- แยกส่วนเปียก (อาบน้ำ) ออกจากส่วนแห้ง (ชักโครก+อ่างล้างมือ) สำหรับห้องน้ำเล็กๆ ควรก่อขอบกันน้ำและแขวนม่านกั้นหรือใช้เป็นห้องน้ำรับรองแขก
- พื้น ควรเป็นวัสดุทนน้ำ เช็ดและทำความสะอาดได้ง่าย ที่สำคัญต้องไม่ลื่น ระดับพื้นต้องค่อยๆ ลาดไปยังท่อระบายน้ำที่พื้น เพื่อป้องกันน้ำขัง
- ผนัง ควรเป็นวัสดุทนน้ำ ผิวเรียบลื่น รอยต่อไม่มากจะช่วยให้ทำความสะอาดง่าย
- ช่องแสง+ระบายอากาศ –แสงแดดช่วยฆ่าเชื้อโรค ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยระบายกลิ่น ถ้าไม่มีช่องแสงควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศ
- ฝ้าเพดาน ควรเป็นวัสดุที่ไม่อมความชื้น
- อ่างล้างหน้า เลือกขนาดให้เหมาะกับห้อง การติดตั้งควรทำให้ซ่อมบำรุงได้ง่าย
- อ่างอาบน้ำ เหมาะกับคนที่ใช้งานเป็นประจำ ถ้าไม่ใช้ก็ไม่ควรติดตั้ง
- ชักโครก เลือกแบบประหยัดน้ำ ขนาดพอเหมาะกับห้องน้ำ
- ก๊อกน้ำ แบบก้านโยกใช้งานสะดวกกว่าแบบหมุน คอโค้งสูงช่วยให้ล้างหน้าได้สะดวก (ไม่ต้องก้มตัวมาก)
- กระจกเงาบานใหญ่ๆ ช่วยให้ห้องน้ำเล็กๆ ดูกว้างขึ้นได้ แต่ควรติดไว้ในบริเวณที่ไม่เปียกน้ำ
- ควรวาล์วปิด-เปิดน้ำเผื่อไว้ในห้องน้ำ หรือติดไว้ที่อุปกรณ์ใช้น้ำ เช่น ชักโครก หรือ่างล้างหน้า เมื่อต้องซ่อมแซม จะได้ไม่ต้องปิดระบบน้ำทั้งหมดในบ้าน
- ท่อระบายน้ำที่พื้นสำคัญมาก ควรมีตะแกรงกรองฝุ่นผง และติดตั้งถ้วยดักกลิ่นเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นจากท่อระบาย
- งานระบบในห้องน้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก ควรเก็บแปลนแสดงงานระบบต่างๆ ไว้ เวลามีปัญหาจะได้บอกช่างได้
- หลอดไฟควรมีดวงโคมปิดมิดชิด เพื่อป้องกันความชื้น สวิตช์ไฟ ถ้าติดตั้งภายในห้องควรใช้ชนิดที่ทนความชื้น แบบที่ใช้งานภายนอกบ้าน หากติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ควรทำสวิตช์ปิด-เปิดแยกต่างหากและต่อสายดินที่เมนสวิตช์
- ในกรณีที่ทำตู้เก็บของในห้องน้ำ ควรใช้วัสดุที่ทนน้ำและความชื้นได้ดี
- ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน