เสี้ยวป่า

เสี้ยวป่า เป็นไม้ทนแล้ง ปลูกเลี้ยงง่าย ระยะปลูก 3-5 เมตร นิยมปลูกเป็นไม้จัดสวนให้บรรยากาศแบบสวนป่า ขนาดทรงพุ่มไม่ใหญ่ ตัดแต่งง่าย เลี้ยงง่าย

เสี้ยวป่า

เสี้ยวป่า, ชงโค, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวเครือ, เสี้ยวดอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Bauhinia saccocalyx Pierre

วงศ์: Fabaceae

ถิ่นกำเนิด: ไทย ลาว ในธรรมชาติพบตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งใหญ่

ลำต้น:ไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูงถึง 10 เมตร เปลือกต้นสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้นและลึกตามแนวยาว อาจร่อนเป็นแผ่น

ใบ: ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่ ปลายแยกเป็น 2 แฉก แฉบค่อนข้างแคบปลายแหลม โคนใบรูปหัวใจ ใต้ใบมีชนปกคลุม ก้านใบยาว

ดอก: ดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อยาว 3-7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ดอกบานขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ออกดอกช่วงฤดูร้อน

ผล : ผลแห้ง เป็นฝักแบนคล้ายดาบ ปลายผลแหลม เมื่อแก่แตกออก ภายในมีเมล็ดกลมแปบน 3-5 เมล็ด

อัตราการเจริญเติบโต:
ดิน:  ดินร่วนหรือดินปนทราย
น้ำ: น้ำปานกลาง
แสงแดด: แสงแดดตลอดวัน
ขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด
การใช้งานและอื่นๆ: ไม้ทนแล้ง ปลูกเลี้ยงง่าย ระยะปลูก 3-5 เมตร นิยมปลูกเป็นไม้จัดสวนให้บรรยากาศแบบสวนป่า ขนาดทรงพุ่มไม่ใหญ่ ตัดแต่งง่าย เลี้ยงง่าย ใบอ่อน ยอดอ่อน และดอก รสเปรี้ยว เมล็ดอ่อน รสหวาน รับประทานเป็นผักสด และนำไปปรุงรสอาหารทำให้มีรสเปรี้ยว ด้านสมุนไพรใบผสมกับต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งช่วยฟอกโลหิต เนื้อไม้ใช้ทำด้านอุปกรณ์การเกษตรได้

ติดตามหนังสือใหม่ได้ทาง : สำนักพิมพ์บ้านและสวน