุ้ย ทุกประการ แต่ยังได้บรรยากาศของรีสอร์ตทันสมัย พร้อมพักผ่อนแบบความสะดวกครบครัน

ความอบอุ่นของแสงและเงา กับสีขาว เทา ดำ ที่ลงตัว

สัจวัสดุใน ขาว เทา ดำ อันแทบจะไร้ซึ่งการตกแต่ง คอนโดมิเนียมห้องนี้ถูกฉาบไว้ด้วยสี ขาว เทา ดำ คงเหลือไว้แต่พื้นผิวของวัสดุ ผิวไม้ และฝีแปรงของสีบนเเฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มเติมความอบอุ่นให้กับห้อง ๆ นี้ ริ้วแสงและเฉดเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละเวลาของวัน ผ่านช่องต่าง ๆ ตามตู้ และหน้าต่าง ช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่แห่งนี้ได้อย่างดี พื้นที่ว่างระหว่างชั้นเหล็กถูกใช้เป็นทางเดินในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนรับประทานอาหาร และส่วนนั่งเล่น ไม่เพียงช่วยให้แสงธรรมชาติ และลมเข้าถึงทุกพื้นที่ได้เท่านั้น แต่ยังสร้างเส้นนำสายตาออกไปสู่วิวภายนอกอีกด้วย ในแต่ละส่วนของพื้นที่เปิด เช่น ส่วนห้องรับประทานอาหาร ผู้ออกแบบได้เลือกใช้วัสดุที่มีพื้นผิวแบบเดียวกันทั้งเพดาน และผนัง เพื่อสร้างความรู้สึกเน้นความเป็นพื้นที่ให้เด่นชัดไม่อึดอัด ความนิ่งสงบของบรรยากาศที่เกิดขึ้น จึงเป็นอีกหนึ่งสไตล์ที่น่าสนใจในการเลือกใช้สัจวัสดุ เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ผ่านแสง เงา และจังหวะของการจัดวางองค์ประกอบที่ลงตัว ออกแบบ : Degree Design (向度設計) เรื่อง-ภาพ: Degree Designเรียบเรียง: Wuthikorn Sut

บ้านโมเดิร์นมินิมัล ดีไซน์ 7 คอร์ตรับแสง กระจายลม

บ้านโมเดิร์นมินิมัล ออกแบบเป็นทรงกล่องเส้นสายเรียบนิ่ง สเปซภายในโปร่ง โดยเจาะช่องเปิดเป็น 7 คอร์ตยาร์ดให้แสงและลมเข้ามาได้

บ้านสีขาว สถาปัตยกรรมที่บาลานซ์ความเรียบง่ายในมิติที่แตกต่าง

บ้านสีขาว มินิมัล 2 ชั้น สไตล์โมเดิร์นหลังนี้ ถูกออกแบบตามความต้องการของเจ้าของบ้านที่ต้องการพื้นที่พักผ่อนในรูปแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในทุก ๆ มิติ องค์ประกอบ บ้านหลังนี้จึงคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและบริบทเป็นหลัก

บ้านคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น

บ้านคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ที่ท้าทายวิศวกรรมโครงสร้างด้วยการออกแบบให้ไร้คาน

บ้านคอนกรีตสไตล์โมเดิร์น ซึ่งโดดเด่นด้วยส่วนชายคาที่ยื่นออกจากตัวบ้าน ช่วยพรางหลังคาให้ดูแบนราบ ป้องกันแดดและฝนได้ โจทย์คือบ้านที่ปราศจากคาน

รีโนเวต ตึกแถวเก่าย่านสาทร ให้เปลี่ยนโฉมใหม่ทั้งภายในและภายนอก พร้อมดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของ 3 ครอบครัวในตึกเดียว

DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: One and a Half architects บ้านหลังนี้เกิดขึ้นจากความต้องการหาบ้านหลังใหม่ให้กับลูกทั้งสองคนของเจ้าของบ้าน ซึ่งเริ่มจากการมองหาคอนโดมิเนียม แต่ด้วยราคาคอนโดมิเนียมกลางใจเมืองมีราคาที่สูงหลายสิบล้าน จึงกลับมาดูตึกแถวเดิมของครอบครัว อายุประมาณ 30 ปี ในย่านสาทร ซึ่งเหมาะสมทั้งทำเลและการเดินทางที่สะดวกสบาย ก่อนตัดสินใจเลือกที่จะรีโนเวตตึกแถวนี้ ให้เป็นบ้านใหม่ของครอบครัว โดยยังคงโครงสร้างอาคารเดิมไว้ แล้วปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในใหม่เพื่อให้เข้ากับความต้องการใช้งานของสมาชิกแต่ละคน #ขยายพื้นที่ใช้งานด้วยดับเบิ้ลสเปซในตึกแถว ความต้องการของเจ้าของบ้านที่บอกกับทีมสถาปนิกจาก One and a half Architects คือต้องการให้ลูกทั้งสองคนมีพื้นที่ของตัวเอง ต้องการคุณภาพการอยู่อาศัยเทียบเท่าคอนโดมิเนียมหรูกลางเมือง สถาปนิกจึงเริ่มต้นด้วยการสำรวจโครงสร้างอาคารเดิม ซึ่งพบว่ายังแข็งแรงใช้งานได้ดีอยู่ จากนั้นจึงออกแบบแก้ปัญหาพื้นที่เดิมแล้วจัดวางฟังก์ชันใหม่ โดยแบ่งกลุ่มภายในอาคารเป็น 3 ส่วนหลัก คือ พื้นที่ส่วนกลางที่ชั้น 1 พื้นที่ครอบครัวของลูกชายชั้น 2 และพื้นที่ครอบครัวของลูกสาวชั้น 3 จากของเดิมที่เคยมีเพดานเตี้ยได้แก้ปัญหาด้วยการตัดพื้นเดิมออก แล้วปรับให้แต่ละโซนมี ดับเบิ้ลสเปซเป็นของตัวเอง จัดการย้ายบันไดมาอยู่ในตำแหน่งใหม่ เพื่อขยายพื้นที่ใช้งานภายในให้กว้างขึ้น และออกแบบให้มีช่องแสงเหนือบันไดช่วยนำพาแสงสว่างเข้ามายังพื้นที่ภายในบ้านจึงดูโปร่งขึ้น #บ้านสามหลังในตึกเดียวสถาปนิกออกแบบฟาซาดอาคารให้มีรูปทรงเหมือนบ้าน 3 หลัง สะท้อนถึงการจัดสรรพื้นที่ภายในออกเป็น 3 ส่วน โดยใช้โครงสร้างเหล็กเจาะรูทำเป็นหน้าต่างเปิด-ปิดได้ ตัวฟาซาดทำหน้าที่กรองแสงแดด […]