กันภัยมหิดล เป็นไม้เถาเลื้อย กระจายพันธุ์ตามป่าเต็งรังและเขาหินปูนทางภาคตะวันตกของไทย พบครั้งแรกในไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมาได้ขอพระราชทานนามตั้งคำระบุชนิดว่า mahidoliae เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อปี พ.ศ. 2515
กันภัยมหิดล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Afgekia mahidoliae B.L.Burtt & Chermsir.
วงศ์ : Fabaceae
ประเภท: ไม้เถาเลื้อยขนาดกลาง อายุหลายปี
ใบ: ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อยรูปขอบขนาน 4 – 5 คู่ ออกตรงข้าม กว้าง 2 – 3.5 เซนติเมตร ยาว 5 – 6.5 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมสั้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนอ่อนปกคลุม
ดอก: ออกเป็นช่อกระจะบริเวณปลายกิ่งและซอกใบ ยาว 12 – 30 เซนติเมตร กลีบดอกสีม่วงอมชมพู กลีบดอกคู่ล่างสีนวล ดอกมีขน ทยอยบานจากล่างข้นึ บน ดอกบานเพียงวันเดียว ออกดอกเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน
ผล: เป็นฝักยาวรี แห้งแตกออกเป็น 2 ซีก ปลายมีติ่งแหลมเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในมี 1 – 2 เมล็ดสีดำ
ดิน: ดินร่วนระบายน้ำดี
แสงแดด: ตลอดวัน
น้ำ: ปานกลาง ควรรดน้ำสม่ำเสมอ
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ: หลังฝักแก่กิ่งจะแห้งตาย ควรตัดออกเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ในฤดูถัดไป กระจายพันธุ์ตามป่าเต็งรังและเขาหินปูนทางภาคตะวันตกของไทย พบครั้งแรกโดยอาจารย์เกษม จันทรประสงค์และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรายุพิน จันทรประสงค์ (เจิมศิริวัฒน์) บริเวณสถานีรถไฟวังโพ อำเภอไทรโยคน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ในปีพ.ศ. 2510 ต่อมาได้ร่วมกับ Brian Laurence Burtt ขอพระราชทานนามตั้งคำระบุชนิดว่า mahidoliae เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อปี พ.ศ. 2515
ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน