ระบบไฟฟ้า
เลือกหลอดไฟ เติมใส่โคมเดิม
เมื่อต้องเปลี่ยนหลอดไฟดวงเดียวมาเติมในไฟกิ่ง อุตส่าห์ เลือกหลอดไฟ มาอย่างดี แต่แสงไฟดันไม่ตรงกับหลอดไฟดวงเก่าซะนี่ แล้วจะเลือกอย่างไรให้ได้อย่างใจ บ้านและสวนมีข้อแนะนำในการ เลือกหลอดไฟ โดยการดูจากฉลาก เพื่อให้ไฟดวงใหม่เติมเต็มโคมเก่าให้สวยเนียนดังเดิม
เช็กวิธีติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน (EV Charger)
ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่ากระแส รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle (EV)) กำลังเป็นที่สนใจของสังคมในวงกว้างอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ
วัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ
รวม 30 วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นเทรนด์การสร้างบ้านในอนาคต มีอะไรบ้างมาดูกัน โดยดูจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผ่านมาตรฐานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การรับรองฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อนขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของแต่ละผู้ผลิตสินค้า เช่น มาตรฐาน Jorakay Green Products ฉลาก SCG Green Choice เป็นต้น จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard ได้ เราจึงรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพมาฝากกัน วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุพื้น ผนัง หลังคา คอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาของ EKOBLOKลดความร้อน ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 50% นวัตกรรมคอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และหินเกล็ดเล็ก ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนผสมมากกว่า 50%โดยน้ำหนัก ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต มีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อย ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าในอาคาร น้ำหนักเบาเทียบเท่าคอนกรีตมวลเบา ประหยัดโครงสร้างรับน้ำหนัก และสะดวกในการขนส่ง วัสดุมีความหนาแน่นพอเหมาะกับการใช้งานในที่ชื้นได้ และรับน้ำหนักแขวนบนผนังได้ดี […]
ค่า Ft คืออะไร ทำไมเราต้องจ่าย
หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ค่า Ft คืออะไร เหตุใดจึงต้องมาบวกอยู่ในค่าไฟฟ้าของเรา วันนี้บ้านและสวนชวนคุณมาทำความรู้จักกับค่า Ft กัน อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft คืออะไร – Ft ย่อมาจาก Fuel Adjustment Charge (at the given time) ซึ่งเปลี่ยนมาจากความหมายเดิม คือ Float time หมายถึง การลอยค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ราคาเชื้อเพลิง อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 มีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยในการคำนวณสูตร Ft ให้คงเหลือเพียง ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำหนดราคาค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะประกอบไปด้วย ค่าไฟฟ้า = ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ภาษีมูลค่าเพิ่ม […]
