Ideas
ไอเดีย พื้นที่กึ่งภายนอก ขนาดจำกัด
ะดับหนึ่ง ทำหน้าที่รองรับการใช้งานที่ต้องการมองเห็นและสัมผัสธรรมชาติ ในบางกรณีก็ใช้เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างอาคาร ซึ่งสามารถแทรกอยู่ตามจุดต่างๆ ในบ้านโดยไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มาก มาดูกันว่า เราสามารถสร้างพื้นที่กึ่งภายนอกได้ในรูปแบบใดบ้าง
ออกแบบ การระบายอากาศ เพื่อให้บ้านหายใจได้
ในวันที่อากาศดี เราจะมีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ มากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะออกกำลัง ทำอาหาร สะสางงานที่คั่งค้าง หรือแม้แต่งีบหลับเมื่อตื่นขึ้นก็รู้สึกสดชื่นกว่าปกติ เพราะอากาศที่หมุนเวียนอยู่รอบตัวเรานั้นเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญให้กับร่างกาย มาดูกันว่าเราสามารถออกแบบบ้านให้ “หายใจ” เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และลดความร้อนได้อย่างไรบ้าง การระบายอากาศ จะนำอากาศภายนอกเข้ามาหมุนเวียน และนำความชื้น ฝุ่น สารเคมีที่สะสมออกไปจากตัวบ้าน นอกจากจะทำให้อากาศภายในบ้านสดชื่น ปลอดโปร่งแล้ว ยังลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในบ้านจากมลภาวะในอาคารได้ในระยะยาว และช่วยยืดอายุการใช้งานของตัวบ้านได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งสามารถออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเคลื่อนตัวของอากาศในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ การระบายอากาศ ผ่านช่องเปิดด้านเดียว (Single Sided Ventilation) อาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิ ความดัน หรือความชื้นของอากาศระหว่างภายนอก – ภายในอาคาร ซึ่งจะต้องมีความต่างมากพอจึงจะทำให้เกิดการระบายอากาศได้ เช่น ภายในห้องที่ร้อน อากาศจะลอยตัวขึ้นสูง ทำให้เกิดช่องว่างอากาศในส่วนล่างของห้อง อากาศเย็นภายนอกที่มีความดันสูงกว่าจึงไหลเข้ามาแทนที่ ดันอากาศร้อนที่ค้างอยู่ส่วนบนของห้องออกไป ซึ่งรูปแบบนี้จะไม่มีแรงลมช่วยในการไหล หรือถ้ามีก็น้อยมากจนคนในบ้านแทบไม่รู้สึก เหมาะกับห้องที่ต้องการระบายอากาศแต่ไม่ต้องการให้ลมพัดผ่าน เช่น ห้องเก็บของ ความลึกจากช่องเปิดไม่ควรเกิน 2.5 เท่าของความสูงห้อง เพื่อให้ระบายอากาศได้ทั่วถึง การระบายอากาศ ผ่านช่องเปิดที่อยู่ตรงข้าม (Cross Ventilation) อาศัยแรงลมพัดเอาความร้อนและความชื้นออกไปจากห้องและหมุนเวียนอากาศจากภายนอกเข้ามาแทนที่ โดยลมจะไหลเข้าทางช่องเปิดด้านหนึ่ง […]
มุมพักผ่อนรอบบ้านในวันที่อากาศเป็นใจ
อยู่นอกชายคาก็ร้อนเกินไป อยู่ในห้องแอร์ทั้งวันก็อึดอัด อยากชวนมาเปลี่ยนบรรยากาศ นั่ง พักผ่อนรับลมธรรมชาติ ในช่วงปลายปี – ต้นปี ที่อากาศไม่ร้อนแรงจนเกินไป พื้นที่ Semi-Outdoor จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่เหมาะกับการ พักผ่อน อยู่บ้านแบบสบายๆ อาจจะเป็นมุมปาร์ตี้เล็กๆ แบบกันเองกับเพื่อนสนิท กับเครื่องดื่มเย็นๆสักแก้ว หรือจะเป็นช่วงเวลาที่ได้ พักผ่อน นั่งเล่นพูดคุยกับครอบครัว อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ช่วงเวลาดีๆที่น่าจดจำ สามารถเกิดขึ้นได้ ในพื้นที่รอบบ้านของเรา ด้วยไอเดียการจัด 4 พื้นที่เอาต์ดอร์ที่ลงตัวกับบ้าน มุมกิจกรรม และ พักผ่อน ของครอบครัว ชวนออกมานั่งรับลมเย็นๆ นอกบ้านด้วยกัน ยิ่งถ้าเป็นบ้านที่มีสมาชิกในครอบครัวหลายวัย จะเป็นพื้นที่สำหรับเด็กๆ ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับ พ่อแม่ คุณปู่คุณย่า นั่งดูหลานที่กำลังสนุกตรงหน้า หรือแม้แต่เวลาเพื่อนๆ แวะมาทักทาย ก็ใช้เป็นมุมรับแขกได้อีกด้วย มุมนี้น่าจะเป็นมุมโปรดของหลายๆบ้านอย่างแน่นอน บ้านคุณวิชิต สัจจะธรรมรัตน์ คลิก>> ระยะน่ารู้ ระยะห่าง ของเก้าอี้ถึงโต๊ะกาแฟ ไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร เพื่อให้นั่งยืดขาได้สบายๆ ไม่อึดอัด […]
Semi – outdoor Space Design บ้านอยู่สบายด้วย พื้นที่กึ่งภายนอก
ทำความรู้จักและรู้เทคนิคการออกแบบพื้นที่กึ่งภายนอกที่เหมาะกับการใช้งานของเรา เพื่อให้เราใช้ชีวิตในทุกส่วนของบ้านได้อย่างเป็นสุข
จัดโต๊ะทำงาน ให้ลงตัวนั่งทำงานได้สบายลุยงานได้ทั้งปี
เริ่มต้นปีใหม่หลายๆคนก็ถือเป็นฤกษ์งามยามดี ที่จะลุกขึ้นมา จัดโต๊ะทำงาน ให้สวยงามน่านั่ง จัดวางข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ รวมไปถึงการทำความสะอาด ให้พร้อมรับมือกับการทำงานตลอดทั้งปี แต่ละวันที่เราต้องนั่งทำงานอยู่กับที่ เป็นเวลาหลายต่อหลายชั่วโมง ซึ่งกินเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวัน ทำให้การ จัดโต๊ะทำงาน ให้เหมาะสมกับการใช้งาน จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ นอกจากจะช่วยให้ทำงานได้อย่างคล่องตัว มีพื้นที่จัดเก็บข้าวของ เอกสาร ได้อย่างเป็นที่เป็นทาง โดยไม่ปล่อยให้โต๊ะทำงานรกยุ่งเหยิง และรวมไปถึงการเพิ่มความสดชื่น เติมไอเดียสร้างสรรค์ ด้วยข้าวของที่เราชื่นชอบ ต่างมีส่วนช่วยให้การทำงานมี Productivity มากยิ่งขึ้น มาดูข้อมูลที่น่าสนใจ ช่วยเสริมให้โต๊ะทำงานของเราน่านั่งทำงานกัน ห้องทำงานชั้น 2 มองเห็นวิวทะเลสาบได้กว้างไกล ให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง เหมาะกับการใช้ความคิด วางโต๊ะไว้กลางห้อง โดยมีผนังวางของตกแต่ง ที่สะท้อนตัวตนอยู่ตรงหน้า ชมมุมอื่นๆของบ้านหลังนี้เพิ่มเติม คลิก>> จะเลือกวิว / ผนัง หรือ กลางห้อง หันหน้าไปทางหน้าต่าง หลายคนชอบทำงานด้วยแสงธรรมชาติ ได้ประโยชน์ในเรื่องความสว่าง และแสงธรรมชาติที่ไม่ทำให้ค่าสีผิดเพี้ยน ได้มีมุมมองไกลๆ พักสายตาจากหน้าจอคอม แต่ไม่แนะนำ สำหรับหน้าต่างที่หันไปทางทิศตะวันตก หรือ ทิศใต้ เพราะจะต้องรับแสงแดดที่ร้อนแรงในช่วงบ่าย […]
