© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
แบบบ้านไม้เก่า ยังคงได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย นั่นเพราะไม้เป็นวัสดุที่มีเสน่ห์ในตัวเอง โดยเฉพาะไม้เก่า นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว
ปรับปรุงบ้านไม้เก่า ให้กลับมาใช้งานได้ โดยบูรณะให้อยู่ในสภาพเดิม ซึ่งได้รับรางวัลงานอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน ในระดับดี ประจำปี 2565 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ บ้านบานเย็นเป็นหมู่เรือนไม้ที่คาดว่าสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 ซึ่งยกย้ายตัวเรือนมาจากถนนราชดำเนิน (บริเวณหน้ากองสลากเก่า) เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการเวนคืนที่ดินเพื่อตัดถนนราชดำเนิน และพระราชทานที่ดินแถวนี้ให้ย้ายมาอยู่แทน ในบริเวณบ้านปัจจุบันมีอาคาร 3 หลัง ประกอบด้วยเรือนพระยาหิรัญยุทธกิจ เรือนขุนวิเศษสากล และเรือนเพ็งศรีทอง (เรียงตามลำดับการสร้างก่อนและหลัง) ตั้งอยู่บริเวณถนนกรุงเกษม ย่านบางขุนพรหม กรุงเทพฯ โดยพบหลักฐานการซื้อขายของเรือนเพ็งศรีทองในปี พ.ศ. 2471 ซึ่งซื้อเรือนแล้วยกมาสร้างในที่ดินนี้เป็นหลังท้ายสุด มีอายุถึง 95 ปีแล้ว จึงสันนิษฐานได้ว่าเรือนอีกสองหลังที่สร้างขึ้นก่อนหลายปีมีอายุมากกว่าร้อยปีอย่างแน่นอน ปรับปรุงบ้านไม้เก่า “เรือนไม้วิกตอเรีย” บ้านบานเย็นเป็นหมู่เรือนไม้สักหลังคาทรงจั่วผสมทรงปั้นหยา ยกพื้นสูง ฐานช่วงล่างก่ออิฐฉาบปูนสร้างในช่วงที่สยามมีการเปิดรับรูปแบบอาคารบ้านเรือนจากต่างประเทศ ซึ่งเรียกในยุคนั้นว่า “เรือนไม้วิกตอเรีย” เมื่อผู้ที่อาศัยในเรือนทั้ง 3 หลังต่างก็ถึงแก่อนิจกรรมและถึงแก่กรรม เรือนทั้ง 3 หลังจึงถูกปิดไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ และอยู่ในสภาพทรุดโทรมลงตามกาลเวลา “เราทุกคนเติบโตมาจากอดีต และเป็นรากเหง้าของเรา ถึงแม้จะมีข้อมูลในอินเทอร์เน็ตและหนังสือมากมาย แต่การได้เห็นของจริงที่ยังคงอยู่ มาสัมผัสพื้นผิวไม้ […]
บ้านชั้นเดียว ขนาดพอดีที่เน้นการใช้งานเป็นพื้นที่ส่วนกลางของครอบครัวใหญ่ที่จะใช้พื้นที่แห่งนี้เปรียบดั่งห้องนั่งเล่นของครอบครัว
“ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับบ้านเกิด เปรียบได้กับหิ่งห้อยที่ถือกำเนิดใต้ต้นลำพูครับ แม้จะออกโบยบินไปไกลแค่ไหน แต่สุดท้ายในช่วงบั้นปลายก็จะหวนคืนกลับสู่ บ้านหิ่งห้อย ต้นลำพูต้นเดิมเสมอ” แนวคิดนี้ที่ คุณกึ๋น-กศินร์ ศรศรี สถาปนิกจาก Volume Matrix Studio ได้แรงบันดาลใจมาจากกวีนิพนธ์ หิ่งห้อย โดยมหากวี รพิทรนาถ ฐากุร คือสิ่งที่บอกเล่าถึงความสำคัญของบ้านหลังนี้ได้เป็นอย่างดี บ้านหิ่งห้อย แห่งนี้คือบ้านที่เปรียบเสมือนต้นลำพูต้นใหญ่ของ คุณเก๊า-วิจัย และ คุณฐิ-ฐิติมา หอมศักดิ์มงคล บนที่ดินถิ่นเกิดของคุณฐิในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ให้ทั้งสองได้แวะกลับมาพักพิงใกล้ชิดกับญาติพี่น้อง ทั้งยังเปิดต้อนรับผู้คนหลากหลายให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่ไม่เคยล้าสมัย ผ่านความร่มรื่นของพรรณไม้ ลมเย็นสบาย ขนมไทยและเครื่องดื่มแสนอร่อย สเปซไทยรูปโฉมใหม่ ทั้งคู่สร้างบ้านหลังที่สองแห่งนี้เพื่อใช้เวลาพักผ่อนกับครอบครัวในวันหยุด รวมถึงเพื่อใช้ชีวิตวัยเกษียณในอนาคต ภายใต้คอนเซ็ปต์บ้านในสวนแบบไทยๆ ที่เน้นพื้นที่กิจกรรมด้านนอก แม้หน้าตาจะดูไม่ใกล้เคียงกับบ้านไทยตามแบบฉบับเดิม แต่สเปซแทบทุกส่วนออกแบบมาเพื่อการใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบไทยในรูปลักษณ์ที่แตกต่าง โดยแต่ละห้องถูกวางแยกออกจากกัน เชื่อมถึงกันด้วยระเบียง และเว้นพื้นที่ให้ลมไหลผ่าน