15 ผลิตภัณฑ์โซลาร์เซลล์ เพื่อบ้านประหยัดพลังงาน
หลากหลายตัวเลือกระบบหลังคาประหยัดไฟ และนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อบ้านพักอาศัยยุคใหม่ของคุณ
10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์
อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านให้ผลิตไฟฟ้าได้ แต่ก็ยังไม่กล้าลงทุน กลัวทำให้บ้านหมดสวยดูเหมือนโรงงานไฟฟ้า ไม่รู้จะถามใคร หรือกำลังหาข้อมูลอยู่ คอลัมน์ Home Expert จึงชวนมาคุยกับ The expert ด้านระบบโซลาร์เซลล์ คุณเบนซ์ – สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Solar D เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ แน่นอนว่าเขาไม่ใช่แค่นักบริหาร แต่มีแบล็กกราวน์ด้านวิศวกรรมพ่วงด้วยเศรษฐศาสตร์ และเป็นคนคุ้นเคยที่มาร่วมงานบ้านและสวนแฟร์บ่อยๆ ครั้งนี้คุณเบนซ์จะมาให้ความรู้และตอบคำถามแบบไม่มีกั๊ก ใครสนใจเรื่องโซลาร์เซลล์ตามมาอ่าน 10 เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์กัน เรื่องต้องรู้ก่อนติดโซลาร์เซลล์ 01 ควรลงทุนกับระบบโซล่าเซลล์เท่าไร และคืนทุนนานไหม คำถามนี้คุณเบนซ์บอกว่าเป็นคำถามยอดฮิตและเป็นเรื่องที่ตอบโดยตรงยาก เพราะขึ้นอยู่กับการใช้งาน อย่างถ้าใช้ไฟกลางวันเยอะ ผลิตมาแล้วใช้หมดก็ถือว่าคุ้ม แต่ถ้าผลิตมาแล้วเหลือทิ้ง หรือขายคืนการไฟฟ้าฯ ก็จะได้มูลค่าแค่ครึ่งเดียว และขึ้นอยู่กับขนาดด้วยว่าใหญ่หรือเล็ก สมมุติบ้านที่ใช้ไฟฟ้าประมาณเดือนละ 3,000 บาท แนะนำให้ติดตั้งที่ 5 กิโลวัตต์ ก็ประมาณ 2-3 แสนบาท โดยไม่มี Storage หรือแบตเตอรี่เก็บไฟ ก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1,000-2,000 บาท แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันด้วย […]
ต่อสายไฟสายอ่อนกับสายแข็ง ด้วยเทคนิคการพับและพัน
การ ต่อสายไฟ ต่างประเภทกันมักจะหลุดง่าย คราวนี้เรามีวิธีการต่อสายไฟชนิดอ่อนและชนิดแข็งให้ใช้ได้นานมาฝากกัน การ ต่อสายไฟ สองประเภทเข้าด้วยกันมักเกิดปัญหาหลุดง่าย และอาจเกิดอันตราย เรามีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟชนิดสายอ่อน (สายฝอย) เข้ากับสายแข็ง แบบดึงไม่หลุดง่าย สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย 2 วิธีมาฝากกัน โดยสำหรับการ ต่อสายไฟ ให้ยาวตรงต่อเนื่องไป และการต่อให้สายไฟให้กลับมาทบกัน ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายกัน มาดูทั้ง 2 วิธีกันเลย ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายแข็งออกประมาณ 5 เซนติเมตร และปอกฉนวนที่หุ้มสายอ่อนให้ยาวกว่าสายแข็งเล็กน้อย (ยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตร) แล้วนำสายอ่อนมาพาดกับสายแข็ง โดยให้ชิดกับฉนวนให้มากที่สุด 2. จากนั้นพันสายอ่อนให้เป็นเกลียวรอบสายแข็ง ด้วยการพับสายทองแดงลงมาแล้วพันย้อนกลับขึ้นไป โดยให้สายทองแดงชิดมาทางด้านขวา 3. แล้วพันสายทองแดงวนรอบๆสายแข็งแบบแนบชิดติดกันอย่างต่อเนื่องจนสุดสาย จากนั้นใช้คีมจับพับสายแข็งส่วนปลายเข้ามาด้านใน แล้วบีบให้แน่น เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย ต่อสายไฟ วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายแข็งออกประมาณ 4 เซนติเมตร […]
2 เทคนิคการต่อสายไฟ (สายอ่อน) แบบผูกเงื่อน
สิ่งสำคัญในการ ต่อสายไฟ คือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อไม่ให้สายไฟหลุดง่าย มีเคล็ดไม่ลับการต่อสายไฟสายอ่อนหรือสายฝอยแบบดึงไม่หลุด สามารถใช้งานได้นานและปลอดภัย ที่ใครๆ ก็ทำเองได้ มาฝากกัน ต่อสายไฟ วิธีที่ 1 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นบิดหรือหมุนสายทองแดงให้เป็นเกลียว 2. ใช้มือดัดหรืองอสายไฟให้เป็นเหมือนห่วงหรือรูปเกือกม้า โดยให้เอียงหรือทำมุมประมาณ 45 องศา ทั้งสองเส้น จากนั้นนำสายไฟมาคล้องเข้าด้วยกัน 3. ให้ปลายสายไฟรอดผ่านห่วงของแต่ละเส้น (คล้ายๆกับการผูกเงื่อนพิรอด) แล้วใช้มือดึงปลายสายไฟเข้าหากัน 4. จากนั้นออกแรงดึงสายไฟทั้งสองข้างแบบสุดกำลัง แล้วพันเก็บสายส่วนเกินให้เรียบร้อยอีกครั้ง เราก็จะได้สายไฟที่ต่อเสร็จแล้ว อย่างแน่นหนาและไม่หลุดง่าย วิธีที่ 2 1. ใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 3 เซนติเมตร จากนั้นนำสายไฟ (สีเทา) มาพาดกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งคล้ายกับเครื่องหมายคูณ (X) ในลักษณะขวาทับซ้าย โดยให้มีพื้นที่ว่างเหลือเล็กน้อยประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วพันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ส่วนสายไฟอีกเส้นหนึ่งให้พันในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา 2. จากนั้นให้พันสายทองแดงเอียงหรือชิดมาทางด้านขวา แล้วพันไปเรื่อยๆจนสุดสาย จากนั้นก็ให้พันสายทองแดงย้อนกลับมาอีกด้านหนึ่งเช่นเดียวกัน […]
3 วิธีพื้นฐานการพันเทปพันสายไฟ
เมื่อต่อสายไฟ จำเป็นต้องหุ้มจุดต่อสายด้วยฉนวน ซึ่งนิยมใช้ เทปพันสายไฟ โดยควรเลือกใช้ เทปพันสายไฟ ที่ได้มาตรฐาน เนื้อเทปมีความเหนียว เมื่อพันสายไฟแล้วแนบกับสายได้ดี ที่สำคัญคือ วิธีการพันเทปพันสายไฟให้ถูกวิธีและไม่หลุดง่าย เพื่อช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เทปพันสายไฟ 1.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบหางเปีย เริ่มต้นด้วยการใช้คีมพับเก็บปลายสายที่ตีเกลียวแล้ว จากนั้นพันเทปจากตำแหน่งปลอกสายเส้นใดเส้นหนึ่ง โดยห่างจากตำแหน่งปลอกสายประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร แล้วพันขึ้นไปให้สุดเส้นลวดทองแดงที่ตีเกลียว จากนั้นพันย้อนกลับมายังที่เดิม โดยพันไปกลับแบบเดิม 2-3 รอบ (เน้นพันเทปบริเวณจุดจบปลายสาย เพื่อเสริมความแข็งแรงและป้องกันไฟรั่ว) และรอบสุดท้ายให้พันรวบสายไฟทั้งสองเส้นที่มีฉนวนหุ้มแล้วเข้าด้วยกัน ตัดเทปออกเมื่อพันเสร็จ วิธีนี้จะช่วยป้องกันเทปพันสายไฟหลวมหรือคลายตัวได้ดีกว่าการเริ่มพันเทปบนสายไฟที่รวบเข้าด้วยกันตั้งแต่แรก 2.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบรับแรงดึง พันเทปจากตำแหน่งปลอกสายเส้นใดเส้นหนึ่ง โดยห่างจากตัวนำประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร จากนั้นพันรอบรอยต่อสายไปเรื่อยๆ และให้เทปทับเลยขึ้นไปบนส่วนฉนวนสายไฟอีกด้านหนึ่ง แล้วพันเทปไปและกลับรอบตัวนำสายไฟแบบนี้อีก 2-3 รอบ เพื่อให้มีความหนาเพียงพอต่อการป้องกันทางไฟฟ้า และป้องกันตัวเทปพันสายไฟฉีกขาดหรือชำรุดภายหลัง 3.การพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อของสายพีวีซีคู่ เริ่มต้นเหมือนกับการพันเทปพันสายไฟรอบรอยต่อแบบรับแรงดึง โดยพันเทปเลยขึ้นไปบนส่วนฉนวนสายไฟอีกด้านเพียงเล็กน้อย จากนั้นพันเทปไปและกลับรอบตัวนำสายไฟอีก 2-3 รอบ แล้วทำซ้ำแบบเดิมกับสายไฟอีกเส้นหนึ่งเช่นเดียวกัน เมื่อพันเทปรอบตัวนำสายไฟทั้งสองเส้นเสร็จแล้ว ให้พันรวบสายไฟทั้งสองเส้นที่มีฉนวนหุ้มแล้วเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ระหว่างใช้เทปพันสายไฟ เราต้องออกแรงดึงเทปให้ยืดตัวเล็กน้อย และพันให้เทปแนบสนิท (เทปไม่ยับ) จะทำให้เทปพันสายไฟยึดติดแน่นกับสายไฟได้ดีและไม่หลวม […]
4 วิธีพื้นฐานในการต่อสายไฟ
วิธีการ ต่อสายไฟ นั้นมีอยู่หลายแบบ ที่สำคัญคือต้องแน่นและแข็งแรง เพื่อให้สายไม่หลุดง่าย ไปดู 4 วิธีที่เราแนะนำกัน ก่อนต่อสายไฟเพื่อเพิ่มความยาวของสายหรือต่อแยกสาย เราจะต้องปอกฉนวนที่หุ้มสายออก โดยให้เส้นทองแดงโผล่ออกมายาวประมาณ 2-3 นิ้ว แล้วใช้คีมดึงหรือบิดเป็นเกลียว เพื่อให้จุดต่อมีการสัมผัสกันอย่างแน่นหนา ต่อไปนี้เป็นวิธีการต่อสายไฟ 4 วิธีที่แน่นและแข็งแรง ไปดูวิธีทำแต่ละแบบกันเลย 1. การต่อสายแบบหางเปียหรือหางหมู เป็นการต่อสายแบบไม่รับแรงดึง เหมาะสำหรับการต่อสายไฟที่มีขนาดเท่ากัน เช่น ต่อภายในกล่องต่อสาย เริ่มต้นด้วยการใช้คัทเตอร์หรือคีมปอกสายไฟ ปอกฉนวนที่หุ้มสายออกข้างละประมาณ 2 นิ้ว ใช้คีมจับสายไฟทั้งสองเส้นไว้ แล้วใช้คีมปากจิ้งจกหรือคีมปากจระเข้มาบิดเป็นเกลียวให้แน่น จากนั้นใช้คีมมาตัดเส้นทองแดงส่วนปลายออกหรือใช้คีมพับหรืองอปลายสายก็ได้ แล้วบีบให้แน่น โดยให้เหลือความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ก่อนพันด้วยเทปพันสายไฟหรือสวมด้วยไวร์นัท (Wire Nut) 2. การต่อสายแบบรับแรงดึง ปลอกสายที่หุ้มฉนวนออกเส้นละประมาณ 3 นิ้ว แล้วนำมาพาดกันเป็นเครื่องหมายกากบาท หรือเครื่องหมายคูณ (X) ใช้คีมจับสายไฟทั้งสองเส้นไว้ในแน่น แล้วใช้คีมปากจระเข้หรือคีมปากผสมบีบแล้วหมุนให้เป็นเกลียว โดยให้สายไฟทั้งสองเส้นพันรอบตัวซึ่งกันและกัน 3. การต่อสายแบบแยก (หลายจุด) ใช้สำหรับกรณีที่ต้องการต่อสายไฟฟ้าไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำได้โดยไม่ต้องตัดสายเส้นหลัก […]
เทคนิคการต่อปลั๊กไฟตัวผู้ แบบดึงไม่หลุด
ปลั๊กไฟตัวผู้ หรือเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด สายไฟหลุดออกจากตัวปลั๊กไฟ ช่างประจำบ้าน มีเคล็ดไม่ลับการต่อปลั๊กไฟไม่ให้สายไฟหลุดง่าย ใช้งานได้นานๆ และปลอดภัยมาฝากกัน ง่ายมากๆแค่ดูคลิปไม่ถึงนาที ก็ทำได้เลย คลิป วิธีต่อปลั๊กไฟ เครื่องมือและอุปกรณ์ ปลั๊กไฟตัวผู้ ไขควง หรือไขควงวัดไฟ คัทเตอร์ คีมตัดหรือคีมปลอกสายไฟ ขั้นตอนการทำงาน 1.ใช้คีมหรือคัทเตอร์ตัดหัวปลั๊กไฟตัวผู้ที่ชำรุดทิ้งไป จากนั้นใช้ไขควงคลายสกรูปลั๊กไฟตัวผู้ที่ต้องการเปลี่ยนใหม่ออกมา แต่ถ้าปลั๊กไฟตัวผู้เป็นชนิดหุ้มยางทนความร้อน ให้ใช้มือค่อยๆดันหัวปลั๊กไฟออกมา เราก็จะเห็นขาเสียบเช่นเดียวกัน 2.นำสายไฟเส้นเดิมมาปลอกฉนวนหุ้มสายด้วยคัทเตอร์หรือใช้คีมปลอกสายไฟยาวประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นปลอกสายไฟบริเวณปลายสายอีกประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วแยกสายไฟสองเส้นออกจากกัน 3.ใช้มือข้างหนึ่งจับสายไฟเส้นหนึ่งไว้ แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งม้วนสายไฟลงมาเป็นห่วงหรือบ่วง จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมากับสายไฟอีกเส้น เราก็จะได้สายไฟสองวงที่มีหน้าตาคล้ายกับการผูกโบ 4.นำสายไฟ (เส้นสีน้ำตาล) สอดเข้าไปด้านในช่องว่างของสายไฟอีกเส้นหนึ่ง (เส้นสีฟ้า) จากนั้นนำสายไฟเส้นสีฟ้า สอดเข้าไปด้านในช่องว่างของสายไฟเส้นสีน้ำตาล แล้วใช้มือค่อยๆดึงสายไฟทั้งสองเส้นที่สอดเข้าไปในห่วงให้พอตึงมือ 5.ใช้มือบิดหรือหมุนสายทองแดงที่ปลอกไว้แล้วให้เป็นเกลียว หรือรวมเป็นเส้นเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการพันสายไฟเข้ากับหัวสกรู 6.ใช้ไขควงคลายสกรูที่ยึดขาปลั๊กตัวผู้ให้หลวม จากนั้นนำสายทองแดงไปพันเข้ากับหัวสกรูในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เพื่อความแน่นหนา 7.ใช้ไขควงขันสกรูยึดขาปลั๊กตัวผู้ให้แน่น 8.เช็กจุดต่อต่างๆให้เรียบร้อยอีกครั้ง แล้วประกอบกลับเข้าที่ตามเดิม จากนั้นทดลองดึง กระชาก เพื่อทดสอบความแข็งแรงของสายไฟที่ต่อใหม่ ก่อนนำไปใช้งาน 9.ผลงานการต่อปลั๊กไฟตัวผู้ […]
ถ่านไฟฉาย หน้าตาคล้ายๆ แต่ใช้ไม่เหมือนกัน
แบตเตอรี่พกพา ถ่านไฟฉาย ถ่าน Dry Cell ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไร เจ้าอุปกรณ์เก็บประจุไฟฟ้าเล็กๆเหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดในปัจจุบัน ซึ่งถ่านไฟฉายเองก็มีหลากหลายขนาดและชนิดของสารประกอบที่นำมาใช้ในการผลิต ซึ่งบ้านและสวนก็ขอนำมาเสนอในแบบที่มักจะพบกันได้ทั่วไปเป็นขนาดและชนิดที่นิยมใช้กัน ถ่านไฟฉายคืออะไร? ถ่านไฟฉาย เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ไม่ใช้สารละลายที่เป็นของเหลว จึงเรียกว่า เซลล์แห้ง (Dry cell) ผู้ที่สร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดนี้คือ เลอ คังเช George Leclanché ผู้ที่สร้างถ่านไฟฉาย ดังนั้น จึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เซลล์เลอคังเช โดยทั่วไปนั้นสำหรับถ่านไฟฉายทั่วไปที่เรียกว่า เซลล์แบบ Zinc Chloride ประกอบด้วยแท่งแกรไฟต์อยู่ตรงกลางเป็นขั้วแคโทดมีอิเล็กโทรไลต์เป็นส่วนผสมของแมงกานีส (IV) ออกไซด์ (MnO2) แอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) ซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) แป้งเปียก ผงคาร์บอน และน้ำคลุกเคล้าอยู่ด้วยกันในลักษณะเป็นอิเล็กโทรไลต์ชื้น สารทั้งหมดบรรจุอยู่ในกล่องสังกะสีอาจหุ้มด้วยกระดาษ แผ่นพลาสติกหรือโลหะสแตนเลส เพื่อป้องกันไม่ให้สารภายในรั่วออกมา ด้านบนของแท่งแกรไฟต์ครอบด้วยโลหะสังกะสีอีกชิ้นหนึ่ง ส่วนด้านล่างมีแผ่นสังกะสีทำหน้าที่เป็นขั้วแอโนด