ตีนเป็ดเจ็ดใบ/สัตบรรณ/หัวบรรณ/Blackboard Tree/Devil Tree/Pali-mari
ชื่อวิทยาศาสตร์: Alstonia scholaris (L.) R.Br.
วงศ์: Apocynaceae
ประเภท: ไม้ต้น
ความสูง: สูง 15 – 25 เมตร
ทรงพุ่ม: แผ่เป็นชั้น ๆ
ลำต้น: เนื้อไม้อ่อนและกิ่งเปราะ ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
ใบ: ใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบกิ่ง ส่วนมากมี 7 ใบ (สัตหรือสัตตะ แปลว่า 7) ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 2 – 6 เซนติเมตร ยาว 8 – 14 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งเล็กน้อย โคนใบมน แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีขาวนวล
ดอก: ออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ช่อใหญ่ กลม ขนาด 10 – 20 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉกสีขาวหรือขาวอมเขียว บานพร้อมกันทั้งช่อและนานหลายวัน ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ในช่วงเย็น ออกดอกเดือนมกราคม – พฤษภาคม ต้นที่ปลูกอยู่ในที่ชื้นแฉะดอกจะบานช้ากว่าต้นที่ปลูกอยู่ในที่แล้ง
ผล: ผลเป็นฝักกลม ยาว 25 – 50 เซนติเมตรเมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดเล็ก มีขนเป็นปุย
อัตราการเจริญเติบโต: เร็ว
ดิน: ดินร่วนปนทราย
แสงแดด: เต็มวัน
น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ: ควรปลูกลงแปลงกลางแจ้งเป็นต้นเดี่ยวให้ห่างจากต้นไม้อื่นอย่างน้อย 8 เมตร ทรงพุ่มจะแผ่ได้สวยงาม สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้