ผนัง
ทาสีผนัง หลังน้ำท่วมป้องกันชื้นคืนความสวย
การฟื้นฟูผนังหลังน้ำท่วมเริ่มต้นด้วยการ ทาสีผนัง ใหม่เพื่อป้องกันความเสียหายจากความชื้นและเชื้อรา นอกจากนี้ยังช่วยคืนความสวยงามที่ถูกทำลายจากคราบสกปรกและรอยด่าง พร้อมเสริมความทนทานให้ผนังด้วยสีที่ทนต่อสภาพอากาศและป้องกันความชื้นในระยะยาว ปัญหาผนังหลังน้ำท่วมคือความชื้นสะสมที่ทำให้ ทาสีผนัง ไม่ติดทนและลอกล่อนง่าย ผนังอาจบวม แตกร้าว หรือเกิดคราบเชื้อราได้ หากไม่แก้ไขความชื้นและซ่อมแซมก่อนการทาสี ผนังจะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ขั้นตอนการ ทาสีผนัง หลังน้ำท่วม ตรวจสอบความเสียหาย: ตรวจดูผนังว่ามีรอยแตกร้าวหรือบวมจากความชื้นหรือไม่ หากพบความเสียหายควรซ่อมแซมก่อน ทำความสะอาดผนัง: ล้างคราบสกปรก คราบน้ำ และเชื้อราที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดและแปรงขัดผิวผนัง ปล่อยให้ผนังแห้งสนิท: ผนังต้องแห้งสนิทเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราและการลอกล่อนของสีในภายหลัง ใช้เวลาหลายวันหรือใช้พัดลมช่วยเร่งให้แห้ง เตรียมพื้นผิว: ขัดผนังเพื่อให้เรียบเนียน อุดรอยแตกร้าวด้วยวัสดุซ่อมแซมผนัง เช่น ปูนหรือวัสดุอุดรอยแตก ทารองพื้นกันชื้น: ทาสีรองพื้นกันชื้นบนผนังก่อนที่จะทาสีจริง เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้ทะลุผ่านสีภายนอก ทาสีจริง: ทาสีผนังด้วยสีที่ทนต่อสภาพอากาศและป้องกันความชื้น ทาอย่างน้อย 2 ชั้น เพื่อให้สีติดทนนานและสวยงาม ปล่อยให้สีแห้ง: รอให้สีแห้งสนิทในแต่ละชั้นก่อนทาทับชั้นต่อไป เพื่อให้สีติดทนนาน ควรเริ่มจากการเตรียมพื้นผิวผนังให้สะอาดและเรียบเนียน ปราศจากคราบสกปรกและเชื้อรา ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผนังแห้งสนิทก่อนลงมือทาสี จากนั้นทารองพื้นกันชื้นเพื่อป้องกันความชื้นทะลุขึ้นมา เลือกใช้สีคุณภาพสูงที่ทนต่อสภาพอากาศและความชื้น ทาสีอย่างน้อย 2-3 ชั้น ปล่อยให้แต่ละชั้นแห้งสนิทก่อนทาทับ หลีกเลี่ยงการทาสีในวันที่อากาศชื้นหรือมีฝนตก เพื่อป้องกันสีลอกล่อน […]
ซ่อมรอยร้าวผนัง กับวิธีแก้ปัญหาอย่างง่ายด้วยตัวเรา
ก่อนจะรู้จักวิธี ซ่อมรอยร้าวผนัง มาทราบสาเหตุของรอยร้าวบนผนังกันก่อน รอยร้าวมักเกิดจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การทรุดตัวของพื้นดินที่ทำให้โครงสร้างอาคารรับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ผนังเกิดการแตกร้าว นอกจากนี้ การขยายและหดตัวของวัสดุเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงยังสามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้ อีกทั้งความชื้นหรือน้ำที่ซึมเข้าในผนังจากการรั่วไหลก็ทำให้วัสดุอ่อนตัวลง นำไปสู่การเกิดรอยร้าวตามมา หากวัสดุก่อสร้างมีคุณภาพต่ำหรือการก่อสร้างผิดวิธี เช่น การไม่เสริมเหล็กในคอนกรีต ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดรอยร้าว ซ่อมรอยร้าวผนัง การซ่อมรอยร้าวบนผนังสามารถทำได้ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ วัสดุที่แนะนำสำหรับการซ่อมรอยร้าวคือ ครีมซ่อมผนัง เพราะใช้งานง่ายและสะดวกสำหรับการซ่อมแซมขนาดเล็กถึงกลาง เรื่อง : Pakaho ภาพ : คลังภาพบ้านและสวน “ผนังร้าว” ซ่อมเองได้ด้วยงบหลักร้อย ตรวจสอบโครงสร้างบ้านผ่านรอยร้าว ติดตามบ้านและสวน facebook.com/baanlaesuanmag
สีโป๊ วัสดุอุดโป๊ที่ควรมีไว้ติดบ้าน
สีโป๊ ศัพท์ช่างที่มักเรียกวัสดุอุดนั้นมีหลายประเภท วันนี้พามาทำความรู้จักกับวัสดุอุดโป๊อะคริลิกชนิดทั้ง 4 ชนิด ที่เราทุกคนก็สามารถใช้ได้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนการซ่อมรอยผนัง ชวนทำความรู้จัก สีโป๊ วัสดุอุดโป๊อะคิลิกชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติในการอุดรอยร้าวขนาดต่างๆบนผนัง เมื่อพิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในการอุดรอยร้าว ทั้ง 4 ประเภทนี้มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. Bosny Wall Putty การใช้งาน: เหมาะสำหรับการอุดรอยร้าวขนาดเล็กหรือรอยขูดขีดบนผนัง โดยเฉพาะบนพื้นผิวปูน เหมาะสำหรับรอยร้าวขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (ประมาณ 1-3 มม.) ความเหมาะสม: ใช้สำหรับงานตกแต่งภายในหรือภายนอกเพื่อเตรียมพื้นผิวให้เรียบเนียนก่อนทาสี ไม่เหมาะสำหรับรอยร้าวที่มีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงขนาด 2. ครีมซ่อมผนัง (Acrylic Filler) การใช้งาน: ใช้ซ่อมแซมรอยแตกร้าวเล็กๆ บนผนังปูนหรือพื้นผิวอื่นๆ ที่มีรอยขูดขีด เหมาะสำหรับรอยร้าวขนาดเล็ก (ประมาณ 0.5-2 มม.) ความเหมาะสม: เหมาะสำหรับการอุดรอยร้าวเล็กๆ ที่ไม่เคลื่อนไหว เช่น รอยแตกเล็กๆ บนผนังยิปซั่มหรือผนังปูน 3. Acrylic Sealant การใช้งาน: ใช้สำหรับอุดรอยต่อระหว่างวัสดุต่างๆ เช่น รอยต่อระหว่างผนังกับหน้าต่าง […]
ครีมซ่อมผนัง อุดรอยร้าวเล็ก ทำได้ด้วยตัวเอง
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ ครีมซ่อมผนัง ใช้สำหรับอุดรอยร้าวเล็กๆหรือรอยหลุมผิวผนัง ใช้ได้สะดวก สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพราะผนังราว เป็นปัญหาที่กวนใจหลายบ้านที่มักพบได้ตลอด ครีมซ่อมผนัง (Acrylic Filler) คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับซ่อมแซมรอยแตกร้าวหรือรอยขูดขีดเล็กๆ บนพื้นผิวผนัง ซึ่งมีส่วนผสมหลักเป็นอะคริลิกทำให้ครีมนี้มีความยืดหยุ่นและสามารถยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก ครีมซ่อมผนังเหมาะสำหรับซ่อมแซมรอยร้าวขนาดเล็ก โดยทั่วไปสามารถใช้ได้กับรอยร้าวที่มีขนาดประมาณ 0.5 ถึง 2 มิลลิเมตร หรือรอยขูดขีดบนพื้นผิวผนัง รอยร้าวที่ใหญ่กว่านี้อาจต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรงหรือยืดหยุ่นมากกว่า เช่น Acrylic Sealant หรือ Polyurethane Sealant ขึ้นอยู่กับลักษณะของรอยร้าวและตำแหน่งที่ต้องการซ่อมแซม คุณสมบัติของครีมซ่อมผนังอะคริลิก ยืดหยุ่น: สามารถปรับตัวตามการขยายและหดตัวของผนังได้ ยึดเกาะดี: ติดแน่นกับพื้นผิวผนังหลากหลายประเภท ทาสีทับได้: เมื่อครีมแห้งสนิทสามารถทาสีทับได้ตามต้องการ ใช้งานง่าย: สามารถใช้เกรียงหรือเครื่องมือทาสีเพื่อทาและเกลี่ยครีมลงบนผนังได้สะดวก แห้งเร็ว: แห้งภายในเวลาไม่นาน และสามารถขัดเพื่อปรับความเรียบเนียนได้ ครีมซ่อมผนัง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อซ่อมแซมรอยแตก รอยร้าว หรือความเสียหายเล็กๆ บนผนัง มีส่วนประกอบ ดังนี้ สารยึดเกาะ (Binders): สารยึดเกาะช่วยให้ครีมมีความแข็งแรงและสามารถยึดติดกับพื้นผิวผนังได้ดี เช่น อะคริลิก , โพลียูรีเทน […]
เรื่องควรรู้ก่อนกั้น “ผนังเบา”
