สรัสจันทร
กล้วยมือนาง/ดอกดิน/หญ้าหนวดเสือ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Burmannia coelestis D.Don
วงศ์: Burmanniaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ต้องพึ่งพาเชื้อราในการเจริญเติบโต
ความสูง: สูง 10 – 40 เซนติเมตร
ลำต้น: คล้ายหญ้า
ใบ: ใบเดี่ยว รูปหอกหรือแถบ ยาว 0.5 – 2 เซนติเมตร
ดอก: เป็นช่อกระจุก ช่อละ 1-8 ดอก แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 7 – 8 มิลลิเมตร ยาว 1 – 1.5 เซนติเมตร สีม่วงอมฟ้าหรือม่วงคราม ปลายกลีบบนสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง 3 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกเดือนตุลาคม – ธันวาคม
ผล: รูปไข่ ภายในมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก
ดิน: ดินร่วนปนทราย ชื้นแฉะ
น้ำ: มาก ชอบอากาศเย็น
แสงแดด: ตลอดวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและแยกกอ
การใข้งานและอื่นๆ: เป็นดอกไม้ป่ายังไม่มีผู้นำมาปลูกเลี้ยง กระจายพันธุ์ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ในธรรมชาติมักขึ้นรวมกันเป็นทุ่งบนลานหินที่มีแสงแดดตลอดวันและน้ำท่วมขัง หรือชายน้ำทางภาคอีสานและพื้นที่ใกล้กับพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เป็นดอกไม้ป่า 1 ใน5 ชนิดที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระราชทานชื่อไว้