THE ARTISANS AYUTTHAYA กับพันธกิจสืบทอดสูตรอาหารหากินยากให้คงอยู่

เยี่ยมสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน ผู้คน ช่างฝีมือ และอาหาร ‘The Artisans Ayutthaya’ ตึกครึ่งไม้ครึ่งบล็อกแก้วริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สร้างขึ้นมาเพื่อพันธกิจสืบทอดสูตรอาหารหากินยากให้คงอยู่ ตอนนี้พร้อมแล้วที่จะส่งต่อสำรับอาหารพื้นบ้านฝีมือป้า-ยายชาวบ้านรุน ให้ทุกคนได้ลิ้มลอง

มองความงามผ่านเฟรมด้วยนวัตกรรมจาก TOSTEM

TOSTEM ได้จัดงานแสดงโชว์ศักยภาพนวัตกรรมในรูปแบบ ‘Home Solution & Living Space’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “FRAMING THE BEAUTY OF LIVING” 

บ้านปูนชั้นเดียว ที่ยกใต้ถุนสูงเผื่อน้ำท่วม

บ้านปูนชั้นเดียว เท่ๆ หลังนี้ยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากเคยมีน้ำท่วมมาก่อน มีชายคาคอนกรีตยื่นยาวประมาณ 4 เมตรโดยไม่มีเสารองรับ เพราะตั้งใจให้เป็นที่จอดรถ บ้านปูนชั้นเดียว หลังนี้เป็นของ คุณขวัญชัย สุธรรมซาว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ซึ่งตั้งใจสร้างบ้านนี้ให้คุณพ่อ คุณแม่ และน้องชาย ตัวบ้านตั้งอยู่บนที่ดินเดิมของบ้านคุณพ่อคุณแม่ ภายในชุมชนเล็กๆ ที่เงียบสงบของอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เป็นบ้านที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ของผู้อยู่อาศัย รูปแบบของบ้านปูนชั้นเดียวนี้ดูโมเดิร์นทั้งหน้าตาและวิธีการคิด เส้นสายที่ตรงไปตรงมาและการออกแบบที่เน้นเรื่องการใช้งานเป็นหลัก ทำให้บ้านนี้ดูเข้ายุคสมัย คุณขวัญชัยบอกว่า นำวัสดุบางส่วนจากบ้านเก่าซึ่งปลูกในบริเวณใกล้เคียงกันมาซ่อมแซมและออกแบบใช้ใหม่กับบ้านนี้ให้มากที่สุด นอกจากช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้างได้มากแล้วยังเป็นการรียูส (reuse) ซึ่งไม่ทำลายทรัพยากรโลกอีกด้วย เช่นไม้ทำระแนงและผนังตกแต่งก็เป็นไม้ส่วนพื้น บันได และจันทันของบ้านเก่า ผนังภายนอกของบ้านที่มีผิวเป็นคลื่นเป็นลอนก็คือกระเบื้องลอนคู่ของบ้านเก่าเช่นกัน นำมายึดติดกับผนังก่ออิฐเลย ไม่ต้องฉาบก่อน ประหยัดค่าฉาบผนังได้อีก บ้านชั้นเดียวหลังนี้มีการยกใต้ถุนขึ้นสูงประมาณ 1.60 เมตร เนื่องจากพื้นที่นี้เคยมีน้ำท่วมมาก่อน เจ้าของบ้านจึงอยากได้บ้านที่มีใต้ถุนเพื่อความอุ่นใจเวลาน้ำมา และพื้นที่นี้ยังใช้เป็นที่จอดรถและใช้งานในบางกิจกรรมหรือเป็นที่เก็บของได้ด้วย ข้อดีอีกอย่างของการยกพื้นก็คือ ทำให้บ้านไม่ร้อน เพราะลมพัดพาเอาความร้อนออกไปได้มากขึ้น บ้านวางผังเป็นรูปตัวแอล (L) ทำช่องเปิดรับแสงแดดยามเช้าด้านทิศตะวันออก แม้แสงจะสาดส่องเข้ามาถึงภายในบ้าน แต่ก็เป็นแสงอ่อนๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนผนังอาคารด้านที่หันสู่แสงแดดตรงๆ ก็มีระแนงแนวตั้งคอยกรองแสง […]

KB BUILDING IPKW เปลี่ยนโรงงานผลิตเส้นใยไนลอนเป็นออฟฟิศสร้างสรรค์

เปลี่ยนโฉมโรงงานผลิตเส้นใยไนลอนที่สร้างขึ้นในปี 1940 ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ผ่านการรีโนเวตเป็นสำนักงานใหม่ที่มีความโปร่งโล่ง แยกสัดส่วนอย่างดี

สวนเมืองร้อน ของสถาปนิกระดับโลก

บ้านและสวนเดินทางไปประเทศศรีลังกา และมีโอกาสได้เยี่ยมชมบ้าน สวน และสถานที่สวยๆหลายต่อหลายแห่ง ที่หนึ่งที่เราประทับใจคือบ้านในสวนกว้างของสถาปนิกระดับปรมาจารย์ชาวศรีลังกาที่ชื่อ Geoffrey Bawa  หลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อเสียงและเห็นภาพผลงานของเขามาบ้างแล้ว ที่นี่ทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องราวก่อนที่เขาจะกลายเป็นผู้ที่ทำให้สถาปัตยกรรมและการจัดสวนสไตล์บาหลีเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สวนเมืองร้อน บาวาเติบโตในครอบครัวเลือดผสมในยุคที่ประเทศศรีลังกายังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ เขาได้รับการเลี้ยงดูแบบผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก ดังนั้นความคิดความอ่านและมุมมองของเขาในเรื่องศิลปะวัฒนธรรมจึงกว้างขวาง แม้จะเรียนจบทางด้านกฎหมายในปี 1942 และเริ่มทำงานเป็นทนายความตามที่บิดาคาดหวังไว้ แต่หลังจากทำงานนี้ได้ไม่นานเขาก็เริ่มเบื่อหน่าย ในที่สุดบาวาก็ลาออกจากงานและไปท่องเที่ยวทวีปยุโรปในปี 1946 การเดินทางครั้งนี้ทำให้เขาหลงใหลในสุนทรียภาพของสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมคลาสสิกของประเทศอิตาลี เขาได้เห็น “วิลล่า” หรือคฤหาสน์บนเขาที่มีสวนและทิวทัศน์โดยรอบที่เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเดินทางกลับประเทศศรีลังกาในปี 1948 เขาได้ซื้อสวนยางพาราเก่าที่ปล่อยทิ้งร้างบนภูเขาในเมืองเบนโตตา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะแปลงโฉมที่ดินเสื่อมโทรมผืนนี้ให้กลายเป็นสวนสวยแบบที่เขาเคยเห็นในประเทศอิตาลี สวนยางแห่งนี้มีชื่อว่า “ลูนากังก้า” (Lunaganga) สวนสไตล์บาหลี บาวาพยายามออกแบบบ้านและจัดสวนด้วยตัวเอง แต่ก็ได้พบความจริงว่า เขามีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการออกแบบบ้านและสวนไม่มากพอ ในปี1951 เขาตัดสินใจหางานทำในสำนักงานสถาปนิกเพื่อหาประสบการณ์เพิ่มเติม  และสมัครเข้าเรียนด้านสถาปัตยกรรมที่ Architectural Association สถาบันออกแบบที่มีชื่อเสียงของประเทศอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุ 34 ปี และกลายเป็นนักศึกษาปีหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดในโรงเรียน  สามสิบปีต่อมาบาวากลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงของประเทศศรีลังกา ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อวงการออกแบบทั่วโลกในช่วงปลายศริสต์ศตวรรษที่ 20  เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบที่ผสมผสานสุนทรียภาพจากระเบียบแบบแผนในงานออกแบบของยุโรปให้เข้ากับศิลปะวัฒนธรรม และเสน่ห์การใช้ชีวิตของชาวเอเชียใต้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากงานในประเทศแล้ว เขายังมีงานออกแบบในกลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง โดยเฉพาะที่โรงแรมบนเกาะบาหลีซึ่งกลายเป็นต้นแบบของอาคารในประเทศเขตร้อนที่เราเรียกว่า “สไตล์บาหลี”   […]

พาส่องงานออกแบบพื้นที่ภายใน “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ใหม่ “จากผ้าไทย สู่ดีไซน์ร่วมสมัยที่แตกต่าง”

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก ติดกับสวนเบญจกิติ และโรงงานยาสูบเดิม “ศูนย์ฯสิริกิติ์” นับได้ว่าเป็นศูนย์การประชุมระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร และมีการใช้งานอย่างเนืองแน่นตลอดมากว่า 30 ปี จนกระทั่งได้ปิดปรับปรุงไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับงานออกแบบศูนย์ฯสิริกิติ์ใหม่ทั้งหมด ให้รองรับกับความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมีพระราชดำรัส “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ในครั้งนี้นั่นเอง วันนี้เราได้รับโอกาสจาก คุณออ-อริศรา จักรธรานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ONION สำนักงานสถาปนิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านการออกแบบ “ความเป็นไทย” ให้ “ร่วมสมัย” ดังเช่นผลงานที่ผ่านมาอย่าง SALA Ayutthaya หรือร้านอาหารบ้านป้อมเพชร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงผลงานล่าสุด […]

Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ยั่งยืนด้วยพลังงานหมุนเวียน

ในเมื่อผืนน้ำกินพื้นที่กว่า 70% ของโลก ถ้าเรามองหาแนวทางที่จะอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างยั่งยืน ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในเขตเมืองนับวันยิ่งมีอัตราการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ Schoonschip จึงเป็นหนึ่งในโครงการนำร่องชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ออกแบบทางเลือกใหม่ของการใช้ชีวิตบนน้ำของผู้คนสำหรับโลกยุคอนาคต Schoonschip ชุมชนลอยน้ำอัจฉริยะ ตั้งอยู่ในคลอง Johan van Hasselt ทางเหนือของกรุงอัมสเตอร์ดัม ออกแบบโดย Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ด้วยความตั้งใจที่จะออกแบบผังเมืองที่ตอบโจทย์การอยู่อาศัยยุคใหม่ พวกเขาร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา และผู้อยู่อาศัยท้องถิ่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย 30 ยูนิตลอยน้ำ โดยแต่ละยูนิตอยู่ร่วมกัน 2 ครอบครัว รวมบ้าน 46 หลังสำหรับสมาชิกชุมชนกว่าร่วม 100 คน โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2011 และบ้านหลังสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปีนี้ เจ้าของบ้านสามารถร่วมออกแบบกับสถาปนิกที่ตนเลือก ส่งผลให้บ้านแต่ละหลังแตกต่างกัน ทั้งด้วยวัสดุ และรูปแบบเฉพาะตัว นอกจากนี้ แต่ละยูนิตของบ้านลอยน้ำ Schoonschip สามารถใช้เรือเคลื่อนย้ายไปก่อสร้างในพื้นที่อื่น โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะทางเสียง รบกวนเพื่อนบ้านรอบข้าง Space&Matter สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเนเธอแลนด์ ที่ทำงานออกแบบมากกว่าแค่งานสถาปัตยกรรม แต่ยังรวมไปถึงงานผังเมือง และการวางแผนพัฒนา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น […]

ผนังดินอัด La Terre (ลาแตร์) วัสดุธรรมชาติจากเทคโนโลยีโบราณสู่วัสดุสถาปัตยกรรมโมเดิร์น

ผนังดินอัด หนึ่งในวิธีการดั้งเดิมตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในการสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ด้วยความสนใจในความเป็นธรรมชาติทั้งความงามและในแง่ของวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่คุณปัจจ์ บุญกาญจน์วนิชา แห่ง บริษัท ลาแตร์ จำกัด ได้เลือกศึกษาในระดับปริญญาโท ณ สถาบันวิจัยดินเพื่อการก่อสร้างนานาชาติ CRA-Terre ซึ่งเป็นที่ปรึกษาขององค์การ Unesco และดูแลหลักสูตร Post Master in Earth Architecture ณ โรงเรียนสถาปัตยกรรมชั้นสูง เมืองGrenoble ประเทศฝรั่งเศส (Ecole Nationale Superieure D’architecture De Grenoble, France) และในวันนี้ room Magazine ก็ได้ขอมาเยี่ยมเยือนออฟฟิศของสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในทาง “ดิน” ที่เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในไทยคนนี้กันเลยทีเดียว เริ่มต้นกับดิน “ผมเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตช่วงปี 2542 เป็นช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ซึ่งงานหายากมาก พอจบออกมาก็ไปทำงานอยู่บริษัทรับเหมา ทำได้อยู่ช่วงหนึ่งก็ย้ายไปทำงานสถาปนิกที่ภูเก็ต ช่วงนั้นก็ทำหลายอย่าง เป็นดีเจบ้าง รับวาดภาพบ้าง สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายไปเรียนต่อที่ประเทศฝรั่งเศส เรียนอยู่ 4 ใบ เรียนจบก็ลงเรียนใหม่ต่อวีซ่าไปเรื่อย ๆ […]

