มะพลับ

มะพลับไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros malabarica (Desr.) Kostel.
วงศ์: Ebenaceae
ประเภท: ไม้ต้น
ความสูง: สูงได้ถึง 15 เมตร
ทรงพุ่ม: กลม แน่นทึบ
malabarica1ลำต้น: เปลือกต้นสีเทาปนดำ ผิวเรียบ แตกเป็นร่องเล็กๆ ตามยาว
ใบ: ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอกกลับ กว้าง 2.5 – 8 เซนติเมตร ยาว 10 – 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมทู่หรือมน โคนใบมนหรือสอบเป็นรูปลิ่ม แผ่นใบหนาสีเขียวเหลือบเงิน
ดอก: ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น สีขาวอมเหลือง ดอกเพศผู้เป็นช่อกระจุกออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 4 แฉก มีขนปกคลุม กลีบดอก 4 กลีบ ดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวคล้ายกับดอกเพศผู้ แต่ดอกใหญ่กว่า เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบาน 3 – 5 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน
ผล: ติดผลในเดือนกรกฎาคม ธันวาคม ผลสดมีเนื้อหลายเมล็ด ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 – 5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมีขนปกคลุมและติดทนจนเป็นผล ผลสุกสีเหลือง ภายในมีเมล็ดแบนรูปไข่
อัตราการเจริญเติบโต: ช้า
ดิน: ดินร่วนหรือดินเหนียวที่ชุ่มชื้น
แสงแดด: ครึ่งวันถึงตลอดวัน
น้ำ: ปานกลาง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ: เหมาะปลูกริมน้ำเพื่อให้ร่มเงา เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง ทุกส่วนของต้นมีประโยชน์ ในด้านสมุนไพร