เล็บมือนาง
จ๊ามั่ง / มะจีมั่ง / Drunken sailor / Rangoon Creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์: Combretum indicum (L.) DeFilipps
วงศ์: Combretaceae
ประเภท: ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง อายุหลายปี
ลำต้น: ลำต้นและกิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นแก่สีน้ำตาลปนเหลืองและมีกิ่งที่ลดรูปเป็นหนามแข็ง
ใบ: ใบเรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 8 – 15 เซนติเมตร ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่ค่อนข้างเกลี้ยงหรือเกลี้ยง
ดอก: ออกเป็นช่อกระจะตามปลายยอดหรือซอกใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10 – 20 เซนติเมตร ดอกสีชมพูถึงสีแดงเข้ม มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อน ชนิดกลีบดอกชั้นเดียวมี 5 กลีบ รูปไข่กลับแกมรูปรี เริ่มบานสีขาวหรือสีชมพู ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีกลิ่นหอม ออกดอกเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์
ผล: ผลแห้งไม่แตก รูปกระสวย มีสันตามยาว 5 สัน
ดิน: ดินร่วน ระบายน้ำดี
แสงแดด: เต็มวัน
น้ำ: ปานกลาง ทนน้ำท่วมขังได้สูงถึง 1 ม.
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อยหรือเป็นแนวรั้ว ตำรายาไทยใช้เนื้อในเมล็ดแห้ง ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน ขับพยาธิไส้เดือน