และเมื่อครบขั้นจึงเกิดเป็นพลังงานวิ่งผ่านเซลล์และนำไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง ถ่านไฟฉายแบบใช้แล้วทิ้งมีสารประกอบที่เป็นพิษบรรจุอยู่จึงไม่ควรแกะออก ปัจจุบันได้มีความตระหนักถึงปัญหาขยะมีพิษที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก เราจึงควรทิ้งถ่านไฟฉายให้ถูกที่เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมไปได้ในตัว แบ่งตามขนาด ขนาด LR44 เป็นถ่านกระดุม ให้กำลังไฟ 1.5 V มีส่วนประกอบเป็น Alkaline สามารถใช้ถ่าน SR44 ทดแทนได้ มักใช้ในกล้องถ่ายภาพและเครื่องคิดเลข ขนาด CR2032 […]
5 ขั้นตอนตรวจระบบไฟฟ้าด้วยตัวเอง
ระบบไฟฟ้าในบ้าน ควรหมั่นตรวจสอบให้มีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของเรา มาดูวิธีตรวจสอบระบบไฟฟ้าเบื้องต้นด้วยตัวเองกัน 1. เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน เริ่มตรวจโดยปิดสวิตช์ไฟทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ออกให้หมด จากนั้นไปดูมิเตอร์ที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบหรือ Test (ควรกดปุ่มทดสอบนี้เป็นประจำทุก 1 – 3 เดือน) ถ้ายังใช้ได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันทีเพื่อตัดกระแสไฟฟ้า และรวมถึงเซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ 2. ตรวจสอบเมนสวิตช์ ดูว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือไม่ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ลูกย่อยยังสามารถใช้ปลดวงจร ระบบไฟฟ้าในบ้าน ได้หรือไม่ ป้องกันไฟรั่วและไฟดูดได้ดีอยู่หรือไม่ หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายควรหามาเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย 3. ตรวจสอบสายไฟฟ้าว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดานอาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกหนูกัดแทะฉนวนจนสายขาดได้ (ในกรณีที่ไม่ได้หุ้มสายไว้ด้วยท่อร้อยสายไฟ) ถ้าพบก็ต้องเปลี่ยนใหม่โดยด่วน 4. ตรวจสอบเต้ารับไฟฟ้า ดูว่าหลวม มีรอยแตกร้าว หรือรอยไหม้บ้างหรือไม่ ถ้าเต้ารับหลวมก็ขันสกรูให้แน่นดังเดิม แต่ถ้าแตกร้าวหรือพบรอยไหม้ก็ควรเปลี่ยนใหม่ และควรทดสอบเต้ารับทุกจุดว่ามีไฟหรือไม่ โดยใช้ไขควงวัดไฟทดสอบ 5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มักมีการจับต้องขณะใช้งาน เช่น เครื่องซักผ้า โดยตรวจว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไม่ ด้วยการใช้ไขควงวัดไฟแตะที่ตัวเครื่องส่วนที่เป็นโลหะ […]
เดินสายไฟร้อยท่อเหล็กสไตล์ลอฟต์
เดินสายไฟร้อยท่อเหล็ก โชว์แนวเท่ๆ ในสไตล์ลอฟต์ ทำอย่างไรให้สวย ทำแล้วปลอดภัยหรือไม่ ไปดู 10 ข้อควรรู้ในการเดินท่อเหล็กร้อยสายไฟกัน 1. การเดินสายไฟในบ้านมีกี่แบบ การ เดินสายไฟ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การเดินสายไฟลอย ซึ่งเราสามารถจัดการเองได้ด้วยการใช้ค้อนและเข็มขัดรัดสายไฟ หรือคลิปรัดสายไฟต่างๆที่มีจําหน่ายทั่วไป และการเดินสายไฟร้อยผ่านท่อต่างๆ เช่น เดินสายไฟร้อยท่อเหล็ก ท่อพีวีซี หรือเดินสายในรางเหล็กหรือพลาสติก ซึ่งจะซ่อนความไม่สวยงามของสายไฟได้ดีกว่า 