แบบบ้าน แบบบ้านแจกฟรี ไอเดียแต่งบ้าน - บ้านและสวน

บ้านปูนชั้นเดียว ที่ยกใต้ถุนสูงเผื่อน้ำท่วม

บ้านปูนชั้นเดียว เท่ๆ หลังนี้ยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากเคยมีน้ำท่วมมาก่อน มีชายคาคอนกรีตยื่นยาวประมาณ 4 เมตรโดยไม่มีเสารองรับ เพราะตั้งใจให้เป็นที่จอดรถ บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้เป็นของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ซึ่งตั้งใจสร้างบ้านนี้ให้คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย ตัวบ้านตั้งอยู่บนที่ดินเดิมของบ้านคุณพ่อคุณแม่ ภายในชุมชนเล็กๆ ที่เงียบสงบของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เป็นบ้านที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัย รูปแบบของบ้านปูนชั้นเดียวนี้ดูโมเดิร์นทั้งหน้าตาและวิธีการคิด เส้นสายที่ตรงไปตรงมาและการออกแบบที่เน้นเรื่องการใช้งานเป็นหลัก ทำให้บ้านนี้ดูเข้ายุคสมัย คุณขวัญชัยบอกว่า นำวัสดุบางส่วนจากบ้านเก่าซึ่งปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันมาซ่อมแซมและออกแบบใช้ใหม่กับบ้านนี้ให้มากที่สุด นอกจากช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้างได้มากแล้วยังเป็นการรียูส (reuse) ซึ่งไม่ทำลายทรัพยากรโลกอีกด้วย เช่นไม้ทำระแนงและผนังตกแต่งก็เป็นไม้ส่วนพื้น บันได และจันทันของบ้านเก่า ผนังภายนอกของบ้านที่มีผิวเป็นคลื่นเป็นลอนก็คือกระเบื้องลอนคู่ของบ้านเก่าเช่นกัน นำมายึดติดกับผนังก่ออิฐเลย ไม่ต้องฉาบก่อน ประหยัดค่าฉาบผนังได้อีก บ้านชั้นเดียวหลังนี้มีการยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากพื้นที่นี้เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เจ้าของบ้านจึงอยากได้บ้านที่มีใต้ถุนเพื่อความอุ่นใจเวลาน้ำมา และพื้นที่นี้ยังใช้เป็นที่จอดรถและใช้งานในบางกิจกรรมหรือเป็นที่เก็บของได้ด้วย ข้อดีอีกอย่างของการยกพื้นก็คือ ทำให้บ้านไม่ร้อน เพราะลมพัดพาเอาความร้อนออกไปได้มากขึ้น บ้านวางผังเป็นรูปตัวแอล (L) ทำช่องเปิดรับแสงแดดยามเช้าด้านทิศตะวันออก แม้แสงจะสาดส่องเข้ามาถึงภายในบ้าน แต่ก็เป็นแสงอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนผนังอาคารด้านที่หันสู่แสงแดดตรงๆ ก็มีระแนงแนวตั้งคอยกรองแสง […]

บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก ที่มีกลิ่นอายลอฟต์นิดๆ

บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก บนที่ดินขนาดประมาณ 200 ตารางวา มีหน้าแคบแต่ลึก ออกแบบเน้นเชื่อมโยงมุมมองให้มองเห็นกันได้ตลอด สถาปนิกมักเริ่มต้นออกแบบบ้านด้วยการให้ความสำคัญกับการจัดวาง“ที่ว่าง” พอๆ กับรูปทรง วัสดุ และสไตล์การตกแต่ง เพราะการออกแบบที่ว่างให้มีสัดส่วนพอเหมาะ สัมพันธ์กับทิศทางของแดดและลม มีการเชื่อมต่อระหว่างที่ว่างอย่างเหมาะสม ก็ทำให้คุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัยดีขึ้นได้ แล้วคำจำกัดความของที่ว่างที่ดีนั้นควรเป็นเช่นไร เราลองมาค้นหาคำตอบใน บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก หลังนี้กัน บ้านโมเดิร์นหลังใหญ่ในย่านพหลโยธินที่ดูเรียบง่าย แต่มีชั้นเชิงทั้งการออกแบบและตกแต่งหลังนี้เป็นของ คุณป้อง – ณภัสสร์ และ คุณนิ้ง – เปรมรัตน์ เตลิงคพันธ์ คู่สามีภรรยาที่สร้าง บ้านปูนเปลือยผสมโครงเหล็ก ขึ้นใหม่อีกหลังข้างบ้านเดิมของพ่อแม่แทนการย้ายออกไปสร้างบนที่ดินอีกแปลงในย่านลาดพร้าว เพราะอยากอยู่ใกล้ๆ ครอบครัวในบรรยากาศที่ตนรักและผูกพันมาแต่เด็ก คุณป้องเล่าว่า “บ้านนี้สร้างบนพื้นที่ของสวนมะม่วง ข้างบ้านหลังเดิมที่ผมอยู่กับพ่อแม่มาตั้งแต่เด็ก ที่ดินผืนนี้มีขนาดประมาณ 200 ตารางวา มีหน้าแคบแต่ลึก สถาปนิกจึงวางตัวบ้านขนานไปกับที่ดิน ผนังของพื้นที่ส่วนกลางของบ้านออกแบบเป็นกระจกขนาดใหญ่ เชื่อมโยงมุมมองไปยังบ้านหลังเดิมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ ทำให้มองเห็นกันได้ตลอดแม้จะอยู่คนละบ้านก็ตาม” คุณแป้ง – กษิต จันทร์แก้ว คือสถาปนิกผู้ออกแบบ ทั้งยังเป็นเพื่อนสนิทที่รู้จักเจ้าของบ้านมาตั้งแต่เด็ก ตัวบ้านวางผังเป็นรูปตัวยู (U) หันหน้าเข้าหาบ้านหลังเดิม มีระเบียงไม้เล็กๆ […]

บ้านไม้หลังเล็ก

บ้านไม้หลังเล็ก แบบไทยในอ้อมกอดธรรมชาติ

บ้านไม้หลังเล็ก รูปแบบเรียบง่ายสำหรับเป็นที่พักผ่อนอันเงียบสงบ มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน สร้างตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อนที่แยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง ซึ่งแต่ละเรือนจะมีขนาดพอประมาณ เชื่อมต่อกันด้วยชานไม้ที่มีระดับสูงต่ำต่างกัน ภายในเรือนทุกหลังสามารถเปิดโล่งได้ และมีร่มไม้แผ่คลุมให้ความร่มเย็น บ้านไม้หลังเล็ก ที่สร้างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นบ้านพักผ่อนที่เงียบสงบ เพราะปกติเจ้าของบ้านมีวิถีชีวิตประจำวันรวมถึงหน้าที่การงานอยู่ในกรุงเทพฯ จึงมุ่งหวังที่จะสร้างบ้านไว้ปลีกวิเวกแต่ลำพังเพียงผู้เดียว ที่ดินผืนนี้อยู่ในจังหวัดปริมณฑล แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของบ้านกลับทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ต่างจังหวัด ที่ดินขนาด 2 ไร่กว่านี้ เจ้าของบ้านเพียรค้นหามาหลายแห่งเพียงเพราะต้องการที่ดินริมน้ำหรือติดแม่น้ำ โดยก่อนหน้านี้เคยไปดูที่ดินริมแม่น้ำนครชัยศรี แต่ก็ยังไม่ถูกใจ จนในที่สุดเจ้าของบ้านได้เห็นแผ่นพับขายที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง ซึ่งภาพตามที่โครงการร่างไว้นั้นดูสวยงามตรงกับความต้องการพอดี เพราะมีหนองน้ำอยู่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านจึงตกลงใจซื้อตั้งแต่ยังไม่เห็นที่ดิน ทว่าก่อนที่จะสร้างบ้านก็จำเป็นต้องไปดูสถานที่จริง แต่สิ่งที่เห็นกลับทำให้ตะลึง เพราะที่ดินนั้นเป็นที่นาธรรมดา ไม่มีหนองน้ำดังภาพร่าง ภายหลังจึงได้รับคำอธิบายจากโครงการว่า ที่ดินทุกแปลงจะมีการขุดดินสร้างเป็นบ่อน้ำหรือหนองน้ำดังในภาพ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจคือ เพื่อนำน้ำในบ่อมาใช้รดน้ำต้นไม้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งถูกใจเจ้าของบ้านยิ่งนัก เพราะตั้งใจจะปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าอยู่แล้ว ความตั้งใจอีกประการคือ เจ้าของบ้านต้องการสร้าง บ้านไม้หลังเล็ก  รูปแบบเรียบง่ายไว้เป็นที่พักผ่อนที่สงบเงียบ ซึ่งตอนแรกเจ้าของบ้านยังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี จนกระทั่งได้คุยกับกับเพื่อนที่มีสามีเป็นสถาปนิกชื่อดัง แต่ไม่กล้าขอให้สถาปนิกท่านนี้ออกแบบให้ เพราะงานที่เขาทำล้วนเป็นงานของลูกค้าระดับเศรษฐี ทว่าพอทราบเรื่องเขากลับรับทำบ้านหลังนี้ให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เนื่องจากเห็นว่าเจ้าของบ้านทำงานเพื่อสังคมมามากแล้ว ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกปลื้มใจและขอบคุณสถาปนิกท่านนี้มาก จุดเริ่มต้นของ บ้านไม้หลังเล็ก นี้อยู่ที่หลังคาไม้ที่เจ้าของบ้านได้มาก่อนส่วนอื่น ๆ ส่วนตัวบ้านซื้อจากร้านขายเก่า ซึ่งทราบแต่เพียงว่าเป็นโรงเรียนเก่าที่เขารื้อถอนเพื่อสร้างตึกขึ้นแทน ลักษณะบ้านเป็นไปตามแนวคิดของบ้านเรือนไทยสมัยก่อน คือแยกส่วนใช้สอยออกเป็นเรือนแต่ละหลัง โดยมีการก่อสร้างเป็นสองช่วง ช่วงแรกเป็นการก่อสร้างเรือนกลุ่มใหญ่ก่อน […]

