คำมอกหลวง

คำมอกหลวง
คำมอกหลวง

คำมอกหลวง ไม้ต้นดอกสวยสีเหลืองสดใส ออกดอกฤดูร้อนในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ปลูกง่ายชอบแดดตลอดทั้งวัน ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและทาบกิ่งคำมอกหลวง

คำมอกหลวง / ไข่เน่า / คำมอกช้าง / ผ่าด้ามยาง / มอกใหญ่ / แสลงหอมไก๋ / หอมไก๋

ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardenia sootepensis Hutch.
วงศ์: Rubiaceae
ประเภท: ไม้ต้น
ความสูง: สูง 7 – 15 เมตร
ทรงพุ่ม: กรวยคว่ำ
ลำต้น: เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลอมเทา แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนมีขน ปลายยอดมียางเหลืองข้นเป็นก้อนติดอยู่
ใบ: ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 12 – 18 เซนติเมตร ยาว 22 – 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมนหรือสอบ ขอบใบเรียบ หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ลักษณะเป็นปลอกรอบกิ่ง แผ่นใบเหนียวและสาก
ดอก: ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 5 – 10 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบหนาขอบบิดและม้วน เมื่อบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 7 เซนติเมตร ดอกทยอยบานจนเต็มต้นในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกแรกแย้มช่วงเย็นเป็นสีขาวนวลและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เมื่อใกล้โรยมีกลิ่นหอมแรงมากขึ้น และร่วงตอนบ่ายวันรุ่งขึ้น ส่งกลิ่นหอมอ่อนๆ ตลอดวันและหอมแรงใกล้พลบค่ำ ออกดอกเดือนมีนาคม – เมษายน
ดิน: ดินร่วนปนทราย
แสงแดด: เต็มวัน
น้ำ: ปานกลาง ทนแล้ง
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ดและทาบกิ่ง
การใช้งานและอื่นๆ: ควรปลูกกลางแจ้งให้ห่างจากต้นไม้อื่น 4 – 5 เมตร หากปลูกในพื้นที่ราบหรือชื้นแฉะ จะมีใบจำนวนมาก ทรงพุ่มแน่นทึบและออกดอกน้อย แก่นไม้มีสรรพคุณแก้อาการถ่ายเป็นมูกเลือด

ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน