กระแตไต่ไม้
กระปรอกว่าว/สไบนาง/สะโมง/หัวว่าว/Oak-leaf Fern
ชื่อวิทยาศาสตร์: Drynaria quercifolia (L.) J.Sm.
วงศ์: Polypodiaceae
ประเภท: เฟินอิงอาศัย
ลำต้น: เป็นเหง้าทอดเลื้อย มีเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุม
ใบ: ใบที่ไม่สร้างสปอร์ (sterile frond) เป็นใบกาบรูปไข่หรือรูปโล่ ขอบหยักเป็นคลื่น ทำหน้าที่เก็บสะสมเศษซากอินทรียวัตถุ และใบที่สร้างสปอร์ (fertile frond) ยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีก้านใบยาว ขอบใบหยักเป็นพูลึก มีอับสปอร์สีน้ำตาล เรียงขนานกับแนวเส้นกลางใบเป็นแถวเดียวหรือสองแถว ในฤดูหนาวใบจะเหี่ยวแห้งเหลือแต่เหง้า และผลิใบใหม่อีกครั้งในช่วงปลายฤดูร้อน
ดิน: ดินหรืออิฐผสมกาบมะพร้าวสับ
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: รำไร
ขยายพันธุ์: แยกเหง้าหรือเพาะสปอร์
การใช้งานและอื่นๆ : นิยมปลูกเป็นไม้แขวนหรือไม้กระถาง ♦ เป็นว่านทางเมตตามหานิยมที่ช่วยให้ค้าขายดี ♦ ชาวอีสานใช้เหง้าเป็นยาบำรุงเลือด ช่วยคุมธาตุ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะกะปริบกะปรอย สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือดปน ภาวะไตพิการ ♦ มาเลเซียใช้เป็นสมุนไพรบดพอกแก้บวม ♦ มีว่านอีกชนิดหนึ่งคือ ว่านงูกวัก [D. sparsisora (Desv.) T.Moore] ที่คล้ายกัน แต่ไม่มีใบกาบที่ลำต้น พอเริ่มแก่เกล็ดสีน้ำตาลจะหลุดออกหมด ทำให้ดูคล้ายงู