จัดบ้านเคลียร์ข้าวของให้บ้านโล่งสมองปลอดโปร่ง
ช่วงวันหยุดยาว หลายๆคนมักมีความตั้งใจที่จะลุกขึ้นมา จัดบ้าน เก็บข้าวของที่ไม่ใช้ ให้บ้านเรียบร้อย แต่ในบางครั้งก็มีข้าวของมากมายเสียจนไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดี จะหยิบชิ้นนี้ทิ้งก็ดูน่าเสียดาย อยากจะเก็บชิ้นนี้ไว้ แต่จะได้ใช้บ้างหรือเปล่านะ ลองมาดูไอเดียการคัดแยกข้าวของเพื่อช่วยลดปริมาณ และเพิ่มพื้นที่ว่างให้กับบ้าน จัดบ้าน เพื่อเคลียร์บ้านครั้งใหญ่กันทั้งที เพื่อบ้านที่ปลอดโปร่ง สบายตา สบายใจ พร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆไปด้วยกัน พาของที่อยู่ผิดที่กลับห้องบ่อยครั้งที่เราหยิบของมาใช้ แต่ไม่ได้นำกลับไปที่ที่ควรจะอยู่ ของถูกกองไว้ตามมุมต่างๆ จนกินที่ในห้องแทบไม่เหลือทางเดิน โต๊ะทำงาน โซฟาก็เต็มไปด้วยข้าวของจนแทบไม่เหลือที่นั่ง ข้าวของทุกชิ้น ควรจะมีที่อยู่ของตัวเอง ไม่เก็บรวมสุมๆกันไว้ นอกจากจะทำให้บ้านรกแล้ว ยังมีโอกาสที่จะหาไม่เจอเพราะกองทับถมกันจนมองไม่เห็น จับใส่ลังยกกลับห้อง – เตรียมลังมาหลายๆใบ คัดแยกของใส่ลังของแต่ละห้องเอาไว้ และยกกลับห้องไปในทีเดียว โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินไป เดินมาให้เหนื่อยหลายรอบ เมื่อของกลับเข้าห้อง ก็ทยอยเก็บกลับเข้าที่ที่ควรอยู่ให้เรียบร้อย ค่อยๆเคลียร์ที่ละจุด ถ้าใครเคยตั้งเป้าว่าจะ จัดบ้าน แต่กลับทำให้รกกว่าเดิม ลองเริ่มต้นด้วยการ จัดการทีละมุม โฟกัสทีละตู้ เตรียมกล่อง ตะกร้า หรือถุง สำหรับใส่ของที่ไม่ต้องเก็บที่มุมนี้รอไว้ ชิ้นไหนไม่ควรอยู่ที่มุมนี้ ให้โยนใส่กล่องไว้ก่อน โฟกัสที่จุดเดียวให้เรียบร้อย ค่อยๆทำแบบนี้ไปทีละมุม ก็จะช่วยให้มีกำลังใจในการลงมือทำมุมต่อๆไป ตลอดปีที่ผ่านมาเคยได้ใช้บ้างมั้ย เราต่างมีของที่ครอบครองไว้และไม่ได้ใช้เลยเป็นจำนวนมาก […]
เส้นทางรถไฟฟ้า อัปเดต พร้อมสวนสาธารณะและตลาดต้นไม้ใกล้สถานี
อัปเดต เส้นทางรถไฟฟ้า เพิ่มขึ้นทั้งสายสีเหลือง และสายสีชมพู มาช่วยให้การเดินทางเชื่อมต่อถึงกัน และเดินทางได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะไปสวนสาธารณะ หรือ ตลาดต้นไม้ ก็สามารถนั่งรถไฟฟ้าไปได้ตาม เส้นทางรถไฟฟ้า แม้ตลาดใหญ่ชานเมืองจะไม่ได้ติดสถานีรถไฟฟ้าซะทีเดียว แต่ก็เดินทางต่อไปอีกไม่ไกลเลย มาดูกันเลยว่ามีที่ไหนกันบ้าง สวนสาธารณะ สวนเบญจกิติ สถานี อโศก (สายสีเขียวอ่อน) , สถานี ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (สายสีน้ำเงิน) สวนวชิรเบญจทัศ หรือ สวนรถไฟ สถานี หมอชิต (สายสีเขียวอ่อน, สถานี สวนจตุจักร (สายสีน้ำเงิน) สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ สถานี หมอชิต (สายสีเขียวอ่อน), สถานี สวนจตุจักร (สายสีน้ำเงิน) อุทยาน 100 ปี จุฬา สถานี สนามกีฬาแห่งชาติ (สายสีเขียวเข้ม), สถานี สามย่าน (สายสีน้ำเงิน) สวนลุมพินี สถานี ศาลาแดง (สายสีเขียวเข้ม) , สถานี […]
จัดโต๊ะกินข้าวให้พร้อมต้อนรับมื้อแสนสุขช่วงปีใหม่
ช่วงเวลาแห่งความสุข ที่จะได้มาเจอะเจอกัน ผ่านมื้ออาหาร โต๊ะกินข้าว จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์รวมของทุกคนในบ้าน
ห้องนอนสวยๆ หลายสไตล์ รวมมาให้เอาใจสายพักผ่อน
ห้องนอน คือพื้นที่ที่เราใช้เวลาในแต่ละวันมากที่สุด ตั้งแต่ก่อนนอนไปถึงช่วงเวลาหลังตื่นนอนตอนเช้า รวมเป็นเวลาอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
เทคนิคดูแลพรรณไม้ในสวนทรอปิคัล ให้บรรยากาศเป็นธรรมชาติ
สวนป่าหรือสวนทรอปิคัล มีหลักพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงคือ “ความเป็นธรรมชาติ” เน้นโทนสีเขียว มีพรรณไม้หลากหลายทั้งชนิดและขนาดขึ้นเบียดเสียดกันให้ร่มเงาอย่างหนาแน่นและเขียวชอุ่ม ไม่เน้นการตัดแต่งหรือประดิษฐ์มากจนเกินไป การตัดแต่งไม้รูปทรงอิสระในสวนป่า เพื่อให้บรรยากาศสวนยังคงความเป็นธรรมชาติ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือรู้สึกประดิษฐ์มากจนเกินไป จึงมีวิธีการง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ดังนี้ เมื่อไหร่ที่ควรตัดแต่งเมื่อใดที่ไม้เหล่านี้เริ่มมีทรงพุ่มแน่นทึบ แสงส่องผ่านไม่ทั่วถึง แสดงว่า ถึงเวลาที่ควรตัดแต่งแล้ว และอาจตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ในช่วงฤดูหนาว ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้พักตัว เพื่อความสวยงามและสร้างความสมดุลให้ต้นไม้ ความเข้าใจผิดเมื่อมีกิ่งยืนยาว หลายคนมักเข้าใจว่าควรตัดกิ่งที่ยื่นออกให้มีขนาดเท่าๆ กับกิ่งอื่นในทรงพุ่ม ซึ่งนั่นเป็นการเข้าใจที่ผิด และเป็นการเริ่มต้นบังคับทรงพุ่มของต้นไม้ ซึ่งไม่เหมาะกับสวนป่า การตัดแต่งที่ถูกต้องควรตัดที่โคนกิ่งให้โคนพุ่มโปร่ง หรือตัดกิ่งที่แยงเข้าหาทรงพุ่ม หรือสิ่งที่ยื่นยาวออกจากทรงพุ่ม จนเกะกะข้างทางก็ควรลดออก รวมถึงเลือกตัดกิ่งที่มีปัญหา เช่น แคระแกรน มีโรค หรือมีแมลงกิน แต่หากเป็นไม้กอ อย่าง เฮลิโคเนีย เมื่อกอเริ่มแน่นอาจใช้วิธีแยกกอ เป็นการช่วยให้ทรงพุ่มโปร่งและรักษารูปทรงอิสระของต้นไม้ไว้ เพื่อให้สวนป่าดูเป็นสวนธรรมชาติที่สวยงาม
วิธีการดูแลสนามหญ้า ให้หมดปัญหากวนใจ
หากอยากมีสนามหญ้าสีเขียวที่ดูแน่นและนุ่ม ไว้วิ่งเล่นและเพิ่มบรรยากาศในสวนให้สดชื่นอยู่เสมอ โดยไม่มีปัญหามากวนใจ ควรหมั่นดูแลเอาใจใส่ และมี วิธีการดูแลสนามหญ้า อย่างถูกต้อง ซึ่ง วิธีการดูแลสนามหญ้า อาจพิจารณาจากปัญหาที่มักพบได้ ดังนี้ หญ้าจัดสวน ต้องเลือกแบบไหน? ขั้นตอนการปูหญ้า มีพื้นที่สีเขียวข้างบ้านทำได้เองแบบง่ายๆ 1.