คอกิ่ว/หญ้าคอตุง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tadehagi triguetrum (L.) Ohashi
วงศ์: Papillionaceae (Fabaceae)
ประเภท: พืชล้มลุก/วัชพืช
ความสูง: 15-50 เซนติเมตร
ลำต้น: ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสันสามเหลี่ยม
ใบ: ใบประกอบ มี 1 ใบย่อย รูปใบหอกแกมรูปแถบ ถึงรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาด 2-5 x 8-17 เซนติเมตร ก้านใบแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ
ดอก: เป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกรูปถั่ว สีม่วงโคนกลีบแต้มสีแดง
ผล: ฝักแบน ยาว 3-5 เซนติเมตร คอดเป็นข้อๆ เมื่อแก่เป็นสีแดงและแห้งเป็นสีน้ำตาล
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินทั่วไป
น้ำ: น้อย-ปานกลาง
แสงแดด: ตลอดวัน
การใช้งานและอื่นๆ:ในธรรมชาติพบตามป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า และชายป่าผลัดใบทั่วไป เป็นสุมนไพร (ล้านนา) ทั้งต้น ต้มดื่มวันละ 1 แก้ว แก้ไอเรื้อรังและวัณโรค รากต้นน้ำดื่มหรืออาบ แก้ปวดบวม ชาวเขาใช้รากหรือทั้งต้นต้มน้ำดื่มหรือเคี้ยวกิน บำรุงร่างกาย แก้ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ ดีซ่าน ฯลฯ