ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังไพร ว่านกำบังภัยว่านจังงัง ว่านพญานกยูง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora Wall. ex Baker
วงศ์: Zingiberaceae
ประเภท: ไม้ล้มลุก อายุหลายปี เจริญเป็นพุ่ม
ความสูง: 20 – 30 เซนติเมตร
ลำต้น: ใต้ดินเป็นเหง้ารูปทรงกลมเรียงต่อกัน เนื้อในสีม่วงอ่อนถึงสีม่วงดำ
ใบ: เดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ โคนใบเบี้ยว ขอบใบสีม่วง ใบอ่อนสีเขียวอมแดง เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวทั้งสองด้าน ขอบใบสีม่วงแดง
ดอก: ออกที่ปลายลำต้นเทียมโผล่พ้นกาบใบ ดอกสีขาวแต้มสีม่วง
ดิน: ดินร่วน
น้ำ: ปานกลาง ในฤดูหนาวควรงดให้น้ำ เพื่อป้องกันหัวเน่า
แสงแดด: รำไร
ขยายพันธุ์: แยกเหง้า
การใช้งานและอื่นๆ : เชื่อกันว่าช่วยให้คงกระพันชาตรี ♦ นำหัวมาหั่นเป็นแว่น ๆ ตากแดด แล้วบดให้ละเอียดผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ด กินครั้งละ 1 – 2 เม็ดก่อนอาหารทุกวัน จะช่วยบำรุงทางเพศสำหรับผู้ชาย แต่ควรศึกษาก่อนใช้ เพราะหัวสดจะทำให้หลอดเลือดขยายตัวและกระเพาะอาหารระคายเคือง ♦ หัวบดเป็นผงกินกับน้ำผึ้ง เป็นยาอายุวัฒนะ หรือกินหัวสดแก้จุกเสียด ปวดท้อง หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน♦ หากต้มน้ำดื่ม 3 เวลาก่อนอาหาร จะช่วยแก้โรคตา หรือตำผสมเหล้าขาวแล้วผสมน้ำดื่ม แก้โรคตานซางเด็ก ใช้กวาดคอเด็ก ♦ ว่านชนิดนี้มีอีกชื่อว่า ว่านกำบัง แต่มีเนื้อในเหง้าสีเหลืองอ่อนหรือสีขาว ใต้ใบอ่อนมีสีแดงเรื่อ ช่วยป้องกันคุณไสย ป้องกันพิษหรือโทษจากว่านร้ายและคลาดแคล้วจากภัยต่าง ๆ