WORKSHOP 53 เปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์ยุค 80 เป็นสตูดิโอออกแบบ

WORKSHOP 53 คือการนำทาวน์เฮ้าส์รูปแบบดั้งเดิมของยุค 80 ในซอยสุขุมวิท 53 มีพื้นที่ภายในที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือมีโถงบันไดใจกลางบ้าน พร้อมหลังคาสกายไลต์ด้านบนมาทำเป็นสตูดิโอ

อยู่กับศิลป์ ในสตูดิโอกึ่งที่พักรีโนเวตจากทาวน์โฮม

ออกแบบโดย Bangkok Tokyo Architecture (http://www.btarchitecture.jp) บ้านทาวน์โฮมในย่านฝั่งธนฯ หลังนี้ ถูกส่งต่อมาในครอบครัวจนมาถึงมือของศิลปินท่านหนึ่ง ที่ต้องการปรับพื้นที่ให้กลายเป็นพื้นที่ทำงานของตนเอง การออกแบบจึงเด่นชัดในการสร้างพื้นที่ส่วนตัวให้กับตัวเจ้าของบ้าน สร้างสภาวะแห่งแรงบันดาลใจจากบรรยากาศอิงธรรมชาติ สร้างความสุขสงบภายในบ้าน แม้จะอยู่ในเขตเมืองที่หนาแน่น แต่กลับสามารถออกแบบพื้นที่ภายในได้อย่างลงตัวและน่าสนใจ Bangkok Tokyo Architecture รับหน้าที่ในการปรับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ผู้ออกแบบเลือกทำเป็นอย่างแรก นั่นคือการทุบเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน โดยมีพื้นที่ต่อเติมข้างบ้านเป็นรูปตัวแอล (L) เพื่อเสริมการใช้งานให้ครบถ้วน พื้นที่ภายในแบบ ONE ROOM SPACE เปิดโอกาสให้เจ้าของบ้านมีอิสระในการใช้งานและปรับเปลี่ยนได้ในอนาคต เพื่อให้ตอบรับกับอาชีพนักวาดภาพ และการสร้างผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบ ทั้งในแง่ของการทำงานก็ดี รวมไปถึงการแสดงงานในอนาคตด้วยเช่นกัน จากประตูใหญ่ เมื่อเข้ามาภายในบ้าน ประตูเหล็กทึบและผนังจะช่วยปิดกั้นความวุ่นวายจากภายนอก โดยทางเข้าบ้านนั้นถูกจัดเป็นส่วนหย่อมในแบบกำลังดีที่คำนึงถึงการดูแลง่าย แต่ก็ยังสร้างความร่มรื่นได้ในวันสบาย ๆ ที่สามารถเปิดประตูรับลมและแสงธรรมชาติได้เต็มที่ เมื่อเดินเข้าสู่ภายในจะพบกับพื้นที่นั่งเล่น และโต๊ะทำงานตัวใหญ่ กึ่งกลางเป็นชั้นวางผลงานที่สามารถเครื่องย้ายได้ มีเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว และโต๊ะรับประทานอาหารที่จัดวางไปในพื้นที่ Circulation ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเดินไปสู่ครัวด้านหลัง และห้องน้ำได้ โดยไม่ต้องเดินผ่านพื้นที่ทำงานของเจ้าของบ้านแต่อย่างใด พื้นที่ทั้งสองชั้น แม้จะอยู่คนละระดับกัน แต่ก็ยังรู้สึกเชื่อมโยงเป็นเนื้อเดียวกัน จากการที่ผู้ออกแบบเลือกเจาะพื้นชั้นสองให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปถึงชั้นล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนอากาศ และแสงธรรมชาติที่ส่องสว่างทั่วถึงทั้งบ้าน รวมทั้งช่วยเปิดมุมมองทางสายตาให้เห็นกันและกันได้ในทุก […]

บ้านไม้ ของ เขียนไขและวานิช โฮมสตูดิโอสไตล์พื้นถิ่น

บ้านไม้ พื้นถิ่น ที่โอบล้อมไปด้วยทิวทัศน์ของขุนเขาและทุ่งนา เป็นโฮมสตูดิโอของศิลปิน“ เขียนไขและวานิช ”

ARI STUDIO โฮมสตูดิโอที่เป็นทั้งออฟฟิศสถาปนิก งานเขียนภาพและสโลว์บาร์

โฮมสตูดิโอสำหรับทำงานเชิงสร้างสรรค์หลากหลาย ทั้งงานสถาปัตยกรรม งานเขียนภาพอิลลัสเตรเตอร์ และเป็นสโลว์บาร์สไตล์ omakase สำหรับคนรักกาแฟ

SHER MAKER สตูดิโอสถาปนิกที่รักในงานออกแบบและการทำเวิร์กชอป  

SHER MAKER สถาปนิกเชียงใหม่ ที่รักในงานออกแบบและการทำเวิร์กชอป โดยออกแบบสตูดิโอที่มีขนาดเพียง 40 ตร.ม.ในหลังคาทรงจั่วที่ดูถ่อมตน เข้ากับบริบท

 DOT LINE PLANE เปลี่ยนโกดังแบตเตอรี่เป็นสตูดิโอออกแบบที่ทำงานได้ทั้งวัน

เปลี่ยนโกดังแบตเตอรี่เป็นสตูดิโอออกแบบ DOT LINE PLANE ที่สามารถนั่งทำงานได้ทั้งวัน ด้วยบรรยากาศท่ามกลางแสงธรรมชาติและสภาวะน่าสบายในการทำงาน

HEY! CHEESE STUDIO สตูดิโอถ่ายภาพ เน้นความสนุกด้วยสีสันและรูปทรงเรขาคณิต

HEY! CHEESE STUDIO สตูดิโออิสระของช่างภาพและกราฟิกมืออาชีพ ที่ใช้กิมมิกสนุก ๆ ของสีสันมาสะท้อนบรรยากาศสนุก ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์

ASWA STUDIO สตูดิโอขนาดกะทัดรัดที่แทรกคอร์ตไว้ภายใน

ASWA STUDIO สตูดิโอที่มีเงื่อนไขเป็นการเช่าพื้นที่ จึงใช้โครงสร้างแบบกึ่งถาวรและเลือกวัสดุเมทัลชีทมากรุทั้งหลังคาและผนังเพื่อง่ายต่อการรื้อถอน

Atelier Alice Trepp สตูดิโอสุดโมเดิร์นที่แทรกตัวไปกับเนินเขา

สตูดิโอ สุเฟี้ยวที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสตูดิโอทำงาน ออกแบบตัวอาคารให้สอดแทรกไปกับเนินเขาเพื่อความกลมกลืน ทำลายธรรมชาติให้น้อย

ZORBA SPACE สตูดิโอในตึกแถวเก่าสไตล์โคโลเนียล

รีโนเวตตึกแถวเก่า สไตล์โคโลเนียลสองชั้นบนถนน Nguyen Cong Tru ที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้เป็นสตูดิโอทำงานด้านภาพยนตร์และโฆษณาของคนรุ่นใหม่ โดยที่นี่ไม่ได้มีเพียงพื้นที่ของสำนักงานธรรมดา ๆ แต่ยังมีฟังก์ชันการใช้งานที่ยืดหยุ่น เช่น มุมฉายภาพยนตร์ ร้านกาแฟ และแกลเลอรี่ โดยทีมสถาปนิก sgnhA เป็นผู้รับหน้าที่ รีโนเวตตึกแถวเก่า แห่งนี้ โดยยังคงเก็บรายละเอียดที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของสถานที่ตั้งเอาไว้อย่างดี ผสมผสานไปกับวัสดุสมัยใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากขึ้น เรียกได้ว่ารื้อถอนวัสดุหรือโครงสร้างดั้งเดิมน้อยมากที่สุด โดยเลือกที่จะเผยเสน่ห์ของพื้นผิวและองค์ประกอบบางอย่างไว้ อันเป็นของขวัญแห่งกาลเวลา เช่น ร่องรอยของสีลอกล่อนบนผนัง กระเบื้องปูพื้นลายตารางขาว-ดำ ตะแกรงลวดตาข่ายทำมือบริเวณเหนือวงกบไม้ ประตู และหน้าต่างไม้ รวมถึงคอร์ตยาร์ดในอาคาร ขณะที่การรีโนเวตพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานใหม่ สถาปนิกได้ใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาเป็นส่วนเติมเต็มและเป็นเสมือนการค้ำยันโครงสร้าง ร่วมด้วยแผ่นพอลิคาร์บอเนตวัสดุสมัยใหม่ทั้งในส่วนผนังและหลังคาสกายไลท์ เพื่อเรียกแสงธรรมชาติและความปลอดโปร่งเข้ามาสู่พื้นที่ ลดปัญหาความทึบตันของตึกแถวได้อย่างดี พื้นที่เด่น ๆ ที่อยากพูดถึง นั่นคือโถงอเนกประสงค์ซึ่งมีลูกเล่นด้วยการติดตั้งรางโค้งจากโครงเหล็ก ติดแผ่นพอลิคาร์บอเนตที่เลื่อนเปิด-ปิดได้ เมื่อต้องการแบ่งสัดส่วนการใช้งานหรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์สีสันจี๊ดจ๊าดแนวสตรีทที่คุ้นตาในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นม้านั่งพลาสติกสีแดงและสีน้ำเงิน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่นำกลับมาใช้ใหม่ เคล้าด้วยกลิ่นอายวินเทจจากของตกแต่งแนวอวกาศ อีกโซนที่เป็นไฮไลต์คือบันไดวนสีเหลืองสดตรงพื้นที่คอร์ตกลาง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชั้นล่างกับชั้นบนนำขึ้นสู่มุมทำงาน ที่มองเห็นบรรยากาศของท้องฟ้าและชมวิวเรือนยอดของต้นไม้อายุกว่าศตวรรษได้ ช่วยให้ไอเดียการสร้างสรรค์งานเป็นไปอย่างบรรเจิดและลื่นไหล ออกแบบ : sgnhA […]

สตูดิโอวาดรูป…พื้นที่ลับกับผลงานศิลปะนับร้อยชิ้นของ ครูปาน-สมนึก คลังนอก

ถ้าบ้านหลังนี้เปรียบเหมือนผืนผ้าใบ ก็ต้องถือว่าเป็นรูปภาพที่มีสีสันสดใสสะดุดตา ครูปาน-สมนึก คลังนอก ศิลปินนักวาดภาพ ที่ถ่ายทอดผลงานออกมาในรูปแบบต่างๆ ใจดีเปิด สตูดิโอวาดรูป ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่ลับเฉพาะที่ไม่ให้คนนอกเข้าไป ไปดูกันว่าพื้นที่ทำงานของ ครูปาน จะสวยงาม และ น่าตื่นเต้นขนาดไหน นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้มีโอกาสมาเที่ยวบ้านครูปาน ไม่ว่าจะมากี่ครั้ง ครูปานก็สามารถจัดบ้านได้สวยงามน่าตื่นเต้นเสมอ รวมไปถึง สตูดิโอวาดรูป ที่น้อยคนนักจะได้มีโอกาสได้เข้าไป “ทุกมุมในบ้านครูปานเป็นคนจัดเอง แต่ตอนที่ทุกคนรวมตัวกันทั้งหมด 12 คน ต้องอยู่บ้านเพื่อความปลอดภัยจากโรคโควิด-19 เราก็ย้ายของออก แล้วซื้อโต๊ะปิงปองมากางกันตรงนี้”  คำว่า “ตรงนี้” ที่ครูปานพูดถึงคือบริเวณ ห้องนั่งเล่น กลางคอนโด แค่นึกภาพตามก็ได้ยินเสียงเฮฮาดังมาแต่ไกล “บ้านนี้มีคนอยู่เยอะ จึงต้องมีมุมแยกกันไปตามแต่ใครจะอยากนั่ง ห้องนี้เป็นเหมือนห้องกลาง ที่ทุกคนในบ้านจะมานั่งเล่นกัน ต่างคนต่างแยกย้ายกันไปคนละมุม” คอนโดมิเนียมขนาดกลางเปิดพื้นที่โล่งต่อเนื่องกัน จัดวางเฟอร์นิเจอร์ไว้เป็นชุดตามมุมต่างๆของห้อง เพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันไป “การจัดบ้านควรเป็นอะไรที่เรา “รู้สึก” ไปกับมัน ไม่ควรไปตั้งว่าชั้นจะจัดเป็นมินิมอล หรือ สไตล์ไหน จัดให้เราอยู่ได้จริงดีกว่า แต่บ่อยครั้งที่เห็นอะไรสวยก็ซื้อมาก่อนแล้วค่อยมาหามุม ของที่ซื้อมาไม่ได้มีอะไรที่แพงมากมาย อยู่ที่การผสมผสานเอาของที่เรามีอยู่แล้วมาจัด หรือแม้แต่ตุ๊กตาที่ซื้อเพราะความน่ารัก นอกจากเอามาเล่นแล้ว ก็ยังมองว่าเป็นของแต่งบ้านได้อีกด้วย” สตูดิโอวาดรูปลับของครูปาน […]

บ้านกึ่งสตูดิโอที่หันหน้าไปคนละทิศ แต่หันข้างแนบชิดเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว

บ้านไม้ ที่บางครั้งก็ปรับเป็นสตูดิโอจัดงานศิลปะ ที่เกิดจากการวางไดอะเเกรมด้วยแกน 2 แกน ต่อด้วยแบบร่างโครงคร่าวเพื่อจัดความสัมพันธ์ของการใช้งานที่เหมาะสม

คุยกับ ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ถึงการออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการทำความเข้าใจใน “ความหมาย”

