มะขาม
ขาม/หมากแกง/Indian Date/Tamarind/Tamarindo
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica L.
วงศ์: Leguminosae-Caesalpinioideae
ประเภท: ไม้ต้น
ความสูง: สูงได้ถึง 20 เมตร
ทรงพุ่ม: เรือนยอดทรงกลม
ลำต้น: เปลือกต้นขรุขระ สีเทาอมน้ำตาล
ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ใบย่อยรูปขอบขนานขนาดเล็ก 10-20 คู่
ดอก: ช่อดอกเป็นช่อกระจะออกที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 8-15 ดอก ดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตรกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบปากมีเส้นริ้วสีแดง ออกดอกเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
ผล: ฝักตรงหรืองอขึ้นอยู่กับพันธุ์ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนเปลือกสีเขียวอมน้ำตาลและแข็ง พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเปราะหักง่าย แต่ละฝักมี 3-12 เมล็ด มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลเข้ม รสเปรี้ยวหรือหวาน ปัจจุบันมีการคัดสายพันธุ์ที่มีรสชาติอร่อยมากมาย เช่น สีชมพู ฝักดาบ หรือสีทอง
อัตราการเจริญเติบโต: ช้า
ดิน: ดินร่วนปนทราย ทนดินเค็ม
น้ำ: ปานกลาง
แสงแดด: เต็มวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดหรือทาบกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ : เป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นไม้มงคลที่ควรปลูกทางทิศตะวันตก เชื่อว่าช่วยป้องกันผีร้ายและเป็นที่เกรงขามดังชื่อ ยอดและใบอ่อนใช้ปรุงอาหารและมีสรรพคุณทางยา นิยมนำใบต้มน้ำร่วมกับหัวหอมแดง และสูดดมเพื่อแก้หวัด เนื้อมะขามใช้เป็นยาระบาย