ผนังเบา หรือผนังภายใน เป็นสิ่งที่เพิ่มความเป็นห้อง เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยภายในบ้านมากขึ้น สำหรับบ้านที่กำลังก่อสร้าง การแบ่งพื้นที่ห้องภายในเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ ส่วนบ้านที่ต้องการจะปรับปรุงหรือกั้นห้องใหม่ การเลือกใช้วัสดุและจัดพื้นที่ใหม่ก็เป็นสิ่งสำคัญ ลองมาดูกันว่ามีอะไรที่เราควรรู้ก่อนกั้นห้องด้วย ผนังเบา เพื่อบ้านของเราครับ ผนังเบา ไม่ต้องมีคานรองรับ “ผนังเบา” ในที่นี้หมายถึงผนังที่มีโครงคร่าวไม้ อะลูมิเนียม หรือเหล็กเป็นโครงสร้างหลัก และปิดทับด้วยวัสดุแผ่นผนัง ไม่ว่าจะเป็นแผ่นยิปซัมหรือแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด ซึ่งมีน้ำหนักเบา ขึ้นชื่อว่าผนังเบาก็ต้องมีน้ำหนักเบากว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เพราะโดยปกติแล้วตามแนวของผนังก่ออิฐฉาบปูนต้องรองรับด้วยแนวคานเพื่อความแข็งแรง แต่ผนังเบาไม่จำเป็นต้องมีคานรองรับ จึงเหมาะสำหรับการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลัง อิฐมวลเบาไม่เบานะ บางคนคิดว่าอิฐมวลเบาคือผนังเบาชนิดหนึ่ง ในความเป็นจริงแล้วผนังอิฐมวลเบากลับไม่เบาอย่างที่คิด แต่มีน้ำหนักใกล้เคียงกับผนังก่ออิฐฉาบปูน เพราะต้องมีการฉาบเพื่อแต่งผิวเหมือนกัน ผนังอิฐมวลเบาจึงเหมาะสำหรับผนังภายนอก เนื่องจากมีคุณสมบัติแข็งแรง กันเสียง และกันความร้อนได้ดีกว่าผนังเบา ผนังเบาต้องมีโครงแข็งแรง ควรใช้โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีที่มีความหนาอย่างน้อย 0.55 มิลลิเมตร มีขนาดหน้าตัดเล็กที่สุด 52×30 มิลลิเมตร และใหญ่ที่สุด 94× 30 มิลลิเมตร ทั้งโครงคร่าวตัวตั้งและตัวนอน แผ่นยิปซัมหรือไฟเบอร์ซีเมนต์ที่นำมาติดตั้งควรหนาอย่างน้อย 12 มิลลิเมตร ระยะห่างโครงคร่าวไม่ควรเกิน 60 เซนติเมตร โครงคร่าวเหล็กชุบสังกะสีต้องได้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยตรวจสอบกับบริษัทผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ สำหรับพุกที่ใช้ยึดกับโครงสร้างอาคารหรือพื้นควรเป็นพุกเหล็ก Expansion […]
การออกแบบฟาซาดบังแดด บังตา
ป้องกันบ้านร้อนด้วย ฟาซาดบังแดด บังตา ที่ช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และทำให้หน้าตาอาคารสวยงามขึ้น FACADE (ฟา-ซาด) เป็นคําในภาษาฝรั่งเศส แปลตรงตัวมีความหมายว่า “หน้า” หรือ Front ในภาษาอังกฤษ เริ่มแรกนั้นใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมแนว Ultra Modern หรือสถาปัตยกรรมแบบตึกสูง แต่ในปัจจุบันมักหมายความรวมไปถึงเปลือกหรือผนังภายนอกที่หุ้มอาคาร ซึ่งออกแบบทั้งเพื่อความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ สร้างความเป็นส่วนตัวให้ภายในอาคาร ฟาซาดบังแดด ป้องกันแสงแดด ลดความร้อนให้อาคารด้วย ซึ่งการออกแบบองค์ประกอบต่างๆของฟาซาด จะสามารถป้องกันแสงแดดแตกต่างกัน ดังนี้ ชายคา กันสาด ระแนง หรือขอบอาคารที่ยื่นในแนวนอน จะป้องกันแสงแดดมากน้อยตามระยะยื่น แต่ถ้าเพิ่มผนังแนวตั้ง จะช่วยลดระยะยื่นให้น้อยลงได้ แต่ก็บดบังมุมมองไปส่วนหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับผนังทิศใต้และทิศตะวันตกที่ทิศทางแสงแดดมีองศาต่ำ การเลือกใช้จึงขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งาน ระแนง-แผงแนวนอน จะช่วยกรองแสงและลดความจ้าของแสงลง ตามความถี่ ความกว้างของระแนง และตำแหน่งการติดตั้ง ระแนง-แผงแนวตั้ง ช่วยป้องกันแสงแดดที่ส่องมาทางด้านข้างได้ดี สามารถออกแบบเป็นแนวตั้งฉาก หรือแนวเอียงให้รับกับทิศทางแสงแดด ก็จะช่วยบังแดดได้ดีขึ้น ทั้งยังใช้เพื่อบังมุมมองจากภายนอกได้ด้วย ระแนง-แผงแนวตั้งและแนวนอน จะช่วยบังแสงแดดได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง ฟาซาดบังแดด ไอเดียการออกแบบฟาซาด เราสามารถออกแบบฟาซาดได้หลากหลายแบบ ตามการเลือกใช้วัสดุและภาพลักษณ์อาคาร อาจเป็นการออกแบบไปพร้อมกับการสร้างอาคาร หรือต่อเติมภายหลัง ซึ่งการต่อเติมควรพิจารณาใช้วัสดุน้ำหนักเบาที่จะไม่เพิ่มภาระให้โครงสร้างเดิมมากเกินไป […]