แน่นอนว่าบริบทนั้นจะส่งเสริมคุณค่าให้กับงานสถาปัตยกรรม แต่การจะได้มาซึ่งคุณค่านั้นอาจไม่ใช่การทำภายในระยะเวลาอันสั้นหรือการทำอย่างฉาบฉวย การออกแบบที่เน้นเสริมคุณค่าด้วยการลงลึกไปในความหมายด้วยการค่อยๆทำความเข้าใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ      จากความโกลาหลในกรุงเทพมหานคร กลิ่นอายทะเลเริ่มแทนที่หมอก PM2.5 ในอากาศ ตามเส้นทางยาวไกลที่มุ่งหน้าสู่จังหวัดปลายสุดของภาคตะวันออกด้วยระยะทางที่ไกลกว่า 300 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ - จังหวัดตราด เมืองซึ่งยังไม่ถูกจัดว่าวุ่นวาย ทว่าเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานพอ ๆ กับเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2514 ตราดได้กำเนิดร้านบะหมี่เกี๊ยวร้านแรก และยังคงเปิดขายยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน “เขาเป็นบะหมี่เจ้าแรกของตราด คุณพ่อเข้ามาค้าขายเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กระทั่งถึงรุ่นลูกเขาอยากจะปรับลุคร้านใหม่ให้ทันสมัยขึ้น”  คุณภัทราวุธ จันทรังษี เริ่มเล่าถึงที่มาที่ไปของงานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เก่าแก่ ในนาม บริษัท ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ ให้เราฟัง      “แทนที่เราจะเปลี่ยนลุคใหม่ให้ดูใหม่ไปเลย เราคุยกับเจ้าของว่า น่าจะลองใช้ของเดิมนี่แหละมาปรับให้ดูน่าสนใจขึ้น เราพูดกันว่า เราน่าจะ ‘ปลุกตำนาน’ ร้านเกี๊ยวหนองบัวกลับมา โดยมีโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้สามารถดึงคนอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่กลับมาอุดหนุนพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เพราะกลายเป็นเหมือนเราทำสัญญาใจกันว่าเราจะไม่ได้ออกแบบแค่ตึกสวย ๆ แต่เราจะต้องทำให้เขาขายดีขึ้น ๆ ต่อไปด้วย      “ทำอย่างไรให้ร้านอยู่ได้อีก 50 ปี มันคงไม่ใช่ดีไซน์ที่หวือหวาหรือแฟชั่นจี๊ดจ๊าด แต่ต้องดูถ่อมตัวมากพอ แต่อะไรล่ะคือตรงกลาง”      โดยพื้นฐานทั่วไป งานออกแบบที่ดีนั้นอาจถูกวัดได้จากความสำเร็จไม่กี่ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์หรือฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการ อย่างไรก็ตาม การทำงานของตื่น ดีไซน์ สตูดิโอนั้น พวกเขากล่าวว่า ในทุก ๆ งานพยายามมุ่งความสนใจไปสู่ประเด็นที่ลึกซึ้งกว่านั้น ด้วยความเชื่อร่วมกันว่า งานออกแบบควรเป็นสิ่งที่มากกว่าแค่ฟังก์ชันหรือสินค้า แต่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงจิตใจผู้คน มีความหมาย และมีคุณค่าอันนำมาซึ่งความสุขต่อผู้ใช้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ      ร้านเกี๊ยวหนองบัว งานออกแบบปรับปรุงร้านบะหมี่เกี๊ยวและของฝากในตึกแถว 3 คูหาใกล้กับตลาดโต้รุ่งไร่รั้งในตัวเมืองตราดก็เป็นหนึ่งในนั้น พวกเขาได้พยายามสร้างคุณค่าที่ดีที่สุดให้กับงาน เพื่อความสมบูรณ์ของการใช้งานในระยะยาว หากจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาจำเป็นจะต้องเข้าใจสิ่งที่ทำ เข้าใจบริบทแวดล้อม และเข้าใจผู้ใช้งานให้มากที่สุดก่อนเท่าที่จะเป็นไปได้      “ถ้าเปรียบเทียบกับ
ขั้นตอนการออกแบบปกติ 
เมื่อได้โจทย์จากลูกค้ามา 
ดีไซเนอร์ก็จะลงไปดีไซน์ แล้ว
ใช้วิธี ‘Try and Error’ คือ
ดีไซน์ไปให้ลูกค้าดูว่าถูกใจ
หรือไม่ ชอบไม่ชอบอะไร 
ทำอย่างนี้กลับไปกลับมา 
จนกว่าจะพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์ 
แล้วจึงค่อยเขียนแบบก่อสร้าง” 
คุณภคชาติ เตชะอำนวย-
วิทย์ อีกหนึ่งสถาปนิกใน
ทีมกล่าว      “แต่การทำงานของเรา
จะมีการรีเสิร์ชก่อนที่เราจะเริ่มดีไซน์จริง ๆ 
อาจจะใช้เวลามากน้อยต่างกันไปแล้วแต่
โปรเจ็กต์ อาจเดือนหนึ่งหรือสองเดือน เพื่อ
ทำความเข้าใจโจทย์ร่วมกันระหว่างเรากับ
เจ้าของ เช่น เราได้รับความต้องการมา 
เราต้องไปดูที่ตั้งโครงการ ศึกษาเกี่ยวกับเมือง 
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเก่าที่เกี่ยวข้อง
กับงาน แล้วต้องพยายามคุยกับเจ้าของ
เยอะ ๆ หรือตั้งคำถามในเชิงวิเคราะห์หน่อย      “เช่นคำถามง่าย ๆ ว่า ชีวิตประจำวัน
ในหนึ่งวันเขาทำอะไรบ้าง ห้องแบบไหนที่
เขาชอบ หรือถ้าได้ไปอยู่ในบ้านหลังใหม่จะ
เกิดอะไรขึ้น ไปจนถึงคำถามอย่างถ้าคุณมี
เวลาเหลืออีก 6 เดือนในชีวิต คุณจะทำอะไร”      ในการค้นคว้าสถาปนิกตื่นจะพยายาม
ศึกษางานออกแบบและผู้ใช้งานมากไปกว่าเรื่อง
ดินฟ้าอากาศ ทิวทัศน์รอบด้าน หรือความ
ต้องการพื้นฐาน แต่พวกเขาจะให้การทำงาน
พาเข้าไปในโลกของเจ้าของงานให้มากที่สุด และ
ทำความเข้าใจบริบทในทุกมิติเท่าที่จะเป็นไปได้ 
รวมถึงกำหนดเป้าหมายของงาน โดยไม่ใช่
เฉพาะแค่ด้านภาพลักษณ์ แต่เป็นเป้าหมาย
และคุณค่าที่เจ้าของงานและนักออกแบบ
จะเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้น เช่น เป้าหมาย
ว่างานออกแบบนั้นจะส่งผลดีกับเมืองนั้น ๆ 
อย่างไร หรือเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าทางใจ
สำหรับเจ้าของโดยเฉพาะ      “ผมมองว่าจริง ๆ ขั้นตอนของการ
ออกแบบมันเป็นแค่ช่วงสั้น ๆ แต่ช่วงแรก
ก่อนการเกิดขึ้นของบางสิ่งที่มันจะอยู่ไป
อีกนานนี้สำคัญมาก จะเห็นว่าทุกโปรเจ็กต์
เราจะเน้นให้เจ้าของเข้ามามีส่วนร่วมเยอะ 
เพราะตัวเขาเองเป็นคนใช้งาน ถ้าเขาเข้าใจ
ที่มาที่ไปของสิ่งที่มันจะอยู่ไปอีกนาน ผมว่า
นั่นถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว” คุณ
ภคชาติกล่าว      “การรีเสิร์ชหรือการทำอะไรเยอะ ๆไม่ใช่แค่เราจะได้เข้าใจเขา แต่ผมว่าเขาจะเข้าใจเรามากขึ้นด้วย” คุณภาสพงศ์ มณี-วัฒนา อีกหนึ่งสถาปนิกในกลุ่มกล่าวเสริม“เขาจะเข้าใจกระบวนการทำงาน แล้วเขาจะรู้ว่า โอเค บางอย่างที่มันต้องเป็นอย่างนี้นั้นเป็นเพราะอะไร หรือทำไมมันถึงต้องใช้เวลา”      จึงกล่าวได้ว่า นอกจากการให้ความสำคัญกับมิติรอบด้านของตัวงาน การให้เจ้าของงานได้มีบทบาทกับงานของตัวเองอย่างมาก ก็เป็นแนวทางการทำงานที่กลุ่มสถาปนิกตื่นเห็นตรงกันว่า จะทำให้ได้งานออกแบบที่มีคุณค่ามากที่สุด มากกว่าที่ “สถาปนิก” จะเป็นผู้กะเกณฑ์ฝ่ายเดียว เรือนพินรัตน์ บ้านไม้สองชั้นของ
ครอบครัวรอดสุดในจังหวัดพัทลุง อีกหนึ่ง
ผลงานของสำนักงาน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดี
ของการให้เจ้าของบ้านได้เข้ามามีส่วนร่วม
กับงานออกแบบอย่างลึกซึ้ง      “ตัวเจ้าของบ้านค่อนข้างชัดมากว่าต้องการอะไร” คุณภคชาติเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของบ้าน “เขาถึงขนาดสเก็ตช์รูปมาให้ว่าอยากให้บ้านออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งเราก็ยึดสเก็ตช์ตัวนี้แหละเป็นเครื่องมือ เราไม่ได้อยากจะสร้างหรือเปลี่ยนภาพลักษณ์อะไรใหม่ เราให้ความเคารพกับสิ่งที่ออกมาจากตัวเขา ซึ่งสิ่งนั้นก็คือความทรงจำ โดยที่เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามันคือส่วนผสมระหว่างความทรงจำที่เขามีกับบ้านคุณตาคุณยายเขากับชีวิตสมัยใหม่ที่เขาอยากจะเป็นในบ้านหลังนี้”      เรือนพินรัตน์เกิดจากความคิดของคุณวิวัฒน์ รอดสุด เจ้าของบ้าน ที่ต้องการสร้างบ้านหลังใหม่ให้เป็นสัญลักษณ์ของการระลึกถึงและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยนอกจากการนำไม้เก่าจากบ้านคุณตาคุณยายมาใช้ การมีมุมติดรูปคุณตาคุณยายไว้ที่มุมหนึ่งของข้างฝา การใช้รูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมที่อ้างอิงกับเรือนพื้นถิ่นภาคใต้แบบที่คล้ายกับบ้านหลังเก่า ชื่อของบ้านยังได้มาจากชื่อของคุณยายพินและคุณตาวิรัตน์ ทั้งหมดรวมกันจึงเป็นบ้านที่ประกอบขึ้นมาจากองค์ประกอบทางความทรงจำ และความหมายที่มีคุณค่าต่อเจ้าของบ้านโดยเฉพาะอย่างลึกซึ้ง      ท้ายที่สุดการให้ความสำคัญกับการเน้นความหมายที่อยู่ในแต่ละสถานที่มากกว่าการกำหนดออกมาจากตัวนักออกแบบเอง จึงเป็นสิ่งที่กลุ่มสถาปนิกตื่นมุ่งหวังมาโดยตลอด ดังที่คุณภคชาติกล่าวสรุปในตอนท้าย      “เรื่องนี้มันสะท้อนในวิธีคิดของพวกเราเหมือนกัน คือเรารู้สึกว่าบางทีสถาปนิก หรือดีไซเนอร์นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของความสวยงาม หรือว่าสิ่งที่ออกมาจากดีไซเนอร์เท่านั้นที่มันจะสวย      “งานพื้นถิ่น หรือถ้าเป็นในเมืองถือเป็นงานแนวสตรีทดี ๆ นี่เอง ซึ่งล้วนแต่มีความงามติดตัวมาอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะเห็นมันหรือเปล่า ความธรรมดาและความเรียบง่ายมันมีอยู่ทุกที่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นดีไซเนอร์เท่านั้นที่จะสร้างสรรค์ความงามออกมาได้” เรื่อง : กรกฎา, โมโนโซดาภาพ : ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ

party / space / design สตูดิโอออกแบบในบรรยากาศคาเฟ่

party / space / design สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบพื้นที่ธุรกิจร้านอาหารและคาเฟ่ ที่สร้างประสบการณ์ใหม่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้งาน

อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอนักเล่าเรื่อง ที่เชื่อในอิสรภาพทางความคิด

ตึกแถวสองคูหาย่านเจริญนครได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นบ้านหลังใหญ่ของ อิสรภาพ ดีไซน์สตูดิโอที่สนุกกับการสังเกต และตีความบริบทไทยใกล้ตัว เพื่อบอกเล่าใหม่ผ่านงานออกแบบร่วมสมัย ที่นี่เป็นทั้งสตูดิโอ เวิร์กชอป และพื้นที่จัดแสดงสำหรับการสร้างสรรค์ของพวกเขา “อิสรภาพ” คือการรวมกลุ่มของ 4 นักออกแบบจาก 3 สตูดิโอ ณิชภัค ต่อสุทธิ์กนก และวนัส โชคทวีศักดิ์ จาก ease Studio ธีรพจน์ ธีโรภาส จาก Kitt-ta-khon และรัฐธีร์ ไพศาลโชติสิริ จาก SATAWAT พวกเขาต่างสวมหมวกหลายใบเพื่อทำงานสร้างสรรค์ในหลายสถานะ แต่ภายใต้ชื่ออิสรภาพ ความเชื่อที่ว่าทุกคนในสังคมมีอิสระทางความคิด ที่นี่คือพื้นที่สำหรับการตั้งคำถาม ทดลองค้นหาคำตอบ และบอกเล่ากระบวนความคิดอย่างไร้กรอบ ชื่อของอิสรภาพปรากฏในโปรเจ็กต์สร้างสรรค์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลงานออกแบบทั้งที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Anonymous Chair หรือการทำงานร่วมกับ Design Plant รวมไปถึงผลงานการออกแบบนิทรรศการล่าสุด Survival of Craft – 1989 to 2020 ณ  ATT 19 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่หากย้อนกลับไปเมื่อ […]

FUKAKUSA STUDIO HOUSE สตูดิโอของคู่รักงานไม้กลางป่าไผ่ในเกียวโต

บ้านกึ่งสตูดิโอ ของคู่รักงานไม้ ในจังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ทั้งคู่ได้ตัดสินใจสร้างบ้านเป็นของตนเอง จึงวางใจให้สถาปนิกจากสำนักงานออกแบบ masaru takahashi เป็นผู้สานฝันให้บ้านใหม่นี้ มีฟังก์ชันเป็นทั้งที่พักอาศัยเเละพื้นที่ทำงานคราฟต์ที่พวกเขาหลงรัก โดยเริ่มจากการหาทำเลดี ๆ ที่ถูกใจผ่านเว็บไซต์ จนมาพบกับที่ดินอันเงียบสงบใกล้ ๆ กับป่าไผ่ ซึ่งได้ทั้งวิวป่าไผ่และทุ่งนา กลายเป็นทิวทัศน์ที่ช่วยเสริมให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ หลังนี้ ดูโดดเด่นสวยงามท่ามกลางธรรมชาติ แต่ที่ดินนี้ก็มีข้อจำกัดเรื่องปัญหาการเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติดินถล่ม อีกทั้งยังติดกฎระเบียบทางสถาปัตยกรรมมากมาย เช่น กฎหมายภูมิทัศน์เมืองเกียวโต ซึ่งได้กลายมาเป็นความท้าทายในการออกแบบครั้งนี้อย่างยิ่ง เนื่องจากที่ตั้งของบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน ซึ่งมีความสูงของพื้นที่ฝั่งหนึ่งมากถึง 1.7 เมตร จากฝั่งถนน และอีกฝั่งก็มีสภาพพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม ผู้ออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการออกแบบผนังให้มีความหนา 250 มิลลิเมตร เพื่อเป็นกำแพงกันดินในฝั่งดังกล่าว ซึ่งมีธรณีสัญฐานเป็นดินและทราย ขณะเดียวกันก็พลิกข้อกำจัดของพื้นที่ให้เป็นโอกาสด้วยการผสานตัวอาคารให้เป็นหนี่งเดียวกับป่าไผ่ เริ่มจากการวางผังอาคารขนาด 3 ชั้น ที่หันทิศทางหน้าบ้านไปทางป่าไผ่ เพื่อมอบวิวดี ๆ สำหรับต้อนรับเมื่อเจ้าของเปิดประตูเข้าบ้าน พื้นที่ชั้น 1 กำหนดให้เป็นสตูดิโอทำงานไม้ เน้นช่องเปิดที่ให้แสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในให้มากที่สุด และมองเห็นป่าไผ่ขณะทำงานได้อย่างเต็มตา ในชั้นนี้กั้นห้องแบบผนังหนาพิเศษ สำหรับการทำงานไม้ที่มักมีเสียงดังรบกวน โดยวางห้องไว้ตำแหน่งในสุด ส่วนของโถงทางเข้าและโถงบันไดมีช่องเปิดเพียงเล็กน้อย เพื่อควบคุมปริมาณแสงสำหรับเป็นพื้นที่แกลเลอรี่จัดแสดงผลงาน […]