ปัญหาจากวัชพืช อาการ: มีวัชพืชขึ้นแทรกเป็นหย่อม โดยเฉพาะหญ้าแห้วหมู ซึ่งเป็นวัชพืชพื้นถิ่นที่พบได้ทั่วไป ขึ้นง่าย ตายยาก แพร่พันธุ์เร็ว การแก้ไข-ดูแล: หลังจากการปรับดินในช่วงก่อนปูหญ้า ควรกำจัดอย่างถอนรากถอนโคน อย่างการถอนและขุด ใช้น้ำร้อนราด หรือไถพรวนดินแล้วตากแดด เพราะการใช้กรรไกรตัดหรือใช้ยาฆ่าหญ้าจะไม่ได้ผลในระยะยาว เนื่องจากจะตายแค่ใบหญ้า แต่ต้นไม่ตาย นอกจากนี้การดูแลให้หญ้าขึ้นเขียวแน่นอยู่เสมอจะเป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแทรกได้อีกทางหนึ่ง 2.ไม่ได้รับแสงแดดเต็มที่ อาการ: มักเกิดจากการปลูกหญ้าในที่ร่ม หรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ซึ่งนอกจากหญ้าจะไม่ไดรับแสงแล้ว หญ้าก็จะถูกแย่งอาหารจากต้นไม้ ทำให้สนามหญ้าบริเวณนั้นไม่ขึ้นแน่นสวยงาม การแก้ไข-ดูแล: บริเวณพื้นที่ร่มหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ อาจเลือกปลูกเป็นพืชคลุมดิน-พืชทนร่ม หรือโรยกรวดแทน เนื่องจากบริเวณโคนต้นไม้มักชื้นแฉะและมีดินอัดแน่น 3.ดินทรายกลบผิวหน้า อาการ: หญ้าจะเหลืองและหยุดการเติบโต การแก้ไข-ดูแล: ให้เกลี่ยทรายออก ถ้ามีส่วนประกอบของสิ่งทับถมมาก อาจเปลี่ยนดินบริเวณนั้นใหม่ 4.ฉี่สุนัข อาการ: หญ้าจะเปลี่ยนสีเป็นหย่อม […]
รู้ก่อนเปลี่ยนกระถาง ไม่ให้พลาดทำร้ายต้นไม้
การย้ายกระถางปลูกเปรียบเสมือนการย้ายบ้านให้กับต้นไม้ เพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอในการแผ่กิ่งก้านสาขา และมีอาหารเพียงพอในการเจริญเติบโต แต่ถ้าหากว่าเราเปลี่ยนผิดวิธีหรือผิดจังหวะก็อาจจะเป็นการทำร้าย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นไม้แทนได้ บ้านและสวน จึงมี 5 ข้อควรระวังในการเปลี่ยนกระถาง มาฝากกันค่ะ 1.ไม่ควรเปลี่ยนกระถางทันทีที่ซื้อมา เนื่องจากปริมาณแสงแดดและความชื้นในบ้านมักจะน้อยกว่าที่สวน ทำให้ต้นไม้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว ในช่วงแรกจึงอาจวางต้นไม้กระถางสีดำลงไปในกระถางใหม่แทนก่อน เพื่อให้ต้นไม้ปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และเมื่อเริ่มแตกใบ มีรากทะลุออกมาจากกระถางแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนกระถาง มิเช่นนั้นต้นไม้อาจจะเกิดอาการลำต้นและใบเริ่มเฉา เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือน้ำตาล และใบร่วงมากผิดปกติหรือทิ้งใบแทนได้ 2.ไม่ควรรอให้รากแน่นหรือเห็นรากขาวออกมาเยอะเกิน หากมีรากงอกออกมาที่ก้นกระถางจำนวนมาก แสดงว่ารากด้านในกระถางนั้นมีความกระจุกตัว และรากได้รับอากาศไม่เพียงพอ จึงอาจทำให้ต้นไม้ป่วยและมีอาการรากเน่าได้ จึงต้องรีบเปลี่ยนกระถาง โดยใช้ส้อมปลูกอันเล็กๆ แซะดินรอบๆ ขอบกระถางออกบ้าง เพื่อให้รากมีพื้นที่เพียงพอในการเติบโต นอกจากนี้ ก่อนทำการย้ายกระถาง ควรใช้กรรไกรตัดกิ่ง ตัดแต่งทรงต้นและรากให้สวยงาม โดยดูความสมดุลของรากที่เหลืออยู่ 3.