นำแสงเข้าบ้านด้วยหลังคารับแสง

การทำ หลังคารับแสง หรือสกายไลท์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งของการนำแสงสว่างเข้าสู่ตัวบ้าน  ช่วยให้ภายในบ้านสว่างไสว ประหยัดค่าไฟฟ้า ทั้งความร้อนจากแสงแดดยังช่วยฆ่าเชื้อโรค ไล่ความชื้น ทำให้อากาศหมุนเวียนได้ดีขึ้น ส่งผลให้บ้านสะอาด ปลอดเชื้อโรคไม่อับชื้น แต่เนื่องจากบ้านเรามีอากาศร้อน การทำหลังคารับแสงจึงต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ  คือ

1.ขนาดของหลังคารับแสง ในห้องที่ไม่มีหน้าต่าง โดยทั่วไปกำหนดขนาดหลังคารับแสงไม่เกิน 10 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง ส่วนห้องที่มีหน้าต่างหรือช่องแสงอยู่บ้าง ก็ไม่เกิน 5 เปอร์เซนต์ของพื้นที่ห้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้านมากเกินไป

2.ทิศทางและปริมาณแสง ที่ผ่านเข้ามาในช่วงเวลาที่ต้องใช้งานพื้นที่นั้นๆ
ทิศเหนือ เป็นแสงที่ดีที่สุด เพราะแสงแดดไม่ร้อนแรง เนื่องจากไม่ใช่ทางโคจรของดวงอาทิตย์ เหมาะกับห้องนอน ห้องนั่งเล่น ระเบียง/เฉลียง
ทิศใต้ ให้แสงเต็มที่ในฤดูหนาว เนื่องจากโลกจะหันแกนด้านทิศใต้รับแสงอาทิตย์ คนไทยเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว” ควรเป็นโถงบันได ห้องน้ำ ห้องรับประทานอาหาร หรือห้องครัวก็ยังพอได้
ทิศตะวันออก เป็นทิศที่พระอาทิตย์ขึ้น บริเวณที่หันเข้าสู่ทิศนี้จะได้รับแสงในตอนเช้า อาจเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน
ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ให้แสงสว่างมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงบ่าย อาจเป็นโถงบันได ห้องน้ำ

glassroof02

3.รูปแบบของหลังคารับแสงหรือสกายไลท์ มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบสำเร็จรูปและสั่งทำ โดยแบบสั่งทำมักใช้วัสดุโปร่งแสงประเภทพอลิคาร์บอเนต มีรูปทรงหลากหลาย เช่น ทรงโดม พีระมิด ครึ่งวงกลม เป็นต้น

 


วัสดุอะไรบ้างที่ยอมให้แสงผ่านได้


กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์กลาสแบบใส เป็นวัสดุที่ผลิตจากการผสมใยแก้วชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์กลาส) เรซิน แล้วเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น มีให้เลือกทั้งแบบใสและแบบขุ่น มีลอนหลายแบบเช่น  ลอนลูกฟูก ลอนคู่ ให้ปริมาณแสงเข้าสู่ภายในอาคาร 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแบบขุ่นให้ปริมาณแสง 50 เปอร์เซ็นต์ การติดตั้งทำได้ง่ายเช่นเดียวกับกระเบื้องลอนทั่วไป แต่มีข้อควรระวัง คือ เมื่อใช้งานไปนานๆ  ความร้อนจากแสงแดดทำให้วัสดุเปลี่ยนสีและแตกลายงา จึงควรเลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและเหมาะกับสถานที่

glassroof01กระเบื้องหลังคาโมเนียร์แบบใส  ผลิตจาก Polymethyl Methacrylate (PMMA) ทำให้คงความใสได้นาน ทนความร้อนสูงถึง 80 องศาเซลเซียส ให้แสงผ่านได้มากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ใช้มุงหลังคาร่วมกับกระเบื้องหลังคาคอนกรีตหรือโมเนียร์ได้ เหมาะกับทุกบริเวณที่ต้องการแสงสว่าง

แผ่นพอลิคาร์บอเนต ลักษณะแผ่นที่ได้มาตรฐานจะมีช่องอากาศภายในเพื่อระบายความร้อน สามารถลดปริมาณความร้อนได้ประมาณ 20-40 เปอร์เซนต์ ทนต่อรังสียูวี ไม่มีปัญหาเรื่องขุ่นมัว ยืดหยุ่นสูง ทนแรงกระแทก มีน้ำหนักเบา ตัดโค้งตามโครงสร้างโลหะ เช่น เหล็กเคลือบสีหรือสเตนเลสได้ง่าย ติดตั้งได้หลายรูปแบบ เช่น สกายไลท์ กันสาดทางเข้า (Canopy) กันสาดตามช่องหน้าต่าง และหลังคาโรงจอดรถ

กระจกนิรภัยลามิเนต มีความปลอดภัยสูง เพราะนำกระจกตั้งแต่สองแผ่นขึ้นไป มายึดติดกันด้วยแผ่นฟิล์ม (Polyvinyl Butyral:PVB) ที่เหนียวและทนทาน เมื่อแตกเศษกระจกจึงไม่กระจัดกระจาย การใช้วัสดุนี้ทำหลังคาจะนิยมทำในบริเวณที่ต้องการช่องแสงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกได้ หรือเรือนกระจก

glassblock01บล็อกแก้ว เป็นวัสดุก่อสร้างที่แข็งแรง ทนทาน ทำจากแก้วและวัตถุดิบอื่นๆ ที่หลอมด้วยความร้อนสูง บล็อกแก้วแต่ละก้อนหนัก 2-6 กิโลกรัม ภายในกลวง มีสภาพกึ่งสุญญากาศ จึงเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี นิยมทำผนังทั้งภายในและภายนอก แต่สามารถติดตั้งบริเวณพื้นทางเดิน ระเบียงที่ต้องการแสงสว่างและสกายไลท์ของหลังคาคอนกรีต สามารถให้แสงผ่านได้ 50-75 เปอร์เซนต์


Tip การติดตั้งบล็อกแก้วปูพื้นด้วยระบบโครงเหล็กสำเร็จรูป