STUDIOLOGY เปลี่ยนภาพลักษณ์สตูดิโอ ด้วยผนังอิฐที่เปลี่ยนผันตามธรรมชาติ

จากภาพลักษณ์ สตูดิโอ ให้เช่าที่มักมีหน้าตาเป็นโกดัง หรือโครงเหล็กสไตล์อินดัสเทรียล ซึ่งเป็นการออกแบบไม่มากวิธี จนได้รับความนิยมกันอย่างดาษดื่น จะเป็นอย่างไรหากสตูดิโออยากเปลี่ยนโฉมมาเป็นอาคารกรุผนังอิฐสีส้มดูบ้าง ซึ่งให้ทั้งความโดดเด่นเเละงดงามอย่างเป็นธรรมชาติในเวลาเดียวกัน DESIGNER DIRECTORY :  ออกแบบ : Atelier of Architects  ในซอยลึกของถนนประเสริฐมนูกิจ 29 ย่านลาดพร้าว อาคารอิฐ ทรงกล่องขนาดใหญ่ตั้งอยู่อย่างเด่นหรา ดูแปลกแยกจากอาคารบ้านเรือนและสุมทุมพุ่มไม้โดยรอบ กล่องทรงคล้ายลูกบาศก์ที่ว่านี้เป็นส่วนหนึ่งของ “Studiology” สตูดิโอ ให้เช่าสำหรับงานถ่ายทำทุกประเภท สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนภาพจำของสตูดิโอถ่ายทำทั่วไปสามารถให้บริการได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ด้วยขนาดของสถานที่ Studiology นั้น นับเป็นสตูดิโอขนาดกลาง ที่มีข้อดีคือการตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองอันสะดวกกับหลายทีมงานกองถ่ายที่มักทำงานอยู่ในตัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งนับว่าหาได้ยากสำหรับสตูดิโอในขนาดเดียวกัน นอกจากนั้นความที่ตั้งอยู่ในซอยลึกห่างจากความพลุกพล่านของถนนใหญ่ ยิ่งช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับศิลปินดาราทีมงานกองถ่ายทำ คุณทวีพล ธีระวิชิตชัยนันท์ หนึ่งในหุ้นส่วนผู้เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งมีประสบการณ์อยู่ในอุตสาหกรรมโปรดักชั่นเฮ้าส์เป็นทุนเดิม เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไปของโครงการว่า “ไอเดียของเราคืออยากให้เป็นสตูดิโอที่มีความเป็นส่วนตัวสูงสำหรับลูกค้า เรามีแค่สตูดิโอเดียวเท่านั้น ดังนั้นเวลามาใช้งานทั้งพื้นที่ จะมีแต่ทีมของเรา เหมาะกับกองถ่ายที่มีดนดัง หรือศิลปินที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ตอนที่คุยกับสถาปนิก เราอยากให้มันเป็นแลนด์มาร์ก คือตัวสตูดิโอจริง ๆ จะเป็นแค่กล่องสี่เหลี่ยมที่ฟังก์ชันอยู่ข้างใน แต่ข้างนอกเราก็อยากให้มีความโดดเด่น คนจดจำได้ว่าที่นี่คือ Studology” […]

STUDIOK บ้านกึ่งสตูดิโอริมแม่น้ำปิงของศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย “นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล”

“สตูดิโอเค” บ้านกึ่งสตูดิโอ ที่แฝงตัวอย่างสงบอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่มริมแม่น้ำปิง ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่มากนัก บนผืนดินกว่า 1 ไร่ แห่งนี้ คืออาณาจักรศิลปะของ คุณนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ศิลปินไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของรางวัลศิลปาธรสาขาทัศนศิลป์ปี 2553 ผู้รังสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยเปี่ยมเอกลักษณ์อันเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ DESIGNER DIRECTORY ออกแบบ: Materior Studio เดิมอาณาจักรศิลปะแห่งนี้ มีเพียงตัวอาคารปูนเปลือยดั้งเดิมที่ได้รับการออกแบบโดย สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ เมื่อหลายปีก่อน เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของบริษัท นาวินโปรดักชั่น จำกัด รองรับการผลิตผลงานศิลปะของเขา แต่เมื่อโปรเจ็กต์การสร้างสรรค์มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงมาพร้อมความต้องการพื้นที่ที่เป็นสัดส่วนสำหรับทีมงาน คุณนาวินจึงตัดสินใจขยับขยายสร้างพื้นที่สตูดิโอขึ้นใหม่ให้เชื่อมต่อกับอาคารเดิม พร้อม ๆ กับปรับปรุงต่อเติมพื้นที่บางส่วนบนชั้นสองของอาคารเดิมให้เป็นที่พักอาศัยในคราวเดียวกัน โดยงานนี้มี คุณสุเมธ กล้าหาญ จาก Materior Studio มารับหน้าที่ช่วยดูแลด้านการออกแบบให้ บ้านกึ่งสตูดิโอ แห่งนี้ “คุณนาวินตั้งใจจะขยายพื้นที่เวิร์กช็อปให้เป็นกิจลักษณะและมีที่จอดรถ โดยให้ชั้นล่างเป็นส่วนเวิร์กช็อป และชั้นบนเป็นสตูดิโอวาดภาพขนาดใหญ่ และพื้นที่จัดแสดงผลงาน เราทดลองออกแบบกับวัสดุหลายอย่างมาก ตั้งแต่อิฐดิบ ๆ ผนังปูน จนสุดท้ายมาจบที่เมทัลชีทสีดำ ผนังด้านในกรุยิปซัม และไม้อัด พร้อมกับทำช่องเปิดดูปลอดโปร่งเพราะต้องการใช้แสงธรรมชาติมากกว่าการควบคุมแสงไฟแบบในแกลเลอรี่ทั่วไป” อาคารโครงสร้างเหล็กทรงกล่องกรุเมทัลชีตสีดำจึงได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ […]