Houses
บ้านเหล็ก ยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไทยเดิม
บ้านเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่ใช้สัดส่วนแบบบ้านไม้ไทยเดิม แต่ดูสวยเรียบแบบโมเดิร์นทรอปิคัล
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนของ ป้าจิ๊ – อัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ
บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน ที่ตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย ภายในเน้นความเรียบโล่ง เพราะเจ้าของบ้านไม่ชอบของรกๆ ท่ามกลางบรรยากาศของสวนสวยที่ออกแบบได้สอดรับกันกับตัวบ้าน บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน หลังนี้เป็นของ ป้าจิ๊ – คุณอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ นักแสดงมากความสามารถ ผู้มีพลังอย่างล้นเหลือ เพราะเธอเป็นทั้งครูสอนโยคะ นักวิปัสสนา และยังคอยช่วยเหลือเหล่าเด็กน้อยด้อยโอกาส ทุกสิ่งที่กล่าวมานี้ป้าจิ๊ทำด้วยหัวใจที่พร้อมจะเผื่อแผ่แก่คนรอบข้าง ซึ่งฉันเชื่อว่านั่นทำให้เธอมีความสุขอยู่เสมอ ป้าจิ๊พาฉันเดินดูรอบบ้าน พื้นที่หลังบ้านนั้นอยู่ติดท้องนาของชาวบ้านในละแวกนั้น บ้านบนพื้นที่กว่า 5 ไร่หลังนี้จึงมีธรรมชาติเป็นเพื่อน มีคู่หูเป็นนกน้อยนานาชนิด มีการขุดบ่อบัวไว้ 2 บ่อสำหรับพายเรือเล่น บ่อแรกอยู่หน้า เรือนหลังเก่า ส่วนอีกบ่ออยู่ในสวนกว้างบริเวณเรือนหลังใหม่ สำหรับตัวบ้านนั้นสร้างเป็นสามเรือน ได้แก่ เรือนใหญ่ เรือนหลังใหม่ และเรือนรับแขก ซึ่งป้าจิ๊บอกว่ามาเกือบทุกอาทิตย์ และได้สลับใช้งานตลอด “ชอบอยู่ที่เรือนหลังใหม่ เพราะหยิบของใช้ต่างๆได้ง่าย แต่ก็สลับไปนอนที่เรือนใหญ่บ้าง ตั้งใจจะยกหลังนี้ให้การกุศลด้วยเมื่อป้าไม่อยู่แล้ว คนที่ได้บ้านนี้ไปก็จะได้มีความสุขที่ได้อยู่ในบ้านสวยๆ” ก่อนหน้านี้ป้าจิ๊ได้ยกเรือนไทยหลังเก่าให้เป็นสถานปฏิบัติธรรม โดยยกเฉพาะตัวเรือนไป แล้วจึงสร้างเรือนหลังใหม่บนที่ดินเดียวกับเรือนไทยหลังเก่าเป็น บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวน โดยตกแต่งแบบโมเดิร์นผสมกับแบบไทย และสร้างเรือนรับแขกไว้ใกล้กัน สำหรับใช้ต้อนรับเพื่อนๆหรือแขกที่มาเยี่ยมเยือน ส่วนสวนสวยที่ดูรับกับตัวบ้านนั้นก็ได้สถาปนิก คุณบุญเลิศ เหมวิจิตรพันธ์ และคุณมณฑล จิโรภาส […]
รวมบ้านในฟาร์ม บ้านฟาร์ม บรรยากาศชนบท
อยากมี บ้านฟาร์ม สักหลักที่เหมาะกับสภาพอากาศในท้องถิ่น อยู่สบาย และกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมรอบด้าน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีเกษตร เรามีตัวอย่าง 7 บ้านสไตล์นี้มาให้ชมกันค่ะ บ้านฟาร์ม บ้านไม้หลังเล็ก ในฟาร์มเกษตร เจ้าของ : คุณอรรถพล ไชยจักรและคุณอาคีรา ห้วงสุวรรณ ออกแบบ : คุณอรรถพล ไชยจักร บ้านไม้หลังเล็ก แบบชั้นเดียวขนาด 4×4 เมตรที่สร้างไว้แค่พออยู่เพื่อให้สะดวกกับการทำงานภายในไร่ โดยใกล้ๆ กันยังมีบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงอีกหลังไว้สำหรับใช้งานอเนกประสงค์ >> อ่านต่อ บ้านไร่กลางทุ่งที่สร้างด้วยเงินเก็บสามแสนและน้ำพักน้ำแรงฉบับคนบ้านนอก เจ้าของ: คุณในดวงตา ปทุมสูติ – คุณรุ่งโรจน์ ไกรบุตร บ้านไร่หลังเล็กที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงและพลังใจของผู้เป็นเจ้าของที่ละทิ้งชีวิตวุ่นวายในเมืองกรุง มุ่งมั่นกลับมาทำกินบนผืนดินของบรรพบุรุษที่จังหวัดสุพรรณบุรี โครงสร้างบ้านเสร็จด้วยฝีมือช่างชาวบ้านที่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ต่อจากนั้นก็เป็นสองมือของเจ้าของบ้านฝ่ายชายที่ทำงานไม้ทั้งหมด คือ ผนัง ประตูหน้าต่าง และเฟอร์นิเจอร์บางส่วน นอกจากนี้ยังได้เตรียมแหล่งอาหารไว้ด้วย ทั้งแปลงผักสวนครัวที่เปลี่ยนชนิดผักที่ปลูกบ้าง ถือเป็นวิธีธรรมชาติเพื่อป้องกันโรคและแมลงซึ่งมักลุกลามเมื่อปลูกผักชนิดเดียวติดต่อกัน รวมถึงมียุ้งข้าวสำหรับเก็บกินในบ้าน มีบ่อน้ำธรรมชาติใช้อุปโภค โดยขุดบ่อและปลูกไผ่โดยรอบเป็นอาณาเขต ไผ่รวกไว้กินหน่อ ไผ่หนามมีลำใหญ่ไว้ใช้ทำรั้ว ส่วนหนึ่งเป็นดงกล้วย อีกส่วนทำนา […]
บ้านมือสองมุมมองใหม่ของ ช่า บันทึกของตุ๊ด
บ้านช่า บันทึกของตุ๊ด หนึ่งในเจ้าแม่ช่างทุบ ที่หยิบบ้านมือสองมารีโนเวตให้เริ่ดโดยเลือกทาวน์เฮ้าส์มาปรับเป็นบ้านกึ่งสตูดิโอ พร้อมทำงาน
ต่อเติมบ้านลอฟต์ให้เป็นคลับเฮ้าส์ของครอบครัว
จากความต้องการเพิ่มพื้นที่การใช้งาน บ้านโครงสร้างเหล็ก หลังนี้จึงเกิดขึ้น เป็นบ้านลอฟต์หลังใหม่ที่ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการสังสรรค์ ช่วยเชื่อมชีวิต ช่องว่างระหว่างวัย และความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นกว่าเก่า เมื่อลูกเริ่มต้องการสเปซส่วนตัว จุดเริ่มต้นของ บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่ออกแบบเป็นบ้านลอฟต์สไตล์คลับเฮ้าส์หลังนี้เกิดจากความต้องการสร้างพื้นที่ไลฟ์สไตล์ให้ลูก เนื่องจากลูกชายและลูกสาวกำลังโตเป็นวัยรุ่นที่เริ่มมีชีวิตส่วนตัว มีสังคมเพื่อนฝูง และตัวบ้านเดิมซึ่งเป็นบ้านจัดสรรไม่ตอบโจทย์พื้นที่ใช้งาน ผนวกกับความต้องการให้ส่วนต่อเติมใหม่นี้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัยของพ่อแม่กับลูกวัยรุ่น เป็นพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันทั้งรูปแบบครอบครัวและส่วนตัว ที่พ่อแม่สามารถเห็นไลฟ์สไตล์ลูกๆ ในสายตา ขณะเดียวกันลูกๆ ก็ได้เห็นว่าพ่อแม่มีงานอดิเรกเลี้ยงปลาคาร์ป ทำสวน มีเพื่อนฝูงมาพบปะ ใช้ชีวิตเหมือนตัวเอง เพียงแค่ต่างวัยกันเท่านั้น โครงสร้างเชื่อมต่อวิถีชีวิต สถาปนิกเริ่มออกแบบโครงสร้างและพื้นที่การใช้งานจากสิ่งแวดล้อมเดิม ได้แก่ ทิศทางแดด และลม พื้นที่สวนที่มีต้นไม้ใหญ่ของคุณแม่และบ่อปลาคาร์ปของคุณพ่อ ซึ่งนำมาเป็นองค์ประกอบร่วมของการกำหนดรูปทรงบ้าน รูปแบบและทิศทางของพื้นที่ใช้งานแต่ละจุดของการต่อเติมบ้านลอฟต์ทั้งภายนอกและภายใน จึงออกมาเป็นบ้านลอฟต์ 2 ชั้นที่ทุกคนใช้พักผ่อน รับแขก เรียน ทำงาน ทำกิจกรรมได้ครบหมด ร่วมด้วยวิวสวนเดิมและบ่อปลาคาร์ปใหม่ ที่เป็นเหมือนการเชื่อมต่อวิถีชีวิตเดิมของพ่อแม่ในรูปแบบใหม่เข้ากับวิถีชีวิตของลูกๆ เชื่อมต่อห้องลูกชายกับบ้านลอฟต์ การต่อเติมใหม่นี้ใช้วิธีสร้างความต่อเนื่องและจุดเปลี่ยนผ่านจากบ้านหลังเก่าสู่บ้านลอฟต์หลังใหม่ จากห้องนอนของลูกชายบริเวณชั้น 2 ที่ต่อเติมขยายห้องและมีประตูเชื่อมต่อกับพื้นที่สังสรรค์ใหม่ของเขาได้เหมือนเป็นบ้านส่วนตัว ส่วนสมาชิกในบ้านคนอื่นสามารถเดินมายังบ้านหลังใหม่โดยใช้จุดเชื่อมบริเวณชานพักบันไดชั้น 2 ที่เชื่อมติดกับพื้นที่ของบ้านคลับเฮาส์ชั้น 2 ได้เช่นเดียวกัน ลอฟต์สนุก เปิดโล่ง เชื่อมความสัมพันธ์ บ้านลอฟต์หลังใหม่ออกแบบด้วยโครงเหล็ก […]
รีโนเวตบ้านเก่า ร่วม 25 ปีให้คุณแม่
เมื่อบ้านที่อยู่มาเนิ่นนานเริ่มไม่ตอบโจทย์การใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป การ รีโนเวตบ้านเก่า จึงเป็นอีกแนวทางที่จะทำให้บ้านกลับมามีชีวิตและน่าอยู่อีกครั้ง เช่นกันกับบ้านหลังนี้ที่สร้างมาแล้วร่วม 25 ปีบนที่ดินดั้งเดิมของครอบครัวที่อยู่กันมาตั้งแต่รุ่นคุณตาของเจ้าของบ้าน คุณชัชวาลย์-คุณวัชรินทร์ ปัทมานุช เจ้าของบ้านเล่าว่าเดิมทีบ้านหลังนี้อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ เมื่อลูกๆ เรียนจบจึงแยกย้ายออกจากบ้านไปทำงานที่อื่นๆ แต่ก็กลับมาเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่อยู่เสมอ เมื่อ คุณกิฟท์-ชัชวลี ปัทมานุช ลูกสาวคะยั้นคะยอให้ รีโนเวตบ้านเก่า เพื่อปรับปรุงบ้านใหม่ ประกอบกับลูกชายเพิ่งสร้างบ้านที่อยู่ข้างกันเสร็จพอดีจึงได้จังหวะย้ายไปอยู่บ้านหลังนั้นชั่วคราวระหว่างปรับปรุงบ้าน “กิฟท์จะมาที่นี่ทุกสัปดาห์ พอกิฟท์รีโนเวตที่บ้านเขาเองเสร็จแล้วเขาก็บอกว่าบ้านเราก็ควรจะรีโนเวตนะเพราะ 20 กว่าปีแล้ว ทีแรกแม่แอนตี้มากเพราะเรามีอายุแล้ว ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร อยากอยู่เหมือนเดิม แต่พอบ้านลูกชายเสร็จพอดีกิฟท์เลยได้โอกาสให้แม่กับพ่อย้ายไปอยู่บ้านลูกชายก่อน เดี๋ยวเขาจะดูแลจัดการให้ อีกอย่างคือพอบ้านกิฟท์รีโนเวตเสร็จแล้วแม่ชอบมาก น่าอยู่มากกว่าเดิมแม่เลยให้ลูกจัดการเลย” คุณคุณวัชรินทร์ เล่าถึงที่มาก่อนปรับปรุงบ้านหลังนี้ เพราะคุณกิฟท์มีประสบการณ์รีโนเวตบ้านของตัวเองมาก่อนกับมัณฑนากรและสถาปนิกคู่ใจ คุณเล็ก-นภาภรณ์และคุณอ๊อน-วิชัย โพธิรัชต์จึงทำงานด้วยกันอย่างเข้าใจ ใช้เวลาปรับปรุงบ้านทั้งหมด ประมาณ 7 เดือน โดยปรับเปลี่ยนผังภายในและช่องเปิดต่างๆ จากเดิมที่เคยดูทึบให้โปร่งโล่งอยู่สบายมากขึ้น เปลี่ยนสีสันภายในบ้านใหม่ให้สดใส และเก็บเฟอร์นิเจอร์เดิมที่เป็นความทรงจำของคุณพ่อคุณแม่ไว้เกือบทั้งหมด คุณเล็กและคุณอ๊อนอธิบายรายละเอียดการปรับปรุงบ้านครั้งนี้ว่า รีโนเวตบ้านเก่า “ บ้านหลังนี้เดิมไม่ได้ทรุดโทรม แต่จัดวางฟังก์ชันไม่เหมาะกับการใช้งานปัจจุบัน ผังบ้านเดิมมีซอกหลืบใช้งานยาก อีกอย่างโรงรถเดิมอยู่ตรงครัวแล้วพอเข้ามาก็เจอกับของเยอะ เราจึงย้ายตำแหน่งที่จอดรถใหม่ให้สามารถเดินเข้าบ้านได้จากประตูด้านหน้าและด้านหลังและเพิ่มทางลาดให้สามารถใช้งานรถเข็นสำหรับผู้สูงอายุด้วยในอนาคต ย้ายส่วนซักรีดและห้องแม่บ้านให้อยู่ด้านนอก ส่วนตำแหน่งครัวยังคงไว้ที่เดิมแต่รื้อฝ้าออกทำให้ครัวดูโปร่งขึ้น” “ตรงส่วนชั้นล่างทำห้องคุณพ่อใหม่และเพิ่มห้องเก็บของเข้าไปด้วย […]