ไม่ควรเปลี่ยนขนาดกระถางให้ใหญ่จนเกินไป การย้ายต้นไม้ไปปลูกในกระถางที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมมากๆ เช่น 4 cm เป็น 24 cm เพื่อให้ต้นไม้โตเร็วหรือลดความถี่ในการเปลี่ยนกระถาง อาจทำให้เวลาที่รดน้ำจนชุ่ม ระบบรากจะไม่สามารถดูดซึมน้ำที่มีอยู่ในดินได้ทั้งหมด รากจึงเหมือนแช่อยู่ในน้ำตลอดเวลาและมีโอกาสรากเน่าได้สูงมาก ดังนั้น ควรเลือกกระถางให้เหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่เกินขนาดของต้นไม้จนเกินไป 4.ไม่ควรใช้กระถางที่ทึบตัน การเลือกกระถางนอกจากจะเลือกที่สวยงามถูกใจแล้ว ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับต้นไม้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกระถางควรมีรูระบายน้ำ […]
การเลือกใช้ต้นไม้ให้เหมาะกับภูมิอากาศและสวนแต่ละสไตล์
ต้นไม้มีบทบาทสำคัญสำหรับสวนหรืออาจเรียกว่าเป็นพระเอกของสวนเลยก็ว่าได้ ซึ่งสวนในแต่ละประเทศก็มักจะมีการเลียนแบบธรรมชาติและเลือกใช้พรรณไม้ท้องถิ่นมาจัดวาง ทำให้เกิดเป็นสไตล์หรือเอกลักษณ์ของสวนที่ชัดเจน แต่หากว่าจะนำสวนแต่ละสไตล์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับภูมิประเทศและภูมิอากาศแบบบ้านเรา Garden Expert ฉบับนี้ ก็มีแนวทางในการเลือกใช้พรรณไม้ที่มีรูปทรงสวยงามหาได้ในเมืองไทยและตัวอย่างพรรณไม้สำหรับการประยุกต์ใช้ให้ได้บรรยากาศแบบสวนทั้ง 4 สไตล์มาฝากกัน สวนทรอปิคัล (Tropical) การจัดสวนแบบทรอปิคัล (Tropical) จะให้ความรู้สึกแบบธรรมชาติในแถบเขตร้อนชื้น ส่วนใหญ่นิยมใช้สีเอิร์ธโทน และเต็มไปด้วยพืชพรรณสีเขียวนานาชนิด อาจแทรกสีสันด้วยไม้ใบสีอื่นหรือใบด่างบ้าง เพื่อเติมความมีชีวิตชีวาให้สวน นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มกลิ่นหอมเย็นชื่นใจของพรรณไม้บางชนิด โดยการจัดวางไว้บริเวณที่ใกล้กับมุมนั่งเล่นก็จะช่วยให้บรรยากาศโดยรวมดูน่าสนใจและน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้นไม้ทุกชนิดที่เป็นต้นไม้พื้นถิ่นของประเทศไทยสามารถจัดสวนสไตล์นี้ได้อย่างแน่นอน การดูแลสวนโดยทั่วไปจะปล่อยให้ต้นไม้เติบโตอย่างอิสระ ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่บ้างเล็กน้อย เพื่อเปิดช่องแสงให้ต้นไม้ด้านล่างได้รับแสงอย่างทั่วถึง และควรให้น้ำทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศร้อน เพื่อเพิ่มความชื้นและช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี• ไม้ยืนต้น: กระโดน ลั่นทม พิกุล หมากเขียว จิกน้ำ จิกสวน เสม็ดแดง พะยอม ชงโค อโศกน้ำ ชุมแสง มั่งมี• ไม้พุ่ม: เฟิน โมก บอนกระดาด ขิงแดง เอื้องหมายนา เสน่ห์จันทน์แดง บีโกเนีย ฤๅษีผสม ดาหลา หน้าวัวใบ• ไม้คลุมดิน: สะระแหน่ประดับ โคลงเคลงเลื้อย […]
ทำแบบนี้แล้ว บ้านประหยัดพลังงาน จริงไหม?