โดยเฉพาะชั้นล่างที่เย็นสบายเป็นพิเศษเพราะมีอาคารด้านบนช่วยบังแดด ทั้งยังให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองด้วยสเปซแบบใต้ถุนบ้านไทยที่ไม่สูงจนเกินไป เหมาะกับอิริยาบถนั่งหรือนอนเอกเขนกยามกลางวัน ฟังก์ชันภายในห้องต่างๆ ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด โดยชั้นล่างประกอบด้วยห้องนอนของคุณเก๊าและคุณฐิพร้อมห้องน้ำในตัว ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำแขก และห้องครัวพร้อมโต๊ะรับประทานอาหารที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นคาเฟ่และห้องสอนทำขนมไทยได้ในช่วงวันหยุด ไม่ไกลจากห้องครัวมีบันไดนำทางขึ้นไปชั้นบนซึ่งมีดาดฟ้าขนาดใหญ่สำหรับทำกิจกรรมกลางแจ้งพร้อมวิวสวน ล้อมรอบด้วยห้องนอนของลูกๆ สองห้อง […]
เรือนแพ ที่ทำจากตู้คอนเทนเนอร์ ออกแบบให้แอบซ่อนตัวและกลมกลืนกับธรรมชาติ ลอยลำบนผืนน้ำสงบในเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
บ้านไม้ พื้นถิ่นใต้ถุนสูง ของสถาปนิกที่กลั่นกรองจากประสบการณ์การออกแบบ นำมาต่อยอด ทดลอง ให้เหมาะกับคนในครอบครัว
บ้านไม้ชั้นเดียว ที่สร้างอยู่ภายใต้โครงสร้างเก่าซึ่งเคยเป็นโรงเลี้ยงหมูมาก่อน ตัวอาคารมีลักษณะทอดยาวแบ่งฟังก์ชันให้เยื้องไม่ตรงกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์จากแสงและลม
บ้านพื้นถิ่นไทย บ้านไม้ ที่ออกแบบมาให้มีช่องเปิดรับแสงในทิศทางที่เหมาะสม มีช่องทางไหลเวียนของลมเพื่อระบายความร้อน ชายคายื่นยาวกันแดดกันฝน และเพิ่มมุมมองที่อบอุ่นนุ่มนวลด้วยงานไม้เก่า
เฮือนอีสานใต้ถุนสูง ที่มีลักษณะเป็นเรือนหลังเล็กหลายหลังเชื่อมต่อกันด้วยลานกลางบ้านตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมไทย
งานสถาปนิก 66 งานสถาปนิก 66 ความยิ่งใหญ่ของมหกรรมทางสถาปัตยกรรม จัดในวันที่ 25-30 เมษายน 2566 นี้ ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
มาดูตัวอย่าง บ้านมินิฟาร์ม น่ารักๆ เป็นไอเดียสำหรับคนชอบปลูกผักกัน ซึ่งในอนาคตก็อาจถือได้ว่ามีความจำเป็นทีเดียว
แม้ในตอนแรกตั้งใจจะสร้าง บ้านฟาร์มหลังเกษียณ แต่ในที่สุดก็ได้สร้างบ้านหลังนี้ขึ้นก่อนเจ้าของบ้านจะมีอายุ 60 ปี โดยใช้งานเป็นทั้งมุมปาร์ตี้ พักผ่อน และเป็นฟาร์มปลูกผักกินเอง ไปจนถึงโฮมสเตย์สำหรับคนรู้จัก และได้กลายเป็นบ้านที่ทำให้เจ้าของบ้านได้ใช้ชีวิตในช่วงวันหยุดอย่างสุขกายสบายใจ สร้างบ้านไม่รอเกษียณ (แล้ว) แรกเริ่มเดิมที คุณแพะ – สมจิตร์ สิริแสงสว่าง ซื้อที่ดินในย่านวังไทรผืนนี้ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีก่อน เพราะชอบอากาศที่เขาใหญ่ อีกทั้งมีเพื่อนมาซื้อที่ดินตรงด้านหน้าไว้ก่อนแล้ว โดยตั้งใจว่าพอเกษียณก็จะสร้างบ้านและย้ายมาอยู่ ซึ่งลูกยังไปมาหาสู่ได้สะดวก เพราะอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯนัก แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ขึ้น ได้คุยกับ คุณพี ลูกชาย ซึ่งถามว่าทำไมไม่ทำบ้านตอนนี้เลย แต่คุณแพะคิดว่าน่าจะแค่ออกแบบไว้ก่อน ยังไม่ต้องสร้างก็ได้ คุณพีจึงติดต่อ คุณแจม – ณชพล เฉลิมลักษณ์ เพื่อนที่เป็นสถาปนิกมาช่วยออกแบบให้ แต่เมื่อได้ทำงานกับคุณแจมสักพัก ได้เห็นความตั้งใจในการทำงาน ในที่สุดคุณแพะก็ตัดสินใจสร้างบ้านตามคอนเซ็ปต์ที่ได้วางเอาไว้ ตื่นมาอยากปลูกผัก อยากทำกับข้าว บ้านหลังนี้ตั้งชื่อว่า “Farm to Table House” เนื่องจากคุณแพะสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ คิดว่าการปลูกผักกินเองย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่า สิ่งที่ต้องมีคือแปลงปลูกผักที่จะนำมาใช้ทำอาหารรับประทานเอง และต่อไปในอนาคตอาจปลูกส่งขายได้ […]