ทาวน์เฮ้าส์รีโนเวตสีขาว ให้กลับมา”รัก”อีกครั้ง
การรีโนเวตบ้านหลังนี้ไม่ได้คืนชีพให้ตัวบ้านเท่านั้น แต่คืนความรู้สึกดีๆของชีวิตคู่ และความรู้สึกรักบานให้กลับมาอีกครั้ง ผ่านการออกแบบ “สเปซ” ของบ้านมือสองให้อยู่สบาย ขณะเดียวกันก็เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ทำให้ทุกวันได้กลายเป็น “เวลาของเรา” ก่อนหน้านี้ คุณซวง – นีรรัตน์ เหลืองสิวากุล และคุณแชมป์ – ชนาวุฒิ ปัญญาวัฒนากุล เคยอยู่บ้านที่เป็นเรือนหอ แม้จะหลังใหญ่กว่าปัจจุบัน แต่กลับยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ห่างเหินไป จึงมองหาบ้านใหม่ที่มีขนาดเล็กลง โดยมี คุณแก้ว – คำรน สุทธิ สถาปนิกแห่ง Eco Architect เป็นผู้ออกแบบและ รีโนเวท ทาวน์เฮ้าส์สีขาว ด้วยคิดว่าเป็นเคสที่น่าสนใจที่จะเปลี่ยนบ้านที่มืด อับ ร้อนให้อยู่สบาย และสเปซแบบไหนจึงจะเหมาะกับนักจิตวิทยา ทาวน์เฮ้าส์มือสองที่ตัดสินใจซื้อใน 1 วัน “บ้านเดิมที่เคยอยู่ค่อนข้างร้อน ในบ้านถูกกั้นเป็นห้องๆมากเกินไป ทำให้เราอยู่แล้วรู้สึกโดดเดี่ยว ตัดขาดจากกันเหมือนต่างคนต่างอยู่ เรียกได้ว่าทำให้ร้อนทั้งกายและใจ จนแยกกันอยู่ระยะหนึ่ง” คุณซวงและคุณแชมป์ เจ้าของบ้านเล่าถึงเรือนหอเดิมและนำประสบการณ์นั้นมาแปรเป็นโจทย์สำหรับการออกแบบบ้านใหม่ โดยมองหาบ้านในทำเลที่คุ้นเคย “เราหาข้อมูลบ้านมาหลายที่ ไปดูทาวน์เฮ้าส์ใหม่ในโครงการหมู่บ้าน เป็นบ้านเปล่าราคาประมาณ 5 ล้านบาท และอยู่ในซอยลึกกว่านี้ แล้วก็ค้นหาในอินเทอร์เน็ตจนมาเจอหลังนี้ […]
รวมแบบบ้านไม้ชั้นเดียวในบรรยากาศเขียวๆแสนสดชื่น
บ้านไม้กับบรรยากาศธรรมชาติที่แวดล้อมด้วยต้นไม้เขียวขจี ดูจะเป็นสิ่งที่เข้ากันได้ดีเหลือเกิน ครั้งนี้เราจึงได้นำ 10 แบบบ้านไม้ชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบริบทของสวนและต้นไม้มาฝากผู้ชื่นชอบกัน แบบบ้านไม้ชั้นเดียว 1. บ้านไม้แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ สถาปนิก : รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม จัดสวน : คุณมณฑล จิโรภาส บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น >> อ่านต่อ 2. บ้านไม้ชั้นเดียวกลางสวนแสนร่มรื่น เจ้าของ- ออกแบบ : คุณผจงกิติ์ เหล่าเราวิโรจน์ บ้านไม้ชั้นเดียว ที่เลือกใช้โครงสร้างแบบง่ายๆ โดยออกแบบให้เปิดโล่งเปิดรับบรรยากาศสวนแสนร่มรื่น ส่วนการตกแต่งภายในส่วนใหญ่ใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เน้นที่ทำจากไม้และหวาย ซึ่งดูเข้ากับโครงสร้างไม้ของตัวบ้าน >> อ่านต่อ 3. บ้านไม้ชั้นเดียวที่เน้นความโปร่งโล่งแบบไทย และอยู่อย่างสมถะแบบญี่ปุ่น เจ้าของ : คุณวรพจน์ – คุณศิริพร ประพนธ์พันธ์ุ ออกแบบ : คุณประวิทย์ จงยิ่งศิริ […]
“บ้านพิเสฐ” เติมเต็มอารมณ์ผ่านประติมากรรมและของสะสม
