ตีนเป็ดน้ำ
ตีนเป็ดน้ำ ไม้ต้น กึ่งผลัดใบขนาดกลาง ไม้ประดับที่นิยมปลูกเลี้ยงกันมาก โดยเฉพาะริมน้ำ โตเร็ว ทุกสภาพแวดล้อม ผลสวยแต่กินไม่ได้ เพราะเปลือกผลมีสาร Cerberin ที่เป็นพิษ ทำให้อาเจียน หายใจขัด อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น
ตีนเป็ด / ตีนเป็ดน้ำ / ตุม / มะตะกา / สั่งลา / Gray Milkwood / Pong Pong Tree / Sea Mango / Suicide Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera odollam Gaertn.
วงศ์ : Apocynaceae
ประเภท : ไม้ต้น
ความสูง : 5 – 15 เมตร
ทรงพุ่ม : กลม
ลำต้น : เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเทา ทุกส่วนมีน้ำยางขาว
ใบ : เดี่ยวเรียงเวียนสลับรอบกิ่ง รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4 – 7 เซนติเมตร ยาว 15 – 30 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบเป็นมัน
ดอก : ช่อดอกออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี6 – 12 ดอก ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 – 4 เซนติเมตร สีขาว กึ่งกลางดอกมีแต้มสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผล : กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 8 เซนติเมตร สีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีแดง พืชสกุลนี้มีอีกชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกันคือ ตีนเป็ดทราย (C. manghas) แตกต่างกันที่กึ่งกลางดอกมีแต้มสีแดง ผลมีขนาดเล็กกว่า
อัตราการเจริญเติบโต : เร็ว
ดิน : ดินทุกประเภท หรือดินร่วนหรือดินเหนียวชุ่มชื้นที่มีอินทรียวัตถุสูง ทนดินเค็ม
แสงแดด : ตลอดวัน
น้ำ : ปานกลาง ทนน้ำท่วมได้สูงถึง 1 เมตร
ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ : เนื้อในผลมีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษ ในอดีตชาวพื้นเมืองมาดากัสการ์นำมาทำยาพิษ ผลแห้งใช้ทำของตกแต่ง