2. รู้จักท่อร้อยสายไฟ (โลหะ) ท่อร้อยสายไฟมีทั้งที่ผลิตจากพลาสติกและที่ทำด้วยโลหะ แต่ในที่นี้ขอกล่าวถึงท่อร้อยสายไฟที่ทำจากโลหะเท่านั้น โดยสามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท คือ ท่อโลหะบาง (Electrical Metallic Tubing) หรือท่อ EMT ปลายท่อทั้งสองข้างเรียบ มีขนาด 1/2 – 2 นิ้ว ใช้เดินลอยภายในอาคาร หรือฝังในผนังได้ แต่ห้ามร้อยสายฝังดินหรือฝังในพื้นคอนกรีต ท่อโลหะหนา (Intermediate Metal Conduit) หรือท่อ IMC ปลายท่อทั้งสองข้างมีเกลียว […]
ปกป้อง อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ (แสนรัก) ให้ปลอดภัยจากฟ้าผ่า
อุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีราคาค่อนข้างสูงแต่มีความอ่อนไหวในเรื่องของระบบไฟฟ้ามากด้วยเช่นกัน
งานรื้อถอน และราคาประเมินกลางที่ควรรู้สำหรับเจ้าของบ้าน
งานรื้อถอน เป็นอีกงานที่มองข้ามไม่ได้ในงานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะสร้างบ้าน หรือก่อสร้างอาคารใด ๆ โดยเฉพาะงานรีโนเวตที่จะต้องเข้าไปจัดการกับสภาพเดิมของพื้นที่ งานรื้อถอน จึงเป็นขั้นตอนเริ่มเเรก ก่อนจะลงมือทำการก่อสร้างตามแบบต่อไป แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่า งานรื้อถอน มีราคาค่าจ้างอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ บ้านและสวนจึงไม่รอช้ามาเฉลยคำตอบให้คุณแล้ว เช่นเดียวกับงานก่อสร้าง งานรื้อถอน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามแต่ละส่วนประกอบของบ้าน โดยราคานี้เราหามาจาก หนังสือบัญชีราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานปี 2567 (อ้างอิงตามบัญชีค่าแรงงาน กรมบัญชีกลาง) โดยกลุ่มออกแบบและก่อสร้าง สำนักอำนวยการ สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ในความเป็นจริงอาจจะแพงกว่าราคานี้อยู่ที่ 10-40% ขึ้นอยู่กับความยากง่าย ทำเลที่ตั้ง และการตกลงเรื่องการขนทิ้งกองเศษวัสดุอย่างไร ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้รื้อถอนจะรวมกองเศษวัสดุไปขายต่อเอง หากเจ้าของต้องการจัดการกับเศษวัสดุเอง ก็ต้องตกลงกันเป็นกรณีพิเศษไป *อย่างไรก็ตาม ขอให้ใช้ข้อมูลนี้เพื่อเป็นตัวตั้งต้นในการประเมินงบประมาณ ทางที่ดีคือต้องสอบถามราคาและเปรียบเทียบจากช่างรับเหมารื้อถอนโดยตรง งานรื้อถอนโครงสร้าง งานรื้อถอนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก : 200-250 บาท/ลูกบาศก์เมตร งานรื้อถอนโครงสร้างไม้ : 150-250 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนหลังคา งานรื้อถอนโครงหลังคา : 25-30 บาท/ตารางเมตร งานรื้อถอนวัสดุมุงหลังคา : 5-8 บาท/ตารางเมตร […]
แผงโซลาร์เซลล์ มีกี่แบบ ควรเลือกอย่างไร?
แผงโซลาร์เซลล์ ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีคำถามอีกมากมาย อาทิ แผง อะไรดีกว่ากัน อายุการใช้งานกี่ปี บ้านและสวนเตรียมคำตอบไว้ให้แล้ว
ปรับปรุงระบบไฟบ้าน (เดิม) ต้องเลือก ตู้ไฟฟ้า อย่างไรดี!
ตู้ไฟฟ้า คืออุปกรณ์ไฟฟ้าหลักของระบบไฟฟ้าในบ้าน หากคิดรีโนเวทบ้านไม่ควรมองข้าม เพื่อให้แน่ใจว่าระบบไฟฟ้าในบ้านปลอดภัยอยู่เสมอ