คิ้วนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia winitii Craib
วงศ์: Caesalpiniaceae
ประเภท: ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย
ลำต้น: แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแน่น มือพันเป็นเส้นยาว
ใบ: ประกอบขนาดเล็ก รูปกลม โคนและปลายเว้า คล้ายใบแฝด
ดอก: ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลอมเขียว มีขนคล้ายกำมะหยี่ กลีบดอกสีขาวรูปช้อน 5 กลีบ กลีบกลางแต้มสีเหลือง แผ่นกลีบย่น เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาว 10 อัน ขนาดดอก 10-15 เซนติเมตร ดอกออกเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์
ผล: เป็นฝักสีน้ำตาล ยาว 5-10 เซนติเมตร มี 6-10 เมล็ด
อัตราการเจริญเติบโต: ปานกลาง
ดิน: ทั่วไป
น้ำ: ปานกลาง ไม่ขังแฉะ
แสงแดด: ตลอดวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: เป็นไม้ประจำถิ่นของไทย พบทางภาคกลางตามป่าผลัดใบและป่าละเมาะ ชื่อชนิดของพืชนี้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดร (โต โกเมศ) ผู้พบและเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ชนิดนี้มาเผยแพร่เป็นคนแรก