วัสดุก่อสร้าง-ตกแต่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อสุขภาพ
รวม 30 วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยต่อสุขภาพ ที่กำลังเป็นเทรนด์การสร้างบ้านในอนาคต มีอะไรบ้างมาดูกัน โดยดูจากส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผ่านมาตรฐานต่างๆด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เช่น การรับรองฉลากเขียวของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ฉลากลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อนขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านมาตรฐานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานของแต่ละผู้ผลิตสินค้า เช่น มาตรฐาน Jorakay Green Products ฉลาก SCG Green Choice เป็นต้น จะสามารถนำไปใช้ประกอบการขอรับรองมาตรฐานอาคารเขียว หรือมาตรฐาน LEED และ WELL Building Standard ได้ เราจึงรวมผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอย่างใส่ใจสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อสุขภาพมาฝากกัน วัสดุก่อสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุพื้น ผนัง หลังคา คอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาของ EKOBLOKลดความร้อน ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลกว่า 50% นวัตกรรมคอนกรีตบล็อกน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ เถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าชีวมวล และหินเกล็ดเล็ก ใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนผสมมากกว่า 50%โดยน้ำหนัก ประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต มีคุณสมบัติการนำความร้อนน้อย ช่วยประหยัดพลังไฟฟ้าในอาคาร น้ำหนักเบาเทียบเท่าคอนกรีตมวลเบา ประหยัดโครงสร้างรับน้ำหนัก และสะดวกในการขนส่ง วัสดุมีความหนาแน่นพอเหมาะกับการใช้งานในที่ชื้นได้ และรับน้ำหนักแขวนบนผนังได้ดี […]
ตรวจ-ซ่อมหลังคารับหน้าฝน
ก่อนเข้าหน้าฝน ควรสำรวจและปรับปรุงส่วนต่างๆ ของบ้านที่อาจรั่วซึมได้เมื่อต้องเจอฝนตกหนัก มาสำรวจและซ่อมแซม 4 จุดที่มักเกิดการรั่วซึมกัน ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว 1. หลังคา หลังคาเป็นส่วนของบ้านที่โดนแดดและฝนมากที่สุด จึงควรสำรวจเป็นจุดแรกและทำเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีวิธี ตรวจและซ่อมหลังคารั่ว ดังนี้ การตรวจสอบ สังเกตจากภายนอก เป็นวิธีการเบื้องต้นในการตรวจหาสิ่งผิดปกติ เช่น รอยแตกร้าว กระเบื้องมีการเผยอขึ้นกว่าปกติ มีเศษกระเบื้องหรือปูนหล่นลงมา หากมีน้ำรั่วเข้ามา อาจมีเสียงหยดน้ำหรือเสียงน้ำไหล ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่ต้องรีบแก้ไข เปิดฝ้าเพดานดูใต้หลังคา ฝ้าเพดานชั้นบนควรติดตั้งช่องเซอร์วิสอย่างน้อย 1 จุด ซึ่งเป็นช่องฝ้าเพดานที่เปิดได้ ขนาด 60 x 60 เซนติเมตร สำหรับขึ้นไปซ่อมบำรุง แนะนำให้ไปสำรวจ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงฝนตกก็จะเห็นน้ำรั่วได้ แต่น้ำอาจไหลมาจากจุดอื่นด้วย จึงควรสำรวจช่วงกลางวันอีกครั้ง โดยมองหาจุดที่มีแสงแดดลอดผ่านลงมา และจดตำแหน่งไว้เพื่อชี้จุดให้ช่างได้ถูกต้อง ตรวจหาคราบน้ำที่ฝ้าเพดานและผนัง หากพบผนังหรือฝ้าเพดานมีความชื้นผิดปกติ เป็นไปได้มากที่จะมีน้ำรั่วซึมเข้ามา ซึ่งในระยะแรกจะยังไม่เกิดคราบชัดเจน เมื่อความชื้นสะสมมากขึ้นจึงเกิดคราบน้ำ อาจเป็นคราบสีน้ำตาลหรือมีอาการโป่งพอง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะเกิดเชื้อรา มีกลิ่นอับ และฝ้าทะลุได้ ทำฝนเทียม […]
3 เทคนิคการเจาะผนังปูน ไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย
เคยไหม? ใช้สว่าน เจาะผนังปูน แล้วฝุ่นฟุ้งกระจายเลอะเทอะพื้นบ้าน วันนี้เรามี 3 เทคนิคการเจาะผนังให้ฝุ่นไม่ฟุ้งกระจายแบบง่ายๆ มาฝากกัน วิธีที่ 1 – ถุงแกง แรงฤทธิ์ หาจุดหรือตำแหน่งที่ต้องการ เจาะผนังปูน แล้วทำเครื่องหมายไว้ จากนั้นใช้เทปกาวสองหน้าอย่างบางที่ตัดเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 1 นิ้ว มาปิดทับจุดที่ทำเครื่องหมายไว้ ลอกกระดาษกาวอีกชั้นออกมา หรือจะนำไปติดที่ถุงพลาสติกใสก่อนก็ได้ (แล้วแต่ความถนัด) นำถุงพลาสติกใสหรือถุงใส่แกงขนาด 4X6 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ มาปิดทับเทปกาวสองหน้า โดยให้ถุงพลาสติกอยู่บริเวณจุดกึ่งกลาง แล้วใช้มือดึงถุงให้พองตัวขึ้นมาเล็กน้อย ใช้กรรไกรตัดถุงพลาสติกให้เป็นรูกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร เพื่อให้ดอกสว่านสามารถผ่านถุงเข้าไปได้สะดวก (ถุงพลาสติกจะได้ไม่พันกับดอกสว่าน) และปิดปากถุงให้สนิท ใช้สว่านเจาะผนังปูนผ่านถุงพลาสติกเข้าไปที่ตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้แล้ว แค่นี้ฝุ่นและเศษวัสดุต่างๆก็จะรวมอยู่ในถุงพลาสติกนั่นเอง ไม่ฟุ้งกระจายให้เหนื่อยใจ TIPS – แนะนำให้ทาโลชั่นบางๆ ไว้ภายในถุงพลาสติก จะช่วยเก็บฝุ่นไม่ให้ฟุ้งกระจายได้ดีขึ้น วิธีที่ 2 – ขวดน้ำพลาสติกดักฝุ่น เจาะขวดน้ำพลาสติกเปล่าขนาดประมาณ 1.5 ลิตร บริเวณจุดกึ่งกลางของขวด โดยใช้คัตเตอร์หรือกรรไกรมาตัดให้มีความกว้างประมาณ 7X7 เซนติเมตร […]
วัสดุผนังเบา 6 ชนิด ที่เราอยากแนะนำ เลือกใช้อย่างไร?
วัสดุผนังเบา นั้นมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป บ้านและสวนจึงอยากขอแนะนำวัสดุสำหรับกั้นผนังเบาให้กับคุณผู้อ่านได้เลือกกันจาก 6 ชนิดที่เราคิดว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมโดยทั่วไป อ่าน : วัสดุผนังภายนอกอาคาร ที่ทนทานและสวยงามแปลกใหม่ ติดตามเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับบ้านและสวนได้ทาง https://www.facebook.com/baanlaesuanmag
กฎหมายอาคาร บล็อกแก้ว=ผนังทึบ / แนวอาคาร / การดัดแปลงตึกแถวเก่า
กฎหมายอาคาร ปรับปรุงเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 คือ กฎกระทรวงฉบับที่ 68 (พ.ศ.2563) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มเติม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีสาระสำคัญที่มีผลกับการออกแบบและก่อสร้าง 6 หัวข้อ โดยสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ 1.กำหนดให้การวัด “แนวอาคาร” คือ วัดที่ขอบนอกสุดของอาคาร กฎหมายอาคาร มีการให้คำจำกัดความของ “แนวอาคาร” ที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งแต่ก่อนไม่มีการระบุ จึงเกิดการตีความแตกต่างกัน (เราใช้แนวอาคารอ้างอิงในการขออนุญาตก่อสร้างหลายจุด เช่น ระยะถอยร่นของตัวอาคารกับเขตที่ดิน) โดยระบุไว้ว่า “แนวอาคาร” หมายความว่า แนวผนัง เสา หรือบันไดที่อยู่ด้านนอกสุดของอาคาร ยกเว้นบันไดหนีไฟภายนอกอาคารที่มีลักษณะโปร่ง” 2.บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ” 3.การวัดความสูงอาคาร ไม่คิดรวมสิ่งที่ตั้งอยู่บนอาคาร […]
วีว่าบอร์ด ยิปซัมบอร์ด สมาร์ทบอร์ด ใช้ต่างกันอย่างไร?