POWELL STREET HOUSE รีโนเวตบ้านเก่ายุค 1930 ให้ร่วมสมัย

POWELL STREET HOUSE ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองยาร์รา (Yarra) ในกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ตัวบ้านดั้งเดิมจากยุค 1930 แบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีทางเข้าแยกกัน สำนักงานสถาปนิก Robert Simeoni Architects จึงรีโนเวตบ้านเก่าเชื่อมต่อเป็นหลังเดียวอย่างสมบูรณ์ งานรีโนเวต ปรับปรุงเป็นไปภายใต้แนวคิดการเก็บรักษา และเคารพสภาพเดิมของอาคารให้มากที่สุด โดยคงผนังอาคารส่วนใหญ่ไว้ และมีการดัดแปลงเล็กน้อย เน้นการสร้างบรรยากาศที่เข้มขรึม นิ่งสงบ เช่นเดียวกับบ้านดั้งเดิม พร้อมทั้งสร้างมุมมองที่เชื่อมต่อกันตลอดผังพื้นเดิมที่ค่อนข้างเล็กและแคบ ส่วนต่อเติมใหม่ประกอบด้วยส่วนครัว พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องซักรีด โดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุสมัยใหม่ที่ดูแตกต่างขัดแย้งอย่างชัดเจนกับบรรยากาศดั้งเดิม อาทิ เหล็กสีดำ กระจกลอนขุ่น และคอนกรีตขัดมัน บานหน้าต่างซิกแซกที่เปิดออกสู่คอร์ตยาร์ดคือจุดเด่นของบ้านและช่วยกรองแสงให้นุ่มนวล แตกต่างจากบ้านโดยทั่วไปมักนิยมเปิดรับรับแสงธรรมชาติให้มากที่สุด พื้นที่นี้ได้รับการออกแบบให้มีดับเบิ้ลสเปซสูงโปร่ง ซึ่งมาพร้อมกับการวางตำแหน่งหน้าต่างในระดับสูง การเลือกใช้โทนสีเข้ม และการควบคุมปริมาณแสงสร้างความรู้สึกเงียบสงบราวกับวิหาร ทำให้เกิดเส้นแบ่งที่กำกวมระหว่างความเก่า และความใหม่ พื้นที่ภายใน และภายนอก นอกจากนี้ การเลือกใช้ชุดสียังสอดคล้องกับพื้นที่ใช้สอย ตอบรับกับสเปซ และแสงสว่างที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังช่วยเชื่อมโยงทุกพื้นที่เข้าด้วยกัน ส่วนชั้นบนใช้เป็นห้องนอนหลัก และห้องน้ำ รวมถึงห้องแต่งตัว ภายในห้องน้ำได้รับการออกแบบโดยใช้วัสดุที่สะท้อนถึงสถาปัตยกรรมในยุค 1930 ของบ้านดั้งเดิม Robert Simeoni […]

ต่อเติมบ้าน เก่าให้โมเดิร์น พร้อมเชื่อมโยงสเปซเดิมผ่านเทอร์ราซโซ

บ้านรูปทรงกล่องภาพลักษณ์โมเดิร์นที่เกิดจากการปรับปรุง และ ต่อเติมบ้าน เก่าอายุสองทศวรรษ ให้ตอบโจทย์ทั้งด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ร่วมกับบ้านหลังอื่นในที่ดินผืนเดียวกัน ดังนั้นนอกจากการ ต่อเติมบ้าน เพิ่มพื้นที่ใช้สอยแล้ว การออกแบบยังต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย เมื่อได้รับโจทย์เบื้องต้นจากทางเจ้าของบ้านให้รีโนเวตบ้านขนาดพื้นที่ 358 ตารางเมตร คุณเอกภาพ ดวงแก้ว ผู้ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิก EKAR จึงเริ่มจากการพิจารณาถึงความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการออกแบบ ทั้งด้านโครงสร้างเดิม พื้นที่ใช้สอย และรูปแบบของอาคาร โดยตัดสินใจปรับเปลี่ยนที่จอดรถใหม่ จากเดิมที่มีขนาดเล็ก คับแคบตามสไตล์บ้านยุคเก่า ให้กว้างขวางและเชื่อมต่อการใช้งานกับพื้นที่บ้านได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งต่อเติมอาคารบริเวณด้านหน้าบ้าน สำหรับพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้นล่าง และห้องนอนที่มีห้องแต่งตัว และห้องน้ำขนาดใหญ่ตามโจทย์ที่ได้รับจากเจ้าของบ้านบนชั้นสอง โดยออกแบบให้มีการเชื่อมพื้นที่ใช้สอยกับบ้านเดิมอย่างต่อเนื่องกลมกลืน คอร์ตขนาดเล็กที่เกิดขึ้นระหว่างบ้านเดิมและพื้นที่ต่อเติมช่วยดึงแสงสว่างเข้ามาในพื้นที่ใช้งานได้ตลอดวัน นอกจากนี้ ในส่วนของบ้านเดิม เมื่อทุบพื้นชั้น 2 เหนือห้องรับประทานอาหารออก ทำให้เกิดพื้นที่เปิดโล่งจากชั้นหนึ่งขึ้นไปจรดหลังคาของชั้นสอง (Double space) สร้างบรรยากาศโปร่งสบาย และดูโอ่โถง โดยเลือกกรุฝ้าเพดานให้ขนานไปกับแนวหลังคาทรงจั่ว และสร้างความน่าสนใจให้ฝ้าเพดานด้วยโครงสร้างไม้สีอ่อน กล่องไฟส่องสว่างพาดยาวต่อเนื่องจากผนังด้านหนึ่งถึงอีกด้าน สร้างเส้นนำสายตาให้เกิดความรู้สึกเชื่อมต่อของพื้นที่ระหว่างส่วนบ้านเก่ากับส่วนที่ต่อเติมใหม่ สำหรับการตกแต่งภายในเน้นความโปร่งโล่ง เลือกใช้สีโทนสว่างและเฟอร์นิเจอร์หลักเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน ส่วนต่อเติมใหม่กรุพื้นไม้ลามิเนตสีอุ่น ช่วยดึงความขรึมของพื้นหินขัดในบ้านเดิมให้ภาพรวมดูโมเดิร์น และมีชีวิตชีวามากขึ้น หากมองจากภายนอก ส่วนของบ้านที่ต่อเติมใหม่ด้านหน้าจะไม่มีช่องเปิดบนชั้นสอง เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว […]

HAS design and research

HAS design and research HAS design and research สำนักงานสถาปนิก ที่ผลงานได้รับการยอมรับในระดับสากล ก่อตั้งโดยสถาปนิก Jenchieh Hung และกุลธิดา ทรงกิตติภักดี ที่อยู่ : 604/186 ซอยเพชรเกษม 91/2 ถนนเพชรเกษม บางแค กรุงเทพฯ 10160 โทรศัพท์ : 02-125-2783 Facebook : hasdesignandresearch Website : www.hasdesignandresearch.com

รวมบ้านที่ตื่นมาก็เจอวิวทุ่งนา ใช้ชีวิตเหมือนอยู่สวรรค์บนดิน

หากลืมตาตื่นขึ้นมาทุกเช้าก็ได้เห็นวิวทุ่งนาในยามยืนต้นเขียวขจีไปจนถึงสีทองอร่ามตา ก็มีคนจำนวนไม่น้อยฝันอยากมี บ้านกลางทุ่งนา แบบนี้บ้างล่ะ 