บ้านโมเดิร์นปูนเปลือย ที่ดูราวกับงานประติมากรรมด้วยรูปฟอร์มของเสาคอนกรีตสี่ต้นต่างองศา พร้อมสเปซที่ค่อย ๆ ไล่ลำดับความว้าวด้วยสเปซและของสะสม เจ้าของ: คุณพิเสฐ จึงแย้มปิ่น ออกแบบสถาปัตยกรรม: Wolves Design Co.,Ltd. ออกแบบ-ตกแต่งภายใน: August Design Consultant Co., Ltd. ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: Baan Nuengpun Mai Co., Ltd. “ผมต้องการบ้านที่มีรูปฟอร์มเป็นประติมากรรมแบบโมเดิร์น ผมชอบอะไรที่ไม่ธรรมดา พิเศษ” “ผมให้คอนเซ็ปต์กับทางสถาปนิกและมัณฑนากรว่า เข้ามาแล้วต้องมีความรู้สึกสามแบบคือ Oh, Wow และ Oh My God” แค่แนวคิดเริ่มต้นก็พอจะรับรู้ได้แล้วว่าบ้านหลังนี้ต้องไม่ธรรมดาแน่นอน และเพื่อให้สมกับชื่อ “Baan Pised” ซึ่งตั้งตามชื่อเจ้าของบ้าน คุณพิเสฐ จึงแย้มปิ่น หรือมีอีกนัยว่า “พิเศษ” ไม่เหมือนใคร บนที่ดินขนาดสองไร่ครึ่งในหมู่บ้านนวธานีซึ่งมีสนามกอล์ฟรวมอยู่ในโครงการด้วย คุณพิเสฐได้มาพบที่ดินผืนนี้ระหว่างมาตีกอล์ฟและถูกใจจนนำไปสู่การตัดสินใจซื้อเพื่อปลูกบ้านหลังใหม่ที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ แล้ววางใจให้ทีมสถาปนิกจาก Wolves Design Co.,Ltd. ร่วมกับทีมมัณฑนากรจาก August Design Consultant Co., Ltd. […]
บ้านไม้หลังเล็ก ในฟาร์มเกษตร สะดวกกับการทำงานในไร่
บ้านไม้หลังเล็ก แบบชั้นเดียวขนาด 4×4 เมตรที่สร้างไว้แค่พออยู่เพื่อให้สะดวกกับการทำงานภายในไร่ โดยใกล้ๆ กันยังมีบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงอีกหลังไว้สำหรับใช้งานอเนกประสงค์
บ้านไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ โลกคู่ขนานที่บรรจบกันของคนกับแมว
บ้านไอซ์ซึ บ้านสไตล์ญี่ปุ่นหัวใจไทยของ ไอซ์ซึ ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มมากฝีมือจากภาพยนตร์เรื่อง “One for the road”
รวม บ้านไทย ร่วมสมัยที่อยู่สบายทั้งกายและใจ
รวม บ้านไทย ร่วมสมัยอยู่สบาย ที่นำภูมิปัญญาของบ้านเรือนไทยมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าชื่นชม
บ้าน ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่ได้แรงบันดาลใจ มาจากไอรอนแมน
บ้านของดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หลังนี้ มีทั้งผนังบังเกอร์ยักษ์ สระว่ายน้ำยกลอย ช่องเปิดไร้เสา ท้าทายการออกแบบโครงสร้างในหลายมิติ
ชมบ้านเฉินฝู่ บ้านจีนโมเดิร์น ของทายาทตั้งเซ่งจั้ว ขนมเปี๊ยะชื่อดังของเมืองไทย
บ้านจีนโมเดิร์น ของทายาทแบรนด์ขนมเปี๊ยะชื่อดังแห่งเมืองฉะเชิงเทรา “ตั้งเซ่งจั้ว” ซึ่งเน้นการออกแบบเป็นกลุ่มบ้านที่อยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่ ภายใต้แนวคิดที่ต้องการแสดงความรักและความเคารพที่มีต่อ “อาม่า” ผู้เป็นศูนย์รวมจิตใจของลูกหลาน เจ้าของ : ครอบครัวตันคงคารัตน์ สถาปนิก : ต้นศิลป์ สตูดิโอ โดยคุณชาตรี ลดาลลิตสกุล ตกแต่งภายใน : คุณปิยพร ตันคงคารัตน์ หัวหน้าทีมก่อสร้าง : คุณวิวัฒน์ เกิดลาภ ผู้รับเหมา : บริษัทลายคราม จำกัด บ้านจีนโมเดิร์น “ตั้งเซ่งจั้ว” คือ ตำนานความอร่อยของขนมเปี๊ยะบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่หลายคนรู้จักกันดี อากงและอาม่า เจ้าของสูตรขนมเปี๊ยะแสนอร่อยได้หอบหิ้วความฝันและฝีมือการทำขนมเปี๊ยะที่สั่งสมประสบการณ์จากการเป็นลูกจ้างในร้านขนมเปี๊ยะชื่อดังในเมืองจีน เพื่อมาสร้างเนื้อสร้างตัวตั้งรกรากเปิดร้านขายขนมอยู่มี่ตลาดบางคล้า สร้างชื่อเสียงมายาวนานหลายทศวรรษ วันนี้ตั้งเซ่งจั้วก็ยังคงสืบทอดความอร่อยโดยมีลูกหลานรุ่นใหม่คอยดูแลกิจการ เมื่อครอบครัวเริ่มขยายใหญ่ขึ้น ตึกแถวที่เคยเป็นบ้านเก่าจึงดูคับแคบลง หากเป็นครอบครัวอื่นการขยับขยายไปอยู่ที่อื่นอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่สำหรับ ครอบครัวตันคงคารัตน์ การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่ภายใต้ความรักความอบอุ่นจากอาม่านั้นเป็นสิ่งสำคัญกว่า นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างบ้านหลังใหม่บนเนื้อที่กว้างขวางขนาด 2 ไร่ ซึ่งอยู่ติดกับโรงงานทำขนมและบ้านหลังเก่าเพื่อให้ทุกคนได้อยู่พร้อมหน้ากันอย่างอบอุ่น ไอเดียการออกแบบ คุณชาตรี ลดาลลิตสกุล สถาปนิกและผู้ก่อตั้งต้นศิลป์ สตูดิโอ ได้นำเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมจีนมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ […]
บ้านปูนทรงกล่อง โปร่งด้วยอิฐช่องลม และซ่อนผาจำลองไว้ภายใน
บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวเรียบที่นิ่งจนเกือบจะดุดัน แต่มีเสน่ห์ด้วยช่องเปิดกว้างๆ พร้อมกับแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่มีความหลากหลายตั้งแต่แนวรั้วหน้าบ้านร้อยเรียงต่อเนื่องไปทั่วผนังอาคาร นั่นเพราะว่า บ้านหลังนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อเน้นฟังก์ชันการใช้งานภายในตามความต้องการของคุณหนู–มนต์ทิพย์ ลิปิสุนทรและคุณโป้ง-วิบูลย์ศิริ วิบูลย์มา ผู้เป็นเจ้าของ ที่อยากได้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยถึง 3 ครอบครัว บนที่ดินเดิมซึ่งมีลักษณะเหมือนสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดราว 200 ตารางวา ฟังก์ชันภายในจึงเป็นตัวกำหนดผังพื้นที่เกือบ 1,000 ตารางเมตรใน บ้านปูนทรงกล่อง ขนาด 4 ชั้น ซึ่งเน้นมุมที่มองจากภายในออกมามากกว่าสร้างรูปทรงของบ้านให้โดดเด่นแล้วค่อยใส่ฟังก์ชันเข้าไป “เราเคยลองไปหาทำเลอื่นดูเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะรื้อบ้านหลังเดิมที่เก่ามากแล้วออก เพื่อสร้างหลังใหม่ให้ใหญ่พอสำหรับการใช้งาน โดยรวมครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ของเราสองคนมาอยู่ด้วยกัน และยังมีห้องเผื่อสำหรับน้าและน้องสาวไว้ด้วย“คุณโป้งเล่าถึงโจทย์เริ่มต้น และเสริมด้วยว่าเขาเองก็ทำงานด้านรับเหมาตกแต่งภายในอยู่แล้ว อีกทั้งชอบในผลงานการออกแบบบ้านที่มีเส้นสายเรียบนิ่งของทีมสถาปนิก Anonym จึงน่าจะร่วมกันสร้างบ้านหลังนี้ได้ดี สถาปัตยกรรมที่เปิดให้สายลมพัดผ่าน สิ่งแรกที่คุณบอย–พงศ์ภัทร เอื้อสังคมเศรษฐ สถาปนิกผู้ออกแบบสัมผัสได้เมื่อมาดูพื้นที่คือสายลมเย็นที่ปะทะผ่าน เพราะหน้าบ้านหันไปทางทิศใต้และเป็นแนวช่องลมที่ดี ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการออกแบบบ้านที่เน้นการเปิดช่องลมควบคู่ไปกับคว้านสเปซภายในให้เกิดเป็นคอร์ตหน้าบ้านและตรงกลาง โดยคอร์ตหน้าบ้านออกแบบให้เป็นหน้าผาจำลองเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ที่หลงใหลการปีนผาของคุณโป้ง และคอร์ตตรงกลางเป็นแกนเชื่อมต่อมุมมองของทุกพื้นที่ในบ้าน รวมถึงเป็นช่องรับแสงธรรมชาติซึ่งส่องผ่านจากช่องหลังคากระจกใสด้านบนลงมา “เราออกแบบภายในให้เหมือนเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ที่แยกพื้นที่ของครอบครัวไว้ในแต่ละชั้น โดยมีชั้นล่างเป็นพื้นที่ส่วนกลางร่วมกัน แล้วเปิดสเปซให้ลมหมุนเวียนได้ตั้งแต่คอร์ตปีนผาด้านหน้าเข้ามาถึงโถงนั่งเล่นด้านในซึ่งเป็นอีกคอร์ตหนึ่งที่มองเห็นทางเดินของแต่ละชั้นวางสลับเยื้องกัน และเติมแลนด์สเคปแทรกไปกับตัวบ้านด้วยการออกแบบกระบะปลูกต้นไม้เพื่อให้ทุกชั้นมีพื้นที่สีเขียวของตัวเอง เวลาใช้พื้นที่ทางเดินก็จะไม่รู้สึกเวิ้งว้างเพราะยังมองเห็นพื้นที่ส่วนอื่นได้ ส่วนหลังคากลางคอร์ตนี้เป็นกระจกใสติดฟิล์มกันร้อนและยกผนังก่อนถึงหลังคาไว้เกือบเมตรเพื่อเจาะเป็นช่องให้ลมถ่ายเทได้ ตามไดอะแกรมแล้วจึงมีช่องทางให้ลมเข้าออกในแต่ละชั้นได้ไปจนถึงชั้นบนสุดของบ้าน ในขณะที่การวางผังห้องจะยังมีความเป็นส่วนตัวอยู่“ ผนังคอนกรีตกับการเปิดของอิฐช่องลม ต่อเนื่องจากแนวคิดการเปิดช่องให้สายลมพัดผ่าน สถาปนิกยังเลือกใช้อิฐช่องลมโอบล้อมเป็นผนังส่วนใหญ่ของบ้าน ยกเว้นส่วนทิศตะวันตกที่เน้นการปิดทึบและกำหนดให้เป็นพื้นที่ของห้องน้ำไว้เพื่อใช้เป็นแนวป้องกันแสงแดดเข้าถึงในทุกๆ ชั้น อีกทั้งเพิ่มความน่าสนใจด้วยการผสมผสานแพตเทิร์นของอิฐช่องลมที่หลากหลาย และไล่เรียงช่องเปิดมากขึ้นตามระดับการเข้าถึงในแต่ละชั้นจากชั้นล่างที่มีช่องเปิดน้อยเพื่อคงความเป็นส่วนตัวจากภายนอก […]
บ้านไม้ ของ เขียนไขและวานิช โฮมสตูดิโอสไตล์พื้นถิ่น
บ้านไม้ พื้นถิ่น ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา เป็นโฮมสตูดิโอของศิลปิน“ เขียนไขและวานิช ”
Maison T การพลิกโฉมบ้านจัดสรรเป็น Party House
ถ้าไม่บอกคงดูไม่ออกว่าบ้านดีไซน์จัดเต็มแบบนี้คือบ้านจัดสรรในโครงการ แถมยังเป็นคอนเซ็ปต์เฮ้าส์ที่ออกแบบในธีมปาร์ตี้ แล้วยังการันตีในดีไซน์จัดจ้าน ดีเทลแน่น ซึ่งออกแบบโดย Hyper-Haus ที่เป็นหนึ่งในบริการจาก Apostrophy’s Group มาดูกันว่าบ้านจัดสรรที่ใครๆต่างมีภาพจำว่าเป็นบ้านที่หน้าตาเหมือนๆกัน เมื่อผ่านการเมคโอเวอร์จะเป็นอย่างไร ออกแบบตกแต่งภายใน / ก่อสร้าง / พร็อปส์สไตลิสต์ : HYPER-HAUS www.HYPER-HAUS.com เมคโอเวอร์บ้านจัดสรร 100 ตารางวา หลังนี้เป็นบ้านใหม่อยู่ในโครงการ บ้านจัดสรร ย่านราชพฤกษ์ พื้นที่ใช้สอย 320 ตารางเมตร บนพื้นที่ดิน 100 ตารางวา เจ้าของบ้านเป็นนักธุรกิจที่ชอบความพร้อม ความรวดเร็ว และการมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร บ้านจัดสรร พร้อมอยู่ในโครงการที่มีสาธารณูปโภคครบครันจึงตอบโจทย์ในขั้นแรก แล้วจึงสร้างเอกลักษณ์ด้วยดีไซน์และบริการออกแบบตกแต่งภายในจาก Hyper-Haus โดย คุณเบียร์ – พันธวิศ ลวเรืองโชค นักออกแบบ และ CEO Apostrophy’s Group เล่าถึงการออกแบบว่า “บ้านเดิมเป็นโครงสร้างเสาคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐฉาบปูนปกติ การทุบรื้อผนังจึงไม่มีปัญหาเหมือนผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ข้อจำกัดของบ้านคือมีพื้นที่ขนาดเล็ก และฟังก์ชันไม่ตรงกับการใช้งานที่เจ้าของบ้านต้องการ จึงเมคโอเวอร์ภายในบ้านใหม่ทั้งหมด มีการทุบรื้อค่อนข้างมาก […]
บ้านปูนเรียบง่ายที่ออกแบบมาเพื่อชมดอย ชมดาว
บ้านปูนเรียบง่ายที่ดูไม่แปลกแยกจากบ้านของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง บนทำเลที่อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียง เป็นบ้านธรรมดาๆที่อยู่สบาย แต่ได้วิวดีสุดๆ ทั้งวิวดอยสุดลูกหูลูกตาในตอนกลางวัน และดวงดาวนับล้านในยามค่ำคืน สมกับชื่อของบ้านหลังนี้ที่ตั้งว่า “บ้านล้านดาว” สถาปนิก : คุณสะเทื้อม กะดีแดง / เจ้าของ : คุณธิดา สิริสิงห บ้านปูนต่างจังหวัด “บ้านล้านดาว” เป็นชื่อน่ารักๆที่ คุณธิดา สิริสิงห ตั้งให้บ้านหลังนี้ด้วยเหตุผลง่ายๆที่ว่าในคืนเดือนมืดหากได้ออกมานั่งที่ระเบียงบ้านก็จะมองเห็นดวงดาวมากมายเหลือคณานับ ที่ตั้งของบ้านหลังนี้อยู่บนเนินเขาที่มีระดับลาดเอียงในอาณาบริเวณประมาณสองไร่ครึ่งแถบอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาพที่ปรากฏเบื้องหน้าของบ้านคือเวิ้งหุบเขาอันแสนกว้างใหญ่ที่ค่อยๆลดระดับลงไปเป็นแอ่งกระทะก่อนจะไปบรรจบกับแนวเทือกเขาด้านหลังของดอยสุเทพโดยปราศจากสิ่งใดๆขวางกั้น บ้านปูนต่างจังหวัด มองผิวเผินบ้านหลังนี้ดูคล้ายบ้านเดี่ยวที่มีระดับหลังคาต่างกัน แต่ที่จริงแล้วเป็นการสร้างบ้านแบบเรือนกลุ่มที่อยู่ใกล้ชิดกันโดยแยกเป็น 3 หลังหลักๆ ผนังภายนอกเป็นคอนกรีตเปลือย เรือนกลางหรือห้องอเนกประสงค์เป็นหลังใหญ่สุดใช้งานเป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ตั้งอยู่ตรงกับทางเข้าบ้านพอดี ลักษณะเป็นห้องโปร่งไม่มีฝ้าเพดาน ปล่อยให้เห็นโครงสร้างของหลังคา ภายในห้องจัดมุมหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับประตูทางเข้าเป็นแพนทรี่ขนาดพอเหมาะ ส่วนพื้นที่ที่เหลือใช้เป็นส่วนนั่งเล่นแบบสบายๆ หน้าห้องนี้เป็นระเบียงกว้างที่จะได้เห็นภาพทิวทัศน์สวยๆดังที่กล่าวไปตอนต้น ส่วนห้องนอนสร้างแยกกันคนละด้านของเรือนกลาง ด้านหนึ่งเป็นห้องนอนใหญ่ ส่วนอีกด้านเป็นห้องนอนเล็กซึ่งเพิ่มมาในภายหลัง เพราะเจ้าของบ้านเห็นว่าเรือนกลางใช้เสาค่อนข้างสูง (เนื่องจากสร้างบนพื้นที่ลาดเอียง) ดูแล้วไม่ค่อยสวยงาม จึงสร้างห้องนี้โดยใช้โครงสร้างเดิม โดยห้องนอนแต่ละห้องเน้นความเรียบและโปร่ง ผนังด้านระเบียงทั้งสองห้องเป็นบานเลื่อนกระจกใสเพื่อเปิดมุมมองอันสวยงาม เฟอร์นิเจอร์ในห้องก็เลือกที่ดูเข้ากับบรรยากาศของการพักผ่อน เช่น เตียงหรือเก้าอี้หวายสีธรรมชาติ บ้านปูนต่างจังหวัด คุณธิดาพูดถึง “บ้านล้านดาว” ในตอนท้ายด้วยสีหน้าเปี่ยมสุขว่า […]