วีว่าบอร์ด ยิปซัมบอร์ด สมาร์ทบอร์ด วัสดุผนังเบา ที่สามารถใช้ทำพื้นผนังฝ้ายอดฮิต เพราะเมื่อนึกถึงงานต่อเติมหรืองานผนังเบาก็ต้องเลือกใช้ทุกครั้งไป(จริงๆไม้อัดก็เป็นตัวเลือกที่ฮิตพอกันแต่ขอละไว้เล่าต่อในกลุ่มจำพวก Engineer Wood ซึ่งจะเปรียบเทียบได้เห็นภาพมากกว่า) ว่าแต่ เจ้าบอร์ดพวกนี้ก็ดูเป็นแผ่นๆเหมือกันไปหมด แล้วเราจะเลือกใช้ได้ให้เหมาะสมได้อย่างไร? วันนี้บ้านและสวนหาคำตอบมาให้แล้ว อ่าน : กั้นผนังเบาในบ้านทำได้เองไม่ยาก ซีเมนต์บอร์ด มักเคยชินกับการเรียกว่า วีว่าบอร์ด ตามชื่อทางการค้า เกิดจากไม้สกัดย่อยชิ้นเล็กๆ ผสมกับปูนซีเมนต์ แล้วนำไปอัดด้วยแรงดันสูงเพื่อขึ้นรูป จากนั้นจึงนำไปอบอีกครั้งเพื่อดึงความชื้นออกจากวัสดุ มีความแข็งแรง ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน ผิวเรียบเนียนสามารถโชว์พื้นผิว อาจจะเคลือบหรือไม่เคลือบก็ได้ แต่น้ำหนักค่อนข้างมาก อีกทั้งราคายังสูงพอประมาณ มีหลายขนาดความหนาให้เลือกสามารถใช้ได้ทั้ง พื้น ผนัง และ เพดาน กันน้ำ กันปลวก ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร ควาหนา 8, 10, 12, 16, 20, 24 มม. ราคา 300 – 800 […]
รวมงานช่างที่คุณก็ซ่อมเองได้
งานช่างที่มักพบเจอในบ้าน อาทิ สนิมกินรั้ว บ้าน สีทาผนังลอกล่อน รวมถึงเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ ต่าง ๆ ในบ้านใช้การไม่ได้ งานช่าง เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่บ้าน แสนรักของเรามักประสบ บางสิ่งแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ หากปล่อยให้ลุกลามก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้ ยุคนี้เป็น ยุคแห่งการประหยัด งานช่าง อะไรที่ซ่อมเองได้ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ควรทำ ไล่มาตั้งแต่รั้วบ้านไปจนถึงฝ้าเพดาน โดยขอหยิบยกตัวอย่าง งานช่าง งานซ่อมแซมที่เราต้องพบเจอกันอยู่บ่อย ๆ อย่ารอช้า… เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม แล้วมาเริ่มลงมือซ่อมกันดีกว่า งานช่าง อ่าน : “ผนังร้าว” ซ่อมเองได้ด้วยงบหลักร้อย สนิมกินรั้วบ้าน คู่อริตลอดกาลของเหล็กก็คือ “สนิม” ส่วนใหญ่มักเกิดกับบริเวณที่อยู่ ภายนอกซึ่งโดนความชื้น บริเวณที่เปียกสลับแห้งจะเกิดสนิมได้เร็วกว่าบริเวณที่เปียก หรือสัมผัสน้ำตลอดเวลา สำหรับวิธีบำรุงรักษาเจ้ารั้วเหล็กอย่างง่ายๆ มีดังนี้ ขั้นตอนการทำงาน 1. ใช้กระดาษทรายขัด เหล็กหรือแปรงลวดขัด บริเวณที่เป็นสนิมออก ให้มากที่สุด จากนั้น ทำความสะอาดพื้นผิว ให้ปราศจากคราบไขมัน ฝุ่น และสิ่งสกปรกต่างๆ 2.ใช้น้ำยาแปลงสภาพสนิม (Rust Converter)มาทาให้ทั่วพื้นผิว […]
“ผนังร้าว” ซ่อมเองได้ด้วยงบหลักร้อย
ผนังร้าว หรือรอยแตกกระเทาะบนผนังบ้าน อาจดูเป็นเรื่องจัดการยาก แต่จริง ๆ แล้วหากผนังบ้านกำลังเกิดอาการนี้แบบไม่มากก็ยังพอซ่อมเเซมได้ โดยอย่าปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ เพราะอาจเกิดปัญหาลุกลามตามมาภายหลัง บ้านและสวน จึงอยากนำเสนอวิธี ซ่อมผนังร้าว ด้วยตัวเองกับอุปกรณ์ในงบหลักร้อยที่ใคร ๆ ก็ทำได้ ซ่อม อุปกรณ์ ซ่อมผนังร้าว • แป้งโป๊ผนังสำเร็จรูป• กระดาษทรายเบอร์2 หรือเบอร์3• ค้อน• ไขควงปากแบน• ลูกกลิ้ง แปรงทาสี• เกรียงปากแบนขนาดใหญ่กลาง และเล็ก อย่างละ 1 อัน• สีรองพื้นปูนเก่า• สีทารองพื้น• สีทาผนังใหม่่ อาการที่ 1 ผนังแตกร้าวกระเทาะเป็นรู ขั้นตอนที่ 1. ใช้แป้งโป๊ปิดรูกะเทาะแล้วปล่อยไว้ให้แห้ง ขั้นตอนที่ 2. ใช้กระดาษทรายละเอียดขัดผนังให้เรียบ ขั้นตอนที่ 3. ทาสีรองพื้นทับรอยแตก ถ้าเป็นผนังเก่ามากให้ทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อน ขั้นตอนที่ 4. ทาสีผนังใหม่ด้วยสีเดิม หรือเปลี่ยนสีผนังใหม่ก็ได้ เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ อาการที่ 2 ผนังแตกร้าว […]