JOUER ชุมชนสร้างสรรค์ในกลุ่มบ้านเก่าย่านสุขุมวิท

ท่ามกลางความพลุกพล่านของย่านใจกลางกรุง ซอยสุขุมวิท 32 คือซอยเล็ก ๆ ที่แทรกตัวอยู่ข้างอาคารคอนโดมิเนียมสูงตระหง่าน โดยมี Jouer (ฌูเอ้) ชุมชนสร้างสรรค์ขนาดย่อมตั้งอยู่บนที่ดินด้านในสุด ประกอบไปด้วยร้านตัดผม คาเฟ่ขนมหวาน ร้านทำเล็บ ร้านเฟอร์นิเจอร์ สำนักงานสถาปนิก สตูดิโอสร้างสรรค์สิ่งพิมพ์ Risograph ไปจนถึงแกลเลอรี่ศิลปะ ทั้งหมดนี้หลอมรวมอยู่ใน “กลุ่มบ้าน” ย้อนยุค 4 หลังท่ามกลางแมกไม้เขียวชอุ่ม ที่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งรวมคนทำงานสร้างสรรค์ เปิดให้ผู้ที่ชื่นชอบศิลปะเข้ามาเยี่ยมชมได้อย่างอิสระ แถมในบางช่วงยังมีตลาดนัดศิลปะตามวาระอีกด้วย Jouer มีจุดเริ่มต้นจาก Dai Mogi เจ้าของร้านตัดผม Rikyu ในเครือของ Boy Tokyo ที่มีชื่อเสียงมานานแล้วกว่า 20 ปี ในประเทศญี่ปุ่น โดดเด่นด้านการผสมผสานการตัดผมเข้ากับศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ และได้เลือกกรุงเทพฯ เป็นสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2553 จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Rikyu ได้ย้ายถิ่นฐานจากซอยสุขุมวิท 24 มายังซอยสุขุมวิท 32 แห่งนี้ แต่แทนที่จะทำร้านตัดผมเพียงอย่างเดียว พวกเขาได้ชักชวนเพื่อน ๆ ในวงการสร้างสรรค์หลายสาขาวิชาชีพให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกครอบครัวใหญ่ด้วยกัน […]

บันทึกเพื่อพิทักษ์ สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ในมุมมองของ วีระพล สิงห์น้อย และฤกษ์ดีโพธิวนากุล

จากมุมมองของผู้คนทั่วไปรูปลักษณ์อันคุ้นชิน ของสถาปัตยกรรม “สมัยใหม่” คงดูไม่เก่าแก่ พอจะให้นึกไปถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันอาคารที่เก่าคร่ำคร่าผ่านการ ใช้งานมาอย่างยาวนานและต้องอาศัย งบประมาณก้อนโตในการบำรุงรักษา หลาย คนอาจมองว่าไม่เอื้อต่อการอนุรักษ์สักเท่าไร ซึ่งในสภาพ “กลางเก่ากลางใหม่” เช่นนี้ คุณค่าของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่จึงดู คลุมเครือยิ่งนักในบริบทปัจจุบัน แต่สำหรับ วีระพล สิงห์น้อย หรือ ช่างภาพสถาปัตยกรรมอิสระที่หลายคนรู้จัก ในนาม Beersingnoi ความงามของอาคาร เหล่านี้กลับสะดุดตาเขาจนกลายเป็นความ สนใจที่มาของโปรเจ็กต์งานอดิเรกในการ ติดตามเก็บบันทึกภาพงานสถาปัตยกรรม สมัยใหม่ในประเทศไทย ด้วยความตั้งใจ ที่จะเก็บบันทึกมุมมองความงามทางสถาปัตยกรรมในแบบของเขา บนความไม่แน่นอนว่า อาคารเหล่านั้นจะ”อยู่รอด”ถึงเมื่อไร และเมื่อชุดภาพเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่ ผ่านเพจ Foto_momo มุมมองผ่านเลนส์ ที่เฉียบขาดของวีระพลก็ดูเหมือนจะช่วย จุดประกายคุณค่าและความสนใจของคน รุ่นใหม่ในสถาปัตยกรรมจากยุคโมเดิร์น ได้ไม่น้อย ซึ่งเบื้องหลังการออกเดินทาง ตามหาตึกเก่า เขาได้พบกับอาจารย์ฤกษ์ดี โพธิวนากุล อาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยก ร รมศาสต ร์ มหาวิทยาลัยศิลปาก ร ผู้มีความสนใจในสถาปัตยกรรม Modern Architecture เช่นเดียวกัน มิตรภาพที่ เบ่งบานท่ามกลางบรรยากาศโมเดิร์นนิสม์ […]

HAPPY BOX ออกแบบอพาร์ทเม้นท์ ให้เป็นกล่องความสุขที่เล่นสนุกได้ทุกวันของเด็ก ๆ

เคยคิดบ้างไหมว่า เมื่อเด็ก ๆ ขอออกแบบบ้านเองบ้าง มันจะออกมาสนุกและมากจินตนาการขนาดไหน ? และการ ออกแบบอพาร์ทเม้นท์ นี้ คือผลงานที่แม้เด็ก ๆ จะไม่ได้เป็นผู้ออกแบบโดยตรง แต่รับรองว่านี่จะเป็นพื้นที่ที่พวกเขาถูกใจสุด ๆ เพราะทั้งสามารถอยู่อาศัยและเล่นสนุกไปพร้อมกันอย่างไม่มีเบื่อ HAPPY BOX คือผลงานการออกแบบของ Tropical Space สำนักงานสถาปนิกสัญชาติเวียดนาม ที่ขอออกแบบกล่องซ้อนกล่องอยู่ในพื้นที่อพาร์ทเม้นท์ขนาด 68 ตารางเมตร โดยมองเห็นความสุขของเด็ก ๆ เป็นสำคัญ ภายใต้พื้นที่โล่ง ๆ กล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่จึงเสมือนกลายเป็นดังดินแดนส่วนตัว  การออกแบบบ้านเด็กทรงกล่อง ซ้อนอยู่ในห้องของอพาร์ทเม้นท์นี้ นอกจากเป็นผลงานที่แหวกแนวไม่เหมือนใคร ยังถือเป็นการลดงานการออกแบบภายใต้พื้นที่เปล่าเปลือย ซึ่งมีแค่เพียงเพดานคอนกรีตเปลือยที่สูงจากพื้นจรดเพดานที่มองเห็นงานระบบ โดยต้องการบ้านที่เป็นเหมือนสนามเด็กเล่น เพื่อให้เด็ก ๆ สามารถวิ่งเล่นไปรอบ ๆ ได้อย่างอิสระตามที่พวกเขาต้องการ ตรงกลางของห้องสถาปนิกได้วางกล่องไม้ขนาด 3 x 3 x 2.2 เมตร พร้อมช่องหน้าต่างที่เหมือนยกบ้านหลังน้อย ๆ มาไว้ให้เด็ก ๆ ได้เล่นสนุกและพักผ่อน ไปพร้อมกัน ด้านในกล่องมีฟูกนอนขนาดใหญ่ […]

BAAN CHUMPHAE บ้านครอบครัวใหญ่ที่เชื่อมโยงสมาชิกต่างวัยด้วยตู้ไม้สัก

บ้านโมเดิร์น ทรงกล่อง 3 ชั้น ได้รับการออกแบบให้สะท้อนถึงการแบ่งสัดส่วนพื้นที่อย่างชัดเจน แต่ทว่ากลับยืดหยุ่นเพื่อตอบรับการใช้งานที่แตกต่างได้อย่างลงตัว โดยมีตู้ไม้สักใบใหญ่ใจกลางบ้านทำหน้าที่สอดประสานพื้นที่ส่วนกลางให้เชื่อมต่อกับสเปซส่วนตัวของสมาชิกครอบครัวแต่ละคน ทั้งยังเป็นที่รวบรวมประโยชน์ใช้สอยสำคัญของบ้านไว้ในที่เดียว

บ้านและสวน | EP.1

ช่วงบ้าน “บ้านชมดอย” ออกแบบ คุณศิริศักดิ์ ธรรมศิริ Death by Arch ช่วงบ้าน “บ้านสุขเสมอดอย” เจ้าของ  คุณณวริศ รักกุลชรมย์ – อรรฆย์ วิริยะกิจจานุรักษ์ ออกแบบ คุณณัฐพล จันทรวงศ์ สำนักงานสถาปนิกแผลงฤทธิ์ ช่วงบ้าน “หลงรัก(บ้าน)เชียงใหม่” เจ้าของ   คุณพอล วัลเลอร์ – คุณธัญชนก สุวรรณชัย ออกแบบ คุณมาร์คูส โรเซลีบ Chiangmai Life Construction ช่วงบ้าน “บ้าน(เมือง)นอกตีนดอย” เจ้าของ   คุณไฉไล โกมารกุล ณ นคร ออกแบบ คุณรุ่งโรจน์ บุญเจริญ ช่วงสวน “หอมกลิ่นโรสแมรี่” เจ้าของและออกแบบ คุณธนพร ไฮนซ์ ช่วงสวน “ป่าในจินตนาการ” เจ้าของ    คุณเตชินท์ จันทร์วาววาม ออกแบบ  […]

บ้านชั้นครึ่งกลางทุ่งโล่ง สวยงามราวสวรรค์บนดิน

แบบบ้านชั้นครึ่งยกสูง สไตล์ร่วมสมัยที่ตั้งอยู่กลางทุ่งโล่งในอำเภอปาย เป็นบ้านชั้นครึ่งที่โปร่งโล่ง เพื่อให้มองออกไปเห็นทิวเขาและทุ่งนา