เปลี่ยนคอร์ตรับลมบ้านปูน เป็นบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน

พื้นที่ 100 ตารางวาผืนนี้ มีโจทย์เป็นบ้านสองหลังของพี่และน้อง โดยแบ่งที่ดินออกเป็นสองส่วนแต่ยังมีพื้นที่เชื่อมต่อเพื่อรำลึกถึงบรรยากาศ บ้านไม้ฝั่งธน ซึ่งทั้งสองเติบโต เป็นเป็นคอร์ตรับแสงซ่อนตัวไว้อยู่ภายในบ้านทรงโมเดิร์นภายนอก

บ้านชั้นเดียวน่าอยู่

รวมบ้านชั้นเดียว สวย น่าอยู่

บ้านชั้นเดียวดูจะเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน อาจเพราะเป็นบ้านที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ดูแลรักษาได้ง่าย เป็นงานออกแบบที่เรียกว่า “อารยสถาปัตย์” หรือ Universal Design (UD) ซึ่งออกแบบมาให้คนทุกเพศทุกวัยสามารถใช้งานได้สะดวกสบาย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ ที่อาจมีข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ ซึ่งเดินขึ้นบันไดไม่ค่อยสะดวก เราได้รวบรวม 7 บ้านชั้นเดียวน่าอยู่ ภายใต้บรรยากาศสุดชิล ห้อมล้อมด้วยความเป็นธรรมชาติ ที่ทำให้การอยู่อาศัยเต็มไปด้วยสุนทรียภาพแห่งความสุข บ้านชั้นเดียวน่าอยู่ ที่มีแนวคิดในการออกแบบที่เน้นความอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะตั้งอยู่ใกล้กับวัดเพียงแค่ข้ามถนนไป เจ้าของบ้านบอกว่าหากสร้างสองชั้นอาจไม่เหมาะสม เพราะจะอยู่สูงกว่าวัดซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนับถือกันมานาน โดยสถาปนิกได้สอดแทรกสถาปัตยกรรมโมเดิร์นด้วยการใช้หลังคา Flat Slab ซึ่งมีการยื่นชายคาออกไปมากกว่าปกติเพื่อบังแสงแดดไม่ให้ตัวบ้านร้อน แต่ยังดูกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบด้วยสวนและต้นไม้ >> อ่านต่อ  เจ้าของ : คุณรัตนา – คุณชาตรี เตชะติ ออกแบบ : Is Architects Co., Ltd. โดยคุณศรายุทธ ใจคำปัน บ้านชั้นเดียวที่มีสวนเป็นคอร์ตยาร์ดอยู่กลางบ้าน แม้หน้าตาของบ้านจะดูเรียบง่าย มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน แต่แฝงการใช้งานแบบเต็มที่ มีการคิดเตรียมการเพื่ออำนวยความสะดวกแด่คุณแม่สุดที่รัก เพื่อให้ท่านได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไร้ความกังวล >> อ่านต่อ  เจ้าของ […]

บ้านเรือนหมู่แบบไทยที่สร้างจากดินและไม้

บ้านดินหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและวัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย แม้ว่า “เชียงใหม่” จะเปลี่ยนแปลงไปหลาย ๆ ด้านด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีเสน่ห์ ในแบบเฉพาะตัวซึ่งไม่มีใครลอกเลียนได้ จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไร ที่นี่ก็ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เสื่อมคลาย รวมไปถึงการเป็นจุดหมายของการมาพักอาศัยสร้างบ้านที่อบอุ่นสำหรับครอบครัวท่ามกลางธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งตอบโจทย์ทั้งความเรียบง่าย เงียบสงบ ห่างไกลจากเมืองที่พลุกพล่าน แต่ไม่ทิ้งความสะดวกสบายไปเสียทีเดียว จากองค์ประกอบที่ครบถ้วนนี้ ทำให้ คุณพอล วัลเลอร์  และ คุณธัญชนก สุวรรณชัย ตัดสินใจเลือกอำเภอหางดง ซึ่งห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 30 นาทีเพื่อสร้างบ้านหลังงามที่มีกลิ่นอายแบบไทยโมเดิร์น มีสนามหลังบ้านให้ออกไปเดินเล่นผ่อนคลายอิริยาบถ สัมผัสกับวิวทุ่งนาได้สุดสายตา โดยในความเป็นไทยของบ้านนี้คือการมีองค์ประกอบแบบไทย ๆ เช่น หลังคาและ วัสดุต่าง ๆ ส่วนโมเดิร์นคือการเน้นใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยให้บ้านอยู่สบายขึ้นในบริบทแบบไทย มี คุณมาร์คูส โรเซลีบ สถาปนิกจากบริษัท Chiangmai Life Architects (CLA) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการนำวัสดุธรรมชาติมาออกแบบและสร้างงานสถาปัตยกรรมได้อย่างมีเอกลักษณ์ มาช่วยดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ จนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ […]

รีโนเวตบ้านเก่าชั้นเดียว เป็นบ้านสีขาวมินิมัล

รีโนเวตเก่าบ้านชั้นเดียว เพื่อปรับปรุงบ้านเก่าให้เป็นบ้านสีขาวสไตล์มินิมัลที่ทั้งเสวยและเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ งบประมาณของโครงสร้างล้านต้นๆ

บ้านขนาดกะทัดรัด สำหรับอยู่กับคุณแม่ผู้สูงวัย

เชื่อว่าคนในเมืองใหญ่ที่อยากหลีกหนีความสับสนวุ่นวายไปอาศัยอยู่จังหวัดอื่นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ทุกวัน หากไม่นับเงื่อนไขด้านเงินทองแล้วก็คงต้องติดเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งหน้าที่การงานและการดูแลเอาใจใส่คนในครอบครัว การย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี เพื่อสร้าง บ้านขนาดกะทัดรัด จึงเป็นไปไม่ได้ง่ายนัก เจ้าของ : ครอบครัวสุวัจฉราภินันท์ สถาปนิก : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab โดย ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ ทว่าสำหรับ ดร.สันต์  สุวัจฉราภินันท์  สถาปนิกห้างหุ้นส่วนจำกัด 2929 Designlab และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลับมีจังหวะชีวิตที่ลงตัว เพราะที่ตั้งของ บ้านขนาดกะทัดรัด หลังใหม่นี้สอดรับกับหน้าที่การงานในตำแหน่งหัวหน้าหลักสูตรบัณฑิตศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งยังรองรับการอยู่อาศัยของคุณพ่อคุณแม่ซึ่งย้ายมาจากกรุงเทพฯเพื่อการดูแลได้อย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่คนวัยเกษียณท่านใดเห็นก็ต้องอิจฉา “บ้านหลังนี้เริ่มต้นจากเมื่อสองปีที่แล้วพยายามหาที่ดินสำหรับสร้างบ้านของตัวเอง  ช่วงนั้นคุณแม่เริ่มป่วยและเข้าออกโรงพยาบาลบ่อย  ทำให้ต้องเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ – เชียงใหม่อยู่เสมอ  จากที่คิดจะสร้างบ้านเพื่อตัวเองก็เริ่มเปลี่ยนแผนว่าจะสร้างบ้านให้คุณพ่อคุณแม่ย้ายมาอยู่ที่เชียงใหม่ด้วยกันแทน”อาจารย์สันต์เล่าย้อนถึงจุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ให้เราฟัง “จากนั้นจึงมองหาที่ดินซึ่งมีคุณสมบัติ3 อย่าง  คือ  หนึ่ง  ต้องอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  สอง  ต้องอากาศดี  สาม  ราคาไม่แพงเกินไป  ดูมาหลายแห่ง  บางที่ก็สวยมากแต่ราคาแพง  บางที่อยู่ในโครงการหมู่บ้านซึ่งมีเงื่อนไขในการออกแบบบ้านจุกจิก  เราต้องการจะออกแบบบ้านเอง  จนมีคนแนะนำให้มาดูที่ดินแถวแม่ริมตรงนี้  พอมาดูที่ปุ๊บก็รู้สึกคลิกทันที  […]

Zanolari’s House ยกรีสอร์ตมาไว้ในบ้านโมเดิร์นกลางกรุง

บ้านโมเดิร์นสไตล์รีสอร์ต ที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้พักผ่อนอยู่ต่างจังหวัด ตั้งอยู่ริมทะเล ทั้ง ๆ ที่อยู่กลางกรุงของครอบครัวซาโนลารี่

รีโนเวตบ้านเก่าให้เป็น บ้านสไตล์รีสอร์ตในเมือง

การปรับปรุงบ้านหลังนี้ เป็นจุดลงตัวหลายอย่างของครอบครัวเจ้าของบ้านตั้งแต่ สภาพบ้านที่ทรุดโทรม แนวคิดบ้านสไตล์รีสอร์ตในเมือง ไปจนถึงการใช้งานที่เปลี่ยนไปหลังจากอยู่มา 16 ปี

บ้านหนองฮ่อ ดีไซน์สงบนิ่งที่เผยความงามธรรมชาติ

จะดีแค่ไหนถ้าได้นั่งเงียบๆ ปล่อยใจสงบ เพื่อเปิดรับเสียงอันแผ่วเบา และสัมผัสธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไปทุกวินาที วิวดอยสุเทพอยู่สุดปลายสายตากำลังกลืนแสงสุดท้ายของวัน เมื่อมองจากบ้านพักตากอากาศที่สถาปนิกออกแบบให้เป็น “สถาปัตยกรรมไร้เสียง” ที่จะไม่ตะโกนความเป็นตัวเองให้ดังเกินตัว จนกลบเสียงสรรพสิ่งแวดล้อมให้ดับไป แต่ถ่อมตัว แช่มช้า แจ่มใส มีเสน่ห์อย่างบุคลิกคนท้องถิ่นเจ้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Skarn Chaiyawat บ้านที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติ บ้านหลังนี้ตั้งอยู่แถวถนนหนองฮ่อ จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะพื้นที่บริเวณนั้นเป็น “ตีนดอย” อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองมากนัก แต่ยังแวดล้อมด้วยธรรมชาติที่สงบสวยงาม จึงเหมาะสำหรับการพักผ่อนอยู่อาศัย คุณโป้ง – สการ จัยวัฒน์ สถาปนิกและผู้ก่อตั้งบริษัท สถาปนิก สการ จัยวัฒน์ จำกัด เล่าถึงจุดเริ่มต้นออกแบบบ้านว่า “เป็นบ้านตากอากาศสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก 3 คน พ่อแม่ลูก ซึ่งปกติอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมที่กรุงเทพฯ จึงอยากมีบ้านสำหรับมาพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ลักษณะที่ดินเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว่า 300 ตารางวา และมีความพิเศษคือ เมื่อมองทะลุผืนป่าด้านหลังที่ดินจะเห็นพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่ดอยสุเทพสวยมาก” ด้วยศักยภาพของพื้นที่ที่น่าประทับใจ การออกแบบบ้านจึงไม่ได้คิดอยู่แค่ตัวบ้านเท่านั้น แต่ออกแบบบ้านเพื่อให้วิวธรรมชาติเป็นหัวใจหลัก “เมื่อวิเคราะห์พื้นที่แล้ว จึงออกแบบบ้านเป็นรูปทรงตัวไอตรงๆ หันด้านยาวเปิดรับวิวภูเขาได้ทุกห้อง เพื่อให้ทัศนียภาพนี้ซึมซับอยู่ในทุกการใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน” บ้านไม้พื้นถิ่นโมเดิร์น สุนทรียภาพที่ก่อเกิดจากโครงสร้าง […]

บ้านกับ “กาล”เปลี่ยนแปลง ผ่านมุมมองของ 8 กูรู แห่งวงการบ้านและการออกแบบ

นิตยสารบ้านและสวนเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2519 ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจพร้อมคำ แนะนำดีๆ แก่คนรักบ้าน และนำ ไปปรับใช้สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นเจตนารมณ์ครั้งแรกที่ทำ ให้เกิดการรวบรวมทีมสถาปนิกและมัณฑนากรมาช่วยกันเขียนหนังสือบอกเล่าไอเดียดีๆ และช่วยเป็นเพื่อนที่ปรึกษาแก้ปัญหาต่างๆ ของบ้าน โดยสิ่งเหล่านี้ได้ถูกส่งผ่านทีมกองบรรณาธิการจากรุ่นสู่รุ่นมาตลอด 45 ปีเต็ม การออกแบบบ้านในประเทศไทย ตลอดการนำเสนอบ้านสวยผ่านหน้านิตยสารทำ ให้เราได้เห็นวิวัฒนาการของการออกแบบบ้านที่เหล่าสถาปนิกและเจ้าของบ้านพยายามสร้างสรรค์และผสมผสานฟังก์ชัน ความงาม และรสนิยม ซึ่งมักได้รับอิทธิพลจากเรื่องราวเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยนั้นๆ เข้าไปด้วยเสมอ การได้หันไปมองอดีต ทำให้เข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ดีขึ้น และแน่นอนว่าจะเป็นแนวทางของการพัฒนาไปสู่อนาคตด้วยเช่นกัน ครั้งนี้เราจึงมีบทสัมภาษณ์จาก 8 บุคคลในแวดวงของบ้านและการออกแบบ มาช่วยบอกเล่าถึง การออกแบบบ้านในประเทศไทย และมุมมองของบ้านกับ“กาล” เปลี่ยนแปลงที่ผ่านเวลาจากอดีต ผสมผสานมาสู่รูปแบบของบ้านในปัจจุบัน พร้อมคำแนะนำไปถึงการเตรียมปรับปรุงบ้านเพื่อวิถีชีวิตในอนาคตอันใกล้นี้ให้เราได้นำแนวทางไปใช้กัน บ้านกับการเปลี่ยนแปลงในช่วง 45 ปี ผมเชื่อว่าการอยู่อาศัยของมนุษย์จะเปลี่ยนทุก 10 ปี เจเนอเรชั่นของคนจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ คนจะเริ่มมีลูกอีกรอบหนึ่ง แล้วตัวเองก็จะประสบความสำเร็จอีกแบบหนึ่ง หรือพ่อแม่ประสบความสำ เร็จแล้วตัวเองต่อยอดขึ้นมาหรือในช่วงอายุของรุ่นผมคุณพ่อคุณแม่จะเหนื่อย แล้วเราก็ต่อสู้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง สิ่งนี้ส่งผลต่อการใช้สอยในพื้นที่อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะนึกย้อนสมัยตัวเองเป็นเด็ก เรื่องรายละเอียดของการอยู่อาศัยมันมินิมัลลิสต์มาก ในเชิงที่ต้องดูแลสิ่งแวดล้อม การต้องระวังขโมยขโจร การต้องระวังเรื่องโรคระบาด หรือความกังวลเรื่องความปลอดภัย บางคนเกิดมาในห้องแถวติดถนนใหญ่ ไม่เห็นมีใครบ่นว่าลูกจะวิ่งออกมาโดนรถชน (หัวเราะ) […]