มาดู 8 เรื่องที่เราเข้าใจว่าทำให้ บ้านประหยัดพลังงาน มากขึ้น แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทั้งหมด มาไขข้อสงสัยว่าทำแบบนี้แล้วประหยัดพลังงานขึ้นจริงหรือไม่ 1.ติดฉนวนป้องกันความร้อนเข้าบ้านแล้ว ภายในบ้านจะไม่ร้อน ความเข้าใจ : ถ้าติดฉนวนกันความร้อนและใช้วัสดุกันความร้อนที่หลังคาและผนังทั้งบ้านแล้ว ในบ้านจะต้องเย็นสิ ข้อเท็จจริง : แน่นอนว่าการติดฉนวนกันความร้อนทั้งที่ผนังและหลังคาเป็นการช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างดี เพราะวัสดุฉนวนจะลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน ทั้งยังช่วยกักเก็บความเย็นภายในบ้านได้ดี ซึ่งปกตินิยมมาติดบริเวณผนังและหลังคาบ้าน แต่บ่อยครั้งพบว่าเมื่อกลับเข้าบ้านช่วงเย็น บ้านก็ยังร้อนอยู่ เนื่องจากฉนวนจะป้องกันความร้อนได้อย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อภายในห้องนั้นเป็นพื้นที่ปิดทั้งหมด แต่ในบ้านปกติจะมีหน้าต่าง ช่องแสง และส่วนประกอบอาคารที่มีความเป็นฉนวนน้อย และตัวฉนวนเองก็กันความร้อนไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ยังเป็นจุดที่นำพาความร้อนของแสงแดดเข้ามาได้ และกลายเป็นความร้อนสะสมอยู่ภายในบ้านตลอดทั้งวัน ทั้งยังระบายความร้อนออกไปได้ยากเนื่องจากมีฉนวนกั้นอยู่ จนเกิดเป็นปรากฏการณ์กระติกน้ำร้อน (Thermal Flask Effect) อีกทั้งในช่วงเวลากลางวันเมื่อไม่มีคนอยู่ก็จะปิดหน้าต่างทุกบาน ส่งผลให้ความร้อนอบอ้าวสะสมอยู่ภายใน คล้ายกับการเกิดสภาวะเรือนกระจก บ้านประหยัดพลังงาน วิธีประหยัดพลังงานที่ดี : ควรใช้ฉนวนกันความร้อน ร่วมกับการระบายความร้อนสะสมในบ้านซึ่งทำได้หลายวิธี คือ ระบายความร้อนสะสมออก ด้วยการแง้มหน้าต่างเพื่อให้อากาศร้อนระบายออกได้เอง การติดระบบระบายอากาศเพื่อดูดอากาศร้อนออก ลดความร้อนที่เข้ามาทางช่องเปิด ด้วยการติดฟิล์มกันความร้อน ติดม่านกันความร้อน หรือบังแดดให้ช่องเปิดด้วยการทำกันสาดหรือปลูกต้นไม้ 2.ใช้กระจกกันความร้อนแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำแผงบังแดด ความเข้าใจ : ลงทุนใช้กระจกฉนวน ไม่ต้องทำชายคาบังแดดหรือแผงบังแดด […]
รวม แบบครัวไทย สวยเรียบๆ แต่ทำกับข้าวอร่อยมาก
ครัวไทย มักดีไซน์ให้พร้อมใช้งานหนัก มาดูไอเดียแบบครัวไทยสวยๆ มีฟังก์ชันใช้งานดี เปี่ยมด้วยเสน่ห์แบบไทยๆ ที่ทำกับข้าวได้อร่อยที่สุดกัน
5 Tips จัดมุมทำงานในสวน ให้เป็นสัดส่วนและใช้งานง่าย
การทำงานท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ ช่วยสร้างสุนทรียภาพและแรงบันดาลใจได้ไม่น้อย อีกทั้ง จัดมุมทำงานในสวน ยังทำให้เราได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้ากับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ซึ่ง การ จัดมุมทำงานในสวน ให้เป็นสัดส่วน ก็จะทำให้พื้นที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย น่าใช้งาน และหยิบจับสิ่งของได้ง่ายยิ่งขึ้น แถมหากจัดมุมทำงานในสวนให้ดีก็สามารถใช้เป็นมุมโชว์ในสวนได้อีกด้วย 1. เลือกมุมให้เหมาะ การเลือกมุมใดในสวนเป็นมุมทำงาน นอกจากจะดูจากความสะดวกของตัวเราเป็นหลักแล้ว ควรคำนึงถึง การเข้าถึงที่สามารถเดินต่อเนื่องกับสวนหรือมีทางเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายในบ้าน เพื่อให้สามารถเข้าไปใช้งานง่ายและสะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการใช้รถเข็น และไม่ควรอยู่ในจุดอับที่ทางเดินแคบเกินไป ควรเป็นมุมที่มีร่มเงา เพื่อให้ไม่ร้อนเกินไปเมื่อเข้าไปใช้งาน ลองสังเกตตัวเองว่าชอบทำงานในสวนช่วงไหน หากชอบเข้าสวนตั้งแต่เช้าตรู่ก็ควรเลือกมุมที่ร่มตอนเช้า แต่หากชอบเข้าสวนช่วงบ่าย มุมนั้นก็ควรได้รับเงาจากตัวบ้านหรือต้นไม้ช่วงบ่าย เป็นต้น ควรอยู่ใกล้ระบบน้ำและไฟ เพื่อให้สามารถต่อเข้ามาใช้ในสวนได้สะดวก เนื่องจากมุมทำงานมักเป็นพื้นที่นอกบ้านซึ่งไม่ได้มีการเตรียมระบบน้ำและไฟไว้ตั้งแต่แรก การคำนึงถึงเรื่องนี้จะทำให้คุณทำงานง่ายมากยิ่งขึ้น ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้มีการสะสมความชื้นและเชื้อโรค อันจะเป็นปัญหาต่อต้นไม้หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในมุมนั้นได้ 2. พื้นที่ทำงานและบริเวณโดยรอบ บริเวณที่จัดเป็นมุมทำงานในสวนควรเป็นพื้นดาดแข็งและมีระดับพื้นลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อการระบายน้ำ เช่น พื้นที่ว่างหลังบ้านที่เทพื้นคอนกรีต หรือพื้นที่ที่วางแผ่นทางเดินเป็นลาน เพื่อให้ทำความสะอาดง่ายและไม่เฉอะแฉะหากฝนตกหรือมีการล้างอุปกรณ์ นอกจากนี้ หากมีหลังคาหรือกันสาดคลุม เพื่อป้องกันฝนจะดีมาก เพราะมุมนี้มักเป็นจุดที่เราใช้เก็บวัสดุและอุปกรณ์ด้วยในตัว 3. โต๊ะทำงาน โต๊ะทำงานควรมีความกว้างที่อยู่ในระยะมือเอื้อมถึงส่วนในสุดได้ โดยส่วนใหญ่มักมีความกว้างประมาณ 55 – 65 เซนติเมตร […]
ส่องราคาวัสดุตกแต่งผนัง สำหรับงานสวนและงานภายนอก 2566
วัสดุตกแต่งผนังแต่ละแบบล้วนมีคุณสมบัติที่แตกต่าง ทั้งในเรื่องของความสวยงาม ความคงทนและการดูแลรักษา เรทราคาของของวัสดุตกแต่งจึงมีส่วนช่วย
ไอเดียแบบบ้านพึ่งตน สร้างแหล่งอาหาร สร้างความมั่นคง
เมื่อทุกคนควรมีบ้านเป็นพื้นฐานของชีวิต บ้านและสวน จึงชวน Earnchom Barn มาร่วมออกแบบและแบ่งปันไอเดีย แบบบ้าน ให้ดาวน์โหลดฟรี เพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการมีบ้าน และได้ต้นแบบบ้านที่ดีแม้มีพื้นที่จำกัด บ้านเปรียบเป็นหน่วยเล็กๆของระบบนิเวศ เป็นจิ๊กซอว์หนึ่งที่หากรวมกันจะก่อเกิดเป็นชุมชน สังคมระดับมหภาคที่ร่วมกันดูแลทั้งระบบนิเวศได้ คุณอุราวัลย์ รุกขไชยศิริกุล แห่งโรงนาเอินโฉมเกษตรอินทรีย์ หรือ Earnchom Barn จึงออกแบบบ้านหลังนี้ ให้อยู่ดีและเกื้อหนุนให้ผู้อาศัยพึ่งตนเองได้ พร้อมนำเสนอการสร้างแหล่งอาหารและการทำเกษตรกรรมในที่ดิน เสริมสร้างความเข้มแข็งระดับครัวเรือนตามหลักทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง เพื่อสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ออกแบบบ้านด้วยแนวคิดจากภูมิปัญญาไทยที่เข้าใจหลักทางวิทยาศาสตร์และเกษตรกรรม ให้สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้เอง สร้างสุขภาวะดี และอยู่สบาย แบบบ้าน แนวคิดการออกแบบ ประโยชน์สูงสุด คนได้ประโยชน์สูงสุดทั้งคุณค่าแท้ด้านที่อยู่อาศัยและเรียนรู้การสร้างบ้านด้วยตนเองจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อเกิดองค์ความรู้ระหว่างกันของชุมชน มีการจัดการระบบฐานราก ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบการจัดการขยะในครัวเรือน ประหยัดสูงสุด งานออกแบบ Simple ง่าย ทำให้คนอื่นทำตามได้ ให้ความสำคัญกับวิธีการก่อสร้างที่ทุกคนสามารถทำได้เอง ไม่ยากจนเกินไป เลือกใช้วัสดุท้องถิ่น เช่น การใช้ดิน การใช้ไม้ที่สามารถปลูกทดแทนได้ การใช้พลังงานสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้ฟืนหุงต้ม ศิลปะงามตา ออกแบบผนังไม้ให้สวยงาม ทำผนังส่วนทึบที่ทำมาจากดินของท้องถิ่น ช่องเปิดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของบ้าน […]