เคล็ดลับการ ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน
ลด ปัญหาบ้านร้าว พัง รั่ว เปื้อน ด้วย Basic Details ง่ายๆแต่ได้ผล ซึ่งสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของปัญหาได้ด้วยดีเทลเล็กๆ ในระหว่างก่อสร้าง พื้นส่วนต่อเติม หากมีการทำพื้นแยกโครงสร้างกัน เช่น พื้นส่วนต่อเติม ไม่ควรปูวัสดุทับรอยต่อ แนะนำให้ทำร่องของรอยต่อให้เป็นแนว เมื่อเกิดการแตกร้าว รอยร้าวจะอยู่ในแนวที่ทำไว้ ไม่ลามไปส่วนอื่น มีตัวอย่างดีเทลรอยต่อพื้นดังนี้ ปัญหาบ้านร้าว รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมระดับเดียวกัน ควรเว้นช่องประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วยาแนวด้วยวัสดุยืดหยุ่น เมื่อพื้นส่วนต่อเติมทรุดก็จะไม่ทำให้พื้นบ้านเสียหายลุกลาม รอยต่อพื้นส่วนต่อเติมต่างระดับ ให้เว้นระยะพื้นภายนอกกับพื้นบ้าน 15-20 เซนติเมตร แล้วโรยกรวดตกแต่ง หากพื้นทรุดตัวไม่เท่ากันก็จะไม่เห็นรอยแตก มุมผนัง ป้องกันมุมผนังหรือมุมเสาเสียหายจากการกระแทกด้วยการลบมุมให้มนหรือเอียง 45 องศา หรือจะที่อาจมีการกระแทกให้ครอบมุมด้วยวัสดุทนทาน เช่น เหล็กฉาก รอยต่อผนัง รอยต่อของวัสดุเป็นจุดที่เสียหายได้ง่าย แต่ละวัสดุสามารถดีไซน์ลดความเสียหายได้ เช่น ปูน ทรายล้าง หินล้าง เซาะร่องทุกระยะ 3-4 เมตร ลดปัญหาพื้นผิวแตกร้าวจากการขยายตัวของวัสดุ ไม้ การต่อไม้แบบ “เข้าลิ้น” […]
How to ติดวอลล์เปเปอร์ และซ่อมแซมด้วยตนเอง
ปัญหาที่เกิดกับการ ติดวอลล์เปเปอร์ นั้นมีมากมาย อาทิ กระดาษหลุดลอก พองเป็นตุ่ม มีรอยฉีกขาด หรือหลุดหายไปบางส่วน ซึ่งการแก้ปัญหานั้นก็มีวิธีการที่แตกต่างกันไป แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่เราจะทำได้ด้วยตนเอง เราจึงอยากมาบอกเคล็ดลับในการจัดการกับวอลล์เปเปอร์ ทั้งวิธีการติด และซ่อมแซมที่คุณก็ทำเองได้ อ่าน : วิธีคำนวณพื้นที่สำหรับติดวอลล์เปเปอร์ วิธี ติดวอลล์เปเปอร์ ด้วยตนเอง 1. ก่อนอื่นต้องปรับพื้นผิวผนังให้เรียบเสมอกันแล้วกำหนดระยะการติดวอลล์เปเปอร์ โดยวัดระยะห่างจากขอบวงกบประตู หรือมุมห้องประมาณหนึ่งความกว้างของวอลล์เปเปอร์แล้วใช้ลูกดิ่งปล่อยจากเพดานถึงพื้น จากนั้นใช้ชอล์ก หรือดินสอขีดตามแนวเชือก เพื่อยึดเป็นแนวติดกระดาษ 2. ตัดวอลล์เปเปอร์ให้สูงกว่าผนังจริง 10 เซนติเมตร แล้วทากาวลาเท็กซ์ หรือกาวสำหรับติดวอลล์เปเปอร์ที่ด้านหลังให้ทั่ว เว้นริมไว้ข้างละประมาณ 5 เซนติเมตร ไม่ต้องทากาว 3.เริ่มติดวอลล์เปเปอร์แผ่นแรกจากขอบวงกบประตู ให้ริมอีกด้านอยู่ในแนวเส้นที่ทำเครื่องหมายไว้ โดยดึงแผ่นวอลล์เปเปอร์เบา ๆ แล้วลูบกระดาษให้ติดกับผนังอย่างเบามือและรวดเร็ว 4.ใช้แปรงที่มีสันเรียบไล่ฟองอากาศจากกึ่งกลางไปหาขอบแต่ละด้าน และจากบนลงล่างจนทั่วแผ่น แล้วตัดขอบด้านบนและด้านล่างของวอลล์เปเปอร์ที่เกินออก ส่วนการติดตั้งแผ่นต่อมาให้จัดลายให้ตรงกับแผ่นแรกโดยใช้วิธีทาบแผ่น ใช้คัตเตอร์ตัดแล้วดึงเศษวอลล์เปเปอร์ด้านในออก 5.จากนั้นทากาวลาเท็กซ์ริมขอบที่เว้นไว้ แล้วใช้ลูกกลิ้งกลิ้งทับรอยต่อให้สนิท ถ้ามีกาวไหลออกมาจากรอยต่อ ใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดกาวออกให้หมด หากปล่อยไว้จะเกิดคราบเหลือง ๆ ได้ […]
พุก อุปกรณ์ยึดติดนอตหรือสกรูกับพื้น-ผนัง
“พุก” คืออุปกรณ์สำหรับช่วยยึดนอตหรือสกรูเข้ากับพื้นและผนัง ซึ่งมีหลายชนิดมาก มารู้จักพุกแต่ละชนิด เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะกับการใช้งาน พุกพลาสติก หรือพุกตัวหนอน เป็น พุก ที่เหมาะกับงานง่าย ๆ ที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น การแขวนรูปภาพประดับผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป เมื่อขันสกรูเข้าไป ตัวหนอนจะพองขึ้นและยึดแน่นติดกับปูน พุกเหล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่ม และงานที่ต้องการรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น งานติดตั้งเสารับน้ำหนักบนพื้นคอนกรีตของโรงรถ งานยึดฝ้าเพดานเพื่อแขวนแชนเดอเลียร์ พุกสำหรับคอนกรีตบล็อก มีรูปร่างหน้าตาคล้ายพุกตัวหนอน แต่บริเวณลำตัวของพุกจะมีสันหรือลอนถี่มากกว่า ทำจากในลอนซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าพุกพลาสติกทั่วไป พุกเคมี พุกแบบนี้เราไม่ได้ใช้เองในบ้าน เพราะเป็นอุปกรณ์ของช่างก่อสร้างอาชีพ แต่ก็น่าจะรู้จักไว้ ช่างจะเจาะรูที่เสา หรือพื้นคอนกรีตแล้วสอดพุกเข้าไป จากนั้นจะใช้สว่านเจาะพุกให้แตก แล้วสอดเหล็กเส้น หรือตะปูเกลียวเข้าไป กาวเคมีที่อยู่ในหลอดแก้วจะช่วยยึดให้ติดแน่น พุกสำหรับงานยิปซัม เนื่องจากเนื้อในของยิปซัมจะมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักน้อยกว่าผนังแบบอื่น ๆ ลำตัวของพุกชนิดนี้จึงออกแบบให้มีลักษณะเป็นแฉก เมื่อเราขันสกรูเข้าไป พุกจะกางออกที่ด้านในของแผ่นยิปซัม พุกสำหรับคอนกรีตมวลเบา ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเกลียวคมที่สามารถยึดติดกับเนื้อของอิฐมวลเบาได้ดี และมีประสิทธภาพดีกว่าพุกพลาสติก พุกตะกั่ว เหมาะกับงานกลางแจ้ง เนื่องจากรับน้ำหนัก และทนต่ออุณหภูมิความร้อนภายนอกบ้านได้ดีกว่าพุกพลาสติกหรือพุกเหล็กซึ่งเกิดสนิมได้ง่าย เช่นการติดตั้งแท็งก์บรรจุ น้ำดื่มน้ำใชที่ตั้งอยู่บนระเบียงหรือดาดฟ้า เรื่อง : คันยิก้า […]
กำแพงแยก ปัญหาใหญ่ที่แก้ไขให้ดูดีได้ด้วยฉากอะลูมิเนียม
กำแพงแยก เพราะบ้านทรุด เป็นปัญหาที่หลายบ้านต้องเผชิญ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ แม้จะใช้ซิลิโคนปิดรอยแล้วก็ตาม เเต่กำเเพงยังเเยกตัวขยายลุกลามออกไปได้อยู่ดี วันนี้เราจึงมีวิธีแก้ปัญหาด้วยการใช้ “ฉากอะลูมิเนียม” มาฝาก รับรองได้ถึงความทนทาน แม้จะใช้งานผ่านไปนานเเค่ไหน กำเเพงก็ยังคงดูดีเเละเเข็งเเรงเหมือนเดิม แก้ปัญหา ส่วนต่อเติมบ้านทรุด กำแพงแยก กำแพงแยก Q. ทำไมกำแพงจึงแยกออกจากกัน? A. ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับส่วนต่อเติมของบ้าน นั่นเป็นเพราะว่าส่วนตัวบ้านหลักกับส่วนที่ต่อเติมนั้นไม่ได้มีฐานรากร่วมกัน โดยมากส่วนครัวหลังบ้านมักจะใช้เสาเข็มขนาดสั้นตอกลงไปก่อนก่อสร้าง ความแตกต่างของเสาเข็มนี้ทำให้ทั้งสองส่วนของบ้านทรุดตัวไม่เท่ากัน และทำให้เกิดปัญหา “กำแพงแยก” ออกจากกันในที่สุด Q. ซิลิโคนช่วยได้ไหม? A. บางท่าน (ซึ่งเคยได้ยินมาจริง ๆ) เข้าใจว่า การฉีดซิลิโคนปิดรอย จะสามารถหยุดการแยกตัวออกของกำแพงบ้านได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ซิลิโคนเป็นเพียงวัสดุที่เข้าไปเติมเต็ม “ช่องว่าง” ของกำแพง ไม่ได้มีแรงเพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวกำแพงไว้ด้วยกัน ฉะนั้นแม้จะฉีดซิลิโคนจนเต็มรอยแยกไปแล้ว แต่ก็ไม่อาจหยุดการทรุดตัวของอาคารที่ไม่เท่ากันได้ Q. จะแยกไปถึงเมื่อไหร่? A. การทรุดตัวนั้นจะเกิดขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะดินในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชั้นดินเหนียว แต่เมื่อผ่านปีที่ 3-4 ไปแล้ว จะเกิดการทรุดตัวที่ช้าลง จนแทบไม่ทันสังเกต(แต่ยังทรุดตัวอยู่) ซึ่งเรียกได้ว่าช้าพอที่จะจัดการรอยแยกได้ง่ายขึ้น […]