พะยูง

พะยูง
พะยูง

พะยูง เป็นไม้ต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทั้งยังถือเป็นไม้มงคล ตามความหมายของชื่อที่ช่วยพยุงฐานะให้ดีขึ้น 

พะยูง เหมาะจะปลูกในพื้นที่กว้าง สามารถนำเนื้อไม้มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้าน หรืองานไม้ต่างๆ เนื่องจากเนื้อไม้แข็งแรงทนทาน

พะยูง

พะยูง, กระยง, กระยุง, ขะยุง, แดงจีน, ประดู่เสน, พะยุงไหม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre

วงศ์ : Fabaceae

ถิ่นกำเนิด : ลาว เวียดนาม กัมพูชา ในไทยพบตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ความสูง 100-200 เมตรเหนือระดับทะเล

ลำต้น:ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกล่มค่อนข้างโปร่ง กิ่งห้อยย้อยลง เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง เรียบ หรือแตกสะเก็ด หรือลอกเป็นแผ่นบางๆ

ใบ: ใบประกอบแบบขนนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ ใบย่อย 7-9 ใบ รูปไข่เกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเป็นลิ่ม แผ่นใบเหนียวคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบ 5-7 คู่ หลังใบสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีขาวนวล

ดอก: ช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเล็กๆ จำนวนมาก รูปดอกถั่ว สีขาวหรือขาวอมม่วง กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกช่วงฤดูร้อน

ผล : ผลแห้ง ฝักแบน รูปขอบขนาน  สีน้ำตาลแดง เมล็ดรูปไต สีน้ำตาล มี1-4 เมล็ด/ผล

อัตราการเจริญเติบโต:  ช้า
ดิน:  ดินปนทราย
น้ำ: น้ำปานกลาง ทนแล้ง
แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด

การใช้งานและอื่นๆ: ระยะปลูก 5-10 เมตร พรรณไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู เหมาะปลูกในพื้นที่กว้างและเป็นไม้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คนไทยในอดีตเชื่อว่าเป็นไม้มงคล ตามความหมายของชื่อที่ช่วยพยุงฐานะให้ดีขึ้น จึงนิยมปลูกไว้บริเวณบ้าน 1-2 ต้น และไม่นำมาใช้สร้างบ้านหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น เตียงนอน หรือบันไดบ้าน หากใครนำมาใช้ จะทำให้ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันพบในธรรมชาติน้อยลง แต่มีการปลูกเป็นไม้เศรษฐกิจเพื่อนำเนื้อไม้มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ สร้างบ้าน หรืองานไม้ต่างๆ เนื้อไม้แข็งแรงทนทาน ด้านสมุนไพร รากแก้พิษ น้ำต้มจากเปลือกใช้อมแก้ปากเปื่อย น้ำยางทาแก้ปากเปื่อย

ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน